ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบสองพรรคครึ่ง (สหราชอาณาจักร)"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 10:
          การทำความเข้าใจระบบสองพรรคครึ่งของสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่ง นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง และ สอง ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร
          การทำความเข้าใจระบบสองพรรคครึ่งของสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่ง นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง และ สอง ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร


 
= <span style="font-size:x-large;">'''นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง'''</span> =
 
<span style="font-size:x-large;">'''นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ระบบสองพรรคครึ่ง''' '''(Two-and-a-Half-Party Systems)''' เป็นปรากฎการณ์ที่ระบบพรรคการเมืองของประเทศแม้จะมีพรรคการเมืองจำนวนมาก แต่จะมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรค ที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งของระบบรัฐสภาและมีพรรคการเมืองที่มีขนาดเป็นอันดับสามที่แม้จะได้ที่นั่งในรัฐสภาพอสมควร แต่ไม่ได้มีจำนวนมากเทียบเท่ากับสองพรรคใหญ่ แต่พรรคการเมืองอันดับสามนี้สามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับสองพรรคใหญ่ในกรณีที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาถึงกึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ได้ โดยพบปรากฎการณ์ระบบสองพรรคครึ่งที่พรรคการเมืองอันดับสามมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในประเทศเยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ และแคนาดา[[#_ftn1|[1]]] อย่างไรก็ตาม ระบบสองพรรคครึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงผันแปรไปตามผลการเลือกตั้งในแต่ละครั้งและการเปลี่ยนแปลงในกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์และเบลเยี่ยมที่เปลี่ยนมาเป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค ขณะที่ประเทศโปรตุเกสกลับเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามจากระบบพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นระบบสองพรรคครึ่ง[[#_ftn2|[2]]]
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ระบบสองพรรคครึ่ง''' '''(Two-and-a-Half-Party Systems)''' เป็นปรากฎการณ์ที่ระบบพรรคการเมืองของประเทศแม้จะมีพรรคการเมืองจำนวนมาก แต่จะมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรค ที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งของระบบรัฐสภาและมีพรรคการเมืองที่มีขนาดเป็นอันดับสามที่แม้จะได้ที่นั่งในรัฐสภาพอสมควร แต่ไม่ได้มีจำนวนมากเทียบเท่ากับสองพรรคใหญ่ แต่พรรคการเมืองอันดับสามนี้สามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับสองพรรคใหญ่ในกรณีที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาถึงกึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ได้ โดยพบปรากฎการณ์ระบบสองพรรคครึ่งที่พรรคการเมืองอันดับสามมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในประเทศเยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ และแคนาดา[[#_ftn1|[1]]] อย่างไรก็ตาม ระบบสองพรรคครึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงผันแปรไปตามผลการเลือกตั้งในแต่ละครั้งและการเปลี่ยนแปลงในกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์และเบลเยี่ยมที่เปลี่ยนมาเป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค ขณะที่ประเทศโปรตุเกสกลับเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามจากระบบพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นระบบสองพรรคครึ่ง[[#_ftn2|[2]]]
บรรทัดที่ 23: บรรทัดที่ 21:


&nbsp;
&nbsp;
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 1&nbsp;: การแบ่งประเภทของระบบพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคการเมือง'''</p>  
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 1&nbsp;:''' การแบ่งประเภทของระบบพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคการเมือง</p>  
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
|-
|-
บรรทัดที่ 61: บรรทัดที่ 59:
|}
|}
<p style="text-align: center;">'''ที่มา''' ''':''' Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in ''Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'' (Yale University Press, 2012), 65.</p>  
<p style="text-align: center;">'''ที่มา''' ''':''' Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in ''Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'' (Yale University Press, 2012), 65.</p>  
&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร'''</span> =
 
<span style="font-size:x-large;">'''ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร'''</span>


