ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบบสองพรรคครึ่ง (สหราชอาณาจักร)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 6 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง '''เอกวีร์ มีสุข | '''ผู้เรียบเรียง : '''เอกวีร์ มีสุข | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ''' | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : '''รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | ||
| | ||
''' | <span style="font-size:x-large;">'''ระบบสองพรรคครึ่ง (สหราชอาณาจักร)'''</span> | ||
| การทำความเข้าใจระบบสองพรรคครึ่งของสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่ง นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง และ สอง ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร | ||
= <span style="font-size:x-large;">'''นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง'''</span> = | |||
| '''ระบบสองพรรคครึ่ง''' '''(Two-and-a-Half-Party Systems)''' เป็นปรากฎการณ์ที่ระบบพรรคการเมืองของประเทศแม้จะมีพรรคการเมืองจำนวนมาก แต่จะมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรค ที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งของระบบรัฐสภาและมีพรรคการเมืองที่มีขนาดเป็นอันดับสามที่แม้จะได้ที่นั่งในรัฐสภาพอสมควร แต่ไม่ได้มีจำนวนมากเทียบเท่ากับสองพรรคใหญ่ แต่พรรคการเมืองอันดับสามนี้สามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับสองพรรคใหญ่ในกรณีที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาถึงกึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ได้ โดยพบปรากฎการณ์ระบบสองพรรคครึ่งที่พรรคการเมืองอันดับสามมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในประเทศเยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ และแคนาดา[[#_ftn1|[1]]] อย่างไรก็ตาม ระบบสองพรรคครึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงผันแปรไปตามผลการเลือกตั้งในแต่ละครั้งและการเปลี่ยนแปลงในกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์และเบลเยี่ยมที่เปลี่ยนมาเป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค ขณะที่ประเทศโปรตุเกสกลับเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามจากระบบพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นระบบสองพรรคครึ่ง[[#_ftn2|[2]]] | ||
[[ | |||
การวัดและประเมินว่าระบบพรรคการเมืองของประเทศใดที่ถือว่าเป็นระบบสองพรรคครึ่ง สามารถพิจารณาได้จากจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties: ENP) ที่มีค่าตั้งแต่ 1 จนถึงไม่มีที่สิ้นสุด (one to infinity) และการพิจารณาจากความสามารถในการจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาล (coalition) และการแบลคเมล์ (blackmail) ของพรรคการเมืองที่สำคัญ[[#_ftn3|[3]]] โดยการคำนวณหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลอาศัยสูตรที่พัฒนาโดย Markku Laakso และ Rein Taagepera ใน ค.ศ. 1979 โดยให้ ''N'' เท่ากับจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล และ ''S<sub>i</sub>'' คือสัดส่วนที่นั่งของพรรคการเมือง i ที่คำนวณรวมเฉพาะพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาตามสูตรคำนวน[[#_ftn4|[4]]] ดังนี้ | |||
<p style="text-align: center;">[[File:1634543708440.jpg|center|RTENOTITLE]]</p> | |||
| | ||
ในงานของ Jean Blondel (1968) ได้แบ่งประเภทของพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคออกเป็น 4 ประเภท แต่งานของ Blondel มีข้อบกพร่องเฉกเช่นงานศึกษาพรรคการเมืองในยุคก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่สามารถหาค่าที่แน่ชัดได้ว่าในแต่ละระบบพรรคการเมืองจะมีจำนวนของพรรคการเมืองเท่าใดและแต่ละพรรคจะมีจำนวนที่นั่งในสภาเท่าใดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว หรือระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว การนำสูตรการคำนวณของ Markku Laakso และ Rein Taagepera สามารถใช้คำนวณเพื่อหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลได้อย่างชัดเจน | ในงานของ Jean Blondel (1968) ได้แบ่งประเภทของพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคออกเป็น 4 ประเภท แต่งานของ Blondel มีข้อบกพร่องเฉกเช่นงานศึกษาพรรคการเมืองในยุคก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่สามารถหาค่าที่แน่ชัดได้ว่าในแต่ละระบบพรรคการเมืองจะมีจำนวนของพรรคการเมืองเท่าใดและแต่ละพรรคจะมีจำนวนที่นั่งในสภาเท่าใดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว หรือระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว การนำสูตรการคำนวณของ Markku Laakso และ Rein Taagepera สามารถใช้คำนวณเพื่อหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลได้อย่างชัดเจน การการคำนวณพบว่าในระบบสองพรรคครึ่งมีค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลที่ 2.6 ตามตารางที่ 1[[#_ftn5|[5]]] อย่างไรก็ตาม มีงานวิชาการอื่นที่กำหนดเกณฑ์ประเมินว่าระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่งด้วย อาทิ งานของ Alan Siaroff (2003) เสนอว่าระบบสองพรรคครึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาว่า หนึ่ง พรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ได้ที่นั่งในรัฐสภารวมกันอย่างน้อย ร้อยละ 80 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 95 ของที่นั่งทั้งหมด และ สอง ระบบพรรคการเมืองไม่เกิดปัญหาพรรคเดี่ยวครอบงำ (one-party predominant) และสัดส่วนที่นั่งระหว่างพรรคการเมืองใหญ่อันดับสองและพรรคอันดับสามจะห่างกันอย่างน้อย 2.5[[#_ftn6|[6]]] | ||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 1 :''' การแบ่งประเภทของระบบพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคการเมือง</p> | |||
'''ตารางที่ | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |- | ||
! style="width: | ! style="width: 400px; text-align: center;" | | ||
ระบบพรรคการเมือง (Party systems) | ระบบพรรคการเมือง (Party systems) | ||
! style="width: | ! style="width: 250px; text-align: center;" | | ||
สมมติฐานตัวอย่างสัดส่วนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (Hypothetical examples of seat shares) | สมมติฐานตัวอย่างสัดส่วนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (Hypothetical examples of seat shares) | ||
! style="width: | ! style="width: 200px; text-align: center;" | | ||
จำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties) | จำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties) | ||
บรรทัดที่ 45: | บรรทัดที่ 37: | ||
ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) | ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) | ||
| style="width:173px;" | | | style="width:173px;" | <p style="text-align: center;">55–45</p> | ||
55–45 | | style="width:169px;" | <p style="text-align: center;">2.0</p> | ||
| style="width:169px;" | | |||
