ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภา"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
 
 


          [[ประธานรัฐสภา]]เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่หลายประการที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งโดยหลักการสำคัญไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละสมัย ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา โดยประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้
          [[ประธานรัฐสภา|ประธานรัฐสภา]]เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่หลายประการที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งโดยหลักการสำคัญไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละสมัย ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา โดยประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้


= <span style="font-size:x-large;">'''1. อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560'''</span> =


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1.1 หน้าที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำความกราบบังคมทูล''' ดังต่อไปนี้
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1.1 หน้าที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำความกราบบังคมทูล''' ดังต่อไปนี้
บรรทัดที่ 42: บรรทัดที่ 42:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 6) ดำเนินการจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา 272 วรรคหนึ่งต่อไป&nbsp;โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ หรือไม่ก็ได้ (มาตรา 272)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 6) ดำเนินการจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา 272 วรรคหนึ่งต่อไป&nbsp;โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ หรือไม่ก็ได้ (มาตรา 272)


= <span style="font-size:x-large;">'''2. อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563'''</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) กำหนดสถานที่ประชุมของรัฐสภา ณ สถานที่อื่นเป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจประชุมในอาคารที่ทำการของรัฐสภาได้ (ข้อ 3)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) กำหนดสถานที่ประชุมของรัฐสภา ณ สถานที่อื่นเป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจประชุมในอาคารที่ทำการของรัฐสภาได้ (ข้อ 3)
บรรทัดที่ 90: บรรทัดที่ 90:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 15) ส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตามข้อ 134 ในกรณีที่ผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามข้อ 134 ต่อไป ในกรณีที่ผลการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป (ข้อ 135)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 15) ส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตามข้อ 134 ในกรณีที่ผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามข้อ 134 ต่อไป ในกรณีที่ผลการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป (ข้อ 135)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 16) พิจารณาให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามมาตรา 124 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องขอต่อประธานรัฐสภาตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด คำร้องขอต้องมีข้อความเป็นข้อเท็จจริงโดยไม่มีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ให้ประธานรัฐสภาพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นสมควรโฆษณาคำชี้แจงดังกล่าว ให้เลขาธิการรัฐสภาดำเนินการโฆษณาคำชี้แจงดังกล่าวด้วยวิธีปิดประกาศไว้ ณ บริเวณรัฐสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ มีกำหนดระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาเห็นควรจัด&nbsp;[[ให้มีการโฆษณาคำชี้แจง|ให้มีการโฆษณาคำชี้แจง&nbsp;]]และให้ส่งสมาชิกรัฐสภาเพื่อทราบ ในการนี้ ประธานรัฐสภาอาจจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงนั้นโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้ (ข้อ 153)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 16) พิจารณาให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามมาตรา 124 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องขอต่อประธานรัฐสภาตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด คำร้องขอต้องมีข้อความเป็นข้อเท็จจริงโดยไม่มีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ให้ประธานรัฐสภาพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นสมควรโฆษณาคำชี้แจงดังกล่าว ให้เลขาธิการรัฐสภาดำเนินการโฆษณาคำชี้แจงดังกล่าวด้วยวิธีปิดประกาศไว้ ณ บริเวณรัฐสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ มีกำหนดระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาเห็นควรจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงและให้ส่งสมาชิกรัฐสภาเพื่อทราบ ในการนี้ประธานรัฐสภาอาจจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงนั้นโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้ (ข้อ 153)


= <span style="font-size:x-large;">'''3. อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ'''</span> =
= <span style="font-size:x-large;">'''อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ'''</span> =


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3.1 อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554'''
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3.1 อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554'''
บรรทัดที่ 114: บรรทัดที่ 114:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่สำคัญต่อระบบรัฐสภาโดยมีความสอดคล้องกันทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดทางนิติบัญญัติ&nbsp;ทั้งในทางการเมืองและการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาอีกด้วย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่สำคัญต่อระบบรัฐสภาโดยมีความสอดคล้องกันทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดทางนิติบัญญัติ&nbsp;ทั้งในทางการเมืองและการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาอีกด้วย


&nbsp;
[[Category:สถาบันนิติบัญญัติ]] [[Category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]] [[Category:ประธานรัฐสภา]] [[Category:รัฐสภา]] [[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]]
 