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกรณีของสหราชอาณาจักร ระบบสองพรรคครึ่งเป็นระบบพรรคการเมืองที่ใช้นิยามการแข่งขันทางการเมืองในสหราชอาณาจักรจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง (House of Commons) ค.ศ. 2010 เมื่อผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่สองพรรคคือ พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) และพรรคแรงงาน (Labour Party) แต่ละพรรคได้ที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาล่างทั้งหมด ทำให้ทั้งสองพรรคไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องร่วมมือกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ซึ่งได้ที่นั่งเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้ง[[#_ftn7|[7]]] โดยพรรคอนุรักษ์นิยมที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งได้ตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐบาลผสมครั้งแรกของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่_2]] อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้และการเลือกตั้งหลังจากนี้ทำให้ระบบการเมืองอังกฤษกลับไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) อีกครั้ง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในกรณีของสหราชอาณาจักร ระบบสองพรรคครึ่งเป็นระบบพรรคการเมืองที่ใช้นิยามการแข่งขันทางการเมืองในสหราชอาณาจักรจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง (House of Commons) ค.ศ. 2010 เมื่อผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่สองพรรคคือ พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) และพรรคแรงงาน (Labour Party) แต่ละพรรคได้ที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาล่างทั้งหมด ทำให้ทั้งสองพรรคไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องร่วมมือกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ซึ่งได้ที่นั่งเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้ง[[#_ftn7|[7]]] โดยพรรคอนุรักษ์นิยมที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งได้ตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐบาลผสมครั้งแรกของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่_2]] อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้และการเลือกตั้งหลังจากนี้ทำให้ระบบการเมืองอังกฤษกลับไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) อีกครั้ง


&nbsp;
&nbsp;
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่''' '''2&nbsp;: การเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2010'''</p>  
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่''' '''2&nbsp;:''' การเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2010</p>  
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
|-
|-
บรรทัดที่ 75: บรรทัดที่ 71:


! style="width: 50px; text-align: center;" |  
! style="width: 50px; text-align: center;" |  
'''เขตเลือกตั้งที่ลงแข่ง'''
'''เขตเลือกตั้ง'''
 
'''ที่ลงแข่ง'''


! style="width: 50px; text-align: center;" |  
! style="width: 50px; text-align: center;" |  
'''จำนวน ส.ส. ที่ได้'''
'''จำนวน&nbsp;ส.ส. ที่ได้'''


! style="width: 120px; text-align: center;" |  
! style="width: 120px; text-align: center;" |  
บรรทัดที่ 91: บรรทัดที่ 89:


| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">631</p>  
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">631</p>  
| style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">307</p>  
| style="width: 69px;" | <p style="text-align: right;">307</p>  
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">10,726,614</p>  
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">10,726,614</p>  
| style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">36.1</p>  
| style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">36.1</p>  
บรรทัดที่ 191: บรรทัดที่ 189:


&nbsp;
&nbsp;
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 3&nbsp;: พรรคร่วมรัฐบาลของสหราชอาณาจักรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2'''</p>  
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 3&nbsp;:''' พรรคร่วมรัฐบาลของสหราชอาณาจักรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2</p>  
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0"
|-
|-
บรรทัดที่ 307: บรรทัดที่ 305:
|}
|}
<p style="text-align: center;">'''ที่มา&nbsp;:''' Joseph L. Klesner, ''Comparative Politics: A Introduction'' (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].</p>  
<p style="text-align: center;">'''ที่มา&nbsp;:''' Joseph L. Klesner, ''Comparative Politics: A Introduction'' (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].</p>  
&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> =
 
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span>


BBC. "National Results ", 2010. Accessed 19 July, 2021. [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/].
BBC. "National Results ", 2010. Accessed 19 July, 2021. [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/].


Electoral Reform Society. ''The Uk General Election 2010: In-Depth''. Electoral Reform Society, 2010.
Electoral Reform Society. The Uk General Election 2010: In-Depth. Electoral Reform Society, 2010.


GOV.UK. "Past Prime Ministers." Accessed 1 September, 2021. [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].
GOV.UK. "Past Prime Ministers." Accessed 1 September, 2021. [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].


Klesner, Joseph L. ''Comparative Politics: A Introduction''. New York: McGraw-Hill, 2014.
Klesner, Joseph L. Comparative Politics: A Introduction. New York: McGraw-Hill, 2014.
 
Lijphart, Arend. "Patterns of Democracy." In ''Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'': Yale University Press, 2012.


Rose, Richard. "Politics in England." In ''Comparative Politics Today: A World View''. Edited by Gabriel A. Almond, Russell J. Dalton, G. Bingham Powell, and Kaare Strom. New York: Pearson, 2006.
Lijphart, Arend. "Patterns of Democracy." In Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns: Yale University Press, 2012.