2.0 | |||
|- | |- | ||
| style="width:257px;" | | | style="width:257px;" | | ||
ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง (Two-and-a-Half-Party Systems) | ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง (Two-and-a-Half-Party Systems) | ||
| style="width:173px;" | | | style="width:173px;" | <p style="text-align: center;">45–40–15</p> | ||
45–40–15 | | style="width:169px;" | <p style="text-align: center;">2.6</p> | ||
| style="width:169px;" | | |||
2.6 | |||
|- | |- | ||
| style="width:257px;" | | | style="width:257px;" | | ||
ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system with a dominant party) | ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system with a dominant party) | ||
| style="width:173px;" | | | style="width:173px;" | <p style="text-align: center;">45–20–15–10–10</p> | ||
45–20–15–10–10 | | style="width:169px;" | <p style="text-align: center;">3.5</p> | ||
| style="width:169px;" | | |||
3.5 | |||
|- | |- | ||
| style="width:257px;" | | | style="width:257px;" | | ||
ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system without a dominant party) | ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system without a dominant party) | ||
| style="width:173px;" | | | style="width:173px;" | <p style="text-align: center;">25–25–25–15–10</p> | ||
25–25–25–15–10 | | style="width:169px;" | <p style="text-align: center;">4.5</p> | ||
| style="width:169px;" | | |||
4.5 | |||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา''' ''':''' Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in ''Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns'' (Yale University Press, 2012), 65.</p> | |||
= <span style="font-size:x-large;">'''ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร'''</span> = | |||
ในกรณีของสหราชอาณาจักร ระบบสองพรรคครึ่งเป็นระบบพรรคการเมืองที่ใช้นิยามการแข่งขันทางการเมืองในสหราชอาณาจักรจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง (House of Commons) ค.ศ. 2010 เมื่อผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่สองพรรคคือ พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) และพรรคแรงงาน (Labour Party) แต่ละพรรคได้ที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาล่างทั้งหมด ทำให้ทั้งสองพรรคไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องร่วมมือกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ซึ่งได้ที่นั่งเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้ง[[#_ftn7|[7]]] โดยพรรคอนุรักษ์นิยมที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งได้ตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐบาลผสมครั้งแรกของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่หลัง[[สงครามโลกครั้งที่_2|สงครามโลกครั้งที่_2]] อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้และการเลือกตั้งหลังจากนี้ทำให้ระบบการเมืองอังกฤษกลับไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) อีกครั้ง | |||
| |||
ในกรณีของสหราชอาณาจักร ระบบสองพรรคครึ่งเป็นระบบพรรคการเมืองที่ใช้นิยามการแข่งขันทางการเมืองในสหราชอาณาจักรจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง (House of Commons) ค.ศ.2010 | |||
| | ||
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่''' '''2 :''' การเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2010</p> | |||
'''ตารางที่ ''''''2: | {| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | ||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |- | ||
! style="width: | ! style="width: 350px; text-align: center;" | | ||
'''พรรคการเมือง''' | '''พรรคการเมือง''' | ||
! style="width: | ! style="width: 50px; text-align: center;" | | ||
''' | '''เขตเลือกตั้ง''' | ||
'''ที่ลงแข่ง''' | |||
''' | |||
! style="width: | ! style="width: 50px; text-align: center;" | | ||
'''จำนวน ส.ส. ที่ได้''' | |||
! style="width: 120px; text-align: center;" | | |||
'''คะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด''' | '''คะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด''' | ||
! style="width: | ! style="width: 100px; text-align: center;" | | ||
'''ร้อยละของคะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด''' | '''ร้อยละของคะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด''' | ||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) | ||
(Conservative Party) | |||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">631</p> | |||
| style="width: 69px;" | <p style="text-align: right;">307</p> | |||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">10,726,614</p> | |||
| style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">36.1</p> | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
พรรคแรงงาน (Labour Party) | พรรคแรงงาน (Labour Party) | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">631</p> | ||
631 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">258</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">8,609,527</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">29.0</p> | ||
258 | |||
| style="width:84px;" | | |||
8,609,527 | |||
| style="width:129px;" | | |||
29.0 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
พรรคเสรีประชาธิปไตย | พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) | ||
(Liberal Democrat Party) | |||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">631</p> | |||
| style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">57</p> | |||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">6,836,824</p> | |||
| style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">23.0</p> | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
พรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party) | พรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party) | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">16</p> | ||
16 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">8</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">168,216</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">0.6</p> | ||
8 | |||
| style="width:84px;" | | |||
168,216 | |||
| style="width:129px;" | | |||
0.6 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
พรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์ | พรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์ (Scottish National Party) | ||
