ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง''' ''':''' ศิบดี นพประเสริฐ '''ผู้ทรงคุณวุฒิปร..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 3: บรรทัดที่ 3:


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
 
'''สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์'''


 
 
บรรทัดที่ 26: บรรทัดที่ 22:
          หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่นี่เองที่พระธิดาองค์แรกในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประสูติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า '''“หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา”''' แต่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประชวรเนื่องจากไม่ทรงถูกกับอากาศที่หนาวและชื้นของเอดินเบอระ แพทย์จึงทูลแนะนำว่าควรไปประทับในที่อากาศไม่หนาว จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จกลับสยามกอปรกับการที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เมื่อเสด็จกลับสยามครั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และหม่อม ประทับอยู่สยามถึง 20 เดือน และทรงงานหลากหลายด้านจนประชวรและเสด็จไปให้แพทย์ตรวจ ครั้งนี้คณะแพทย์กราบทูลให้เสด็จไปเสียจากที่ที่มีอากาศร้อน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ซึ่งทรงรู้จักประเทศเยอรมนีเป็นอย่างดีเพราะเคยทรงศึกษาที่นั่น ทรงแนะนำให้เสด็จไปพบแพทย์ที่ไฮเดลเบอร์ก และในวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 หม่อมเจ้าชายอานันทมหิดล ประสูติ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก
          หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่นี่เองที่พระธิดาองค์แรกในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประสูติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า '''“หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา”''' แต่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประชวรเนื่องจากไม่ทรงถูกกับอากาศที่หนาวและชื้นของเอดินเบอระ แพทย์จึงทูลแนะนำว่าควรไปประทับในที่อากาศไม่หนาว จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จกลับสยามกอปรกับการที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เมื่อเสด็จกลับสยามครั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และหม่อม ประทับอยู่สยามถึง 20 เดือน และทรงงานหลากหลายด้านจนประชวรและเสด็จไปให้แพทย์ตรวจ ครั้งนี้คณะแพทย์กราบทูลให้เสด็จไปเสียจากที่ที่มีอากาศร้อน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ซึ่งทรงรู้จักประเทศเยอรมนีเป็นอย่างดีเพราะเคยทรงศึกษาที่นั่น ทรงแนะนำให้เสด็จไปพบแพทย์ที่ไฮเดลเบอร์ก และในวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 หม่อมเจ้าชายอานันทมหิดล ประสูติ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก


          วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จกลับสยามเพียงพระองค์เดียว เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพและประทับอยู่จนถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] หม่อมสังวาลย์เดินทางไปโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ กับพระโอรสและพระธิดา ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จไปสหรัฐฯ ล่วงหน้าเพื่อทรงหาที่ประทับหม่อมสังวาลย์ พระโอรส พระธิดา และคุณเนื่อง จินตดุล ตามเสด็จไปทีหลัง สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ส่วนหม่อมสังวาลเข้าศึกษาที่วิทยาลัยซิมมอนส์
          วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จกลับสยามเพียงพระองค์เดียว เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพและประทับอยู่จนถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] หม่อมสังวาลย์เดินทางไปโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ กับพระโอรสและพระธิดา ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จไปสหรัฐฯ ล่วงหน้าเพื่อทรงหาที่ประทับหม่อมสังวาลย์ พระโอรส พระธิดา และคุณเนื่อง จินตดุล ตามเสด็จไปทีหลัง สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ส่วนหม่อมสังวาลเข้าศึกษาที่วิทยาลัยซิมมอนส์


          วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 [[พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช]][[#_ftn2|[2]]] ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น (Mount Auburn) ในการพระราชทานพระนามพระโอรสองค์นี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เสด็จฯ ไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระนาม[[#_ftn3|[3]]] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสมาพระปรมาภิไธย ปปร แก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช รวมไปถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลในโอกาสนี้ด้วย ตามที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ '''“แม่เล่าให้ฟัง”''' ดังความต่อไปนี้[[#_ftn4|[4]]]
          วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 [[พระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช]][[#_ftn2|[2]]] ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น (Mount Auburn) ในการพระราชทานพระนามพระโอรสองค์นี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เสด็จฯ ไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระนาม[[#_ftn3|[3]]] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสมาพระปรมาภิไธย ปปร แก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช รวมไปถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลในโอกาสนี้ด้วย ตามที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ '''“แม่เล่าให้ฟัง”''' ดังความต่อไปนี้[[#_ftn4|[4]]]


          ''“...วันหนึ่ง แม่พาทั้งสามคนไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ (รัชกาลที่ 7) เพื่อกราบพระบาทที่ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อแก่น้องคนเล็ก โดยปกติผู้ที่ได้รับพระราชทานนาม จะทรงพระกรุณาฯ พระราชทานเสมา ปปร ด้วย เมื่อพระราชทานเสมาแก่น้องคนเล็กแล้ว น้องชายคนโตเห็นเข้าก็พูดขึ้นมาทันที ‘สวยดี มีอีกไหม’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้กริ้ว และรับสั่งให้หยิบมาอีก 2 เสมา เราก็เลยได้รับพระราชทานกันทุกคน...”''
          '''''“...วันหนึ่ง แม่พาทั้งสามคนไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ (รัชกาลที่ 7) เพื่อกราบพระบาทที่ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อแก่น้องคนเล็ก โดยปกติผู้ที่ได้รับพระราชทานนาม จะทรงพระกรุณาฯ พระราชทานเสมา ปปร ด้วย เมื่อพระราชทานเสมาแก่น้องคนเล็กแล้ว น้องชายคนโตเห็นเข้าก็พูดขึ้นมาทันที ‘สวยดี มีอีกไหม’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้กริ้ว และรับสั่งให้หยิบมาอีก 2 เสมา เราก็เลยได้รับพระราชทานกันทุกคน...”'''''


 
 
บรรทัดที่ 36: บรรทัดที่ 32:
          นอกจากนี้ หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ใน พ.ศ. 2473 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)[[#_ftn5|[5]]] และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3[[#_ftn6|[6]]]
          นอกจากนี้ หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ใน พ.ศ. 2473 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)[[#_ftn5|[5]]] และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3[[#_ftn6|[6]]]


          ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ [[2_มีนาคม_พ.ศ._2477]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จขึ้นทรงราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป[[#_ftn7|[7]]] ดังนั้น ฐานะของหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงเปลี่ยนไปในฐานะที่เป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงประกาศถวายพระนามพระราชชนนีว่า พระราชชนนีศรีสังวาลย์[[#_ftn8|[8]]] ต่อมาใน พ.ศ. 2481 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯ นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกนับแต่เสด็จขึ้นทรงราชย์เพื่อทรงเยี่ยมเยียนประชาชน ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ โดยเสด็จในการนี้ด้วย โดยในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศพระราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์[[#_ftn9|[9]]]
          ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ [[2_มีนาคม_พ.ศ._2477|2_มีนาคม_พ.ศ._2477]] สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จขึ้นทรงราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป[[#_ftn7|[7]]] ดังนั้น ฐานะของหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงเปลี่ยนไปในฐานะที่เป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงประกาศถวายพระนามพระราชชนนีว่า พระราชชนนีศรีสังวาลย์[[#_ftn8|[8]]] ต่อมาใน พ.ศ. 2481 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯ นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกนับแต่เสด็จขึ้นทรงราชย์เพื่อทรงเยี่ยมเยียนประชาชน ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ โดยเสด็จในการนี้ด้วย โดยในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศพระราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์[[#_ftn9|[9]]]


