ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พันธมิตรชานม - Milk Tea Alliance"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 6 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 2 คน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ดร.สติธร ธนานิธิโชติ | |||
| |||
'''พันธมิตรชานม''' (Milk Tea Alliance) การรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการและเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียชาวไทย ไต้หวัน และฮ่องกง ก่อนจะขยายตัวไปอีกหลายประเทศในเอเชีย | |||
[[พันธมิตรชานม_(Milk_Tea_Alliance)|พันธมิตรชานม]]เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2563 โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการต่อต้านอิทธิพลและนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีน (หรือจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อจากนี้จะเรียกโดยย่อว่า '''“จีน”''') และขยายเป็นการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของสมาชิกในแต่ละประเทศ โดยใช้ '''“ชานม”''' เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากชานมเป็นเครื่องดื่มจากไต้หวันที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งในไต้หวัน ไทย และฮ่องกง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมยอดนิยม การใช้ชานมเป็นจุดร่วมทางรสนิยม และสื่อความหมายถึงรสนิยมและความเห็นทางการเมืองที่เป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างผู้ชื่นชอบบริโภคชานม | |||
การเกิดขึ้นของพันธมิตรชานมนี้ ได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรวมไปถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกพื้นที่ออนไลน์ในประเด็นที่สืบเนื่อง พันธมิตรชานมยังสะท้อนให้เห็นถึงระดับความนิยมชื่นชอบหรือความคิดเห็นต่อจีนของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในประเทศไทยซึ่งมีคนรุ่นใหม่เป็นสัดส่วนใหญ่ที่เห็นว่ารัฐบาลจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยรวมถึงความตระหนักถึงประเด็นด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในจีน ซึ่งเป็นความรับรู้และความเห็นในทิศทางตรงกันข้ามกับฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลไทย ซึ่งแสดงจุดยืนในการสนับสนุนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่วิพากษ์วิจารณ์การชุมนุมในฮ่องกง การต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังและสนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในไทยและฮ่องกง ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อต้านอิทธิพลของจีน | |||
พันธมิตรชานมมีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้านอิทธิพลจีนและสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยได้รับการนำเสนอและวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ เช่น พันธมิตรชานมเกิดจากกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยในภูมิภาคและบทบาทของสื่อใหม่ รวมทั้งอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อการรับข้อมูลข่าวสารในลักษณะข้ามพรมแดนที่สามารถเชื่อมผู้คนที่มีแนวคิดหรืออุดมการณ์แบบเดียวกันในพื้นที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน[[#_ftn1|<sup><sup>[1]</sup></sup>]] จนเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือความเกื้อหนุนกันระหว่างฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในภูมิภาค[[#_ftn2|<sup><sup>[2]</sup></sup>]] ไปจนถึงกระแสการต่อต้านอิทธิพลและนโยบายของจีนที่มีมากขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจจากนโยบายในฮ่องกง การพยายามขยายอำนาจเหนือไต้หวัน ไปจนถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อรัฐบาลไทยหรือเมียนมา ซึ่งการกระทำเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคของการเรียกร้องประชาธิปไตยในภูมิภาค[[#_ftn3|<sup><sup>[3]</sup></sup>]] | |||
| |||
<span style="font-size:x-large;">'''กำเนิดพันธมิตรชานม'''</span> | |||
การรวมกลุ่มพันธมิตรชานม มีที่มาจากความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนและไทยในทวิตเตอร์ (Twitter) ระหว่าง วันที่ 10-11 เมษายน 2563 สืบเนื่องจากการรีทวิต (Retweet) ข้อความและภาพถ่ายจากผู้ใช้งานรายหนึ่งในทวิตเตอร์โดย วชิรวิชญ์ ชีวอารี หรือ “ไบร์ท” นักแสดงชาวไทยซึ่งมีผลงานเป็นที่นิยมในจีน ซึ่งข้อความดังกล่าวระบุถึงภาพถ่ายจาก 4 “ประเทศ” ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนบางส่วนไม่พอใจที่ข้อความดังกล่าวที่สื่อได้ว่าฮ่องกงเป็นประเทศแยกจากจีน แม้ภายหลังจะมีการขอโทษจากวชิรวิชญ์ แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนบางส่วนก็ได้ขยายประเด็นไปยังแฟนสาวของวชิรวิชญ์ โดยได้ตามไปสืบค้นและพบว่าได้รีทวิตข้อความที่สื่อว่าการระบาดของโรคโควิด-19 มีที่มาจากจีน รวมถึงค้นพบว่าวชิรวิชญ์และแฟนสาวเคยแสดงความคิดเห็นที่สื่อได้ว่าไต้หวันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน[[#_ftn4|<sup><sup>[4]</sup></sup>]] ซึ่งการถกเถียงระหว่างผู้สนับสนุนชื่นชอบนักแสดงชาวไทยได้ลุกลามบานปลายไปสู่การปะทะคารมและความเห็นบนสื่อโซเชียลมีเดียระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีน ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็น '''“นักรบไซเบอร์”''' ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐจีนและผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทย โดยทั้งสองฝ่ายได้โพสต์ข้อความโจมตีอีกฝ่าย | |||
