ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 2: | บรรทัดที่ 2: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | '''ผู้เรียบเรียง :''' ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล | ||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ''':''' ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ | ||
<p style="text-align: center;"> </p> <p style="text-align: center;"><span style="font-size:x-large;">'''พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476'''</span></p> | |||
| |||
<span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''ความเป็นมา'''</span> | ||
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา '''“พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟเสตดคือที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน”''' เพื่อเป็นองค์กรถวายคำปรึกษาแก่พระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ Conseil d’Etat | ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา '''“พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟเสตดคือที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน”''' เพื่อเป็นองค์กรถวายคำปรึกษาแก่พระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ Conseil d’Etat หรือ เคาน์ซิลออฟสเตดของภาคพื้นทวีปยุโรป | ||
ในสมัย พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายและการศาลให้เป็นสากล เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ประเทศไทยทำไว้กับต่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการร่างประมวลกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นหลายคณะเพื่อร่างกฎหมายอย่างสากล และต่อมาทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง '''“กรมร่างกฎหมาย”''' สังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน ปี พ.ศ. 2466 เพื่อให้การชำระประมวลกฎหมายและร่างกฎหมายอื่น ๆ เป็นระบบมากยิ่งขึ้น[[#_ftn1|[1]]] | ในสมัย พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายและการศาลให้เป็นสากล เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ประเทศไทยทำไว้กับต่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการร่างประมวลกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นหลายคณะเพื่อร่างกฎหมายอย่างสากล และต่อมาทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง '''“กรมร่างกฎหมาย”''' สังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน ปี พ.ศ. 2466 เพื่อให้การชำระประมวลกฎหมายและร่างกฎหมายอื่น ๆ เป็นระบบมากยิ่งขึ้น[[#_ftn1|[1]]] | ||
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี พ.ศ. 2475 นาย[[ปรีดี_พนมยงค์|ปรีดี_พนมยงค์]] | เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี พ.ศ. 2475 นาย[[ปรีดี_พนมยงค์|ปรีดี_พนมยงค์]] (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีปกครอง หรือ คดีที่มีข้อพิพาททางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชน โดยใช้ชื่อองค์กรดังกล่าวว่า '''“คณะกรรมการกฤษฎีกา”''' เพื่อทำหน้าที่จัดทำร่างกฎหมายต่าง ๆ และพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง โดยได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 ขึ้น ให้มีฐานะเป็นกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยโอนการงานและบรรดาพนักงานหน้าที่ใน '''“กรมร่างกฎหมาย”''' ไปสังกัดคณะกรรมการกฤษฎีกา[[#_ftn2|[2]]] | ||
| | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 26: | ||
คณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบด้วย | คณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบด้วย | ||
| ก. ประธานคณะกรรมการ | ||
กฎหมายกำหนดให้ '''“นายกรัฐมนตรี”''' ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั้งหลายของคณะกรรมการนี้[[#_ftn4|[4]]] | กฎหมายกำหนดให้ '''“นายกรัฐมนตรี”''' ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั้งหลายของคณะกรรมการนี้[[#_ftn4|[4]]] | ||
| ข. กรรมการ | ||
คณะกรรมการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ[[#_ftn5|[5]]] | คณะกรรมการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ[[#_ftn5|[5]]] | ||
| 1. กรรมการกฤษฎีกา | ||
มีหน้าที่จัดทำร่างกฎหมายรับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมืองของรัฐบาล และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง | มีหน้าที่จัดทำร่างกฎหมายรับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมืองของรัฐบาล และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง | ||
| กรรมการกฤษฎีกาแบ่งเป็น[[#_ftn6|[6]]] | ||
| (1) กรรมการกฤษฎีกาสามัญ | ||
กรรมการกฤษฎีกาได้มาจากผู้ที่คณะรัฐมนตรีได้เลือกขึ้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว[[#_ftn7|[7]]] ผู้ที่จะได้รับตั้งแต่งต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้[[#_ftn8|[8]]] | กรรมการกฤษฎีกาได้มาจากผู้ที่คณะรัฐมนตรีได้เลือกขึ้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว[[#_ftn7|[7]]] ผู้ที่จะได้รับตั้งแต่งต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้[[#_ftn8|[8]]] | ||