(Scottish National Party) | |||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">59</p> | |||
| style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">6</p> | |||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">491,386</p> | |||
| style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">1.7</p> | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
Sinn Fein | Sinn Fein | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">17</p> | ||
17 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">5</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">171,942</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">0.6</p> | ||
5 | |||
| style="width:84px;" | | |||
171,942 | |||
| style="width:129px;" | | |||
0.6 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
Plaid Cymru | Plaid Cymru | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">18</p> | ||
18 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">3</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">165,394</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">0.6</p> | ||
3 | |||
| style="width:84px;" | | |||
165,394 | |||
| style="width:129px;" | | |||
0.6 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
Social Democratic & Labour Party | Social Democratic & Labour Party | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">18</p> | ||
18 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">3</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">110,970</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">0.4</p> | ||
3 | |||
| style="width:84px;" | | |||
110,970 | |||
| style="width:129px;" | | |||
0.4 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
Green | Green | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">310</p> | ||
310 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">1</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">285,616</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">1.0</p> | ||
1 | |||
| style="width:84px;" | | |||
285,616 | |||
| style="width:129px;" | | |||
1.0 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
Alliance Party | Alliance Party | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">18</p> | ||
18 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">1</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">42,762</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">0.1</p> | ||
1 | |||
| style="width:84px;" | | |||
42,762 | |||
| style="width:129px;" | | |||
0.1 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | | ||
อื่น ๆ รวมผู้สมัครอิสระ (Others) | อื่น ๆ รวมผู้สมัครอิสระ (Others) | ||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">1</p> | ||
1 | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">1</p> | ||
| style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">321,309</p> | |||
| style="width:66px;" | | | style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">1.1</p> | ||
1 | |||
| style="width:84px;" | | |||
321,309 | |||
| style="width:129px;" | | |||
1.1 | |||
|- | |- | ||
| style="width:236px;" | | | style="width:236px;" | <p style="text-align: center;">'''รวม'''</p> | ||
'''รวม''' | |||
| style="width:84px;" | | | style="width:84px;" | | ||
| | ||
| style="width:66px;" | | | style="width:66px;" | <p style="text-align: right;">'''650'''</p> | ||
'''650''' | | style="width:84px;" | <p style="text-align: right;">'''29,691,380'''</p> | ||
| style="width:129px;" | <p style="text-align: right;">'''100.0'''</p> | |||
| style="width:84px;" | | |||
'''29,691,380''' | |||
| style="width:129px;" | | |||
'''100.0''' | |||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา :''' BBC</p> | |||
การเกิดระบบสองพรรคครึ่งใน ค.ศ. 2010 สร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบพรรคการเมืองอังกฤษที่เป็นประเทศแม่แบบของระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค เนื่องจากนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองและการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรโดยทั่วไปเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคที่พรรคใหญ่อย่างพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงาน แข่งขันกันผ่านการเลือกตั้งเพื่อสลับเป็นพรรครัฐบาลและนายกรัฐมนตรี[[#_ftn8|[8]]] โดยในงานของ Arend Lijphart (2012) ที่ศึกษาจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลใน 36 ประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 1945-2010 ยืนยันว่าระบบพรรคการเมืองของสหราชอาณาจักรเป็นแบบระบบสองพรรคโดยพื้นฐาน โดยค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลของสหราชอาณาจักร เฉลี่ยที่ 2.16[[#_ftn9|[9]]] โดยพรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่งในสภามากที่สุดจะได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวในระบบรัฐสภาตามตารางที่ 3 ทำให้ระบบการเมืองของอังกฤษมีการแบ่งชัดระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เช่น การเรียกฝ่ายรัฐบาลว่ารัฐบาลในพระองค์ (Her Majesty’s Government) และเรียกฝ่ายค้านว่าฝ่ายค้านผู้ภักดีในพระองค์ (Her Majesty’s Loyal Opposition) ผู้ออกเสียงเลือกตั้งมีความชัดเจนที่จะเลือกตพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่มีสองพรรคหลัก หากต้องการนายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงานก็ให้เลือกพรรคแรงงาน หากต้องการนายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยมให้เลือกพรรคอนุรักษ์นิยม[[#_ftn10|[10]]] | |||
''' | อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่นำไปสู่การเกิดระบบสองพรรคครึ่งมิได้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดอย่างฉับพลัน แต่เป็นผลจากพัฒนาการของการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองที่ทำให้พรรคการเมืองนอกเหนือจากสองพรรคใหญ่พยายามเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ปรากฎชัดครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 เมื่อผลการเลือกตั้งพบว่าพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษ์นิยมไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาเกินกึ่งหนึ่งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ โดยพรรคแรงงานได้ที่นั่งสูงสุด 301 ที่นั่ง ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมได้ 297 ที่นั่ง จนเกิดภาวะ '''“สภาแขวน”''' '''(hung parliament)''' ที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา[[#_ftn11|[11]]] ทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยซึ่งได้ที่นั่งมาเป็นลำดับสามและได้คะแนนดิบประมาณ ร้อยละ 20 ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งซึ่งมากที่สุดนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[[#_ftn12|[12]]] กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะครั้งแรกว่าจะเป็นพรรคตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมจากเดิมที่เป็นพรรคที่มีบทบาททางการเมืองน้อย อย่างไรก็ตาม พรรคแรงงานได้ตัดสินใจตั้งรัฐบาลเสียงส่วนน้อย (minority government) ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันพรรคแรงงานได้กลับมาเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากอีกครั้ง ส่วนบทบาทของพรรคเสรีประชาธิปไตยก็ลดบทบาทกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านแต่ก็ยังคงรักษาความเป็นพันธมิตรกับพรรคแรงงานในการผลักดันนโยบายหรือที่เรียกว่าข้อตกลง ลิป-แลป (Lib–Lab Pact)[[#_ftn13|[13]]] ในช่วง ค.ศ. 1977-1978 จนในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1980 สหราชอาณาจักรจึงกลับไปเป็นระบบสองพรรคเหมือนเดิม[[#_ftn14|[14]]] | ||
แม้ว่าช่วง ค.ศ. 1980-2010 ระบบพรรคการเมืองแบบอังกฤษจะยังคงเป็นระบบสองพรรค แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองที่เอื้อจนนำไปสู่การเกิดระบบสองพรรคครึ่งใน ค.ศ. 2010 ได้แก่ ''หนึ่ง คะแนนดิบของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในสองพรรคใหญ่มีจำนวนลดลง'' โดยคะแนนดิบรวมของพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงานเหลือเพียง ร้อยละ 75 ตั้งแต่การเลือกตั้ง ค.ศ. 1974 และมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจนในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 ทั้งสองพรรคได้คะแนนดิบรวมเพียง ร้อยละ 67[[#_ftn15|[15]]] แตกต่างจากพรรคเสรีประชาธิปไตยที่มีแนวโน้มได้คะแนนดิบสูงมากขึ้นนับตั้งแต่การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1974 ที่ได้คะแนนดิบเฉลี่ยที่ ร้อยละ 20[[#_ftn16|[16]]] ''สอง การแข่งขันของพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มีมากขึ้น'' แม้ว่าระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคจะยังครอบงำการเมืองสหราชอาณาจักร แต่มีพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เข้ามามีส่วนแบ่งในการได้ที่นั่งในสภา ทั้งพรรคการเมืองในพื้นที่อังกฤษอย่างพรรคเสรีประชาธิปไตย ในไอร์แลนด์เหนืออย่างพรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party) และพรรค Sinn Fein ในสก๊อตแลนด์อย่างพรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์ (Scottish National Party) และในเวลส์อย่าง พรรค Plaid Cymru กับ ''สาม พรรคการเมืองขนาดเล็กเริ่มเป็นคู่แข่งพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในบางพื้นที่'' ทำให้ในบางพื้นที่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันระหว่างสองพรรคใหญ่เสมอไป อาทิ ใน ค.ศ. 2005 พื้นที่สก๊อตแลนด์เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคแรงงานและพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือในไอร์แลนด์เหนือเป็นการแข่งขันของพรรคสหภาพประชาธิปไตยและพรรค Sinn Fein[[#_ftn17|[17]]] ปัจจัยทั้งสามข้อนี้จึงเอื้อให้การเลือกตั้ง ค.ศ. 2010 พรรคการเมืองที่ไม่ใช่สองพรรคใหญ่ได้คะแนนเสียงและที่นั่งในสภามากขึ้นรวม 85 ที่นั่ง โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยได้จำนวนที่นั่งในสภาจำนวน 57 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค ส่งผลให้พรรคเสรีประชาธิปไตยกลายเป็นตัวแปรสำคัญของการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอนุรักษ์นิยมในเวลาต่อมา | |||
| |||
<p style="text-align: center;">'''ตารางที่ 3 :''' พรรคร่วมรัฐบาลของสหราชอาณาจักรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2</p> | |||
{| align="center" border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
| |||
''' | |||
{| border="1" cellpadding="0" cellspacing="0" | |||
|- | |- | ||
! style="width:292px;" | | ! style="width: 292px; text-align: center;" | | ||
'''นายกรัฐมนตรี''' | '''นายกรัฐมนตรี''' | ||
! style="width: | ! style="width: 230px; text-align: center;" | | ||
'''พรรครัฐบาล''' | '''พรรครัฐบาล''' | ||
! style="width:148px;" | | ! style="width: 148px; text-align: center;" | | ||
'''ปีการครองอำนาจ (ค.ศ.)''' | '''ปีการครองอำนาจ (ค.ศ.)''' | ||
บรรทัดที่ 339: | บรรทัดที่ 205: | ||
เคลเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) | เคลเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคแรงงาน</p> | ||
พรรคแรงงาน | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1945-1951</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1945-1951 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) | เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1951-1955</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1951-1955 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เซอร์ แอนโทนี อีเดน (Sir Anthony Eden) | เซอร์ แอนโทนี อีเดน (Sir Anthony Eden) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1955-1957</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1955-1957 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
ฮาโรลด์ แมคมิลแลน (Harold Macmillan) | ฮาโรลด์ แมคมิลแลน (Harold Macmillan) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1957-1963</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1957-1963 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เซอร์ อเล็ค ดักลาส-ฮูม (Sir Alec Douglas-Home) | เซอร์ อเล็ค ดักลาส-ฮูม (Sir Alec Douglas-Home) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1963-1964</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1963-1964 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) | ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคแรงงาน</p> | ||
พรรคแรงงาน | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1964-2970</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1964-2970 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เอ็ดวาร์ด ฮีธ (Edward Heath) | เอ็ดวาร์ด ฮีธ (Edward Heath) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1970-1974</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1970-1974 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) | ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคแรงงาน</p> | ||
พรรคแรงงาน | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1974-1976</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1974-1976 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เจมส์ คัลลาฮาน (James Callaghan) | เจมส์ คัลลาฮาน (James Callaghan) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคแรงงาน</p> | ||