          แม้จะทรงดำรงพระยศสูงส่งในฐานะสมเด็จพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระราชชนนี ศรีสังวาลย์ ก็ยังคงทรงมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี_พระบรมราชินี]] อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เสมือนเป็นการสืบสานพระราชไมตรีระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่ทรงสนิทสนมกันมากมาแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ว่า '''“พี่แดง”''' อย่างสนิทสนมรักใคร่มาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าเมื่อครั้ง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรใน พ.ศ. 2492 ในช่วงแรก รัฐบาลไทยในขณะนั้นมีดำริจะจัดวังตำบลท่าช้าง อันเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[[#_ftn10|[10]]] พระชนกในพระองค์ ถวายเป็นที่ประทับ ตามคำปรารภของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องจาก[[วังศุโขทัย]]ซึ่งเป็นที่ประทับเดิมมาตั้งแต่ครั้งอภิเษกสมรส ยังคงใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงสาธารณสุข แต่ด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยยศในครั้งนั้น) กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ไปประทับยัง '''“ตำหนักหอ”''' วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ กับสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ประทับ ณ วังสระปทุมเป็นเวลาประมาณเกือบ 2 ปี จึงเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนัก[[สวนบ้านแก้ว]] จังหวัดจันทบุรี
          แม้จะทรงดำรงพระยศสูงส่งในฐานะสมเด็จพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระราชชนนี ศรีสังวาลย์ ก็ยังคงทรงมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี_พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี_พระบรมราชินี]] อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เสมือนเป็นการสืบสานพระราชไมตรีระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่ทรงสนิทสนมกันมากมาแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ว่า '''“พี่แดง”''' อย่างสนิทสนมรักใคร่มาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าเมื่อครั้ง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรใน พ.ศ. 2492 ในช่วงแรก รัฐบาลไทยในขณะนั้นมีดำริจะจัดวังตำบลท่าช้าง อันเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[[#_ftn10|[10]]] พระชนกในพระองค์ ถวายเป็นที่ประทับ ตามคำปรารภของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องจาก[[วังศุโขทัย|วังศุโขทัย]]ซึ่งเป็นที่ประทับเดิมมาตั้งแต่ครั้งอภิเษกสมรส ยังคงใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงสาธารณสุข แต่ด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยยศในครั้งนั้น) กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ไปประทับยัง '''“ตำหนักหอ”''' วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ กับสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ประทับ ณ วังสระปทุมเป็นเวลาประมาณเกือบ 2 ปี จึงเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนัก[[สวนบ้านแก้ว|สวนบ้านแก้ว]] จังหวัดจันทบุรี