อย่างไรก็ตาม การกล่าวโจมตีประเทศไทยในเรื่องต่าง ๆ จากฝ่ายจีน กลับถูกฝ่ายไทยมองเป็นเรื่องตลกขำขัน เนื่องจากสิ่งที่ถูกพูดถึงนั้นเป็นประเด็นที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้วิพากษ์วิจารณ์หรือล้อเลียนมาอยู่แล้ว เช่น สถาบันกษัตริย์ หรือการทำหน้าที่ ของรัฐบาลไทย ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ตอบโต้ไปด้วยข้อความที่ระบุว่าไต้หวันและฮ่องกงเป็นประเทศเอกราชที่แยกจากจีน รวมถึงตอบโต้โจมตีด้วยข้อความในเชิงตลกขบขัน | |||
ความขัดแย้งออนไลน์นี้เป็นที่รับรู้ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในฮ่องกงและไต้หวัน ซึ่งได้เข้ามาแสดงความเห็นสนับสนุนฝ่ายไทยในการตอบโต้ฝ่ายจีน[[#_ftn5|<sup><sup>[5]</sup></sup>]] เช่น โจชัว หว่อง (Joshua Wong) แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านจีนชาวฮ่องกง ได้ทวีตข้อความและรูปภาพซีรี่ส์ที่วชิรวิชญ์แสดงนำ โดยมีข้อความภาษาอังกฤษที่แปลได้ว่า '''“ฮ่องกงยืนเคียงข้างเพื่อน ๆ ที่รักเสรีภาพในไทย ต่อต้านการกลั่นแกล้งจากจีน”'''[[#_ftn6|<sup><sup>[6]</sup></sup>]] | |||
ในกรณีไต้หวัน ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน (Cai Yingwen) ได้ทวีตข้อความอวยพร '''“มิตรสหาย”''' ชาวไทยเนื่องในวันสงกรานต์ ซึ่งถึงแม้ว่าไม่ได้กล่าวถึงข้อพิพาทนี้ แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่ามีความสืบเนื่องกัน[[#_ftn7|<sup><sup>[7]</sup></sup>]] นอกจากนั้นนายกเทศมนตรีเมืองเถาหยวนได้ทวีตข้อความขอบคุณชาวไทยตั้งแต่ วันที่ 12 เมษายน[[#_ftn8|<sup><sup>[8]</sup></sup>]] และต่อมาได้มีการบริจาคหน้ากากอนามัยและชุด PPE จากไต้หวันเพื่อช่วยเหลือไทยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความห่วงใยจากไต้หวัน[[#_ftn9|<sup><sup>[9]</sup></sup>]] | |||
ภายหลังจากการปะทะความเห็นออนไลน์ ได้ปรากฏการใช้คำว่า '''“Milk Tea Alliance”''' และ '''“พันธมิตรชานม”'''[[#_ftn10|<sup><sup>[10]</sup></sup>]] เพื่อใช้พูดคุยหรือสื่อถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวหรือการร่วมกันต่อต้านจีน โดยนำเสนอให้เห็นถึงจุดร่วมในการบริโภคชานมของผู้คนทั้งสามประเทศ พร้อมกันกับมีแฮชแท็กอื่น ๆ ที่สื่อความหมายคล้ายกัน เช่น '''#MilkTeaTeam'''[[#_ftn11|<sup><sup>[11]</sup></sup>]] | |||
ต่อมาโฆษกของสถานเอกอัครราชทูตจีนได้แถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กของสถานทูต เมื่อวันที่ 14 เมษายน เพื่อยืนยันหลักการจีนเดียว พร้อมทั้งกล่าวว่ามีการแสดงความเห็นที่ '''“สะท้อนอคติและความไม่รู้”''' และกล่าวว่ามีความพยายามที่จะ '''“วางแผนมุ่งร้าย ยุแยงให้ผู้คนผิดใจกัน”''' พร้อมทั้งกล่าวถึงความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ที่ผ่านมาที่ไทยได้รับจากจีน[[#_ftn12|<sup><sup>[12]</sup></sup>]] | |||
แถลงการณ์ที่มีลักษณะแข็งกร้าวและกล่าวถึงฝ่ายไทยในเชิงตำหนินี้ ได้รับปฏิกิริยาในทางลบจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยบางส่วนซึ่งได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อแถลงการณ์ของสถานทูตจีน[[#_ftn13|<sup><sup>[13]</sup></sup>]] รวมถึงมีการใช้แฮชแท็ก '''#ชานมข้นกว่าเลือด''' เพื่อตอบโต้และแสดงความคิดเห็น[[#_ftn14|<sup><sup>[14]</sup></sup>]] | |||
นอกจากการตอบโต้ฝ่ายจีนจากผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียของไทยจะได้รับการสนับสนุนจากฮ่องกงและไต้หวันแล้ว ยังมีการร่วมแสดงความเห็นจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศอื่น เช่น ฟิลิปปินส์ ที่แสดงความเห็นในประเด็นข้อพิพาททางทะเลกับจีน[[#_ftn15|<sup><sup>[15]</sup></sup>]] รวมไปถึงการโพสต์เนื้อหานำเสนอรายชื่อและลักษณะของชานมในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรืออินเดีย ในลักษณะที่ '''“ล้อม”''' จีน[[#_ftn16|<sup><sup>[16]</sup></sup>]] | |||
ภายหลังได้เกิดเครือข่ายแบบหลวม ๆ ของพันธมิตรชานม มีการนำเอาสัญญะของความเป็นพันธมิตรชานมไปใช้ในการร่วมกันต้านอิทธิพลของจีนประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดียที่ถูกเพิ่มเข้ามาหลังจากกรณีพิพาททางพรมแดนกับจีนและกระแสต่อต้านจีนในเดือนตุลาคม และเมียนมาซึ่งถูกนับเป็นพันธมิตรชานมภายหลังรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2564[[#_ftn17|<sup><sup>[17]</sup></sup>]] พันธมิตรชานมได้ขยายรวมไปถึงประเทศที่มีสถานะเป็นสมาชิกชานม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมไปถึงออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งที่การกล่าวถึงพันธมิตรชานมจำกัดสมาชิกไว้เพียงแค่ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน | |||
| | ||
<span style="font-size:x-large;">'''พันธมิตรชานมกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง'''</span> | |||
ตั้งแต่มีการ '''“ก่อตั้ง”''' และ '''“รวมตัว”''' ของพันธมิตรชานมในเดือนเมษายน 2563 ได้มีการนำเอาสัญญะและเนื้อหา-แนวคิดของพันธมิตรชานมมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางการเมืองนอกพื้นที่ออนไลน์ เช่น การชุมนุม ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้มีทั้งการแสดงการสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศอื่น และการแสดงออกในลักษณะต่อต้านนโยบายและอิทธิพลของจีน เช่น ในกรณีของไทยที่กลุ่ม '''“มนุษย์ชาติไร้พรมแดน”''' ได้จัดกิจกรรมแจกคุกกี้ '''“เทียนอันเหมิน”''' รสชานม บริเวณหน้าสถานทูตจีนและสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การปราบปรามผู้ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 และเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อการคุกคามชาวทิเบต อุยกูร์ และฮ่องกง รวมถึงประเด็นเขื่อนแม่น้ำโขง[[#_ftn18|<sup><sup>[18]</sup></sup>]] | |||
ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลหลายครั้งไทยนับจากเดือนมิถุนายน 2564 ก็ได้มีการนำเอาประเด็นการต่อต้านนโยบายของจีนและสนับสนุนไต้หวัน-ฮ่องกงมาใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น การชุมนุมของกลุ่ม Anti-One China TH หน้าสถานทูตจีนในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อประท้วงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีนและแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวไต้หวัน ฮ่องกง ทิเบต และอุยกูร์ และผู้ที่ถูกกดขี่ภายใต้รัฐบาลจีน[[#_ftn19|<sup><sup>[19]</sup></sup>]] การชุมนุมหน้าสถานทูตจีนเพื่อเรียกร้องเพื่อให้ทางการจีน ปล่อยตัว โจชัว หว่อง และแกนนำฝ่ายต่อต้านจีนอีก 2 ราย ซึ่งถูกควบคุมตัวในเรือนจำ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563[[#_ftn20|<sup><sup>[20]</sup></sup>]] | |||
เมื่อเกิดรัฐประหารในเมียนมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ก็ได้มีกลุ่มชาวเมียนมาเคลื่อนไหวภายใต้ ชื่อ พันธมิตรชานมร่วมกับกลุ่ม REDEM ซึ่งชุมนุม เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์[[#_ftn21|<sup><sup>[21]</sup></sup>]] | |||
นอกจากการแสดงออกทางการเมืองภายในไทยแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรชานมในต่างประเทศที่สนับสนุนขบวนการทางการเมืองในไทยและประเทศอื่น ๆ เช่น การชุมนุมที่ไทเป เพื่อสนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไทยที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พร้อมทั้งสนับสนุนข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามผู้เห็นต่างทางการเมือง แก้ไขรัฐธรรมนูญและยุบสภา[[#_ftn22|<sup><sup>[22]</sup></sup>]] หรือการที่ โจชัว หว่อง เรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตแก๊สน้ำตาหยุดขายสินค้าให้กับรัฐบาลไทย ภายหลังการปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในไทย[[#_ftn23|<sup><sup>[23]</sup></sup>]] นับรวมถึงกรณีรัฐประหารในเมียนมาและรัฐบาลทหารใช้กำลังปราบปรามต่อฝ่ายต่อต้านการยึดอำนาจ | |||
นอกจากการชุมนุมในไทยแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวอื่น เช่น การออกแถลงการณ์จากเครือข่ายพันธมิตรชานมอินโดนีเซีย ซึ่งสนับสนุนประชาชนชาวเมียนมาและเรียกร้องให้องค์กรระดับภูมิภาคและนานาชาติมีบทบาทต่อสถานการณ์ในเมียนมา[[#_ftn24|<sup><sup>[24]</sup></sup>]] | |||
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในไทยที่เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับพันธมิตรชานม เช่น การสนับสนุนฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงหรือการชุมนุมหน้าสถานทูตจีน รวมไปถึงการนำเอาสัญลักษณ์ เช่น ธงไต้หวัน ธงฮ่องกง รวมไปถึงธงทิเบตและธงอุยกูร์มาปรากฏในการชุมนุม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลไทยที่แสดงความเห็นว่าเป็นการ '''“ชักศึกเข้าบ้าน”''' โดยเป็นการกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน[[#_ftn25|<sup><sup>[25]</sup></sup>]] | |||
นอกจากนี้ ยังมีการแสดงความคิดเห็นเชื่อมโยงว่าพันธมิตรชานมเป็นการเคลื่อนไหวที่ต้องการหรือได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อบ่อนทำลายจีนและสถาบันกษัตริย์ของไทย[[#_ftn26|<sup><sup>[26]</sup></sup>]] ด้วยเช่นกัน | |||
| |||
<span style="font-size:x-large;">'''อนาคตของพันธมิตรชานม'''</span> | |||
ถึงแม้พันธมิตรชานมสะท้อนการมีสำนึกทางการเมืองร่วมกันในช่วงที่กระแสการต่อต้านอิทธิพลของจีนในการเมืองระหว่างประเทศและการกดดันอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลจีนต่อฮ่องกงและนโยบายจีนเดียวซึ่งหมายรวมถึงไต้หวัน แต่ปรากฏการณ์นี้ก็สะท้อนให้เห็นความคิดของคนรุ่นใหม่ที่แยกตัวทางสำนึกทางการเมือง วิถีชีวิต การบริโภค กรณีพันธมิตรชานมจึงเป็นเรื่องที่พึงติดตามต่อว่าจะมีพัฒนาการหรือคลี่คลายมาเป็นสำนึกทางการเมืองและการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศจริงจังมากกว่ากระแสบนสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น | |||
| |||
'''<span style="font-size:x-large;">อ้างอิง</span>''' | |||
<div><div id="ftn1"> | |||
[[#_ftnref1|[1]]] “‘1 ปี Milk Tea Alliance’ กับวาสนา วงศ์สุรวัฒน์,” ''The 101'', (30 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://www.the101.world/wasana-wongsurawat-interview-2/ https://www.the101.world/wasana-wongsurawat-interview-2/]. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn2"> | |||
[[#_ftnref2|[2]]] อ้างแล้ว. | |||
</div> <div id="ftn3"> | |||
[[#_ftnref3|[3]]] อ้างแล้ว. | |||
</div> <div id="ftn4"> | |||
[[#_ftnref4|[4]]] “สรุปดราม่า #nnevvy จากปมเน็ตไอดอลสะท้อนถึงความเป็นชาตินิยมไทย-จีน,” ''Voice Online'', (12 เมษายน 2563, แก้ไข 13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://voicetv.co.th/read/ZbO2FskaS https://voicetv.co.th/read/ZbO2FskaS]. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn5"> | |||
[[#_ftnref5|[5]]] อ้างแล้ว. | |||
</div> <div id="ftn6"> | |||
[[#_ftnref6|[6]]] “ชาวเน็ตไทย-ฮ่องกง-ไต้หวัน ผุดแฮชแท็กพันธมิตรชานม โต้แถลงการณ์สถานทูตจีน,” ''มติชนออนไลน์'', (15 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/politics/news_2140121 https://www.matichon.co.th/politics/news_2140121]. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn7"> | |||
[[#_ftnref7|[7]]] อ้างแล้ว. | |||
</div> <div id="ftn8"> | |||
