ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐสวัสดิการ"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " '''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย '''ผู้..."
 
Trikao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 6 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย
'''ผู้เรียบเรียง :''' รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย


'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


 
 
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
          '''รัฐสวัสดิการ (welfare state)''' คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณชนแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาปัจจัยขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ ตัวแบบกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic Countries Model) เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก และฟินแลนด์ จัดเป็นรัฐสวัสดิการสมัยใหม่[[#_ftn1|[1]]] รัฐสวัสดิการจึงเป็นรัฐที่มีนโยบายสังคมที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในสังคม โดยรัฐจัดโครงการหรือบริการทางสังคมให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง เป็นการสร้างระบบความมั่นคงทางสังคม (social security) ให้กับคนในรัฐนั้น ๆ[[#_ftn2|[2]]]
          '''รัฐสวัสดิการ (welfare state)''' คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณชนแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาปัจจัยขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ ตัวแบบกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic Countries Model) เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก และฟินแลนด์ จัดเป็นรัฐสวัสดิการสมัยใหม่[[#_ftn1|[1]]] รัฐสวัสดิการจึงเป็นรัฐที่มีนโยบายสังคมที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในสังคม โดยรัฐจัดโครงการหรือบริการทางสังคมให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง เป็นการสร้างระบบความมั่นคงทางสังคม (social security) ให้กับคนในรัฐนั้น ๆ[[#_ftn2|[2]]]


 
= <span style="font-size:x-large;">'''ประวัติความเป็นมาของรัฐสวัสดิการ'''</span> =


== '''ประวัติความเป็นมาของรัฐสวัสดิการ''' ==
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นในโลกครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ถูกเรียกว่ารัฐสวัสดิการ รัฐก้าวเข้ามารับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของประชาชนในแทบทุกด้านแทนที่ครอบครัวและชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อังกฤษเป็นแบบอย่างของรัฐสวัสดิการที่ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกต่างดำเนินรอยตาม


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นในโลกครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ถูกเรียกว่ารัฐสวัสดิการ รัฐก้าวเข้ามารับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของประชาชนในแทบทุกด้านแทนที่ครอบครัวและชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อังกฤษเป็นแบบอย่างของรัฐสวัสดิการที่ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกต่างดำเนินรอยตาม
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ความเป็นมาของรัฐสวัสดิการในอังกฤษเริ่มต้นจากแนวคิดและกฎหมายการสงเคราะห์คนยากจนมาสู่กฎหมายประกันสังคม จนเป็นหลักการที่บุคคลจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ประกันตน หลังจากนั้น กฎหมายประกันสังคมก็ออกตามมาอีกหลายฉบับ พัฒนาการของรัฐสวัสดิการอย่างสมบูรณ์ของอังกฤษ เริ่มหลังจากที่ ลอร์ดวิลเลียม เบเวอร์ริดจ์ (Lord William Beveridge) ได้ศึกษาสภาพปัญหาของสังคมอังกฤษที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมแล้วทำรายงานเสนอต่อรัฐบาลใน ค.ศ. 1941 ภายใต้ปรัชญาที่ว่า คนอังกฤษพึงมีเสรีภาพที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน โดยไม่ต้องเดือดร้อนอีกต่อไป ด้วยการที่รัฐให้หลักประกันด้านสวัสดิการสังคมพื้นฐานแก่ประชาชนในรูปของระบบความมั่นคงทางสังคมซึ่งประกอบด้วย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ความเป็นมาของรัฐสวัสดิการในอังกฤษเริ่มต้นจากแนวคิดและกฎหมายการสงเคราะห์คนยากจนมาสู่กฎหมายประกันสังคม จนเป็นหลักการที่บุคคลจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ประกันตน หลังจากนั้น กฎหมายประกันสังคมก็ออกตามมาอีกหลายฉบับ พัฒนาการของรัฐสวัสดิการอย่างสมบูรณ์ของอังกฤษ เริ่มหลังจากที่ ลอร์ดวิลเลียม เบเวอร์ริดจ์ (Lord William Beveridge) ได้ศึกษาสภาพปัญหาของสังคมอังกฤษที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมแล้วทำรายงานเสนอต่อรัฐบาลใน ค.ศ. 1941 ภายใต้ปรัชญาที่ว่า คนอังกฤษพึงมีเสรีภาพที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน โดยไม่ต้องเดือดร้อนอีกต่อไป ด้วยการที่รัฐให้หลักประกันด้านสวัสดิการสังคมพื้นฐานแก่ประชาชนในรูปของระบบความมั่นคงทางสังคมซึ่งประกอบด้วย<br/> &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (1) การประกันสังคม (social insurance)
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (1) การประกันสังคม (social insurance)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (2) การสงเคราะห์ประชาชน (public assistance)&nbsp;และ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; (2) การสงเคราะห์ประชาชน (public assistance)&nbsp;และ
บรรทัดที่ 22: บรรทัดที่ 22:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แนวคิดรัฐสวัสดิการได้ขยายตัวออกไปอีกหลายประเทศและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างสัมฤทธิ์ผล ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ กลุ่มประเทศนอร์ดิก&nbsp;(Nordic Model) ได้แก่ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ค นอร์เวย์ และสวีเดน เป็นต้น
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แนวคิดรัฐสวัสดิการได้ขยายตัวออกไปอีกหลายประเทศและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างสัมฤทธิ์ผล ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ กลุ่มประเทศนอร์ดิก&nbsp;(Nordic Model) ได้แก่ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ค นอร์เวย์ และสวีเดน เป็นต้น


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''หลักการสำคัญของรัฐสวัสดิการ'''[[#_ftn4|[4]]]</span> =
 