          ใน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[[#_ftn11|[11]]]
          ใน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[[#_ftn11|[11]]]
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 44:
[[#_ftnref1|[1]]] เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ต่อมาคือมารดาของพลอากาศเอกหะริน หงสกุล ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานรัฐสภา
[[#_ftnref1|[1]]] เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ต่อมาคือมารดาของพลอากาศเอกหะริน หงสกุล ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานรัฐสภา
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระโอรสและพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้า พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์ อันมีพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ซึ่งมารดามิได้เป็นเจ้าขึ้นดำรงพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ดูใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, <u>เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์</u> (กรุงเทพฯ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2549), หน้า 59.
[[#_ftnref2|[2]]] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระโอรสและพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้า พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์ อันมีพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ซึ่งมารดามิได้เป็นเจ้าขึ้นดำรงพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ดูใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์ (กรุงเทพฯ&nbsp;: ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2549), หน้า 59.
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] [[|สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, <u>เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์</u> (กรุงเทพฯ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2549), หน้า 55.]]
[[#_ftnref3|[3]]] สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์ (กรุงเทพฯ&nbsp;: ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2549), หน้า 55.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, <u>แม่เล่าให้ฟัง</u> (เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊ตเซนเตอร์, 2537), หน้า 177.
[[#_ftnref4|[4]]] สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, แม่เล่าให้ฟัง (เชียงใหม่&nbsp;: สุริวงศ์บุ๊ตเซนเตอร์, 2537), หน้า 177.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] วิษณุ เครืองาม, บรรณาธิการ, <u>เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า</u> (กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2547)
[[#_ftnref5|[5]]] วิษณุ เครืองาม, บรรณาธิการ, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (กรุงเทพฯ&nbsp;: คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2547)
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] “พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา,” <u>ราชกิจจานุเบกษา</u>, เล่ม 47&nbsp;(16 พฤศจิกายน 2473) : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3078.PDF
[[#_ftnref6|[6]]] “พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 47&nbsp;(16 พฤศจิกายน 2473)&nbsp;: [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3078.PDF http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3078.PDF]
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์,” <u>ราชกิจจานุเบกษา</u>, เล่ม 51, ตอน 0ก, (7 มีนาคม พ.ศ. 2477) : 1330.
[[#_ftnref7|[7]]] ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 51, ตอน 0ก, (7 มีนาคม พ.ศ. 2477)&nbsp;: 1330.
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] ราชกิจจานุเบกษา, "ประกาศ เรื่อง ถวายพระนามพระอัยยิกา พระราชบิดา และพระราชชนนี," <u>ราชกิจจานุเบกษา</u>, 51 (0 ก) (25 มีนาคม พ.ศ. 2477) : 1409–1410.
[[#_ftnref8|[8]]] ราชกิจจานุเบกษา, "ประกาศ เรื่อง ถวายพระนามพระอัยยิกา พระราชบิดา และพระราชชนนี," ราชกิจจานุเบกษา, 51 (0 ก) (25 มีนาคม พ.ศ. 2477)&nbsp;: 1409–1410.
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศสถาปนา พระราชชนนีศรีสังวาลย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์,” <u>ราชกิจจานุเบกษา</u>, เล่ม 55, ตอน 0 ก, (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) : 671.
[[#_ftnref9|[9]]] ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศสถาปนา พระราชชนนีศรีสังวาลย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 55, ตอน 0 ก, (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481)&nbsp;: 671.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] พระนามเดิมคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอก สกุลเดิม “สุจริตกุล”) ต้นราชสกุล “สวัสดิวัตน์” นอกจากจะเป็นพระชนกในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์) แล้ว ยังเป็นพระโสทรานุชาธิบดีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการ (ต้นราชสกุล “เทวกุล”) สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และ 7 อีกด้วย
[[#_ftnref10|[10]]] พระนามเดิมคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอก สกุลเดิม “สุจริตกุล”) ต้นราชสกุล “สวัสดิวัตน์” นอกจากจะเป็นพระชนกในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์) แล้ว ยังเป็นพระโสทรานุชาธิบดีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการ (ต้นราชสกุล “เทวกุล”) สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และ 7 อีกด้วย
</div> <div id="ftn11">
</div> <div id="ftn11">
[[#_ftnref11|[11]]] “ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี,” <u>ราชกิจจานุเบกษา</u>,​ เล่ม 87 ตอนที่ 52 (12 มิถุนายน 2513) : 1-7.
[[#_ftnref11|[11]]] “ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี,” ราชกิจจานุเบกษา,​ เล่ม 87 ตอนที่ 52 (12 มิถุนายน 2513)&nbsp;: 1-7.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์]][[Category:พระมหากษัตริย์]][[Category:ว่าด้วยพระมหากษัตริย์]][[Category:การสืบราชสันตติวงศ์]][[Category:พระปกเกล้าศึกษา]]
[[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์]] [[Category:พระมหากษัตริย์]] [[Category:ว่าด้วยพระมหากษัตริย์]] [[Category:การสืบราชสันตติวงศ์]] [[Category:พระปกเกล้าศึกษา]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:43, 14 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : ศิบดี นพประเสริฐ

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ

 

          สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เป็นพระอิสริยยศเดิมของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการให้เฉลิมพระนามาภิไธยใน พ.ศ. 2513

          สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ มีพระชาติกำเนิดเดิมเป็นสามัญชน ประสูติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443 ณ จังหวัดนนทบุรี มีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ (ไม่มีนามสกุล เนื่องจากพระราชบัญญัติขนานนามสกุลเริ่มมีใน พ.ศ. 2456) เป็นบุตรคนที่ 3 ในท่านชูและท่านคำ มีพี่น้อง 2 คนซึ่งได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย คงเหลือแต่น้องชายซึ่งอ่อนกว่าสองปี คือ คุณถมยา นิวาสสถานเดิมของคุณสังวาลย์อยู่ที่บริเวณซอย ซึ่งปัจจุบันคือซอยวัดอนงคาราม ทางฝั่ง ธนบุรี

          ท่านชูมีอาชีพเป็นช่างทอง เป็นบุตรชายของคหบดี ชื่อ ชุ่ม แต่ไม่ทราบนามของมารดา ท่านชุ่มมีเชื้อสายสืบมาจากผู้ดีเก่าแถวตึกขาว มีนิวาสสถานอยู่ใกล้วัดอนงคาราม ฝั่งธนบุรี ส่วนพระชนนีคำ มีมารดาชื่อผาแต่ไม่ทราบนามของบิดา ท่านคำเป็นสตรีที่รู้หนังสือซึ่งหาได้ยากในสมัยนั้น จึงได้นำความรู้นี้มาสอนคุณสังวาลย์ คุณสังวาลย์จึงอ่านออกเขียนได้และเป็นผู้ที่มีความรู้ นอกจากนี้ คุณสังวาลย์ยังไปที่วัดอนงคารามบ่อยครั้ง ทั้งนี้ ท่านเจ้าอาวาสชื่อนวม (ต่อมาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์) ได้เปิดโรงเรียนสำหรับเด็กผู้หญิงโดยจ้างครูผู้ชายมาสอน คุณสังวาลย์ไปโรงเรียนไม่ถึงปี โรงเรียนก็ปิดตัวลง ต่อมาคุณสังวาลย์ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนศึกษานารี

          เมื่อคุณสังวาลย์อายุได้ 7 ปี นางรอดซึ่งเป็นญาติของครอบครัวของนายชูแนะนำให้พาไปฝาก คุณจันทร์ แสงชูโต ซึ่งเป็นญาติและเป็นพระพี่เลี้ยงของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงวไลยอลงกรณ์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี และยังทรงเป็นพระราชธิดาบุญธรรมใน สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เพื่อนำขึ้นถวายตัวเป็นข้าหลวง เมื่อท่านคำยินยอม คุณสังวาลย์จึงได้ไปถวายตัว ณ พระตำหนักสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต ต่อมาคุณสังวาลย์ได้ไปพำนักอยู่ที่พระตำหนัก ซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เวลาเสด็จฯ มาประทับที่พระบรมมหาราชวัง ครั้งนี้คุณสังวาลย์ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยาและเพื่อให้อยู่ใกล้โรงเรียน คุณสังวาลย์ได้ไปพักอยู่ที่บ้านของคุณหวน หงสกุล[1] ขณะที่คุณสังวาลย์ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสตรีวิทยานี้เอง คุณสังวาลย์ทำเข็มเย็บผ้าทะลุเข้าไปในฝ่ามือจนมิดเล่ม พระยาดำรงแพทยาคุณ (ฮวด วีระไวทยะ) นายแพทย์ประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ได้ผ่าตัดรักษา เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว คุณหญิงสงวน ดำรงแพทยาคุณ ชวนให้คุณสังวาลย์มาอยู่ด้วยก็ในระหว่างที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนสตรีวิทยานั้น พระยาดำรงแพทยาคุณถามคุณสังวาลย์ว่าต้องการที่จะเรียนพยาบาลหรือไม่ซึ่งคุณสังวาลย์ก็ตอบรับทันที คุณสังวาลเข้าโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช ซึ่งเป็นไปได้ด้วยดีเพราะมีพื้นฐานด้านการอ่านและเขียน และภาคปฏิบัติก็คล่องแคล่ว เมื่อคุณสังวาลย์เรียนพยาบาลอยู่ มีเพื่อนร่วมรุ่นท่านหนึ่ง ชื่อ คุณเนื่อง จินตดุล ที่ต่อมาได้เป็นพระพี่เลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ฝ่ายในเป็นท้าวอินทรสุริยา