[[Category:สถาบันนิติบัญญัติ]][[Category:ความรู้เกี่ยวกับรัฐสภาไทย]][[Category:ประธานรัฐสภา]][[Category:รัฐสภา]][[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:06, 14 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

 

          ประธานรัฐสภาเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อระบบรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่หลายประการที่ถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ซึ่งโดยหลักการสำคัญไม่แตกต่างกันมากนักในแต่ละสมัย ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภา โดยประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 ดังต่อไปนี้

อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

          1.1 หน้าที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและนำความกราบบังคมทูล ดังต่อไปนี้

          1) ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 11)

          2) ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา 16)

          3) ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและแจ้งให้รัฐสภาทราบกรณีมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช 2467 (มาตรา 20)

          4) นำความกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการประกาศเรียกประชุมสมัยวิสามัญ เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งสองสภารวมกัน หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อร้องขอ (มาตรา 123)

          1.2 อำนาจหน้าที่ในการส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และเสนอเรื่องไปยังศาลฎีกา ดังต่อไปนี้

          1) ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว มีข้อความขัดหรือแย้งหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนําร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย (มาตรา 148)

          2) เสนอเรื่องไปยังประธานศาลฎีกาเพื่อตั้งคณะผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมืองและมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ เพื่อไต่สวนหาข้อเท็จจริง เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาหรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นคนเข้าชื่อกล่าวหาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติผู้ใดกระทำการตามมาตรา 234 (1) โดยยื่นต่อประธานรัฐสภาพร้อมด้วยหลักฐานตามสมควร และประธานรัฐสภาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำตามที่ถูกกล่าวหา (มาตรา 236)

          3) ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก่อนนายกรัฐมนตรีนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อสมาชิกทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภารวมกัน เข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา ว่าร่างรัฐธรรมนูญขัดต่อรัฐธรรมนูญ (มาตรา 256)

          1.3 อำนาจหน้าที่อื่น

          1) เป็นผู้ประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา 16 หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น แต่ต่อมาคณะองคมนตรีพิจารณาเห็นว่ามีความจําเป็นสมควรแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และไม่อาจกราบบังคมทูลให้ทรงแต่งตั้งได้ทันการ ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อบุคคลคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะ ตามลำดับที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมกำหนดไว้ก่อนแล้ว ให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (มาตรา 17)

          2) เป็นผู้อัญเชิญองค์พระรัชทายาทหรือผู้สืบราชสันตติวงศแล้วแต่กรณีตามมาตรา 21 ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ (มาตรา 21)

          3) ดำเนินการให้มีการประชุม ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยหรือเศรษฐกิจของประเทศสมควรที่จะปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เมื่อผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา ประธานรัฐสภาต้องดำเนินการให้มีการประชุมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง แต่รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้ (มาตรา 155)

          4) ดำเนินการให้มีการอภิปรายทั่วไป ในกรณีที่มีปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา นายกรัฐมนตรีจะแจ้งไปยังประธานรัฐสภาขอให้มีการเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ รัฐสภาจะลงมติในปัญหาที่อภิปรายมิได้ (มาตรา 165)

          5) เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาว่าร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเป็นไปเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศหรือไม่ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมิได้แจ้งว่าเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของแต่ละสภา อาจเข้าชื่อกันร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้วินิจฉัย การยื่นคําร้องดังกล่าวต้องยื่นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นแล้วเสร็จ เมื่อประธานรัฐสภาได้รับคําร้อง ให้ประธานรัฐสภาเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการร่วมซึ่งประกอบด้วยประธานวุฒิสภาเป็นประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนหนึ่ง ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ผู้แทนคณะรัฐมนตรีคนหนึ่ง และประธานคณะกรรมาธิการสามัญคนหนึ่งซึ่งเลือกกันเองระหว่างประธานคณะกรรมาธิการสามัญในวุฒิสภาทุกคณะเป็นกรรมการ เพื่อวินิจฉัย การวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมตามวรรคสี่ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ คําวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมดังกล่าวให้เป็นที่สุด และให้ประธานรัฐสภาดำเนินการไปตามคําวินิจฉัยนั้น (มาตรา 270)

          6) ดำเนินการจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาโดยพลัน ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด และสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจากผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ และในกรณีที่รัฐสภามีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาให้ยกเว้นได้ ให้ดำเนินการตามมาตรา 272 วรรคหนึ่งต่อไป โดยจะเสนอชื่อผู้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ หรือไม่ก็ได้ (มาตรา 272)

อำนาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563

          1) กำหนดสถานที่ประชุมของรัฐสภา ณ สถานที่อื่นเป็นการชั่วคราวก็ได้ ในกรณีจำเป็นที่เป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจประชุมในอาคารที่ทำการของรัฐสภาได้ (ข้อ 3)

          2) แต่งตั้งเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้ (ข้อ 3)

          3) แต่งตั้งเลขาธิการวุฒิสภาให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรองเลขาธิการรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาตามข้อบังคับนี้ (ข้อ 3)

          4) รักษาการตามข้อบังคับ และมีอำนาจออกระเบียบเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ (ข้อ 4)

          5) ประธานรัฐสภามีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้ (ข้อ 5)

               (5.1) เป็นประธานของที่ประชุมรัฐสภา และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่

               (5.2) กำหนดการประชุมรัฐสภา

               (5.3) ควบคุมและดำเนินกิจการของรัฐสภา

               (5.4) รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมรัฐสภาตลอดถึงบริเวณรัฐสภา

               (5.5) เป็นผู้แทนรัฐสภาในกิจการภายนอก

               (5.6) แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ ตาม (7)

               (5.7) หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้

          6) ในการประชุมเปิดเผย ให้บุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุมรัฐสภาได้ตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด และให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการถ่ายทอดสดการประชุมทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปสามารถรับได้อย่างทั่วถึง โดยจัดให้มีล่ามภาษามือด้วย เว้นแต่มีเหตุขัดข้องให้แจ้งที่ประชุมทราบ ในกรณีไม่สามารถถ่ายทอดสดการประชุมได้ ให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการเผยแพร่บันทึกภาพและเสียงการประชุมดังกล่าวผ่านทางสื่อที่เหมาะสมโดยเร็ว

          ในการประชุมลับ ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟังการประชุม เว้นแต่ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานเท่านั้น ให้ประธานดำเนินการเพื่อมิให้มีการบันทึกภาพ บันทึกเสียง หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการถ่ายทอดการประชุมสู่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับอนุญาต (ข้อ 9)

          7) ถ้าคณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรี ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ในกรณีที่รัฐสภาเห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการให้ประธานรัฐสภาแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรี ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาส่งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการให้องค์กรที่เกี่ยวข้องทราบ ให้องค์กรนั้นแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบว่าได้ปฏิบัติตามข้อสังเกตนั้นประการใดหรือไม่ และให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบในโอกาสแรกที่มีการประชุมรัฐสภา (ข้อ 76)

          8) อนุญาตให้ขยายเวลาเมื่อรัฐสภามีมติให้คณะกรรมาธิการใดกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดให้เสร็จภายในกำหนดเวลาใด และคณะกรรมาธิการนั้นกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาไม่เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ประธานคณะกรรมาธิการต้องรายงานให้ประธานรัฐสภาทราบโดยด่วนให้ประธานรัฐสภามีอำนาจอนุญาตให้ขยายเวลาที่กำหนดไว้ได้ตามที่พิจารณาเห็นสมควรแล้วแจ้งให้ที่ประชุมรัฐสภาทราบภายหลัง (ข้อ 77)

          9) ตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรี โดยข้อเสนอแนะของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร (ตามมาตรา 131 ของรัฐธรรมนูญ) ให้ประธานรัฐสภาทำการตรวจสอบ และหากมีข้อบกพร่อง ให้ประธานรัฐสภาแจ้งผู้เสนอทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับ (ข้อ 82)

          10) ส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ก่อนส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการตามมาตรา 81 ของรัฐธรรมนูญ ให้ประธานรัฐสภาชะลอไว้สามวัน เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภาว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ (ข้อ 104)

          11) เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการร่วมตามมาตรา 270 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ เมื่อได้รับคำร้องจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา 270 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเป็นไปเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศหรือไม่ และให้ประธานรัฐสภาแจ้งประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณีเพื่อทราบ เมื่อประธานรัฐสภาได้รับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการร่วมแล้ว ให้ประธานรัฐสภาแจ้งประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณี เพื่อทราบและดำเนินการต่อไป ตามคำวินิจฉัยนั้น (ข้อ 106)

          12) เปิดเผยร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่เสนอต่อรัฐสภาเพื่อให้ประชาชนทราบและสามารถเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้โดยสะดวกตามวิธีการที่ประธานรัฐสภากำหนด (ข้อ 115)