== '''หลักการสำคัญของรัฐสวัสดิการ'''[[#_ftn4|[4]]] ==


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) ครอบครัวจะอยู่ดีมีสุขได้จะต้องมีรายได้เพียงพอจากการทำงาน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) ครอบครัวจะอยู่ดีมีสุขได้จะต้องมีรายได้เพียงพอจากการทำงาน
บรรทัดที่ 34: บรรทัดที่ 32:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4) การช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนทำได้หลายวิธี เช่น การให้เงินอุดหนุนแก่รัฐบาลท้องถิ่น จังหวัด เทศบาล การส่งเสริมองค์การสวัสดิการสังคมภาคเอกชน การลดราคาสินค้าบริโภคด้วยวิธีการต่าง ๆ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 4) การช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนทำได้หลายวิธี เช่น การให้เงินอุดหนุนแก่รัฐบาลท้องถิ่น จังหวัด เทศบาล การส่งเสริมองค์การสวัสดิการสังคมภาคเอกชน การลดราคาสินค้าบริโภคด้วยวิธีการต่าง ๆ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หลักการของรัฐสวัสดิการเป็นหลักที่เน้นความเป็นมนุษย์หรือมนุษย์นิยมและความเท่าเทียมในการได้รับบริการ หรือได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือ และหลักการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ซึ่งนับเป็นการลดการทดสอบคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือ (means tests) เพราะการทดสอบคุณสมบัตินั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ปฏิบัติได้ยาก และยังเป็นการประทับรอยมลทินให้แก่ประชาชนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออีกด้วย&nbsp;รัฐสวัสดิการทำให้สังคมมีเอกภาพ มีความสามัคคีและมีความมั่นคง ประชาชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม<br/> อย่างทัดเทียมกัน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; หลักการของรัฐสวัสดิการเป็นหลักที่เน้นความเป็นมนุษย์หรือมนุษย์นิยมและความเท่าเทียมในการได้รับบริการ หรือได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือ และหลักการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ซึ่งนับเป็นการลดการทดสอบคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือ (means tests) เพราะการทดสอบคุณสมบัตินั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ปฏิบัติได้ยาก และยังเป็นการประทับรอยมลทินให้แก่ประชาชนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออีกด้วย&nbsp;รัฐสวัสดิการทำให้สังคมมีเอกภาพ มีความสามัคคีและมีความมั่นคง ประชาชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างทัดเทียมกัน
 
&nbsp;


== '''การดําเนินงานของรัฐสวัสดิการ'''[[#_ftn5|[5]]] ==
= <span style="font-size:x-large;">'''การดําเนินงานของรัฐสวัสดิการ'''[[#_ftn5|[5]]]</span> =


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การดําเนินงานของรัฐสวัสดิการจะต้องทำให้เกิดสมดุลในปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การดําเนินงานของรัฐสวัสดิการจะต้องทำให้เกิดสมดุลในปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ
บรรทัดที่ 48: บรรทัดที่ 44:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) ภาระที่ประชาชนจะต้องเสียภาษีให้รัฐ โดยรัฐนําภาษีที่ประชาชนเสียกลับมาจัดสรรเป็นงบประมาณในโครงการสวัสดิการต่าง ๆ เช่น หากประชาชนต้องเสียภาษีมากเกินไป ก็จะขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรือการที่อัตราค่าจ้างเงินเดือนต่ำมากก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมเมื่อคนงานระดับล่างมีรายได้ไม่ต่างจากประชาชนว่างงานที่ได้รับเงินสวัสดิการจากรัฐ ทำให้นําไปสู่การหลอกลวงเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อรับประโยชน์บางอย่าง โดยไม่ต้องทำงาน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) ภาระที่ประชาชนจะต้องเสียภาษีให้รัฐ โดยรัฐนําภาษีที่ประชาชนเสียกลับมาจัดสรรเป็นงบประมาณในโครงการสวัสดิการต่าง ๆ เช่น หากประชาชนต้องเสียภาษีมากเกินไป ก็จะขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรือการที่อัตราค่าจ้างเงินเดือนต่ำมากก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมเมื่อคนงานระดับล่างมีรายได้ไม่ต่างจากประชาชนว่างงานที่ได้รับเงินสวัสดิการจากรัฐ ทำให้นําไปสู่การหลอกลวงเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อรับประโยชน์บางอย่าง โดยไม่ต้องทำงาน


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''สถาปัตยกรรมของรัฐสวัสดิการ'''[[#_ftn6|[6]]]</span> =
 
== '''สถาปัตยกรรมของรัฐสวัสดิการ'''[[#_ftn6|[6]]] ==


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กุสตา เอสปิง แอนเดอร์สัน ตีพิมพ์หนังสือชื่อ โลกสามใบของทุนนิยมสวัสดิการ (The Three Worlds of Welfare Capitalism) ใน ค.ศ. 1990 แบ่งรัฐสวัสดิการออกเป็น 3 แบบ อันได้แก่ เสรีนิยม อนุรักษนิยม และสังคมประชาธิปไตย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กุสตา เอสปิง แอนเดอร์สัน ตีพิมพ์หนังสือชื่อ โลกสามใบของทุนนิยมสวัสดิการ (The Three Worlds of Welfare Capitalism) ใน ค.ศ. 1990 แบ่งรัฐสวัสดิการออกเป็น 3 แบบ อันได้แก่ [[เสรีนิยม|เสรีนิยม]] [[อนุรักษ์นิยม|อนุรักษ์นิยม]] และสังคมประชาธิปไตย