Siaroff, Alan. "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'." ''Party Politics'' 9, no. 3 (2003): 267-90. [https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001 https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001].
Rose, Richard. "Politics in England." In Comparative Politics Today: A World View. Edited by Gabriel A. Almond, Russell J. Dalton, G. Bingham Powell, and Kaare Strom. New York: Pearson, 2006.


&nbsp;
Siaroff, Alan. "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'." Party Politics 9, no. 3 (2003): 267-90. [https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001 https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001].


'''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>'''
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' =


[[#_ftnref1|[1]]] มาจากคำอธิบายในงานของ Jean Blondel (1968) ดูใน Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in ''Chapter ''5. ''Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'' (Yale University Press, 2012), 65.
[[#_ftnref1|[1]]] มาจากคำอธิบายในงานของ Jean Blondel (1968) ดูใน Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns (Yale University Press, 2012), 65.
<div><div id="ftn2">
<div><div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]]&nbsp; Alan Siaroff, "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'," ''Party Politics'' 9, no. 3 (2003): 272, [https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001 https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001].
[[#_ftnref2|[2]]]&nbsp; Alan Siaroff, "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'," Party Politics 9, no. 3 (2003): 272, [https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001 https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001].
</div> <div id="ftn3">
</div> <div id="ftn3">
[[#_ftnref3|[3]]] Siaroff, 268.
[[#_ftnref3|[3]]] Siaroff, 268.
</div> <div id="ftn4">
</div> <div id="ftn4">
[[#_ftnref4|[4]]] Lijphart,&nbsp; in ''Chapter ''5. ''Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'', 66.
[[#_ftnref4|[4]]] Lijphart,&nbsp; in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 66.
</div> <div id="ftn5">
</div> <div id="ftn5">
[[#_ftnref5|[5]]] Lijphart,&nbsp; in ''Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'', 65.
[[#_ftnref5|[5]]] Lijphart,&nbsp; in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 65.
</div> <div id="ftn6">
</div> <div id="ftn6">
[[#_ftnref6|[6]]] Siaroff, 272.
[[#_ftnref6|[6]]] Siaroff, 272.
บรรทัดที่ 343: บรรทัดที่ 337:
[[#_ftnref7|[7]]] BBC, "National Results ", 2010, accessed 19 July, 2021, [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/].
[[#_ftnref7|[7]]] BBC, "National Results ", 2010, accessed 19 July, 2021, [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/].
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] Joseph L. Klesner, ''Comparative Politics: A Introduction'' (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].
[[#_ftnref8|[8]]] Joseph L. Klesner, Comparative Politics: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].
</div> <div id="ftn9">
</div> <div id="ftn9">
[[#_ftnref9|[9]]] Lijphart,&nbsp; in ''Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'', 73.
[[#_ftnref9|[9]]] Lijphart,&nbsp; in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 73.
</div> <div id="ftn10">
</div> <div id="ftn10">
[[#_ftnref10|[10]]] Klesner, 272.
[[#_ftnref10|[10]]] Klesner, 272.
บรรทัดที่ 351: บรรทัดที่ 345:
[[#_ftnref11|[11]]] Siaroff, 274.
[[#_ftnref11|[11]]] Siaroff, 274.
</div> <div id="ftn12">
</div> <div id="ftn12">
[[#_ftnref12|[12]]] Richard Rose, "Politics in England," in ''Comparative Politics Today: A World View'', ed. Gabriel A. Almond et al. (New York: Pearson, 2006), 190.
[[#_ftnref12|[12]]] Richard Rose, "Politics in England," in Comparative Politics Today: A World View, ed. Gabriel A. Almond et al. (New York: Pearson, 2006), 190.
</div> <div id="ftn13">
</div> <div id="ftn13">
[[#_ftnref13|[13]]] มาจากคำว่า Liberal Democrat Party และ Labour Party
[[#_ftnref13|[13]]] มาจากคำว่า Liberal Democrat Party และ Labour Party
บรรทัดที่ 357: บรรทัดที่ 351:
[[#_ftnref14|[14]]] Siaroff, 276.
[[#_ftnref14|[14]]] Siaroff, 276.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[15]]] Rose,&nbsp; in ''Comparative Politics Today: A World View'', 190-91.
[[#_ftnref15|[15]]] Rose,&nbsp; in Comparative Politics Today: A World View, 190-91.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[16]]] Electoral Reform Society, ''The Uk General Election 2010: In-Depth'' (Electoral Reform Society, 2010), 6-7.
[[#_ftnref16|[16]]] Electoral Reform Society, The Uk General Election 2010: In-Depth (Electoral Reform Society, 2010), 6-7.
</div> <div id="ftn17">
</div> <div id="ftn17">
[[#_ftnref17|[17]]] Rose,&nbsp; in ''Comparative Politics Today: A World View'', 191.
[[#_ftnref17|[17]]] Rose,&nbsp; in Comparative Politics Today: A World View, 191.
</div> </div>  
</div> </div>  
&nbsp;
&nbsp;