          ในช่วง พ.ศ. 2460 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ประทับอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทรงศึกษาวิชาเตรียมแพทย์มาแล้วปีหนึ่ง และกำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ปีที่หนึ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เมดิคัล สกูล (Harvard Medical School) เมืองบอสตัน มลรัฐแมสสาชูเสตต์ โดยประทับที่ห้องชุดเพียงพระองค์เดียว และต้องพระประสงค์ที่จะได้มหาดเล็กมาถวายงานและจะได้ให้เรียนหนังสือด้วย สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชทรงแจ้งพระประสงค์มายัง พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ขณะนั้นทรงเป็นอธิบดีกรมสาธารณสุขในกระทรวงมหาดไทย จึงทรงดำริที่จะส่งนักเรียนแพทย์ 2 คน ซึ่งจะให้เป็นนักเรียนทุนของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และนักเรียนพยาบาล 2 คน ซึ่งจะให้เป็นนักเรียนทุนของ สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี โดยนักเรียนพยาบาลนั้น กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร ทรงเลือกผู้ที่เป็นข้าหลวงในสมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนาฯ และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เสด็จไปยังโรงพยาบาลศิริราช ทรงเรียกคุณสังวาลย์ไปเฝ้าฯ รับสั่งถามว่าอยากไปเรียนเมืองนอกหรือไม่ คุณสังวาลย์กราบทูลตอบรับ

          ใน พ.ศ. 2460 คุณสังวาลย์จึงเดินทางไปศึกษาต่อยังสหรัฐอเมริกา ในขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช ประทับอยู่ที่บอสตัน และทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พระองค์ท่านสนพระทัยในการเรียนการอยู่ของนักเรียนไทยทุกคน ทรงเป็นเสมือนผู้ดูแลนักเรียนอีกคนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้จึงเสด็จไปรับนักเรียนไทยที่เดินทางมาจากซานฟรานซิสโกซึ่งมีคุณสังวาลย์รวมอยู่ด้วย และ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2461 ที่สถานีรถไฟบอสตัน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และคุณสังวาลย์ จึงได้พบกันครั้งแรก ทั้งนี้ คุณสังวาลย์พร้อมด้วยเพื่อนนักเรียนหญิงอีกท่านคือคุณอุบลได้ไปพำนักอยู่ที่เมืองฮาร์ตฟอร์ต มลรัฐคอนเนคติกัต ตั้งแต่อยู่เมืองฮาร์ตฟอร์ด สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จมาหาบ่อยครั้ง และบางครั้งก็ทรงพาคุณสังวาลย์และคุณอุบลไปเที่ยว ในที่สุดก็มีการหมั้นกันเงียบ ๆ ระหว่างสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ กับคุณสังวาลย์ โดยสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงจัดการให้คุณสังวาลย์ย้ายจากเมืองฮาร์ตฟอร์ดไปเมืองบอสตัน

          วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ สวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ จึงเสด็จกลับสยามเพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในขณะเดียวกันก็ทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสกสมรสกับคุณสังวาลย์ และเมื่อทรงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงทรงเสกสมรส ณ วังสระปทุม โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ นางสาวสังวาลย์จึงมีฐานะเป็นหม่อมสังวาลย์ และหลังจากได้เสกสมรสแล้ว ทั้ง 2 พระองค์ได้ตามเสด็จด้วยกันไปประพาสเมืองต่าง ๆ ในทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกา ต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ทรงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเอ็มไอที เมืองบอสตัน ส่วนหม่อมสังวาลย์ เรียนหลักสูตรเตรียมพยาบาลที่วิทยาลัยซิมมอนส์ เมืองบอสตัน