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1) รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม''' ในรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม ตลาดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐสวัสดิการรูปแบบอื่น ๆ สิทธิทางสังคมและการจัดสรรอำนวยความสะดวกทางสังคมมักไม่ค่อยได้รับการพัฒนาอย่างแข็งขัน ยิ่งไปกว่านั้นการจัดสรรกระจายความช่วยเหลือทางสังคมมักจะผูกติดกับแบบทดสอบคัดกรองผู้ด้อยโอกาสที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ผู้ได้รับความช่วยเหลือทางสังคมจึงมักจะรู้สึกถูกตีตราและมีสถานะทางสังคมที่ต่ำ เพราะฉะนั้น รัฐจึงทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายรองรับความปลอดภัยทางสังคมเพียงเท่านั้น สมาชิกในสังคมมีเพียงรายรับที่ตนได้จากตลาดแรงงานเป็นแหล่งที่พึ่งหลัก ดังนั้นระดับของกระบวนการทำให้ไม่เป็นสินค้าจึงต่ำ เงินทุนสนับสนุนการจัดสรรอำนวยความช่วยเหลือทางสังคมมาจากเงินภาษี ภายใต้ระบบเช่นนี้แทบไม่มีการให้สิทธิประโยชน์เป็นรายบุคคลในฐานะสิทธิที่พึงได้ ด้วยเหตุที่ไม่มีการจัดสรรความช่วยเหลือผ่านเงินสมทบอื่น ๆ ระดับของการให้ความมั่นคงทางสังคมในระบบนี้จึงเหมือนกันหมด (อัตราเดียวกัน—uniform rate)
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 1.&nbsp;รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม''' ในรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม ตลาดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐสวัสดิการรูปแบบอื่น ๆ สิทธิทางสังคมและการจัดสรรอำนวยความสะดวกทางสังคมมักไม่ค่อยได้รับการพัฒนาอย่างแข็งขัน ยิ่งไปกว่านั้นการจัดสรรกระจายความช่วยเหลือทางสังคมมักจะผูกติดกับแบบทดสอบคัดกรองผู้ด้อยโอกาสที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ผู้ได้รับความช่วยเหลือทางสังคมจึงมักจะรู้สึกถูกตีตราและมีสถานะทางสังคมที่ต่ำ เพราะฉะนั้น รัฐจึงทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายรองรับความปลอดภัยทางสังคมเพียงเท่านั้น สมาชิกในสังคมมีเพียงรายรับที่ตนได้จากตลาดแรงงานเป็นแหล่งที่พึ่งหลัก ดังนั้นระดับของกระบวนการทำให้ไม่เป็นสินค้าจึงต่ำ เงินทุนสนับสนุนการจัดสรรอำนวยความช่วยเหลือทางสังคมมาจากเงินภาษี ภายใต้ระบบเช่นนี้แทบไม่มีการให้สิทธิประโยชน์เป็นรายบุคคลในฐานะสิทธิที่พึงได้ ด้วยเหตุที่ไม่มีการจัดสรรความช่วยเหลือผ่านเงินสมทบอื่น ๆ ระดับของการให้ความมั่นคงทางสังคมในระบบนี้จึงเหมือนกันหมด (อัตราเดียวกัน—uniform rate)


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐสวัสดิการชนิดนี้ไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านอาชีพและระดับรายได้ที่แต่ละคนมี อย่างไรก็ดี เนื่องจากการให้ความมั่นคงทางสังคมอยู่ในระดับขั้นต่ำ และเป้าหมายหลักคือการป้องกันความยากจน ใครก็ตามที่มีกำลังทรัพย์มากพอจึงหันไปพึ่งพาผู้ช่วยเหลือภาคเอกชน (เช่น ประกันเงินบำนาญเอกชน โรงเรียนเอกชน) ผลกระทบทางอ้อมที่ตามมาคือ รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยมมักนำไปสู่การแบ่งชนชั้นเกิดช่องว่างทางช่วงชั้นระหว่างคนรวยและคนจน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียถือเป็นตัวอย่างหลักที่สะท้อนรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; รัฐสวัสดิการชนิดนี้ไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านอาชีพและระดับรายได้ที่แต่ละคนมี อย่างไรก็ดี เนื่องจากการให้ความมั่นคงทางสังคมอยู่ในระดับขั้นต่ำ และเป้าหมายหลักคือการป้องกันความยากจน ใครก็ตามที่มีกำลังทรัพย์มากพอจึงหันไปพึ่งพาผู้ช่วยเหลือภาคเอกชน (เช่น ประกันเงินบำนาญเอกชน โรงเรียนเอกชน) ผลกระทบทางอ้อมที่ตามมาคือ รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยมมักนำไปสู่การแบ่งชนชั้นเกิดช่องว่างทางช่วงชั้นระหว่างคนรวยและคนจน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียถือเป็นตัวอย่างหลักที่สะท้อนรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม
บรรทัดที่ 68: บรรทัดที่ 62:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • แบ่งแยกช่วงชั้นผ่านประกันและบริการภาคเอกชน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • แบ่งแยกช่วงชั้นผ่านประกันและบริการภาคเอกชน


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2) รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม''' หรือ รัฐสวัสดิการแบบบรรษัท (corporatist welfare state) ในขณะที่แนวคิดแบบบรรษัทนิยมสืบสานวิถีปฏิบัติของฐานันดร (ทางสังคม) ที่ต่างกัน รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยมก็เช่นเดียวกัน มันแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนในแต่ละอาชีพ ในเยอรมนีกฎหมายข้าราชการพลเรือน (civil service law) ซึ่งมาพร้อมกับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดีที่สุด หลักการดังกล่าวยังถูกนำไปใช้กับวิชาชีพอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ที่ปรึกษาด้านภาษี ทนาย พนักงานทำสัญญาจดทะเบียน สัตวแพทย์ เภสัชกรและนักบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้มีสิทธิเข้าถึงแผนเงินบำนาญวิชาชีพซึ่งให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมไปถึงการประกันเงินบำนาญ ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องข้างต้นจะได้สิทธิเป็นสมาชิกในโครงการประกันเงินบำนาญไปด้วย
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 2.&nbsp;รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม''' หรือ รัฐสวัสดิการแบบบรรษัท (corporatist welfare state) ในขณะที่แนวคิดแบบบรรษัทนิยมสืบสานวิถีปฏิบัติของฐานันดร (ทางสังคม) ที่ต่างกัน รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยมก็เช่นเดียวกัน มันแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนในแต่ละอาชีพ ในเยอรมนีกฎหมายข้าราชการพลเรือน (civil service law) ซึ่งมาพร้อมกับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดีที่สุด หลักการดังกล่าวยังถูกนำไปใช้กับวิชาชีพอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ที่ปรึกษาด้านภาษี ทนาย พนักงานทำสัญญาจดทะเบียน สัตวแพทย์ เภสัชกรและนักบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้มีสิทธิเข้าถึงแผนเงินบำนาญวิชาชีพซึ่งให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมไปถึงการประกันเงินบำนาญ ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องข้างต้นจะได้สิทธิเป็นสมาชิกในโครงการประกันเงินบำนาญไปด้วย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้วยเหตุนี้ มีคนบางกลุ่มที่ไม่ถูกนับรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของประกันเงินบำนาญตามกฎหมาย อันได้แก่ คนทำงานอิสระ และสมาชิกกลุ่มวิชาชีพข้างต้นที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ในประเทศอื่นที่เป็นรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม อาทิ อิตาลีและฝรั่งเศส มีความแตกต่างด้านสิทธิประโยชน์ตามอาชีพที่ต่างกันในแง่ของประกันการว่างงาน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ด้วยเหตุนี้ มีคนบางกลุ่มที่ไม่ถูกนับรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของประกันเงินบำนาญตามกฎหมาย อันได้แก่ คนทำงานอิสระ และสมาชิกกลุ่มวิชาชีพข้างต้นที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ในประเทศอื่นที่เป็นรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม อาทิ อิตาลีและฝรั่งเศส มีความแตกต่างด้านสิทธิประโยชน์ตามอาชีพที่ต่างกันในแง่ของประกันการว่างงาน
บรรทัดที่ 84: บรรทัดที่ 78:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • การแบ่งช่วงชั้นชัดเจนตามกลุ่มอาชีพ รายรับ และเพศสภาพ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • การแบ่งช่วงชั้นชัดเจนตามกลุ่มอาชีพ รายรับ และเพศสภาพ