พรรคแรงงาน | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1976-1979</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1976-1979 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) | มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1979-1990</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1979-1990 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
จอห์น เมเจอร์ (John Major) | จอห์น เมเจอร์ (John Major) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1990-1997</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1990-1997 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
โทนี แบลร์ (Tony Blair) | โทนี แบลร์ (Tony Blair) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคแรงงาน</p> | ||
พรรคแรงงาน | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">1997-2007</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
1997-2007 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
กอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) | กอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคแรงงาน</p> | ||
พรรคแรงงาน | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">2007-2010</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
2007-2010 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เดวิด แคเมอรอน (David Cameron) | เดวิด แคเมอรอน (David Cameron) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม-พรรคเสรีประชาธิปไตย</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม-พรรคเสรีประชาธิปไตย | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">2010-2015</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
2010-2015 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เดวิด แคเมอรอน (David Cameron) | เดวิด แคเมอรอน (David Cameron) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">2015-2016</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
2015-2016 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
เทรีซา เมย์ (Theresa May) | เทรีซา เมย์ (Theresa May) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">2016-2019</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
2016-2019 | |||
|- | |- | ||
| style="width:292px;" | | | style="width:292px;" | | ||
บอริส จอห์นสัน (Boris Johnson) | บอริส จอห์นสัน (Boris Johnson) | ||
| style="width:161px;" | | | style="width:161px;" | <p style="text-align: center;">พรรคอนุรักษ์นิยม</p> | ||
พรรคอนุรักษ์นิยม | | style="width:148px;" | <p style="text-align: center;">2019-ปัจจุบัน</p> | ||
| style="width:148px;" | | |||
2019-ปัจจุบัน | |||
|} | |} | ||
<p style="text-align: center;">'''ที่มา :''' Joseph L. Klesner, ''Comparative Politics: A Introduction'' (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers].</p> | |||
'''ที่มา: | = <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> = | ||
'''บรรณานุกรม''' | |||
BBC. "National Results ", 2010. Accessed 19 July, 2021. [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/]. | BBC. "National Results ", 2010. Accessed 19 July, 2021. [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/]. | ||
Electoral Reform Society. | Electoral Reform Society. The Uk General Election 2010: In-Depth. Electoral Reform Society, 2010. | ||
GOV.UK. "Past Prime Ministers." Accessed 1 September, 2021. [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers]. | GOV.UK. "Past Prime Ministers." Accessed 1 September, 2021. [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers]. | ||
Klesner, Joseph L. | Klesner, Joseph L. Comparative Politics: A Introduction. New York: McGraw-Hill, 2014. | ||
Lijphart, Arend. "Patterns of Democracy." In Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns: Yale University Press, 2012. | |||
Rose, Richard. "Politics in England." In Comparative Politics Today: A World View. Edited by Gabriel A. Almond, Russell J. Dalton, G. Bingham Powell, and Kaare Strom. New York: Pearson, 2006. | |||
Siaroff, Alan. "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'." Party Politics 9, no. 3 (2003): 267-90. [https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001 https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001]. | |||
= '''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' = | |||
[[#_ftnref1|[1]]] มาจากคำอธิบายในงานของ Jean Blondel (1968) ดูใน Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns (Yale University Press, 2012), 65. | |||
<div><div id="ftn2"> | |||
[[#_ftnref2|[2]]] Alan Siaroff, "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'," Party Politics 9, no. 3 (2003): 272, [https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001 https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001]. | |||
[[#_ftnref1|[1]]] มาจากคำอธิบายในงานของ Jean Blondel (1968) ดูใน Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in | |||
< | |||
[[#_ftnref2|[2]]] Alan Siaroff, "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'," | |||
</div> <div id="ftn3"> | </div> <div id="ftn3"> | ||
[[#_ftnref3|[3]]] Siaroff, 268. | [[#_ftnref3|[3]]] Siaroff, 268. | ||
</div> <div id="ftn4"> | </div> <div id="ftn4"> | ||
[[#_ftnref4|[4]]] Lijphart, in | [[#_ftnref4|[4]]] Lijphart, in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 66. | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[[#_ftnref5|[5]]] Lijphart, in | [[#_ftnref5|[5]]] Lijphart, in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 65. | ||
</div> <div id="ftn6"> | </div> <div id="ftn6"> | ||
[[#_ftnref6|[6]]] Siaroff, 272. | [[#_ftnref6|[6]]] Siaroff, 272. | ||
บรรทัดที่ 545: | บรรทัดที่ 337: | ||
[[#_ftnref7|[7]]] BBC, "National Results ", 2010, accessed 19 July, 2021, [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/]. | [[#_ftnref7|[7]]] BBC, "National Results ", 2010, accessed 19 July, 2021, [http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/ http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/]. | ||
</div> <div id="ftn8"> | </div> <div id="ftn8"> | ||
[[#_ftnref8|[8]]] Joseph L. Klesner, | [[#_ftnref8|[8]]] Joseph L. Klesner, Comparative Politics: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, [https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers]. | ||
</div> <div id="ftn9"> | </div> <div id="ftn9"> | ||