[[Category:พรรคการเมือง]][[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]][[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]
[[Category:พรรคการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:00, 14 กรกฎาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : เอกวีร์ มีสุข

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต  

 

ระบบสองพรรคครึ่ง (สหราชอาณาจักร)

          การทำความเข้าใจระบบสองพรรคครึ่งของสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่ง นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง และ สอง ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร

นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง

          ระบบสองพรรคครึ่ง (Two-and-a-Half-Party Systems) เป็นปรากฎการณ์ที่ระบบพรรคการเมืองของประเทศแม้จะมีพรรคการเมืองจำนวนมาก แต่จะมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรค ที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งของระบบรัฐสภาและมีพรรคการเมืองที่มีขนาดเป็นอันดับสามที่แม้จะได้ที่นั่งในรัฐสภาพอสมควร แต่ไม่ได้มีจำนวนมากเทียบเท่ากับสองพรรคใหญ่ แต่พรรคการเมืองอันดับสามนี้สามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับสองพรรคใหญ่ในกรณีที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาถึงกึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ได้ โดยพบปรากฎการณ์ระบบสองพรรคครึ่งที่พรรคการเมืองอันดับสามมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในประเทศเยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ และแคนาดา[1] อย่างไรก็ตาม ระบบสองพรรคครึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงผันแปรไปตามผลการเลือกตั้งในแต่ละครั้งและการเปลี่ยนแปลงในกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์และเบลเยี่ยมที่เปลี่ยนมาเป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค ขณะที่ประเทศโปรตุเกสกลับเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามจากระบบพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นระบบสองพรรคครึ่ง[2]

          การวัดและประเมินว่าระบบพรรคการเมืองของประเทศใดที่ถือว่าเป็นระบบสองพรรคครึ่ง สามารถพิจารณาได้จากจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties: ENP) ที่มีค่าตั้งแต่ 1 จนถึงไม่มีที่สิ้นสุด (one to infinity) และการพิจารณาจากความสามารถในการจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาล (coalition) และการแบลคเมล์ (blackmail) ของพรรคการเมืองที่สำคัญ[3] โดยการคำนวณหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลอาศัยสูตรที่พัฒนาโดย Markku Laakso และ Rein Taagepera ใน ค.ศ. 1979 โดยให้ N เท่ากับจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล และ Si คือสัดส่วนที่นั่งของพรรคการเมือง i ที่คำนวณรวมเฉพาะพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาตามสูตรคำนวน[4] ดังนี้

RTENOTITLE
RTENOTITLE

 

          ในงานของ Jean Blondel (1968) ได้แบ่งประเภทของพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคออกเป็น 4 ประเภท แต่งานของ Blondel มีข้อบกพร่องเฉกเช่นงานศึกษาพรรคการเมืองในยุคก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่สามารถหาค่าที่แน่ชัดได้ว่าในแต่ละระบบพรรคการเมืองจะมีจำนวนของพรรคการเมืองเท่าใดและแต่ละพรรคจะมีจำนวนที่นั่งในสภาเท่าใดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว หรือระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว การนำสูตรการคำนวณของ Markku Laakso และ Rein Taagepera สามารถใช้คำนวณเพื่อหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลได้อย่างชัดเจน การการคำนวณพบว่าในระบบสองพรรคครึ่งมีค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลที่ 2.6 ตามตารางที่ 1[5] อย่างไรก็ตาม มีงานวิชาการอื่นที่กำหนดเกณฑ์ประเมินว่าระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่งด้วย อาทิ งานของ Alan Siaroff (2003) เสนอว่าระบบสองพรรคครึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาว่า หนึ่ง พรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ได้ที่นั่งในรัฐสภารวมกันอย่างน้อย ร้อยละ 80 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 95 ของที่นั่งทั้งหมด และ สอง ระบบพรรคการเมืองไม่เกิดปัญหาพรรคเดี่ยวครอบงำ (one-party predominant) และสัดส่วนที่นั่งระหว่างพรรคการเมืองใหญ่อันดับสองและพรรคอันดับสามจะห่างกันอย่างน้อย 2.5[6]