          หลังจากทั้ง 2 พระองค์ทรงจบการศึกษาแล้ว จึงเสด็จไปที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่นี่เองที่พระธิดาองค์แรกในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประสูติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนามว่า “หม่อมเจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา” แต่สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประชวรเนื่องจากไม่ทรงถูกกับอากาศที่หนาวและชื้นของเอดินเบอระ แพทย์จึงทูลแนะนำว่าควรไปประทับในที่อากาศไม่หนาว จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จกลับสยามกอปรกับการที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย เมื่อเสด็จกลับสยามครั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และหม่อม ประทับอยู่สยามถึง 20 เดือน และทรงงานหลากหลายด้านจนประชวรและเสด็จไปให้แพทย์ตรวจ ครั้งนี้คณะแพทย์กราบทูลให้เสด็จไปเสียจากที่ที่มีอากาศร้อน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ซึ่งทรงรู้จักประเทศเยอรมนีเป็นอย่างดีเพราะเคยทรงศึกษาที่นั่น ทรงแนะนำให้เสด็จไปพบแพทย์ที่ไฮเดลเบอร์ก และในวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 หม่อมเจ้าชายอานันทมหิดล ประสูติ ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก

          วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จกลับสยามเพียงพระองค์เดียว เพื่อถวายพระเพลิงพระบรมศพและประทับอยู่จนถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมสังวาลย์เดินทางไปโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ กับพระโอรสและพระธิดา ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จไปสหรัฐฯ ล่วงหน้าเพื่อทรงหาที่ประทับหม่อมสังวาลย์ พระโอรส พระธิดา และคุณเนื่อง จินตดุล ตามเสด็จไปทีหลัง สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ส่วนหม่อมสังวาลเข้าศึกษาที่วิทยาลัยซิมมอนส์

          วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช[2] ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบอร์น (Mount Auburn) ในการพระราชทานพระนามพระโอรสองค์นี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า เสด็จฯ ไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีลายพระราชหัตถเลขาพระราชทานพระนาม[3] ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเสมาพระปรมาภิไธย ปปร แก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช รวมไปถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณิวัฒนา และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลในโอกาสนี้ด้วย ตามที่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” ดังความต่อไปนี้[4]

          “...วันหนึ่ง แม่พาทั้งสามคนไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ (รัชกาลที่ 7) เพื่อกราบพระบาทที่ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อแก่น้องคนเล็ก โดยปกติผู้ที่ได้รับพระราชทานนาม จะทรงพระกรุณาฯ พระราชทานเสมา ปปร ด้วย เมื่อพระราชทานเสมาแก่น้องคนเล็กแล้ว น้องชายคนโตเห็นเข้าก็พูดขึ้นมาทันที ‘สวยดี มีอีกไหม’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็มิได้กริ้ว และรับสั่งให้หยิบมาอีก 2 เสมา เราก็เลยได้รับพระราชทานกันทุกคน...”

 

          นอกจากนี้ หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 ใน พ.ศ. 2473 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)[5] และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3[6]

          ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2_มีนาคม_พ.ศ._2477 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีมติเห็นชอบตามกฎมณเฑียรบาลให้ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จขึ้นทรงราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ต่อไป[7] ดังนั้น ฐานะของหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงเปลี่ยนไปในฐานะที่เป็นพระราชมารดาของพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2478 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงประกาศถวายพระนามพระราชชนนีว่า พระราชชนนีศรีสังวาลย์[8] ต่อมาใน พ.ศ. 2481 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จฯ นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรกนับแต่เสด็จขึ้นทรงราชย์เพื่อทรงเยี่ยมเยียนประชาชน ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ โดยเสด็จในการนี้ด้วย โดยในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศพระราชชนนีเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์[9]