          13) ตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งเสนอจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน (มาตรา 256 (1) ของรัฐธรรมนูญ) และหากมีข้อบกพร่องให้ประธานรัฐสภาแจ้งผู้เสนอทราบ (ข้อ 117)

          14) ส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายต่อไปเมื่อรัฐสภามีมติในวาระที่สามเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้น และรอไว้แล้วสิบห้าวัน (ข้อ 134)

          15) ส่งร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์ หรือหมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตามข้อ 134 ในกรณีที่ผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ดำเนินการตามข้อ 134 ต่อไป ในกรณีที่ผลการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป (ข้อ 135)

          16) พิจารณาให้มีการโฆษณาคำชี้แจง ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายประสงค์จะให้มีการโฆษณาคำชี้แจงตามมาตรา 124 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ ให้บุคคลนั้นยื่นคำร้องขอต่อประธานรัฐสภาตามระเบียบที่ประธานรัฐสภากำหนด คำร้องขอต้องมีข้อความเป็นข้อเท็จจริงโดยไม่มีลักษณะเป็นความผิดอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น ให้ประธานรัฐสภาพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ ในกรณีที่ประธานรัฐสภาเห็นสมควรโฆษณาคำชี้แจงดังกล่าว ให้เลขาธิการรัฐสภาดำเนินการโฆษณาคำชี้แจงดังกล่าวด้วยวิธีปิดประกาศไว้ ณ บริเวณรัฐสภาที่ประชาชนเข้าไปตรวจสอบได้ มีกำหนดระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ประธานรัฐสภาเห็นควรจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงและให้ส่งสมาชิกรัฐสภาเพื่อทราบ ในการนี้ประธานรัฐสภาอาจจัดให้มีการโฆษณาคำชี้แจงนั้นโดยวิธีการอื่นด้วยก็ได้ (ข้อ 153)

อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ

          3.1 อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554

          1) เป็นประธานกรรมการข้าราชการรัฐสภา (ก.ร.) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารงานบุคคลของข้าราชการรัฐสภา มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบรรจุ แต่งตั้ง การรับเงินเดือน การเลื่อนขั้น การเลื่อนตำแหน่ง และการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการรัฐสภา (มาตรา 13)

          2) เป็นผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการรัฐสภาสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง หรือตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (มาตรา 42)

          3) เป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนสำหรับกรณีที่ข้าราชการรัฐสภาสามัญตำแหน่งต่างกัน หรือต่างส่วนราชการสังกัดรัฐสภากันถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกัน ในกรณีที่มีผู้ถูกกล่าวหาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงหรือดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิร่วมด้วย (มาตรา 69)

          3.2 อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564

          1) อำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 16)

          2) ขยายระยะเวลาให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้แก่ผู้ร้องขอจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบคนที่เข้าชื่อร้องขอตามมาตรา 7 แต่เมื่อรวมระยะเวลาที่ขยายแล้วต้องไม่เกินเก้าสิบวัน (มาตรา 7 โดยอนุโลมตามมาตรา 16)

          3) พิจารณาให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ประสงค์จะเป็นผู้เชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นให้ร่วมเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เป็นผู้เชิญชวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นให้ร่วมเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมนั้นได้ (มาตรา 8 โดยอนุโลมตามมาตรา 16)

          4) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานว่ามีหลักการและเอกสารหลักฐานครบถ้วนในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ ให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวัน หากปรากฏว่ามีหลักการหรือเอกสารหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้ประธานรัฐสภาแจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้เชิญชวนเพื่อดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดต่อไป ถ้าเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนและเมื่อดำเนินการตาม มาตรา 13 แล้ว (มาตรา 13 เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อเสนอรัฐสภาพร้อมกับการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณา) ให้ประธานรัฐสภาดำเนินการต่อไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ถ้าผู้เชิญชวนมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดสี่สิบห้าวัน ให้ประธานรัฐสภายุติการดำเนินการและส่งเรื่องคืนให้ผู้เชิญชวน (มาตรา 12 โดยอนุโลมตามมาตรา 16)

          โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่า ประธานรัฐสภามีอำนาจหน้าที่สำคัญต่อระบบรัฐสภาโดยมีความสอดคล้องกันทั้งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการรัฐสภา พ.ศ. 2554 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดทางนิติบัญญัติ ทั้งในทางการเมืองและการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรัฐสภาอีกด้วย