 

ตารางที่ 1 : การแบ่งประเภทของระบบพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคการเมือง

ระบบพรรคการเมือง (Party systems)

สมมติฐานตัวอย่างสัดส่วนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (Hypothetical examples of seat shares)

จำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties)

ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System)

55–45

2.0

ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง (Two-and-a-Half-Party Systems)

45–40–15

2.6

ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system with a dominant party)

45–20–15–10–10

3.5

ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system without a dominant party)

25–25–25–15–10

4.5

ที่มา : Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns (Yale University Press, 2012), 65.

ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร

          ในกรณีของสหราชอาณาจักร ระบบสองพรรคครึ่งเป็นระบบพรรคการเมืองที่ใช้นิยามการแข่งขันทางการเมืองในสหราชอาณาจักรจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง (House of Commons) ค.ศ. 2010 เมื่อผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่สองพรรคคือ พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) และพรรคแรงงาน (Labour Party) แต่ละพรรคได้ที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาล่างทั้งหมด ทำให้ทั้งสองพรรคไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องร่วมมือกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ซึ่งได้ที่นั่งเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้ง[7] โดยพรรคอนุรักษ์นิยมที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งได้ตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐบาลผสมครั้งแรกของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่_2 อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้และการเลือกตั้งหลังจากนี้ทำให้ระบบการเมืองอังกฤษกลับไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) อีกครั้ง

 

ตารางที่ 2 : การเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2010

พรรคการเมือง

เขตเลือกตั้ง

ที่ลงแข่ง

จำนวน ส.ส. ที่ได้

คะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด

ร้อยละของคะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด

พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party)

631

307

10,726,614

36.1

พรรคแรงงาน (Labour Party)

631

258

8,609,527

29.0

พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party)

631

57

6,836,824

23.0

พรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party)

16

8

168,216

0.6

พรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์ (Scottish National Party)

59

6

491,386

1.7

Sinn Fein

17

5

171,942

0.6

Plaid Cymru

18

3

165,394

0.6

Social Democratic & Labour Party

18

3

110,970

0.4

Green

310

1

285,616

1.0

Alliance Party

18

1

42,762

0.1

อื่น ๆ รวมผู้สมัครอิสระ (Others)

1

1

321,309

1.1

รวม

 

650

29,691,380

100.0

ที่มา : BBC

          การเกิดระบบสองพรรคครึ่งใน ค.ศ. 2010 สร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบพรรคการเมืองอังกฤษที่เป็นประเทศแม่แบบของระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค เนื่องจากนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองและการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรโดยทั่วไปเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคที่พรรคใหญ่อย่างพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงาน แข่งขันกันผ่านการเลือกตั้งเพื่อสลับเป็นพรรครัฐบาลและนายกรัฐมนตรี[8] โดยในงานของ Arend Lijphart (2012) ที่ศึกษาจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลใน 36 ประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 1945-2010 ยืนยันว่าระบบพรรคการเมืองของสหราชอาณาจักรเป็นแบบระบบสองพรรคโดยพื้นฐาน โดยค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลของสหราชอาณาจักร เฉลี่ยที่ 2.16[9] โดยพรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่งในสภามากที่สุดจะได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวในระบบรัฐสภาตามตารางที่ 3 ทำให้ระบบการเมืองของอังกฤษมีการแบ่งชัดระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เช่น การเรียกฝ่ายรัฐบาลว่ารัฐบาลในพระองค์ (Her Majesty’s Government) และเรียกฝ่ายค้านว่าฝ่ายค้านผู้ภักดีในพระองค์ (Her Majesty’s Loyal Opposition) ผู้ออกเสียงเลือกตั้งมีความชัดเจนที่จะเลือกตพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่มีสองพรรคหลัก หากต้องการนายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงานก็ให้เลือกพรรคแรงงาน หากต้องการนายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยมให้เลือกพรรคอนุรักษ์นิยม[10]

          อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่นำไปสู่การเกิดระบบสองพรรคครึ่งมิได้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดอย่างฉับพลัน แต่เป็นผลจากพัฒนาการของการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองที่ทำให้พรรคการเมืองนอกเหนือจากสองพรรคใหญ่พยายามเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ปรากฎชัดครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 เมื่อผลการเลือกตั้งพบว่าพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษ์นิยมไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาเกินกึ่งหนึ่งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ โดยพรรคแรงงานได้ที่นั่งสูงสุด 301 ที่นั่ง ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมได้ 297 ที่นั่ง จนเกิดภาวะ “สภาแขวน” (hung parliament) ที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา[11] ทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยซึ่งได้ที่นั่งมาเป็นลำดับสามและได้คะแนนดิบประมาณ ร้อยละ 20 ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งซึ่งมากที่สุดนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[12] กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะครั้งแรกว่าจะเป็นพรรคตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมจากเดิมที่เป็นพรรคที่มีบทบาททางการเมืองน้อย อย่างไรก็ตาม พรรคแรงงานได้ตัดสินใจตั้งรัฐบาลเสียงส่วนน้อย (minority government) ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันพรรคแรงงานได้กลับมาเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากอีกครั้ง ส่วนบทบาทของพรรคเสรีประชาธิปไตยก็ลดบทบาทกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านแต่ก็ยังคงรักษาความเป็นพันธมิตรกับพรรคแรงงานในการผลักดันนโยบายหรือที่เรียกว่าข้อตกลง ลิป-แลป (Lib–Lab Pact)[13] ในช่วง ค.ศ. 1977-1978 จนในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1980 สหราชอาณาจักรจึงกลับไปเป็นระบบสองพรรคเหมือนเดิม[14]

          แม้ว่าช่วง ค.ศ. 1980-2010 ระบบพรรคการเมืองแบบอังกฤษจะยังคงเป็นระบบสองพรรค แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองที่เอื้อจนนำไปสู่การเกิดระบบสองพรรคครึ่งใน ค.ศ. 2010 ได้แก่ หนึ่ง คะแนนดิบของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในสองพรรคใหญ่มีจำนวนลดลง โดยคะแนนดิบรวมของพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงานเหลือเพียง ร้อยละ 75 ตั้งแต่การเลือกตั้ง ค.ศ. 1974 และมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจนในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 ทั้งสองพรรคได้คะแนนดิบรวมเพียง ร้อยละ 67[15] แตกต่างจากพรรคเสรีประชาธิปไตยที่มีแนวโน้มได้คะแนนดิบสูงมากขึ้นนับตั้งแต่การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1974 ที่ได้คะแนนดิบเฉลี่ยที่ ร้อยละ 20[16] สอง การแข่งขันของพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มีมากขึ้น แม้ว่าระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคจะยังครอบงำการเมืองสหราชอาณาจักร แต่มีพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เข้ามามีส่วนแบ่งในการได้ที่นั่งในสภา ทั้งพรรคการเมืองในพื้นที่อังกฤษอย่างพรรคเสรีประชาธิปไตย ในไอร์แลนด์เหนืออย่างพรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party) และพรรค Sinn Fein ในสก๊อตแลนด์อย่างพรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์  (Scottish National Party) และในเวลส์อย่าง พรรค Plaid Cymru กับ สาม พรรคการเมืองขนาดเล็กเริ่มเป็นคู่แข่งพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในบางพื้นที่ ทำให้ในบางพื้นที่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันระหว่างสองพรรคใหญ่เสมอไป อาทิ ใน ค.ศ. 2005 พื้นที่สก๊อตแลนด์เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคแรงงานและพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือในไอร์แลนด์เหนือเป็นการแข่งขันของพรรคสหภาพประชาธิปไตยและพรรค Sinn Fein[17] ปัจจัยทั้งสามข้อนี้จึงเอื้อให้การเลือกตั้ง ค.ศ. 2010 พรรคการเมืองที่ไม่ใช่สองพรรคใหญ่ได้คะแนนเสียงและที่นั่งในสภามากขึ้นรวม 85 ที่นั่ง โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยได้จำนวนที่นั่งในสภาจำนวน 57 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค ส่งผลให้พรรคเสรีประชาธิปไตยกลายเป็นตัวแปรสำคัญของการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอนุรักษ์นิยมในเวลาต่อมา