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3) รัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตย''' สถาปัตยกรรมรัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตยนั้นเหมือนกับแบบเสรีนิยมในแง่ของแหล่งเงินสนับสนุนซึ่งมาจากการเก็บภาษีเป็นส่วนใหญ่มากกว่าเงินสมทบ&nbsp;ทว่าในเรื่องของการจัดสรรให้ความช่วยเหลือ มีความแตกต่าง 3 ด้าน กล่าวคือ
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; 3.&nbsp;รัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตย''' สถาปัตยกรรมรัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตยนั้นเหมือนกับแบบเสรีนิยมในแง่ของแหล่งเงินสนับสนุนซึ่งมาจากการเก็บภาษีเป็นส่วนใหญ่มากกว่าเงินสมทบ&nbsp;ทว่าในเรื่องของการจัดสรรให้ความช่วยเหลือ มีความแตกต่าง 3 ด้าน กล่าวคือ
 
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประการแรก''' การจัดสรรสวัสดิการในรัฐสวัสดิการสังคมประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าในประเทศเสรีนิยมอื่น ๆ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประการที่สอง''' ตรงกันข้ามกับรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม ระดับการจัดสรรให้ความช่วยเหลือมีแนวโน้มที่จะเหมือนกันสำหรับผู้รับที่มีระดับรายรับต่างกัน สาเหตุที่สำคัญคือการจัดสรรช่วยเหลือทางสังคมหลายอย่าง อาทิ สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน มาจากการเก็บภาษี
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ประการแรก</u> การจัดสรรสวัสดิการในรัฐสวัสดิการสังคมประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าในประเทศเสรีนิยมอื่น ๆ


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประการที่สาม''' ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือ '''การบริการภาครัฐแบบถ้วนหน้า (universal state service)''' (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องมีเงื่อนไขด้านเงินสมทบหรือมีเพียงขั้นต่ำ) สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นเสาหลักของสถาปัตยกรรมแบบสังคมประชาธิปไตย รัฐเหล่านี้มีโครงข่ายการบริการภาครัฐหรือเทศบาลที่พัฒนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและการดูแลอื่น ๆ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ประการที่สอง</u> ตรงกันข้ามกับรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม ระดับการจัดสรรให้ความช่วยเหลือมีแนวโน้มที่จะเหมือนกันสำหรับผู้รับที่มีระดับรายรับต่างกัน สาเหตุที่สำคัญคือการจัดสรรช่วยเหลือทางสังคมหลายอย่าง อาทิ สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน มาจากการเก็บภาษี


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การบริการทางสังคมที่รอบด้านและการจ่ายเงินในอัตราเดียวกันหมายความว่าระดับของการทำให้ไม่เป็นสินค้าในรัฐสวัสดิการแบบสุดท้ายนั้นสูงมากที่สุด ในขณะที่การแบ่งช่วงชั้นทางสังคมนั้นมีอย่างจำกัด ประเทศหลัก ที่นำแนวทางสถาปัตยกรรมข้างต้นไปปฏิบัติจริง ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ประการที่สาม</u> ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ '''การบริการภาครัฐแบบถ้วนหน้า (universal state service)''' (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องมีเงื่อนไขด้านเงินสมทบหรือมีเพียงขั้นต่ำ) สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นเสาหลักของสถาปัตยกรรมแบบสังคมประชาธิปไตย รัฐเหล่านี้มีโครงข่ายการบริการภาครัฐหรือเทศบาลที่พัฒนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและการดูแลอื่น


ลักษณะโดดเด่นหลัก ๆ ของรัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การบริการทางสังคมที่รอบด้านและการจ่ายเงินในอัตราเดียวกันหมายความว่าระดับของการทำให้ไม่เป็นสินค้าในรัฐสวัสดิการแบบสุดท้ายนั้นสูงมากที่สุด ในขณะที่การแบ่งช่วงชั้นทางสังคมนั้นมีอย่างจำกัด ประเทศหลัก ๆ ที่นำแนวทางสถาปัตยกรรมข้างต้นไปปฏิบัติจริง ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ลักษณะโดดเด่นหลัก ๆ ของรัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • การบริการเป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายทางสังคม
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • การบริการเป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายทางสังคม
บรรทัดที่ 106: บรรทัดที่ 98:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • ความเท่าเทียมทางรายได้สูงและการแบ่งช่วงชั้นต่ำ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; • ความเท่าเทียมทางรายได้สูงและการแบ่งช่วงชั้นต่ำ


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''อุปสรรคของการไม่เกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการไทย'''[[#_ftn7|[7]]]</span> =
 
== '''อุปสรรคของการไม่เกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการไทย'''[[#_ftn7|[7]]] ==