[[#_ftnref8|[8]]] อ้างแล้ว. | |||
</div> <div id="ftn9"> | |||
[[#_ftnref9|[9]]] “มิตรภาพแห่งชานม! ไต้หวันบริจาคหน้ากากอนามัย 2 แสนชิ้น-ชุด PPE 150,000 ชุดให้ไทย,” ''มติชนออนไลน์'', (21 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/foreign/news_2150161 https://www.matichon.co.th/foreign/news_2150161]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn10"> | |||
[[#_ftnref10|[10]]] ตัวอย่างการกล่าวถึงพันธมิตรชานมโดยผู้ใช้งานทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน เช่น @WishDimond, Twitter, (13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://twitter.com/WishDimond/status/1249699194241048576 https://twitter.com/WishDimond/status/1249699194241048576]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564., @Pentanov, ''Twitter'', (13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://twitter.com/pentanov/status/1249708948791283712 https://twitter.com/pentanov/status/1249708948791283712]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn11"> | |||
[[#_ftnref11|[11]]] @HanaTheMiao, ''Twitter'', (13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://twitter.com/HanaTheMiao/status/1249739362545385477 https://twitter.com/HanaTheMiao/status/1249739362545385477]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn12"> | |||
[[#_ftnref12|[12]]] Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย, ''Facebook'', (14 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/posts/2942654555781330 https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/posts/2942654555781330]. เมื่อวันที่ | |||
</div> <div id="ftn13"> | |||
[[#_ftnref13|[13]]] “ลุกลาม! ดราม่า ‘จีนเดียว’ จากศึกบนทวิต สู่สถานทูตจีนตอบโต้ และ ‘พันธมิตรชานม’ ถือกำเนิด,” ''มติชนสุดสัปดาห์'', (15 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก [https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_296015 https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_296015]. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn14"> | |||
[[#_ftnref14|[14]]] “#ชานมข้นกว่าเลือด แฮชแท็กมาแรงในไทย หลังสถานทูตจีนย้ำ ‘หลักการจีนเดียว’ จากวิวาทะแฟนคลับซีรี่ส์วาย” บีบีซีไทย, (14 เมษายน 2563) เข้าถึงจาก [https://www.bbc.com/thai/thailand-52284297 https://www.bbc.com/thai/thailand-52284297]. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn15"> | |||
[[#_ftnref15|[15]]] Christina Chan, “Milk is Thicker Than Blood: An Unlikely Digital Alliance Between Thailand, Hong Kong& Taiwan,” Hong Kong Free Press, (2 พฤษภาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://hongkongfp.com/2020/05/02/milk-is-thicker-than-blood-an-unlikely-digital-alliance-between-thailand-hong-kong-taiwan/ https://hongkongfp.com/2020/05/02/milk-is-thicker-than-blood-an-unlikely-digital-alliance-between-thailand-hong-kong-taiwan/]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn16"> | |||
[[#_ftnref16|[16]]] @Pentanov, ''Twitter'', (13 เมษายน 2563). | |||
</div> <div id="ftn17"> | |||
[[#_ftnref17|[17]]] “เพื่อประชาธิปไตย! อินเดียเข้าร่วมพันธมิตรชานมไทย-ไต้หวัน,” ''โพสต์ทูเดย์'', (14 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.posttoday.com/world/635471 https://www.posttoday.com/world/635471]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564, Bongkot Tuntiwisanusopit, “ต่างวัฒนธรรม แต่ใจเดียวกัน ที่มา 5 สมาชิก ‘ภาคีชานม’ #MilkteaAlliance,” ''Agenda'', (10 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://www.agenda.co.th/social/5-members-of-milkteaalliance/ https://www.agenda.co.th/social/5-members-of-milkteaalliance/]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn18"> | |||
[[#_ftnref18|[18]]] “‘พันธมิตรชานม’ รำลึก ‘เทียนอันเหมิน’ แจกคุกกี้หน้าสถานทูตจีน,” ''Voice Online'', (4 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก [https://voicetv.co.th/read/Jn_DUMkb3 https://voicetv.co.th/read/Jn_DUMkb3]. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn19"> | |||
[[#_ftnref19|[19]]] iLaw, “นักกิจกรรมประท้วงเนื่องในวันชาติจีน ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชน,” ''Facebook'', (1 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10164458390215551/ https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10164458390215551/]. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn20"> | |||
[[#_ftnref20|[20]]] “แนวร่วม ‘แอนตี้วันไชน่า’ แสดงพลังเรียกร้องปล่อยตัว โจชัว หว่อง นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในฮ่องกง,” ''The Standard'', (24 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก [https://thestandard.co/anti-one-china-coalition-shows-power-to-demand-the-release-of-political-activist-joshua-wong-in-hong-kong/ https://thestandard.co/anti-one-china-coalition-shows-power-to-demand-the-release-of-political-activist-joshua-wong-in-hong-kong/]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn21"> | |||
[[#_ftnref21|[21]]] ไพศาล ฮาแว, “ชาวเมียนมาในนาม ‘พันธมิตรชานม’ ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม REDEM ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ,” ''The Standard'', (28 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก [https://thestandard.co/myanmar-milk-tea-alliance-joined-redem/ https://thestandard.co/myanmar-milk-tea-alliance-joined-redem/]. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn22"> | |||
[[#_ftnref22|[22]]] “ชาวไต้หวัน-ฮ่องกง ‘พันธมิตรชานม’ ร่วมเวทีคนไทยต่างแดน-หนุนปชต.ไทย,” ''Voice Online'', (17 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://voicetv.co.th/read/C7N_-dYGK https://voicetv.co.th/read/C7N_-dYGK]. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn23"> | |||
[[#_ftnref23|[23]]] “‘โจชัว หว่อง’ ส่งอีเมลล์ถึงบริษัทขายแก๊สน้ำตา จี้เลิกขายให้ไทย-เปิดเผยข้อมูลอาวุธ,” ''มติชนออนไลน์'', (21 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก [https://www.matichon.co.th/politics/news_2451692 https://www.matichon.co.th/politics/news_2451692]. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn24"> | |||
[[#_ftnref24|[24]]] “Statement From Milk Tea Alliance Indonesia: Myanmar Junta Terrorist Beyond Condemnation,” ''FORSEA'', (13 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก [https://forsea.co/statement-from-milk-tea-alliance-indonesia-myanmar-junta-terrorists-beyond-condemnation/ https://forsea.co/statement-from-milk-tea-alliance-indonesia-myanmar-junta-terrorists-beyond-condemnation/]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn25"> | |||
[[#_ftnref25|[25]]] “ดร.นิว เปิด ความหมายธงละผืน หวดม็อบหางโผล่ ชูธงชักศึกเข้าบ้าน บ่อนทำลายความมั่นคง,” ''The Truth'', (28 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://truthforyou.co/12921/ https://truthforyou.co/12921/]. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564, “เด็กไทยชักศึกเข้าบ้าน บุกสถานทูตจีนจี้ปล่อย 3 แกนนำฮ่องกง พาดพิงครอบงำไทย พร้อมร่วมม็อบราษฎร,” ''ผู้จัดการออนไลน์'', (24 พฤศจิกายน 2563.) เข้าถึงจาก [https://mgronline.com/politics/detail/9630000121091 https://mgronline.com/politics/detail/9630000121091]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> <div id="ftn26"> | |||
[[#_ftnref26|[26]]] “สหรัฐฯ ปลุกปั่นเยาวชนป่วนชาติทั่วเอเชีย แต่ในไทยรุนแรงถึงขั้นล้มสถาบัน,” ''สถาบันทิศทางไทย'', (21 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก [https://www.thaimoveinstitute.com/31810/ https://www.thaimoveinstitute.com/31810/]. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564. | |||
</div> </div> | |||
[[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2520-ปัจจุบัน]] [[Category:ว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญทางการเมือง]] [[Category:การมีส่วนร่วมทางการเมือง]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:06, 16 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ดร.สติธร ธนานิธิโชติ
พันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) การรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการและเคลื่อนไหวทางการเมืองผ่านอินเทอร์เน็ตระหว่างผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียชาวไทย ไต้หวัน และฮ่องกง ก่อนจะขยายตัวไปอีกหลายประเทศในเอเชีย
พันธมิตรชานมเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2563 โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือการต่อต้านอิทธิพลและนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีน (หรือจีนแผ่นดินใหญ่ ต่อจากนี้จะเรียกโดยย่อว่า “จีน”) และขยายเป็นการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของสมาชิกในแต่ละประเทศ โดยใช้ “ชานม” เป็นสัญลักษณ์ เนื่องจากชานมเป็นเครื่องดื่มจากไต้หวันที่ได้รับความนิยมบริโภคทั้งในไต้หวัน ไทย และฮ่องกง จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมยอดนิยม การใช้ชานมเป็นจุดร่วมทางรสนิยม และสื่อความหมายถึงรสนิยมและความเห็นทางการเมืองที่เป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างผู้ชื่นชอบบริโภคชานม
การเกิดขึ้นของพันธมิตรชานมนี้ ได้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรวมไปถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกพื้นที่ออนไลน์ในประเด็นที่สืบเนื่อง พันธมิตรชานมยังสะท้อนให้เห็นถึงระดับความนิยมชื่นชอบหรือความคิดเห็นต่อจีนของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในประเทศไทยซึ่งมีคนรุ่นใหม่เป็นสัดส่วนใหญ่ที่เห็นว่ารัฐบาลจีนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลไทยรวมถึงความตระหนักถึงประเด็นด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในจีน ซึ่งเป็นความรับรู้และความเห็นในทิศทางตรงกันข้ามกับฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลไทย ซึ่งแสดงจุดยืนในการสนับสนุนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่วิพากษ์วิจารณ์การชุมนุมในฮ่องกง การต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งถูกมองว่าอยู่เบื้องหลังและสนับสนุนการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในไทยและฮ่องกง ทั้งนี้เพื่อเป็นการต่อต้านอิทธิพลของจีน