[[#_ftnref9|[9]]] Lijphart, in | [[#_ftnref9|[9]]] Lijphart, in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 73. | ||
</div> <div id="ftn10"> | </div> <div id="ftn10"> | ||
[[#_ftnref10|[10]]] Klesner, 272. | [[#_ftnref10|[10]]] Klesner, 272. | ||
บรรทัดที่ 553: | บรรทัดที่ 345: | ||
[[#_ftnref11|[11]]] Siaroff, 274. | [[#_ftnref11|[11]]] Siaroff, 274. | ||
</div> <div id="ftn12"> | </div> <div id="ftn12"> | ||
[[#_ftnref12|[12]]] Richard Rose, "Politics in England," in | [[#_ftnref12|[12]]] Richard Rose, "Politics in England," in Comparative Politics Today: A World View, ed. Gabriel A. Almond et al. (New York: Pearson, 2006), 190. | ||
</div> <div id="ftn13"> | </div> <div id="ftn13"> | ||
[[#_ftnref13|[13]]] มาจากคำว่า Liberal Democrat Party และ Labour Party | [[#_ftnref13|[13]]] มาจากคำว่า Liberal Democrat Party และ Labour Party | ||
บรรทัดที่ 559: | บรรทัดที่ 351: | ||
[[#_ftnref14|[14]]] Siaroff, 276. | [[#_ftnref14|[14]]] Siaroff, 276. | ||
</div> <div id="ftn15"> | </div> <div id="ftn15"> | ||
[[#_ftnref15|[15]]] Rose, in | [[#_ftnref15|[15]]] Rose, in Comparative Politics Today: A World View, 190-91. | ||
</div> <div id="ftn16"> | </div> <div id="ftn16"> | ||
[[#_ftnref16|[16]]] Electoral Reform Society, | [[#_ftnref16|[16]]] Electoral Reform Society, The Uk General Election 2010: In-Depth (Electoral Reform Society, 2010), 6-7. | ||
</div> <div id="ftn17"> | </div> <div id="ftn17"> | ||
[[#_ftnref17|[17]]] Rose, in | [[#_ftnref17|[17]]] Rose, in Comparative Politics Today: A World View, 191. | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
| |||
[[Category:พรรคการเมือง]] [[Category:ว่าด้วยพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:พรรคการเมืองและการเลือกตั้ง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:00, 14 กรกฎาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : เอกวีร์ มีสุข
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
ระบบสองพรรคครึ่ง (สหราชอาณาจักร)
การทำความเข้าใจระบบสองพรรคครึ่งของสหราชอาณาจักร สามารถแบ่งการอธิบายออกเป็น 2 ส่วน คือ หนึ่ง นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง และ สอง ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร
นิยามทั่วไปของระบบสองพรรคครึ่ง
ระบบสองพรรคครึ่ง (Two-and-a-Half-Party Systems) เป็นปรากฎการณ์ที่ระบบพรรคการเมืองของประเทศแม้จะมีพรรคการเมืองจำนวนมาก แต่จะมีพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 2 พรรค ที่แข่งขันกันในการเลือกตั้งของระบบรัฐสภาและมีพรรคการเมืองที่มีขนาดเป็นอันดับสามที่แม้จะได้ที่นั่งในรัฐสภาพอสมควร แต่ไม่ได้มีจำนวนมากเทียบเท่ากับสองพรรคใหญ่ แต่พรรคการเมืองอันดับสามนี้สามารถเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมกับสองพรรคใหญ่ในกรณีที่พรรคการเมืองขนาดใหญ่ไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาถึงกึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ได้ โดยพบปรากฎการณ์ระบบสองพรรคครึ่งที่พรรคการเมืองอันดับสามมีบทบาทสำคัญในทางการเมืองในประเทศเยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ไอร์แลนด์ และแคนาดา[1] อย่างไรก็ตาม ระบบสองพรรคครึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงผันแปรไปตามผลการเลือกตั้งในแต่ละครั้งและการเปลี่ยนแปลงในกติกาเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประเทศไอร์แลนด์และเบลเยี่ยมที่เปลี่ยนมาเป็นระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรค ขณะที่ประเทศโปรตุเกสกลับเปลี่ยนไปในทิศทางตรงกันข้ามจากระบบพรรคการเมืองหลายพรรคมาเป็นระบบสองพรรคครึ่ง[2]
การวัดและประเมินว่าระบบพรรคการเมืองของประเทศใดที่ถือว่าเป็นระบบสองพรรคครึ่ง สามารถพิจารณาได้จากจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties: ENP) ที่มีค่าตั้งแต่ 1 จนถึงไม่มีที่สิ้นสุด (one to infinity) และการพิจารณาจากความสามารถในการจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาล (coalition) และการแบลคเมล์ (blackmail) ของพรรคการเมืองที่สำคัญ[3] โดยการคำนวณหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลอาศัยสูตรที่พัฒนาโดย Markku Laakso และ Rein Taagepera ใน ค.ศ. 1979 โดยให้ N เท่ากับจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล และ Si คือสัดส่วนที่นั่งของพรรคการเมือง i ที่คำนวณรวมเฉพาะพรรคการเมืองที่มีที่นั่งในสภาตามสูตรคำนวน[4] ดังนี้

ในงานของ Jean Blondel (1968) ได้แบ่งประเภทของพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคออกเป็น 4 ประเภท แต่งานของ Blondel มีข้อบกพร่องเฉกเช่นงานศึกษาพรรคการเมืองในยุคก่อนหน้า เนื่องจากยังไม่สามารถหาค่าที่แน่ชัดได้ว่าในแต่ละระบบพรรคการเมืองจะมีจำนวนของพรรคการเมืองเท่าใดและแต่ละพรรคจะมีจำนวนที่นั่งในสภาเท่าใดถึงจะเรียกได้ว่าเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว หรือระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว การนำสูตรการคำนวณของ Markku Laakso และ Rein Taagepera สามารถใช้คำนวณเพื่อหาค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลได้อย่างชัดเจน การการคำนวณพบว่าในระบบสองพรรคครึ่งมีค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลที่ 2.6 ตามตารางที่ 1[5] อย่างไรก็ตาม มีงานวิชาการอื่นที่กำหนดเกณฑ์ประเมินว่าระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่งด้วย อาทิ งานของ Alan Siaroff (2003) เสนอว่าระบบสองพรรคครึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาว่า หนึ่ง พรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ได้ที่นั่งในรัฐสภารวมกันอย่างน้อย ร้อยละ 80 แต่ไม่เกิน ร้อยละ 95 ของที่นั่งทั้งหมด และ สอง ระบบพรรคการเมืองไม่เกิดปัญหาพรรคเดี่ยวครอบงำ (one-party predominant) และสัดส่วนที่นั่งระหว่างพรรคการเมืองใหญ่อันดับสองและพรรคอันดับสามจะห่างกันอย่างน้อย 2.5[6]
ตารางที่ 1 : การแบ่งประเภทของระบบพรรคการเมืองตามจำนวนและขนาดของพรรคการเมือง
ระบบพรรคการเมือง (Party systems) |
สมมติฐานตัวอย่างสัดส่วนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรค (Hypothetical examples of seat shares) |
จำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผล (Effective number of parties) |
---|---|---|
ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) |
55–45 |
2.0 |
ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคครึ่ง (Two-and-a-Half-Party Systems) |
45–40–15 |
2.6 |
ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบมีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system with a dominant party) |
45–20–15–10–10 |
3.5 |
ระบบพรรคการเมืองแบบหลายพรรคแบบไม่มีพรรคเด่นพรรคเดียว (Multiparty system without a dominant party) |
25–25–25–15–10 |
4.5 |
ที่มา : Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns (Yale University Press, 2012), 65.