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรนั้น ช่วยสร้างความมั่นคงของมนุษย์ให้เกิดขึ้นได้&nbsp;ทว่าภายใต้บริบทของสังคมไทยนั้นอุปสรรคสำคัญของการเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรมีปัจจัย 3 ประการด้วยกัน ดังนี้
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรนั้น ช่วยสร้างความมั่นคงของมนุษย์ให้เกิดขึ้นได้&nbsp;ทว่าภายใต้บริบทของสังคมไทยนั้นอุปสรรคสำคัญของการเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรมีปัจจัย 3 ประการด้วยกัน ดังนี้


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประการแรก กระบวนการทำให้ยอมจำนนในวัฒนธรรมทางการเมืองและการไร้อำนาจต่อรอง''' ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความตระหนักถึงสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่เสมอกันในสังคมอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของการเกิดรัฐสวัสดิการ การตระหนักถึงสิทธิแห่งความเสมอภาคนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่การอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; <u>ประการแรก</u> '''กระบวนการทำให้ยอมจำนนในวัฒนธรรมทางการเมืองและการไร้อำนาจต่อรอง''' ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความตระหนักถึงสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่เสมอกันในสังคมอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของการเกิดรัฐสวัสดิการ การตระหนักถึงสิทธิแห่งความเสมอภาคนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่การอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทว่าในบริบทของสังคมไทยนั้นกระบวนการดังกล่าวถูกทำลายโดยชนชั้นนำของไทยในเวลาต่อมา แม้ว่าระบอบการปกครองจะมีลักษณะเสมือนประชาธิปไตย กล่าวคือมีการเลือกตั้งและมีตัวแทน แต่ประชาชนถูกทำให้ไม่ตระหนักถึงอำนาจของตนหรือสิทธิในการต่อรอง ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านข้าราชการในระดับท้องถิ่น ระบบการศึกษา และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบรวมศูนย์ สถานะของประชาชนจึงเป็นเพียงแต่ '''“วัตถุ”''' ที่ถูกควบคุมภายใต้ผู้มีอำนาจ การสร้างรัฐสวัสดิการจึงมีลักษณะแบบบนลงล่างขึ้นกับผู้มีอำนาจจะดำเนินการให้ จึงเกิดระบบสวัสดิการแบบสังคมสงเคราะห์ การพิสูจน์ความจน หรือสวัสดิการแก่กลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม เช่น ข้าราชการ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ทว่าในบริบทของสังคมไทยนั้นกระบวนการดังกล่าวถูกทำลายโดยชนชั้นนำของไทยในเวลาต่อมา แม้ว่าระบอบการปกครองจะมีลักษณะเสมือนประชาธิปไตย กล่าวคือมีการเลือกตั้งและมีตัวแทน แต่ประชาชนถูกทำให้ไม่ตระหนักถึงอำนาจของตนหรือสิทธิในการต่อรอง ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านข้าราชการในระดับท้องถิ่น ระบบการศึกษา และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบรวมศูนย์ สถานะของประชาชนจึงเป็นเพียงแต่ '''“วัตถุ”''' ที่ถูกควบคุมภายใต้ผู้มีอำนาจ การสร้างรัฐสวัสดิการจึงมีลักษณะแบบบนลงล่างขึ้นกับผู้มีอำนาจจะดำเนินการให้ จึงเกิดระบบสวัสดิการแบบสังคมสงเคราะห์ การพิสูจน์ความจน หรือสวัสดิการแก่กลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม เช่น ข้าราชการ


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประการที่สอง การไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความไม่เท่าเทียมของชนชั้นนำ''' อันเป็นผลมาจากการครอบงำโดยชนชั้นนำที่นิยมกลไกตลาดแบบสุดโต่ง เพื่อประโยชน์ในการผูกขาดทรัพยากรแล้ว&nbsp;การไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความไม่เท่าเทียมยังปรากฏในรูปแบบของการไม่เติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''<u>ประการที่สอง</u> '''การไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความไม่เท่าเทียมของชนชั้นนำ''' อันเป็นผลมาจากการครอบงำโดยชนชั้นนำที่นิยมกลไกตลาดแบบสุดโต่ง เพื่อประโยชน์ในการผูกขาดทรัพยากรแล้ว&nbsp;การไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความไม่เท่าเทียมยังปรากฏในรูปแบบของการไม่เติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคมมีมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าราคาของการจัดการความไม่เท่าเทียมมีราคาที่สูง เช่น การปราบปรามความขัดแย้งจากความเหลื่อมล้ำ การสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากการถูกวางเงื่อนไขให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ ชนชั้นนำตระหนักว่าการผูกขาดการใช้อำนาจสร้างความเหลื่อมล้ำเป็นหนทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการรักษาสถานะ การที่ชนชั้นนำไทยไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความเหลื่อมล้ำทำให้หนทางในการรักษาสถานะของพวกเขาวนเวียนอยู่กับวิธีการแบบเดิม คือ การผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; เนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคมมีมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าราคาของการจัดการความไม่เท่าเทียมมีราคาที่สูง เช่น การปราบปรามความขัดแย้งจากความเหลื่อมล้ำ การสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากการถูกวางเงื่อนไขให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ ชนชั้นนำตระหนักว่าการผูกขาดการใช้อำนาจสร้างความเหลื่อมล้ำเป็นหนทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการรักษาสถานะ การที่ชนชั้นนำไทยไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความเหลื่อมล้ำทำให้หนทางในการรักษาสถานะของพวกเขาวนเวียนอยู่กับวิธีการแบบเดิม คือ การผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ


'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประการที่สาม การขาดจิตสำนึกรวมหมู่ในชีวิตประจำวัน''' เนื่องมาจากเงื่อนไขข้างต้นทั้งสองประการทำให้สภาพการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยโดยทั่วไป คือ การพยายามเอาตัวรอดจากความเปราะบาง&nbsp;การพยายามก่อกำแพงให้ตนเองปลอดภัย ทั้งในระดับประชาชนทั่วไปและชนชั้นนำ ต้นทุนในการต่อสู้เรียกร้องมีความเสี่ยงสูง ทั้งจากการถูกปราบปรามโดยอำนาจรัฐที่ผูกขาดโดยชนชั้นนำ และต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของอำนาจรัฐและทุน
'''&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''<u>ประการที่สาม</u> '''การขาดจิตสำนึกรวมหมู่ในชีวิตประจำวัน''' เนื่องมาจากเงื่อนไขข้างต้นทั้งสองประการทำให้สภาพการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยโดยทั่วไป คือ การพยายามเอาตัวรอดจากความเปราะบาง&nbsp;การพยายามก่อกำแพงให้ตนเองปลอดภัย ทั้งในระดับประชาชนทั่วไปและชนชั้นนำ ต้นทุนในการต่อสู้เรียกร้องมีความเสี่ยงสูง ทั้งจากการถูกปราบปรามโดยอำนาจรัฐที่ผูกขาดโดยชนชั้นนำ และต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของอำนาจรัฐและทุน


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแสเสรีนิยมใหม่ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงขึ้น การแสวงหากำไรในธุรกิจที่ไม่เคยเป็นสินค้าอย่างเข้มข้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการพักผ่อน เป็นต้น ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นสินค้าที่มีราคา เงื่อนไขข้างต้นนี้ทำให้ปัจเจกบุคคลอยู่ในสภาพปลอดการเมืองโดยปริยาย การรวมกลุ่มในลักษณะต่าง ๆ&nbsp;จึงมีต้นทุนที่สูงทำได้ยาก ทางออกคือการต่อสู้ในลักษณะของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยรวมขาดพลังและไม่ก่อให้เกิดนโยบายการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; กระแสเสรีนิยมใหม่ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงขึ้น การแสวงหากำไรในธุรกิจที่ไม่เคยเป็นสินค้าอย่างเข้มข้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการพักผ่อน เป็นต้น ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นสินค้าที่มีราคา เงื่อนไขข้างต้นนี้ทำให้ปัจเจกบุคคลอยู่ในสภาพปลอดการเมืองโดยปริยาย การรวมกลุ่มในลักษณะต่าง ๆ&nbsp;จึงมีต้นทุนที่สูงทำได้ยาก ทางออกคือการต่อสู้ในลักษณะของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยรวมขาดพลังและไม่ก่อให้เกิดนโยบายการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง


&nbsp;
= <span style="font-size:x-large;">'''ข้อเสนอแนะต่อรัฐไทยในการสร้างความมั่นคงของมนุษย์'''[[#_ftn8|[8]]]</span> =
 
== '''ข้อเสนอแนะต่อรัฐไทยในการสร้างความมั่นคงของมนุษย์'''[[#_ftn8|[8]]] ==


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นโยบายรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร ไม่ใช่นโยบายทางเศรษฐกิจเพียงลำพัง หากวางอยู่บนความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองและปรัชญามนุษย์นิยม การพัฒนานโยบายนี้ในประเทศไทยจึงไม่ใช่ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยเครื่องมือเท่านั้น เงื่อนไขสำคัญโดยสรุปในการวางรากฐานให้เกิดนโยบายรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรประกอบไปด้วยเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; นโยบายรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร ไม่ใช่นโยบายทางเศรษฐกิจเพียงลำพัง หากวางอยู่บนความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองและปรัชญามนุษย์นิยม การพัฒนานโยบายนี้ในประเทศไทยจึงไม่ใช่ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยเครื่องมือเท่านั้น เงื่อนไขสำคัญโดยสรุปในการวางรากฐานให้เกิดนโยบายรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรประกอบไปด้วยเงื่อนไข ดังต่อไปนี้


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;'''ประการแรก''' ปรัชญามนุษย์นิยม ซึ่งเกิดจากความยอมรับร่วมกันในสังคมว่า ความวัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของรัฐไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากมีการละทิ้งความมั่นคงของมนุษย์ สวัสดิภาพ สวัสดิการของมนุษย์ในสังคมเศรษฐกิจของประเทศย่อมไม่สามารถเติบโตอย่างมั่นคงได้ หากประชากรส่วนใหญ่ถูกกองไว้กับความยากจน หนี้สิน และความสิ้นหวัง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;ประการแรก ปรัชญามนุษย์นิยม ซึ่งเกิดจากความยอมรับร่วมกันในสังคมว่า ความวัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของรัฐไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากมีการละทิ้งความมั่นคงของมนุษย์ สวัสดิภาพ สวัสดิการของมนุษย์ในสังคมเศรษฐกิจของประเทศย่อมไม่สามารถเติบโตอย่างมั่นคงได้ หากประชากรส่วนใหญ่ถูกกองไว้กับความยากจน หนี้สิน และความสิ้นหวัง


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ความมั่นคงทางการเมืองย่อมไม่เกิดขึ้น หากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถคาดเดาได้ว่า&nbsp;พวกเขาจะมีชีวิตอย่างไร รวมถึงไม่สามารถเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ด้วยข้อจำกัดทางชาติกำเนิดและฐานะทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญมนุษย์สามารถเอาชนะข้อจำกัดความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ได้ด้วยการก้าวสู่สังคมที่โอบอุ้มมนุษย์ร่วมกันโดยไม่จำต้องปล่อยคนทิ้งไว้เบื้องล่าง กลไกตลาดและระบบเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์แก่ทุนเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือเท่านั้นที่หาใช่สัจจะนิรันดร์ที่มนุษย์ต้องยึดถือเพียงตัวเลือกเดียว
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ความมั่นคงทางการเมืองย่อมไม่เกิดขึ้น หากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถคาดเดาได้ว่า&nbsp;พวกเขาจะมีชีวิตอย่างไร รวมถึงไม่สามารถเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ด้วยข้อจำกัดทางชาติกำเนิดและฐานะทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญมนุษย์สามารถเอาชนะข้อจำกัดความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ได้ด้วยการก้าวสู่สังคมที่โอบอุ้มมนุษย์ร่วมกันโดยไม่จำต้องปล่อยคนทิ้งไว้เบื้องล่าง กลไกตลาดและระบบเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์แก่ทุนเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือเท่านั้นที่หาใช่สัจจะนิรันดร์ที่มนุษย์ต้องยึดถือเพียงตัวเลือกเดียว