พันธมิตรชานมมีจุดยืนชัดเจนในการต่อต้านอิทธิพลจีนและสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยได้รับการนำเสนอและวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ เช่น พันธมิตรชานมเกิดจากกระแสการเรียกร้องประชาธิปไตยในภูมิภาคและบทบาทของสื่อใหม่ รวมทั้งอินเทอร์เน็ตที่ส่งผลต่อการรับข้อมูลข่าวสารในลักษณะข้ามพรมแดนที่สามารถเชื่อมผู้คนที่มีแนวคิดหรืออุดมการณ์แบบเดียวกันในพื้นที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน[1] จนเกิดความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือความเกื้อหนุนกันระหว่างฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในภูมิภาค[2] ไปจนถึงกระแสการต่อต้านอิทธิพลและนโยบายของจีนที่มีมากขึ้น ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจจากนโยบายในฮ่องกง การพยายามขยายอำนาจเหนือไต้หวัน ไปจนถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อรัฐบาลไทยหรือเมียนมา ซึ่งการกระทำเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นอุปสรรคของการเรียกร้องประชาธิปไตยในภูมิภาค[3]
กำเนิดพันธมิตรชานม
การรวมกลุ่มพันธมิตรชานม มีที่มาจากความขัดแย้งระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนและไทยในทวิตเตอร์ (Twitter) ระหว่าง วันที่ 10-11 เมษายน 2563 สืบเนื่องจากการรีทวิต (Retweet) ข้อความและภาพถ่ายจากผู้ใช้งานรายหนึ่งในทวิตเตอร์โดย วชิรวิชญ์ ชีวอารี หรือ “ไบร์ท” นักแสดงชาวไทยซึ่งมีผลงานเป็นที่นิยมในจีน ซึ่งข้อความดังกล่าวระบุถึงภาพถ่ายจาก 4 “ประเทศ” ได้แก่ ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไทย ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนบางส่วนไม่พอใจที่ข้อความดังกล่าวที่สื่อได้ว่าฮ่องกงเป็นประเทศแยกจากจีน แม้ภายหลังจะมีการขอโทษจากวชิรวิชญ์ แต่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีนบางส่วนก็ได้ขยายประเด็นไปยังแฟนสาวของวชิรวิชญ์ โดยได้ตามไปสืบค้นและพบว่าได้รีทวิตข้อความที่สื่อว่าการระบาดของโรคโควิด-19 มีที่มาจากจีน รวมถึงค้นพบว่าวชิรวิชญ์และแฟนสาวเคยแสดงความคิดเห็นที่สื่อได้ว่าไต้หวันไม่ใช่ส่วนหนึ่งของจีน[4] ซึ่งการถกเถียงระหว่างผู้สนับสนุนชื่นชอบนักแสดงชาวไทยได้ลุกลามบานปลายไปสู่การปะทะคารมและความเห็นบนสื่อโซเชียลมีเดียระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวจีน ซึ่งถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็น “นักรบไซเบอร์” ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานรัฐจีนและผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทย โดยทั้งสองฝ่ายได้โพสต์ข้อความโจมตีอีกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม การกล่าวโจมตีประเทศไทยในเรื่องต่าง ๆ จากฝ่ายจีน กลับถูกฝ่ายไทยมองเป็นเรื่องตลกขำขัน เนื่องจากสิ่งที่ถูกพูดถึงนั้นเป็นประเด็นที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ได้วิพากษ์วิจารณ์หรือล้อเลียนมาอยู่แล้ว เช่น สถาบันกษัตริย์ หรือการทำหน้าที่ ของรัฐบาลไทย ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ตอบโต้ไปด้วยข้อความที่ระบุว่าไต้หวันและฮ่องกงเป็นประเทศเอกราชที่แยกจากจีน รวมถึงตอบโต้โจมตีด้วยข้อความในเชิงตลกขบขัน
ความขัดแย้งออนไลน์นี้เป็นที่รับรู้ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในฮ่องกงและไต้หวัน ซึ่งได้เข้ามาแสดงความเห็นสนับสนุนฝ่ายไทยในการตอบโต้ฝ่ายจีน[5] เช่น โจชัว หว่อง (Joshua Wong) แกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านจีนชาวฮ่องกง ได้ทวีตข้อความและรูปภาพซีรี่ส์ที่วชิรวิชญ์แสดงนำ โดยมีข้อความภาษาอังกฤษที่แปลได้ว่า “ฮ่องกงยืนเคียงข้างเพื่อน ๆ ที่รักเสรีภาพในไทย ต่อต้านการกลั่นแกล้งจากจีน”[6]
ในกรณีไต้หวัน ประธานาธิบดี ไช่ อิงเหวิน (Cai Yingwen) ได้ทวีตข้อความอวยพร “มิตรสหาย” ชาวไทยเนื่องในวันสงกรานต์ ซึ่งถึงแม้ว่าไม่ได้กล่าวถึงข้อพิพาทนี้ แต่ก็เป็นที่เข้าใจว่ามีความสืบเนื่องกัน[7] นอกจากนั้นนายกเทศมนตรีเมืองเถาหยวนได้ทวีตข้อความขอบคุณชาวไทยตั้งแต่ วันที่ 12 เมษายน[8] และต่อมาได้มีการบริจาคหน้ากากอนามัยและชุด PPE จากไต้หวันเพื่อช่วยเหลือไทยในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความห่วงใยจากไต้หวัน[9]
ภายหลังจากการปะทะความเห็นออนไลน์ ได้ปรากฏการใช้คำว่า “Milk Tea Alliance” และ “พันธมิตรชานม”[10] เพื่อใช้พูดคุยหรือสื่อถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวหรือการร่วมกันต่อต้านจีน โดยนำเสนอให้เห็นถึงจุดร่วมในการบริโภคชานมของผู้คนทั้งสามประเทศ พร้อมกันกับมีแฮชแท็กอื่น ๆ ที่สื่อความหมายคล้ายกัน เช่น #MilkTeaTeam[11]
ต่อมาโฆษกของสถานเอกอัครราชทูตจีนได้แถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ความขัดแย้งนี้ ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊กของสถานทูต เมื่อวันที่ 14 เมษายน เพื่อยืนยันหลักการจีนเดียว พร้อมทั้งกล่าวว่ามีการแสดงความเห็นที่ “สะท้อนอคติและความไม่รู้” และกล่าวว่ามีความพยายามที่จะ “วางแผนมุ่งร้าย ยุแยงให้ผู้คนผิดใจกัน” พร้อมทั้งกล่าวถึงความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ที่ผ่านมาที่ไทยได้รับจากจีน[12]
แถลงการณ์ที่มีลักษณะแข็งกร้าวและกล่าวถึงฝ่ายไทยในเชิงตำหนินี้ ได้รับปฏิกิริยาในทางลบจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตชาวไทยบางส่วนซึ่งได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อแถลงการณ์ของสถานทูตจีน[13] รวมถึงมีการใช้แฮชแท็ก #ชานมข้นกว่าเลือด เพื่อตอบโต้และแสดงความคิดเห็น[14]
นอกจากการตอบโต้ฝ่ายจีนจากผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียของไทยจะได้รับการสนับสนุนจากฮ่องกงและไต้หวันแล้ว ยังมีการร่วมแสดงความเห็นจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศอื่น เช่น ฟิลิปปินส์ ที่แสดงความเห็นในประเด็นข้อพิพาททางทะเลกับจีน[15] รวมไปถึงการโพสต์เนื้อหานำเสนอรายชื่อและลักษณะของชานมในประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย หรืออินเดีย ในลักษณะที่ “ล้อม” จีน[16]