          แม้จะทรงดำรงพระยศสูงส่งในฐานะสมเด็จพระราชชนนีในพระมหากษัตริย์ แต่สมเด็จพระราชชนนี ศรีสังวาลย์ ก็ยังคงทรงมีความจงรักภักดีในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี_พระบรมราชินี อย่างเสมอต้นเสมอปลาย เสมือนเป็นการสืบสานพระราชไมตรีระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ที่ทรงสนิทสนมกันมากมาแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเรียกสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ว่า “พี่แดง” อย่างสนิทสนมรักใคร่มาโดยตลอด จะเห็นได้ว่าเมื่อครั้ง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรใน พ.ศ. 2492 ในช่วงแรก รัฐบาลไทยในขณะนั้นมีดำริจะจัดวังตำบลท่าช้าง อันเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์[10] พระชนกในพระองค์ ถวายเป็นที่ประทับ ตามคำปรารภของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เนื่องจากวังศุโขทัยซึ่งเป็นที่ประทับเดิมมาตั้งแต่ครั้งอภิเษกสมรส ยังคงใช้เป็นที่ทำการของกระทรวงสาธารณสุข แต่ด้วยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (พระอิสริยยศในครั้งนั้น) กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ไปประทับยัง “ตำหนักหอ” วังสระปทุม อันเป็นที่ประทับเดิมของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ กับสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ประทับ ณ วังสระปทุมเป็นเวลาประมาณเกือบ 2 ปี จึงเสด็จฯ แปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนักสวนบ้านแก้ว จังหวัดจันทบุรี

          ใน พ.ศ. 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ เป็นสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[11]

 

อ้างอิง

[1] เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ต่อมาคือมารดาของพลอากาศเอกหะริน หงสกุล ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานรัฐสภา

[2] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระโอรสและพระธิดาในสมเด็จเจ้าฟ้า พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์ อันมีพระชนนีทรงศักดิ์ชั้นสมเด็จ ซึ่งมารดามิได้เป็นเจ้าขึ้นดำรงพระยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ดูใน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์ (กรุงเทพฯ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2549), หน้า 59.

[3] สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์ (กรุงเทพฯ : ซิลค์เวอร์ม บุคส์, 2549), หน้า 55.

[4] สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, แม่เล่าให้ฟัง (เชียงใหม่ : สุริวงศ์บุ๊ตเซนเตอร์, 2537), หน้า 177.

[5] วิษณุ เครืองาม, บรรณาธิการ, เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, 2547)

[6] “พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 47 (16 พฤศจิกายน 2473) : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2473/D/3078.PDF

[7] ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศ สภาผู้แทนราษฎรรับทราบในการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติและลงมติเห็นชอบในการอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ขึ้นทรงราชย์,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 51, ตอน 0ก, (7 มีนาคม พ.ศ. 2477) : 1330.

[8] ราชกิจจานุเบกษา, "ประกาศ เรื่อง ถวายพระนามพระอัยยิกา พระราชบิดา และพระราชชนนี," ราชกิจจานุเบกษา, 51 (0 ก) (25 มีนาคม พ.ศ. 2477) : 1409–1410.

[9] ราชกิจจานุเบกษา, “ประกาศสถาปนา พระราชชนนีศรีสังวาลย์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์,” ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 55, ตอน 0 ก, (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) : 671.

[10] พระนามเดิมคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฎวิทยมหาราช ประสูติแต่สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม พระสนมเอก สกุลเดิม “สุจริตกุล”) ต้นราชสกุล “สวัสดิวัตน์” นอกจากจะเป็นพระชนกในสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 (พระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี สวัสดิวัตน์) แล้ว ยังเป็นพระโสทรานุชาธิบดีในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรประการ (ต้นราชสกุล “เทวกุล”) สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีในรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และ 7 อีกด้วย

[11] “ประกาศเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี,” ราชกิจจานุเบกษา,​ เล่ม 87 ตอนที่ 52 (12 มิถุนายน 2513) : 1-7.