&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประการที่สอง''' การกระจายอำนาจ ความเป็นประชาธิปไตยในทุกระดับเป็นสิ่งที่ทำให้ระบบรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรเกิดขึ้นได้ ไม่เพียงแต่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการกระจายการตัดสินใจเชิงนโยบายสู่ประชาชน หัวใจสำคัญคือการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นการเพิ่มระดับพรรคการเมืองที่ผูกติดกับการตัดสินใจในระดับมวลชนมากกว่าพรรคการเมืองของชนชั้นนำ
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประการที่สอง การกระจายอำนาจ ความเป็นประชาธิปไตยในทุกระดับเป็นสิ่งที่ทำให้ระบบรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรเกิดขึ้นได้ ไม่เพียงแต่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการกระจายการตัดสินใจเชิงนโยบายสู่ประชาชน หัวใจสำคัญคือการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นการเพิ่มระดับพรรคการเมืองที่ผูกติดกับการตัดสินใจในระดับมวลชนมากกว่าพรรคการเมืองของชนชั้นนำ
 
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''ประการที่สาม''' การปฏิรูปเงื่อนไขเบื้องต้นทางเศรษฐกิจ แม้ว่ารัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานปรัชญามนุษย์นิยม และการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยในทุกระดับ แต่การจัดลำดับนโยบายทางเศรษฐกิจก็มีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก การจะไปให้ถึงรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร จำเป็นจะต้องมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ การปฏิรูปกฎหมายแรงงานและการเกิดพรรคแรงงานที่เชื่อมรอยต่อ&nbsp;การต่อสู้แต่ละสถานประกอบการเข้าหากันและกัน และผลักดันนโยบายสู่วาระสาธารณะ


&nbsp;
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ประการที่สาม การปฏิรูปเงื่อนไขเบื้องต้นทางเศรษฐกิจ แม้ว่ารัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานปรัชญามนุษย์นิยม และการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยในทุกระดับ แต่การจัดลำดับนโยบายทางเศรษฐกิจก็มีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก การจะไปให้ถึงรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร จำเป็นจะต้องมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ การปฏิรูปกฎหมายแรงงานและการเกิดพรรคแรงงานที่เชื่อมรอยต่อ&nbsp;การต่อสู้แต่ละสถานประกอบการเข้าหากันและกัน และผลักดันนโยบายสู่วาระสาธารณะ


== <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> ==
= <span style="font-size:x-large;">'''อ้างอิง'''</span> =
<div><div id="ftn1">
<div><div id="ftn1">
[[#_ftnref1|[1]]] Paul K. Edwards and Tony Elger, The global economy, national states and the regulation of labour (1999) p, 111 อ้างถึงใน วิกิพีเดีย, 2021. “รัฐสวัสดิการ.” สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2021 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐสวัสดิการ
[[#_ftnref1|[1]]] Paul K. Edwards and Tony Elger, The global economy, national states and the regulation of labour (1999) p, 111 อ้างถึงใน วิกิพีเดีย, 2021. “รัฐสวัสดิการ.” สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2021 จาก [https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐสวัสดิการ https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐสวัสดิการ]
</div> <div id="ftn2">
</div> <div id="ftn2">
[[#_ftnref2|[2]]] รพีพรรณ คำหอม, 2545. '''สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย.''' กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์, หน้า 46.
[[#_ftnref2|[2]]] รพีพรรณ คำหอม, 2545. '''สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย.''' กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์, หน้า 46.
บรรทัดที่ 154: บรรทัดที่ 140:
[[#_ftnref6|[6]]] อเล็กซานเดอร์ เพทริง และคณะ. กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ แปล, 2562. '''รัฐสวัสดิการกับสังคมประชาธิปไตย.''' กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท สำนักงานประเทศไทย, หน้า 62-68.
[[#_ftnref6|[6]]] อเล็กซานเดอร์ เพทริง และคณะ. กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ แปล, 2562. '''รัฐสวัสดิการกับสังคมประชาธิปไตย.''' กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท สำนักงานประเทศไทย, หน้า 62-68.
</div> <div id="ftn7">
</div> <div id="ftn7">
[[#_ftnref7|[7]]] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, 2564. “อ่านความคิดษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจผ่านความมั่นคงของมนุษย์<br/> สู่การสร้างรัฐสวัสดิการในประเทศไทย.” เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2021<br/> จาก https://pridi.or.th/th/content/2021/04/681
[[#_ftnref7|[7]]] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, 2564. “อ่านความคิดษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจผ่านความมั่นคงของมนุษย์สู่การสร้างรัฐสวัสดิการในประเทศไทย.” เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2021&nbsp;จาก [https://pridi.or.th/th/content/2021/04/681 https://pridi.or.th/th/content/2021/04/681]
</div> <div id="ftn8">
</div> <div id="ftn8">
[[#_ftnref8|[8]]] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, อ้างแล้ว.
[[#_ftnref8|[8]]] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, อ้างแล้ว.
</div> </div>  
</div> </div>  
[[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]][[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]]
[[Category:การบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:ว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน]] [[Category:สารานุกรม คำศัพท์ต่าง ๆ]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:33, 14 มีนาคม 2566

ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธพร อิสรชัย

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

 

          รัฐสวัสดิการ (welfare state) คือ มโนทัศน์การปกครองซึ่งรัฐมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางเศรษฐกิจและสังคมของพลเมือง โดยอาศัยหลักความเสมอภาคของโอกาส การกระจายความมั่งคั่งอย่างชอบธรรม และความรับผิดชอบต่อสาธารณชนแก่ผู้ไม่สามารถจัดหาปัจจัยขั้นต่ำสำหรับชีวิตที่ดีได้ ตัวแบบกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic Countries Model) เช่น ไอซ์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก และฟินแลนด์ จัดเป็นรัฐสวัสดิการสมัยใหม่[1] รัฐสวัสดิการจึงเป็นรัฐที่มีนโยบายสังคมที่มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในสังคม โดยรัฐจัดโครงการหรือบริการทางสังคมให้กับประชาชนอย่างกว้างขวาง เป็นการสร้างระบบความมั่นคงทางสังคม (social security) ให้กับคนในรัฐนั้น ๆ[2]