บรรทัดที่ 52: | บรรทัดที่ 50: | ||
- รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์กฎหมาย | - รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์กฎหมาย | ||
| (2) กรรมการกฤษฎีกาวิสามัญ | ||
กรรมการกฤษฎาวิสามัญ ได้แก่ รัฐมนตรีทุกท่านซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง[[#_ftn9|[9]]] | กรรมการกฤษฎาวิสามัญ ได้แก่ รัฐมนตรีทุกท่านซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง[[#_ftn9|[9]]] | ||
| 2. กรรมการร่างกฎหมาย | ||
กรรมการร่างกฎหมายแต่งตั้งขึ้นโดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[[#_ftn10|[10]]] จากผู้ที่มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดั่งต่อไปนี้[[#_ftn11|[11]]] | กรรมการร่างกฎหมายแต่งตั้งขึ้นโดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[[#_ftn10|[10]]] จากผู้ที่มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดั่งต่อไปนี้[[#_ftn11|[11]]] | ||
บรรทัดที่ 68: | บรรทัดที่ 66: | ||
- มีภูมิรู้ในการร่างกฎหมาย หรือเคยรับราชการในการร่างกฎหมายมาแล้วมีความชำนาญและความสามารถเป็นประโยชน์ในการงานแผนกนี้ | - มีภูมิรู้ในการร่างกฎหมาย หรือเคยรับราชการในการร่างกฎหมายมาแล้วมีความชำนาญและความสามารถเป็นประโยชน์ในการงานแผนกนี้ | ||
หน้าที่ของกรรมการร่างกฎหมาย ได้แก่ หน้าที่จัดทำร่างกฎหมายและรับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมือง และรัฐบาล[[#_ftn12|[12]]] | หน้าที่ของกรรมการร่างกฎหมาย ได้แก่ หน้าที่จัดทำร่างกฎหมายและรับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมือง และรัฐบาล[[#_ftn12|[12]]] | ||
| ค. เลขาธิการ | ||
เลขาธิการได้มาจากผู้ที่คณะรัฐมนตรีได้เลือกขึ้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว[[#_ftn13|[13]]] กฎหมายกำหนดให้เลขาธิการเป็นกรรมการกฤษฎีกาสามัญโดยตำแหน่ง[[#_ftn14|[14]]] เลขาธิการมีหน้าที่ควบคุมงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการ[[#_ftn15|[15]]] | เลขาธิการได้มาจากผู้ที่คณะรัฐมนตรีได้เลือกขึ้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว[[#_ftn13|[13]]] กฎหมายกำหนดให้เลขาธิการเป็นกรรมการกฤษฎีกาสามัญโดยตำแหน่ง[[#_ftn14|[14]]] เลขาธิการมีหน้าที่ควบคุมงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการ[[#_ftn15|[15]]] | ||
บรรทัดที่ 88: | บรรทัดที่ 86: | ||
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกากฎหมายฉบับนี้กำหนดวิธีการแยกตามประเภทของเรื่องที่ต้องวินิจฉัย ดังนี้ | ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกากฎหมายฉบับนี้กำหนดวิธีการแยกตามประเภทของเรื่องที่ต้องวินิจฉัย ดังนี้ | ||
- กรณีวินิจฉัยข้อปรึกษา การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้นำเรื่องเสนอประธานคณะกรรมการให้ชี้ขาด[[#_ftn17|[17]]] | - กรณีวินิจฉัยข้อปรึกษา การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้นำเรื่องเสนอประธานคณะกรรมการให้ชี้ขาด[[#_ftn17|[17]]] | ||
- กรณีคดีปกครอง ให้คณะกรรมการกฤษฎีการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันประกอบด้วยกรรมการกฤษฎีกาสามัญจำนวน 4 นายเป็นอย่างน้อย กับ กรรมการกฤษฎีกาวิสามัญจำนวนอย่างน้อย 1 นาย รวม 3 นายเป็นอย่างมากนั่งประชุมด้วยกันจึงจะเป็นองค์ประชุมพิจารณาพิพากษาคดี[[#_ftn18|[18]]] | - กรณีคดีปกครอง ให้คณะกรรมการกฤษฎีการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันประกอบด้วยกรรมการกฤษฎีกาสามัญจำนวน 4 นายเป็นอย่างน้อย กับ กรรมการกฤษฎีกาวิสามัญจำนวนอย่างน้อย 1 นาย รวม 3 นายเป็นอย่างมากนั่งประชุมด้วยกันจึงจะเป็นองค์ประชุมพิจารณาพิพากษาคดี[[#_ftn18|[18]]] | ||
บรรทัดที่ 98: | บรรทัดที่ 96: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''การปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''การปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา'''</span> | ||
พระราชกฤษฎีกาฯ ได้กำหนดมอบหมายหน้าที่ให้กรรมการกฤษฎีกาเท่านั้นที่กฎหมายให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ส่วนกรรมการร่างกฎหมายไม่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครองแต่อย่างใด[[#_ftn20|[20]]] ต่อมาเพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ กฎหมายดังกล่าวได้จัดตั้ง ''' | พระราชกฤษฎีกาฯ ได้กำหนดมอบหมายหน้าที่ให้กรรมการกฤษฎีกาเท่านั้นที่กฎหมายให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ส่วนกรรมการร่างกฎหมายไม่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครองแต่อย่างใด[[#_ftn20|[20]]] ต่อมาเพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ กฎหมายดังกล่าวได้จัดตั้ง '''“[[สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา|สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา]]”''' ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมาได้มีการตรา '''“พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522”''' ขึ้นเพื่อปรับปรุงการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่และกลไกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดแผนงานและขั้นตอนของการพัฒนาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองขึ้นในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้ง '''“คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์”''' ขึ้น เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทในคดีปกครองต่างหากจากคณะกรรมการร่างกฎหมายซึ่งยังคงไว้เช่นเดิม อนึ่ง อำนาจของคณะกรรมการกฤษฎีกาในการพิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเสียหายจากการกระทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีปกครองได้รับการพัฒนาตลอดมาจนในที่สุดได้โอนไปเป็นอำนาจของศาลปกครองเมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นใน ปี พ.ศ. 2542 | ||
| | ||
บรรทัดที่ 104: | บรรทัดที่ 102: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''บรรณานุกรม'''</span> | ||
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, | ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, การบริหารงานของคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีและของคณะกรรมการกฤษฎีกา, หน้า 56-89, ออนไลน์จาก [http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf]. . เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 | ||
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50/หน้า 782/ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476. | ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50/หน้า 782/ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476. พระราชบัญญัติว่าด้วยว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476 | ||
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. | สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ประวัติความเป็นมา. ออนไลน์จาก [https://krisdika.go.th/th/ https://krisdika.go.th/th/] background. เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 | ||
| | ||
บรรทัดที่ 114: | บรรทัดที่ 112: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''เอกสารอ่านเพิ่มเติม'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''เอกสารอ่านเพิ่มเติม'''</span> | ||
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, | ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, การบริหารงานของคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีและของคณะกรรมการกฤษฎีกา, หน้า 56-89, ออนไลน์จาdhttp://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf | ||
รวมพระชุดวัดบวรนิเวศวิหาร. | รวมพระชุดวัดบวรนิเวศวิหาร. วิวัฒนาการศาลปกครองไทย ศาลปกครองไทยใต้เบื้องพระบุคลบาท. จากhttp://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Court/Court_201212_160637.pdf”. | ||
<div> | <div> | ||
| | ||
บรรทัดที่ 122: | บรรทัดที่ 120: | ||
<span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> | <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> | ||
<div id="ftn1"> | <div id="ftn1"> | ||
[[#_ftnref1|[1]]] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, | [[#_ftnref1|[1]]] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ประวัติความเป็นมา, ออนไลน์จาก [https://krisdika.go.th/th/ https://krisdika.go.th/th/] background, เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 | ||
</div> <div id="ftn2"> | </div> <div id="ftn2"> | ||
[[#_ftnref2|[2]]] มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 | [[#_ftnref2|[2]]] มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 | ||
บรรทัดที่ 160: | บรรทัดที่ 158: | ||
[[#_ftnref19|[19]]] มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 | [[#_ftnref19|[19]]] มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 | ||
</div> <div id="ftn20"> | </div> <div id="ftn20"> | ||
[[#_ftnref20|[20]]] ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, | [[#_ftnref20|[20]]] ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, การบริหารงานของคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีและของคณะกรรมการกฤษฎีกา, หน้า 64, ออนไลน์จากhttp://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:สถาบันการเมืองและองค์กรอิสระ]] [[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]] | [[Category:สถาบันการเมืองและองค์กรอิสระ]] [[Category:กฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:30, 15 มีนาคม 2566
ผู้เรียบเรียง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : ศาสตราจารย์ ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476
ความเป็นมา