ภายหลังได้เกิดเครือข่ายแบบหลวม ๆ ของพันธมิตรชานม มีการนำเอาสัญญะของความเป็นพันธมิตรชานมไปใช้ในการร่วมกันต้านอิทธิพลของจีนประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดียที่ถูกเพิ่มเข้ามาหลังจากกรณีพิพาททางพรมแดนกับจีนและกระแสต่อต้านจีนในเดือนตุลาคม และเมียนมาซึ่งถูกนับเป็นพันธมิตรชานมภายหลังรัฐประหารเดือนกุมภาพันธ์ 2564[17] พันธมิตรชานมได้ขยายรวมไปถึงประเทศที่มีสถานะเป็นสมาชิกชานม ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย รวมไปถึงออสเตรเลีย อย่างไรก็ตามมีหลายครั้งที่การกล่าวถึงพันธมิตรชานมจำกัดสมาชิกไว้เพียงแค่ไทย ฮ่องกง ไต้หวัน
พันธมิตรชานมกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ตั้งแต่มีการ “ก่อตั้ง” และ “รวมตัว” ของพันธมิตรชานมในเดือนเมษายน 2563 ได้มีการนำเอาสัญญะและเนื้อหา-แนวคิดของพันธมิตรชานมมาใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งรวมถึงกิจกรรมทางการเมืองนอกพื้นที่ออนไลน์ เช่น การชุมนุม ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้มีทั้งการแสดงการสนับสนุนการเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศอื่น และการแสดงออกในลักษณะต่อต้านนโยบายและอิทธิพลของจีน เช่น ในกรณีของไทยที่กลุ่ม “มนุษย์ชาติไร้พรมแดน” ได้จัดกิจกรรมแจกคุกกี้ “เทียนอันเหมิน” รสชานม บริเวณหน้าสถานทูตจีนและสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การปราบปรามผู้ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 และเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อการคุกคามชาวทิเบต อุยกูร์ และฮ่องกง รวมถึงประเด็นเขื่อนแม่น้ำโขง[18]
ในการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลหลายครั้งไทยนับจากเดือนมิถุนายน 2564 ก็ได้มีการนำเอาประเด็นการต่อต้านนโยบายของจีนและสนับสนุนไต้หวัน-ฮ่องกงมาใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น การชุมนุมของกลุ่ม Anti-One China TH หน้าสถานทูตจีนในวันที่ 1 ตุลาคม 2563 เพื่อประท้วงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจีนและแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวไต้หวัน ฮ่องกง ทิเบต และอุยกูร์ และผู้ที่ถูกกดขี่ภายใต้รัฐบาลจีน[19] การชุมนุมหน้าสถานทูตจีนเพื่อเรียกร้องเพื่อให้ทางการจีน ปล่อยตัว โจชัว หว่อง และแกนนำฝ่ายต่อต้านจีนอีก 2 ราย ซึ่งถูกควบคุมตัวในเรือนจำ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563[20]
เมื่อเกิดรัฐประหารในเมียนมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ก็ได้มีกลุ่มชาวเมียนมาเคลื่อนไหวภายใต้ ชื่อ พันธมิตรชานมร่วมกับกลุ่ม REDEM ซึ่งชุมนุม เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์[21]
นอกจากการแสดงออกทางการเมืองภายในไทยแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรชานมในต่างประเทศที่สนับสนุนขบวนการทางการเมืองในไทยและประเทศอื่น ๆ เช่น การชุมนุมที่ไทเป เพื่อสนับสนุนการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลไทยที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พร้อมทั้งสนับสนุนข้อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามผู้เห็นต่างทางการเมือง แก้ไขรัฐธรรมนูญและยุบสภา[22] หรือการที่ โจชัว หว่อง เรียกร้องให้บริษัทผู้ผลิตแก๊สน้ำตาหยุดขายสินค้าให้กับรัฐบาลไทย ภายหลังการปราบปรามผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในไทย[23] นับรวมถึงกรณีรัฐประหารในเมียนมาและรัฐบาลทหารใช้กำลังปราบปรามต่อฝ่ายต่อต้านการยึดอำนาจ
นอกจากการชุมนุมในไทยแล้ว ยังมีการเคลื่อนไหวอื่น เช่น การออกแถลงการณ์จากเครือข่ายพันธมิตรชานมอินโดนีเซีย ซึ่งสนับสนุนประชาชนชาวเมียนมาและเรียกร้องให้องค์กรระดับภูมิภาคและนานาชาติมีบทบาทต่อสถานการณ์ในเมียนมา[24]
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลในไทยที่เชื่อมโยงตัวเองเข้ากับพันธมิตรชานม เช่น การสนับสนุนฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงหรือการชุมนุมหน้าสถานทูตจีน รวมไปถึงการนำเอาสัญลักษณ์ เช่น ธงไต้หวัน ธงฮ่องกง รวมไปถึงธงทิเบตและธงอุยกูร์มาปรากฏในการชุมนุม ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายอนุรักษ์นิยมหรือฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลไทยที่แสดงความเห็นว่าเป็นการ “ชักศึกเข้าบ้าน” โดยเป็นการกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน[25]
นอกจากนี้ ยังมีการแสดงความคิดเห็นเชื่อมโยงว่าพันธมิตรชานมเป็นการเคลื่อนไหวที่ต้องการหรือได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อบ่อนทำลายจีนและสถาบันกษัตริย์ของไทย[26] ด้วยเช่นกัน
อนาคตของพันธมิตรชานม
ถึงแม้พันธมิตรชานมสะท้อนการมีสำนึกทางการเมืองร่วมกันในช่วงที่กระแสการต่อต้านอิทธิพลของจีนในการเมืองระหว่างประเทศและการกดดันอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลจีนต่อฮ่องกงและนโยบายจีนเดียวซึ่งหมายรวมถึงไต้หวัน แต่ปรากฏการณ์นี้ก็สะท้อนให้เห็นความคิดของคนรุ่นใหม่ที่แยกตัวทางสำนึกทางการเมือง วิถีชีวิต การบริโภค กรณีพันธมิตรชานมจึงเป็นเรื่องที่พึงติดตามต่อว่าจะมีพัฒนาการหรือคลี่คลายมาเป็นสำนึกทางการเมืองและการเคลื่อนไหวระหว่างประเทศจริงจังมากกว่ากระแสบนสื่อสังคมออนไลน์เท่านั้น
อ้างอิง
[1] “‘1 ปี Milk Tea Alliance’ กับวาสนา วงศ์สุรวัฒน์,” The 101, (30 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://www.the101.world/wasana-wongsurawat-interview-2/. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564.
[2] อ้างแล้ว.
[3] อ้างแล้ว.