ระบบสองพรรคครึ่งในสหราชอาณาจักร
ในกรณีของสหราชอาณาจักร ระบบสองพรรคครึ่งเป็นระบบพรรคการเมืองที่ใช้นิยามการแข่งขันทางการเมืองในสหราชอาณาจักรจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาล่าง (House of Commons) ค.ศ. 2010 เมื่อผลการเลือกตั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่สองพรรคคือ พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) และพรรคแรงงาน (Labour Party) แต่ละพรรคได้ที่นั่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของที่นั่งในสภาล่างทั้งหมด ทำให้ทั้งสองพรรคไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ การจัดตั้งรัฐบาลจึงต้องร่วมมือกับพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) ซึ่งได้ที่นั่งเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้ง[7] โดยพรรคอนุรักษ์นิยมที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งได้ตัดสินใจจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นรัฐบาลผสมครั้งแรกของสหราชอาณาจักรนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่_2 อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งใน ค.ศ. 2015 พรรคอนุรักษ์นิยมสามารถชนะการเลือกตั้งโดยได้ที่นั่งในสภาเกินกว่ากึ่งหนึ่งได้และการเลือกตั้งหลังจากนี้ทำให้ระบบการเมืองอังกฤษกลับไปสู่ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค (Two-Party System) อีกครั้ง
ตารางที่ 2 : การเลือกตั้งทั่วไปของสหราชอาณาจักร ค.ศ. 2010
พรรคการเมือง |
เขตเลือกตั้ง ที่ลงแข่ง |
จำนวน ส.ส. ที่ได้ |
คะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด |
ร้อยละของคะแนนดิบที่ได้ทั้งหมด |
---|---|---|---|---|
พรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) |
631 |
307 |
10,726,614 |
36.1 |
พรรคแรงงาน (Labour Party) |
631 |
258 |
8,609,527 |
29.0 |
พรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democrat Party) |
631 |
57 |
6,836,824 |
23.0 |
พรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party) |
16 |
8 |
168,216 |
0.6 |
พรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์ (Scottish National Party) |
59 |
6 |
491,386 |
1.7 |
Sinn Fein |
17 |
5 |
171,942 |
0.6 |
Plaid Cymru |
18 |
3 |
165,394 |
0.6 |
Social Democratic & Labour Party |
18 |
3 |
110,970 |
0.4 |
Green |
310 |
1 |
285,616 |
1.0 |
Alliance Party |
18 |
1 |
42,762 |
0.1 |
อื่น ๆ รวมผู้สมัครอิสระ (Others) |
1 |
1 |
321,309 |
1.1 |
รวม |
|
650 |
29,691,380 |
100.0 |
ที่มา : BBC
การเกิดระบบสองพรรคครึ่งใน ค.ศ. 2010 สร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบพรรคการเมืองอังกฤษที่เป็นประเทศแม่แบบของระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรค เนื่องจากนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองและการเลือกตั้งในสหราชอาณาจักรโดยทั่วไปเป็นระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคที่พรรคใหญ่อย่างพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงาน แข่งขันกันผ่านการเลือกตั้งเพื่อสลับเป็นพรรครัฐบาลและนายกรัฐมนตรี[8] โดยในงานของ Arend Lijphart (2012) ที่ศึกษาจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลใน 36 ประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 1945-2010 ยืนยันว่าระบบพรรคการเมืองของสหราชอาณาจักรเป็นแบบระบบสองพรรคโดยพื้นฐาน โดยค่าจำนวนพรรคการเมืองที่มีประสิทธิผลของสหราชอาณาจักร เฉลี่ยที่ 2.16[9] โดยพรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่งในสภามากที่สุดจะได้รับสิทธิในการจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวในระบบรัฐสภาตามตารางที่ 3 ทำให้ระบบการเมืองของอังกฤษมีการแบ่งชัดระหว่างบทบาทหน้าที่ของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เช่น การเรียกฝ่ายรัฐบาลว่ารัฐบาลในพระองค์ (Her Majesty’s Government) และเรียกฝ่ายค้านว่าฝ่ายค้านผู้ภักดีในพระองค์ (Her Majesty’s Loyal Opposition) ผู้ออกเสียงเลือกตั้งมีความชัดเจนที่จะเลือกตพรรคการเมืองในการเลือกตั้งที่มีสองพรรคหลัก หากต้องการนายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงานก็ให้เลือกพรรคแรงงาน หากต้องการนายกรัฐมนตรีจากพรรคอนุรักษ์นิยมให้เลือกพรรคอนุรักษ์นิยม[10]
อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่นำไปสู่การเกิดระบบสองพรรคครึ่งมิได้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดอย่างฉับพลัน แต่เป็นผลจากพัฒนาการของการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองที่ทำให้พรรคการเมืองนอกเหนือจากสองพรรคใหญ่พยายามเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ปรากฎชัดครั้งแรกในการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 เมื่อผลการเลือกตั้งพบว่าพรรคแรงงานและพรรคอนุรักษ์นิยมไม่สามารถได้ที่นั่งในสภาเกินกึ่งหนึ่งเพื่อจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ โดยพรรคแรงงานได้ที่นั่งสูงสุด 301 ที่นั่ง ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมได้ 297 ที่นั่ง จนเกิดภาวะ “สภาแขวน” (hung parliament) ที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา[11] ทำให้พรรคเสรีประชาธิปไตยซึ่งได้ที่นั่งมาเป็นลำดับสามและได้คะแนนดิบประมาณ ร้อยละ 20 ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งซึ่งมากที่สุดนับจากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[12] กลายเป็นจุดสนใจของสาธารณะครั้งแรกว่าจะเป็นพรรคตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลผสมจากเดิมที่เป็นพรรคที่มีบทบาททางการเมืองน้อย อย่างไรก็ตาม พรรคแรงงานได้ตัดสินใจตั้งรัฐบาลเสียงส่วนน้อย (minority government) ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1974 ต่อมาเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันพรรคแรงงานได้กลับมาเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากอีกครั้ง ส่วนบทบาทของพรรคเสรีประชาธิปไตยก็ลดบทบาทกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านแต่ก็ยังคงรักษาความเป็นพันธมิตรกับพรรคแรงงานในการผลักดันนโยบายหรือที่เรียกว่าข้อตกลง ลิป-แลป (Lib–Lab Pact)[13] ในช่วง ค.ศ. 1977-1978 จนในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1980 สหราชอาณาจักรจึงกลับไปเป็นระบบสองพรรคเหมือนเดิม[14]