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟเสตดคือที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน” เพื่อเป็นองค์กรถวายคำปรึกษาแก่พระองค์ในการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ Conseil d’Etat หรือ เคาน์ซิลออฟสเตดของภาคพื้นทวีปยุโรป
ในสมัย พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความจำเป็นต้องปฏิรูปกฎหมายและการศาลให้เป็นสากล เพื่อใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไขสนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ประเทศไทยทำไว้กับต่างประเทศ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการร่างประมวลกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นหลายคณะเพื่อร่างกฎหมายอย่างสากล และต่อมาทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “กรมร่างกฎหมาย” สังกัดกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน ปี พ.ศ. 2466 เพื่อให้การชำระประมวลกฎหมายและร่างกฎหมายอื่น ๆ เป็นระบบมากยิ่งขึ้น[1]
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี พ.ศ. 2475 นายปรีดี_พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่วินิจฉัยคดีปกครอง หรือ คดีที่มีข้อพิพาททางปกครองระหว่างรัฐกับเอกชน โดยใช้ชื่อองค์กรดังกล่าวว่า “คณะกรรมการกฤษฎีกา” เพื่อทำหน้าที่จัดทำร่างกฎหมายต่าง ๆ และพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง โดยได้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476 ขึ้น ให้มีฐานะเป็นกรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยโอนการงานและบรรดาพนักงานหน้าที่ใน “กรมร่างกฎหมาย” ไปสังกัดคณะกรรมการกฤษฎีกา[2]
สาระสำคัญของกฎหมาย
วันที่มีผลบังคับใช้ของกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476 ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป กฎหมายฉบับนี้จึงมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 9 ธันวาคม 2476 เป็นต้นไป
คณะกรรมการกฤษฎีกา
1) องค์ประกอบคณะกรรมการกฤษฎีกา[3]
คณะกรรมการกฤษฎีกาประกอบด้วย
ก. ประธานคณะกรรมการ
กฎหมายกำหนดให้ “นายกรัฐมนตรี” ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยตำแหน่ง มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั้งหลายของคณะกรรมการนี้[4]
ข. กรรมการ
คณะกรรมการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ[5]
1. กรรมการกฤษฎีกา
มีหน้าที่จัดทำร่างกฎหมายรับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมืองของรัฐบาล และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
กรรมการกฤษฎีกาแบ่งเป็น[6]
(1) กรรมการกฤษฎีกาสามัญ
กรรมการกฤษฎีกาได้มาจากผู้ที่คณะรัฐมนตรีได้เลือกขึ้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว[7] ผู้ที่จะได้รับตั้งแต่งต้องมีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้[8]
- รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งกรรมการร่างกฎหมาย
- รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งกรรมการศาลฎีกา
- รับราชการหรือเคยรับราชการในตำแหน่งศาสตราจารย์กฎหมาย
(2) กรรมการกฤษฎีกาวิสามัญ
กรรมการกฤษฎาวิสามัญ ได้แก่ รัฐมนตรีทุกท่านซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง[9]
2. กรรมการร่างกฎหมาย
กรรมการร่างกฎหมายแต่งตั้งขึ้นโดยพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี[10] จากผู้ที่มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดั่งต่อไปนี้[11]
- รับราชการหรือเคยรับราชการฝ่ายตุลาการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าชั้นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
- รับราชการหรือเคยับราชการพลเรือนในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าชั้นอธิบดี
- เป็นหรือเคยเป็นอาจารย์โรงเรียนกฎหมายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- มีภูมิรู้ในการร่างกฎหมาย หรือเคยรับราชการในการร่างกฎหมายมาแล้วมีความชำนาญและความสามารถเป็นประโยชน์ในการงานแผนกนี้
หน้าที่ของกรรมการร่างกฎหมาย ได้แก่ หน้าที่จัดทำร่างกฎหมายและรับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมือง และรัฐบาล[12]
ค. เลขาธิการ
เลขาธิการได้มาจากผู้ที่คณะรัฐมนตรีได้เลือกขึ้นเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว[13] กฎหมายกำหนดให้เลขาธิการเป็นกรรมการกฤษฎีกาสามัญโดยตำแหน่ง[14] เลขาธิการมีหน้าที่ควบคุมงานธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกา รับผิดชอบขึ้นตรงต่อประธานคณะกรรมการ[15]
2) หน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกา
หน้าที่หลักของคณะกรรมการกฤษฎีกามีอยู่ 3 ด้าน ดังนี้[16]
1. จัดทำร่างกฎหมาย หรือ กฎข้อบังคับตามคำสั่งของสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี
2. รับปรึกษาให้ความเห็นในทางกฎหมายแก่ทบวงการเมืองของรัฐบาล
3. พิจารณาพิพากษาคดีปกครองตามที่จะได้มีกฎหมายให้อยู่ในอำจาจของคณะกรรมการกฤษฎีกา
3) องค์ประชุม
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกากฎหมายฉบับนี้กำหนดวิธีการแยกตามประเภทของเรื่องที่ต้องวินิจฉัย ดังนี้