 

ตารางที่ 3 : พรรคร่วมรัฐบาลของสหราชอาณาจักรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นายกรัฐมนตรี

พรรครัฐบาล

ปีการครองอำนาจ (ค.ศ.)

เคลเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee)

พรรคแรงงาน

1945-1951

เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1951-1955

เซอร์ แอนโทนี อีเดน (Sir Anthony Eden)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1955-1957

ฮาโรลด์ แมคมิลแลน (Harold Macmillan)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1957-1963

เซอร์ อเล็ค ดักลาส-ฮูม (Sir Alec Douglas-Home)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1963-1964

ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson)

พรรคแรงงาน

1964-2970

เอ็ดวาร์ด ฮีธ (Edward Heath)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1970-1974

ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson)

พรรคแรงงาน

1974-1976

เจมส์ คัลลาฮาน (James Callaghan)

พรรคแรงงาน

1976-1979

มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1979-1990

จอห์น เมเจอร์ (John Major)

พรรคอนุรักษ์นิยม

1990-1997

โทนี แบลร์ (Tony Blair)

พรรคแรงงาน

1997-2007

กอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown)

พรรคแรงงาน

2007-2010

เดวิด แคเมอรอน (David Cameron)

พรรคอนุรักษ์นิยม-พรรคเสรีประชาธิปไตย

2010-2015

เดวิด แคเมอรอน (David Cameron)

พรรคอนุรักษ์นิยม

2015-2016

เทรีซา เมย์ (Theresa May)

พรรคอนุรักษ์นิยม

2016-2019

บอริส จอห์นสัน (Boris Johnson)

พรรคอนุรักษ์นิยม

2019-ปัจจุบัน

ที่มา : Joseph L. Klesner, Comparative Politics: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers.

บรรณานุกรม

BBC. "National Results ", 2010. Accessed 19 July, 2021. http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/.

Electoral Reform Society. The Uk General Election 2010: In-Depth. Electoral Reform Society, 2010.

GOV.UK. "Past Prime Ministers." Accessed 1 September, 2021. https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers.

Klesner, Joseph L. Comparative Politics: A Introduction. New York: McGraw-Hill, 2014.

Lijphart, Arend. "Patterns of Democracy." In Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns: Yale University Press, 2012.

Rose, Richard. "Politics in England." In Comparative Politics Today: A World View. Edited by Gabriel A. Almond, Russell J. Dalton, G. Bingham Powell, and Kaare Strom. New York: Pearson, 2006.

Siaroff, Alan. "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'." Party Politics 9, no. 3 (2003): 267-90. https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001.

อ้างอิง

[1] มาจากคำอธิบายในงานของ Jean Blondel (1968) ดูใน Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns (Yale University Press, 2012), 65.

[2]  Alan Siaroff, "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'," Party Politics 9, no. 3 (2003): 272, https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001.

[3] Siaroff, 268.

[4] Lijphart,  in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 66.

[5] Lijphart,  in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 65.

[6] Siaroff, 272.

[7] BBC, "National Results ", 2010, accessed 19 July, 2021, http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/.

[8] Joseph L. Klesner, Comparative Politics: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers.

[9] Lijphart,  in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 73.

[10] Klesner, 272.

[11] Siaroff, 274.

[12] Richard Rose, "Politics in England," in Comparative Politics Today: A World View, ed. Gabriel A. Almond et al. (New York: Pearson, 2006), 190.

[13] มาจากคำว่า Liberal Democrat Party และ Labour Party

[14] Siaroff, 276.

[15] Rose,  in Comparative Politics Today: A World View, 190-91.

[16] Electoral Reform Society, The Uk General Election 2010: In-Depth (Electoral Reform Society, 2010), 6-7.

[17] Rose,  in Comparative Politics Today: A World View, 191.