[4] “สรุปดราม่า #nnevvy จากปมเน็ตไอดอลสะท้อนถึงความเป็นชาตินิยมไทย-จีน,” Voice Online, (12 เมษายน 2563, แก้ไข 13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/ZbO2FskaS. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564.
[5] อ้างแล้ว.
[6] “ชาวเน็ตไทย-ฮ่องกง-ไต้หวัน ผุดแฮชแท็กพันธมิตรชานม โต้แถลงการณ์สถานทูตจีน,” มติชนออนไลน์, (15 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2140121. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564.
[7] อ้างแล้ว.
[8] อ้างแล้ว.
[9] “มิตรภาพแห่งชานม! ไต้หวันบริจาคหน้ากากอนามัย 2 แสนชิ้น-ชุด PPE 150,000 ชุดให้ไทย,” มติชนออนไลน์, (21 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/foreign/news_2150161. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[10] ตัวอย่างการกล่าวถึงพันธมิตรชานมโดยผู้ใช้งานทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน เช่น @WishDimond, Twitter, (13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://twitter.com/WishDimond/status/1249699194241048576. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564., @Pentanov, Twitter, (13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://twitter.com/pentanov/status/1249708948791283712. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[11] @HanaTheMiao, Twitter, (13 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://twitter.com/HanaTheMiao/status/1249739362545385477. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[12] Chinese Embassy Bangkok สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย, Facebook, (14 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/posts/2942654555781330. เมื่อวันที่
[13] “ลุกลาม! ดราม่า ‘จีนเดียว’ จากศึกบนทวิต สู่สถานทูตจีนตอบโต้ และ ‘พันธมิตรชานม’ ถือกำเนิด,” มติชนสุดสัปดาห์, (15 เมษายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_296015. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564.
[14] “#ชานมข้นกว่าเลือด แฮชแท็กมาแรงในไทย หลังสถานทูตจีนย้ำ ‘หลักการจีนเดียว’ จากวิวาทะแฟนคลับซีรี่ส์วาย” บีบีซีไทย, (14 เมษายน 2563) เข้าถึงจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-52284297. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564.
[15] Christina Chan, “Milk is Thicker Than Blood: An Unlikely Digital Alliance Between Thailand, Hong Kong& Taiwan,” Hong Kong Free Press, (2 พฤษภาคม 2563). เข้าถึงจาก https://hongkongfp.com/2020/05/02/milk-is-thicker-than-blood-an-unlikely-digital-alliance-between-thailand-hong-kong-taiwan/. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[16] @Pentanov, Twitter, (13 เมษายน 2563).
[17] “เพื่อประชาธิปไตย! อินเดียเข้าร่วมพันธมิตรชานมไทย-ไต้หวัน,” โพสต์ทูเดย์, (14 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.posttoday.com/world/635471. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564, Bongkot Tuntiwisanusopit, “ต่างวัฒนธรรม แต่ใจเดียวกัน ที่มา 5 สมาชิก ‘ภาคีชานม’ #MilkteaAlliance,” Agenda, (10 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://www.agenda.co.th/social/5-members-of-milkteaalliance/. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[18] “‘พันธมิตรชานม’ รำลึก ‘เทียนอันเหมิน’ แจกคุกกี้หน้าสถานทูตจีน,” Voice Online, (4 มิถุนายน 2563). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/Jn_DUMkb3. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564.
[19] iLaw, “นักกิจกรรมประท้วงเนื่องในวันชาติจีน ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชน,” Facebook, (1 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/iLawClub/posts/10164458390215551/. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564.
[20] “แนวร่วม ‘แอนตี้วันไชน่า’ แสดงพลังเรียกร้องปล่อยตัว โจชัว หว่อง นักเคลื่อนไหวทางการเมืองในฮ่องกง,” The Standard, (24 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/anti-one-china-coalition-shows-power-to-demand-the-release-of-political-activist-joshua-wong-in-hong-kong/. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[21] ไพศาล ฮาแว, “ชาวเมียนมาในนาม ‘พันธมิตรชานม’ ร่วมชุมนุมกับกลุ่ม REDEM ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ,” The Standard, (28 กุมภาพันธ์ 2564). เข้าถึงจาก https://thestandard.co/myanmar-milk-tea-alliance-joined-redem/. เข้าถึงเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564.
[22] “ชาวไต้หวัน-ฮ่องกง ‘พันธมิตรชานม’ ร่วมเวทีคนไทยต่างแดน-หนุนปชต.ไทย,” Voice Online, (17 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://voicetv.co.th/read/C7N_-dYGK. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564.
[23] “‘โจชัว หว่อง’ ส่งอีเมลล์ถึงบริษัทขายแก๊สน้ำตา จี้เลิกขายให้ไทย-เปิดเผยข้อมูลอาวุธ,” มติชนออนไลน์, (21 พฤศจิกายน 2563). เข้าถึงจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2451692. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2564.
[24] “Statement From Milk Tea Alliance Indonesia: Myanmar Junta Terrorist Beyond Condemnation,” FORSEA, (13 มีนาคม 2564). เข้าถึงจาก https://forsea.co/statement-from-milk-tea-alliance-indonesia-myanmar-junta-terrorists-beyond-condemnation/. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[25] “ดร.นิว เปิด ความหมายธงละผืน หวดม็อบหางโผล่ ชูธงชักศึกเข้าบ้าน บ่อนทำลายความมั่นคง,” The Truth, (28 ตุลาคม 2563). เข้าถึงจาก https://truthforyou.co/12921/. เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564, “เด็กไทยชักศึกเข้าบ้าน บุกสถานทูตจีนจี้ปล่อย 3 แกนนำฮ่องกง พาดพิงครอบงำไทย พร้อมร่วมม็อบราษฎร,” ผู้จัดการออนไลน์, (24 พฤศจิกายน 2563.) เข้าถึงจาก https://mgronline.com/politics/detail/9630000121091. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.
[26] “สหรัฐฯ ปลุกปั่นเยาวชนป่วนชาติทั่วเอเชีย แต่ในไทยรุนแรงถึงขั้นล้มสถาบัน,” สถาบันทิศทางไทย, (21 สิงหาคม 2563). เข้าถึงจาก https://www.thaimoveinstitute.com/31810/. เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564.