- กรณีวินิจฉัยข้อปรึกษา การลงมติวินิจฉัยข้อปรึกษานั้น และให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้นำเรื่องเสนอประธานคณะกรรมการให้ชี้ขาด[17]
- กรณีคดีปกครอง ให้คณะกรรมการกฤษฎีการนั่งพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันประกอบด้วยกรรมการกฤษฎีกาสามัญจำนวน 4 นายเป็นอย่างน้อย กับ กรรมการกฤษฎีกาวิสามัญจำนวนอย่างน้อย 1 นาย รวม 3 นายเป็นอย่างมากนั่งประชุมด้วยกันจึงจะเป็นองค์ประชุมพิจารณาพิพากษาคดี[18]
กฎหมายได้ห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงหรือทบวงและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หรือทบวงนั่งเป็นกรรมการกฤษฎีกาในคดีที่มีผู้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของกระทรวงหรือทบวงนั้น[19]
การปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาฯ ได้กำหนดมอบหมายหน้าที่ให้กรรมการกฤษฎีกาเท่านั้นที่กฎหมายให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง ส่วนกรรมการร่างกฎหมายไม่มีอำนาจพิจารณาคดีปกครองแต่อย่างใด[20] ต่อมาเพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ กฎหมายดังกล่าวได้จัดตั้ง “สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา” ขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการกฤษฎีกา ต่อมาได้มีการตรา “พระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522” ขึ้นเพื่อปรับปรุงการจัดองค์กร อำนาจหน้าที่และกลไกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยกำหนดแผนงานและขั้นตอนของการพัฒนาคณะกรรมการกฤษฎีกาให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองขึ้นในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์” ขึ้น เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยข้อพิพาทในคดีปกครองต่างหากจากคณะกรรมการร่างกฎหมายซึ่งยังคงไว้เช่นเดิม อนึ่ง อำนาจของคณะกรรมการกฤษฎีกาในการพิจารณาเรื่องที่ราษฎรได้รับความเสียหายจากการกระทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือคดีปกครองได้รับการพัฒนาตลอดมาจนในที่สุดได้โอนไปเป็นอำนาจของศาลปกครองเมื่อมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นใน ปี พ.ศ. 2542
บรรณานุกรม
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, การบริหารงานของคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีและของคณะกรรมการกฤษฎีกา, หน้า 56-89, ออนไลน์จาก http://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf. . เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 50/หน้า 782/ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476. พระราชบัญญัติว่าด้วยว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พุทธศักราช 2476
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. ประวัติความเป็นมา. ออนไลน์จาก https://krisdika.go.th/th/ background. เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, การบริหารงานของคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีและของคณะกรรมการกฤษฎีกา, หน้า 56-89, ออนไลน์จาdhttp://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf
รวมพระชุดวัดบวรนิเวศวิหาร. วิวัฒนาการศาลปกครองไทย ศาลปกครองไทยใต้เบื้องพระบุคลบาท. จากhttp://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/Court/Court_201212_160637.pdf”.
อ้างอิง
[1] สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ประวัติความเป็นมา, ออนไลน์จาก https://krisdika.go.th/th/ background, เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564
[2] มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[3] มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[4] มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[5] มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[6] มาตรา 9 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[7] มาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[8] มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[9] มาตรา 9 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[10] มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[11] มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[12] มาตรา 8 (2) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[13] มาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[14] มาตรา 9 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[15] มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[16] มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[17] มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[18] มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[19] มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2476
[20] ถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์, การบริหารงานของคณะที่ปรึกษากฎหมายของนายกรัฐมนตรีและของคณะกรรมการกฤษฎีกา, หน้า 64, ออนไลน์จากhttp://library1.nida.ac.th/nida_jour0/NJv7n1_03.pdf