แม้ว่าช่วง ค.ศ. 1980-2010 ระบบพรรคการเมืองแบบอังกฤษจะยังคงเป็นระบบสองพรรค แต่ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบการเมืองที่เอื้อจนนำไปสู่การเกิดระบบสองพรรคครึ่งใน ค.ศ. 2010 ได้แก่ หนึ่ง คะแนนดิบของผู้ออกเสียงเลือกตั้งในสองพรรคใหญ่มีจำนวนลดลง โดยคะแนนดิบรวมของพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงานเหลือเพียง ร้อยละ 75 ตั้งแต่การเลือกตั้ง ค.ศ. 1974 และมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอดจนในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2005 ทั้งสองพรรคได้คะแนนดิบรวมเพียง ร้อยละ 67[15] แตกต่างจากพรรคเสรีประชาธิปไตยที่มีแนวโน้มได้คะแนนดิบสูงมากขึ้นนับตั้งแต่การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1974 ที่ได้คะแนนดิบเฉลี่ยที่ ร้อยละ 20[16] สอง การแข่งขันของพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มีมากขึ้น แม้ว่าระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคจะยังครอบงำการเมืองสหราชอาณาจักร แต่มีพรรคการเมืองขนาดเล็กที่เข้ามามีส่วนแบ่งในการได้ที่นั่งในสภา ทั้งพรรคการเมืองในพื้นที่อังกฤษอย่างพรรคเสรีประชาธิปไตย ในไอร์แลนด์เหนืออย่างพรรคสหภาพประชาธิปไตย (Democratic Unionist Party) และพรรค Sinn Fein ในสก๊อตแลนด์อย่างพรรคชาตินิยมสก๊อตแลนด์ (Scottish National Party) และในเวลส์อย่าง พรรค Plaid Cymru กับ สาม พรรคการเมืองขนาดเล็กเริ่มเป็นคู่แข่งพรรคการเมืองขนาดใหญ่ในบางพื้นที่ ทำให้ในบางพื้นที่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันระหว่างสองพรรคใหญ่เสมอไป อาทิ ใน ค.ศ. 2005 พื้นที่สก๊อตแลนด์เป็นการแข่งขันระหว่างพรรคแรงงานและพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือในไอร์แลนด์เหนือเป็นการแข่งขันของพรรคสหภาพประชาธิปไตยและพรรค Sinn Fein[17] ปัจจัยทั้งสามข้อนี้จึงเอื้อให้การเลือกตั้ง ค.ศ. 2010 พรรคการเมืองที่ไม่ใช่สองพรรคใหญ่ได้คะแนนเสียงและที่นั่งในสภามากขึ้นรวม 85 ที่นั่ง โดยพรรคเสรีประชาธิปไตยได้จำนวนที่นั่งในสภาจำนวน 57 ที่นั่ง ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรค ส่งผลให้พรรคเสรีประชาธิปไตยกลายเป็นตัวแปรสำคัญของการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคอนุรักษ์นิยมในเวลาต่อมา
ตารางที่ 3 : พรรคร่วมรัฐบาลของสหราชอาณาจักรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
นายกรัฐมนตรี |
พรรครัฐบาล |
ปีการครองอำนาจ (ค.ศ.) |
---|---|---|
เคลเมนต์ แอตต์ลี (Clement Attlee) |
พรรคแรงงาน |
1945-1951 |
เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Sir Winston Churchill) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1951-1955 |
เซอร์ แอนโทนี อีเดน (Sir Anthony Eden) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1955-1957 |
ฮาโรลด์ แมคมิลแลน (Harold Macmillan) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1957-1963 |
เซอร์ อเล็ค ดักลาส-ฮูม (Sir Alec Douglas-Home) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1963-1964 |
ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) |
พรรคแรงงาน |
1964-2970 |
เอ็ดวาร์ด ฮีธ (Edward Heath) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1970-1974 |
ฮาโรลด์ วิลสัน (Harold Wilson) |
พรรคแรงงาน |
1974-1976 |
เจมส์ คัลลาฮาน (James Callaghan) |
พรรคแรงงาน |
1976-1979 |
มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1979-1990 |
จอห์น เมเจอร์ (John Major) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
1990-1997 |
โทนี แบลร์ (Tony Blair) |
พรรคแรงงาน |
1997-2007 |
กอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) |
พรรคแรงงาน |
2007-2010 |
เดวิด แคเมอรอน (David Cameron) |
พรรคอนุรักษ์นิยม-พรรคเสรีประชาธิปไตย |
2010-2015 |
เดวิด แคเมอรอน (David Cameron) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
2015-2016 |
เทรีซา เมย์ (Theresa May) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
2016-2019 |
บอริส จอห์นสัน (Boris Johnson) |
พรรคอนุรักษ์นิยม |
2019-ปัจจุบัน |
ที่มา : Joseph L. Klesner, Comparative Politics: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers.
บรรณานุกรม
BBC. "National Results ", 2010. Accessed 19 July, 2021. http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/.
Electoral Reform Society. The Uk General Election 2010: In-Depth. Electoral Reform Society, 2010.
GOV.UK. "Past Prime Ministers." Accessed 1 September, 2021. https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers.
Klesner, Joseph L. Comparative Politics: A Introduction. New York: McGraw-Hill, 2014.
Lijphart, Arend. "Patterns of Democracy." In Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns: Yale University Press, 2012.
Rose, Richard. "Politics in England." In Comparative Politics Today: A World View. Edited by Gabriel A. Almond, Russell J. Dalton, G. Bingham Powell, and Kaare Strom. New York: Pearson, 2006.
Siaroff, Alan. "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'." Party Politics 9, no. 3 (2003): 267-90. https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001.
อ้างอิง
[1] มาจากคำอธิบายในงานของ Jean Blondel (1968) ดูใน Arend Lijphart, "Patterns of Democracy," in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns (Yale University Press, 2012), 65.
[2] Alan Siaroff, "Two-and-a-Half-Party Systems and the Comparative Role of the `Half'," Party Politics 9, no. 3 (2003): 272, https://dx.doi.org/10.1177/1354068803009003001.
[3] Siaroff, 268.
[4] Lijphart, in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 66.
[5] Lijphart, in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 65.
[6] Siaroff, 272.
[7] BBC, "National Results ", 2010, accessed 19 July, 2021, http://news.bbc.co.uk/2/shared/election2010/results/.
[8] Joseph L. Klesner, Comparative Politics: A Introduction (New York: McGraw-Hill, 2014), 272. และ GOV.UK, "Past Prime Ministers," accessed 1 September, 2021, https://www.gov.uk/government/history/past-prime-ministers.
[9] Lijphart, in Chapter 5. Party Systems: Two-Party and Multiparty Patterns, 73.
[10] Klesner, 272.
[11] Siaroff, 274.
[12] Richard Rose, "Politics in England," in Comparative Politics Today: A World View, ed. Gabriel A. Almond et al. (New York: Pearson, 2006), 190.
[13] มาจากคำว่า Liberal Democrat Party และ Labour Party
[14] Siaroff, 276.
[15] Rose, in Comparative Politics Today: A World View, 190-91.
[16] Electoral Reform Society, The Uk General Election 2010: In-Depth (Electoral Reform Society, 2010), 6-7.
[17] Rose, in Comparative Politics Today: A World View, 191.