ประวัติความเป็นมาของรัฐสวัสดิการ

          รัฐสวัสดิการเกิดขึ้นในโลกครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยอังกฤษเป็นประเทศแรกที่ถูกเรียกว่ารัฐสวัสดิการ รัฐก้าวเข้ามารับผิดชอบชีวิตความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของประชาชนในแทบทุกด้านแทนที่ครอบครัวและชุมชนตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย อังกฤษเป็นแบบอย่างของรัฐสวัสดิการที่ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกต่างดำเนินรอยตาม

          ความเป็นมาของรัฐสวัสดิการในอังกฤษเริ่มต้นจากแนวคิดและกฎหมายการสงเคราะห์คนยากจนมาสู่กฎหมายประกันสังคม จนเป็นหลักการที่บุคคลจะได้รับประโยชน์ทดแทนตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ประกันตน หลังจากนั้น กฎหมายประกันสังคมก็ออกตามมาอีกหลายฉบับ พัฒนาการของรัฐสวัสดิการอย่างสมบูรณ์ของอังกฤษ เริ่มหลังจากที่ ลอร์ดวิลเลียม เบเวอร์ริดจ์ (Lord William Beveridge) ได้ศึกษาสภาพปัญหาของสังคมอังกฤษที่เป็นสังคมอุตสาหกรรมแล้วทำรายงานเสนอต่อรัฐบาลใน ค.ศ. 1941 ภายใต้ปรัชญาที่ว่า คนอังกฤษพึงมีเสรีภาพที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน โดยไม่ต้องเดือดร้อนอีกต่อไป ด้วยการที่รัฐให้หลักประกันด้านสวัสดิการสังคมพื้นฐานแก่ประชาชนในรูปของระบบความมั่นคงทางสังคมซึ่งประกอบด้วย

          (1) การประกันสังคม (social insurance)

          (2) การสงเคราะห์ประชาชน (public assistance) และ

          (3) การสงเคราะห์ครอบครัว (family allowance)[3]

          แนวคิดรัฐสวัสดิการได้ขยายตัวออกไปอีกหลายประเทศและนำไปสู่การปฏิบัติอย่างสัมฤทธิ์ผล ในประเทศฝรั่งเศส ประเทศเยอรมนี ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ กลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic Model) ได้แก่ ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ค นอร์เวย์ และสวีเดน เป็นต้น

หลักการสำคัญของรัฐสวัสดิการ[4]

          1) ครอบครัวจะอยู่ดีมีสุขได้จะต้องมีรายได้เพียงพอจากการทำงาน

          2) รัฐในระบอบประชาธิปไตยมีหน้าที่ที่จะต้องกระจายรายได้ให้เกิดความเป็นธรรมในกลุ่มต่าง ๆ

          3) รัฐจะต้องเป็นหลักประกันสำคัญให้แก่ประชาชนในยามเมื่อเกิดภัยพิบัติต่าง ๆ ขึ้นในชีวิต

          4) การช่วยเหลือทางการเงินแก่ประชาชนทำได้หลายวิธี เช่น การให้เงินอุดหนุนแก่รัฐบาลท้องถิ่น จังหวัด เทศบาล การส่งเสริมองค์การสวัสดิการสังคมภาคเอกชน การลดราคาสินค้าบริโภคด้วยวิธีการต่าง ๆ

          หลักการของรัฐสวัสดิการเป็นหลักที่เน้นความเป็นมนุษย์หรือมนุษย์นิยมและความเท่าเทียมในการได้รับบริการ หรือได้รับการสงเคราะห์ช่วยเหลือ และหลักการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า ซึ่งนับเป็นการลดการทดสอบคุณสมบัติของผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือ (means tests) เพราะการทดสอบคุณสมบัตินั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน ปฏิบัติได้ยาก และยังเป็นการประทับรอยมลทินให้แก่ประชาชนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออีกด้วย รัฐสวัสดิการทำให้สังคมมีเอกภาพ มีความสามัคคีและมีความมั่นคง ประชาชนรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างทัดเทียมกัน

การดําเนินงานของรัฐสวัสดิการ[5]

          การดําเนินงานของรัฐสวัสดิการจะต้องทำให้เกิดสมดุลในปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ

          1) โครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนของประชากรกลุ่มต่าง ๆ

          2) แรงจูงใจที่ประชาชนจะทำงาน

          3) ภาระที่ประชาชนจะต้องเสียภาษีให้รัฐ โดยรัฐนําภาษีที่ประชาชนเสียกลับมาจัดสรรเป็นงบประมาณในโครงการสวัสดิการต่าง ๆ เช่น หากประชาชนต้องเสียภาษีมากเกินไป ก็จะขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรือการที่อัตราค่าจ้างเงินเดือนต่ำมากก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมเมื่อคนงานระดับล่างมีรายได้ไม่ต่างจากประชาชนว่างงานที่ได้รับเงินสวัสดิการจากรัฐ ทำให้นําไปสู่การหลอกลวงเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อรับประโยชน์บางอย่าง โดยไม่ต้องทำงาน

สถาปัตยกรรมของรัฐสวัสดิการ[6]

          กุสตา เอสปิง แอนเดอร์สัน ตีพิมพ์หนังสือชื่อ โลกสามใบของทุนนิยมสวัสดิการ (The Three Worlds of Welfare Capitalism) ใน ค.ศ. 1990 แบ่งรัฐสวัสดิการออกเป็น 3 แบบ อันได้แก่ เสรีนิยม อนุรักษ์นิยม และสังคมประชาธิปไตย

          1. รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม ในรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม ตลาดมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดเมื่อเปรียบเทียบกับรัฐสวัสดิการรูปแบบอื่น ๆ สิทธิทางสังคมและการจัดสรรอำนวยความสะดวกทางสังคมมักไม่ค่อยได้รับการพัฒนาอย่างแข็งขัน ยิ่งไปกว่านั้นการจัดสรรกระจายความช่วยเหลือทางสังคมมักจะผูกติดกับแบบทดสอบคัดกรองผู้ด้อยโอกาสที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดและบ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ผู้ได้รับความช่วยเหลือทางสังคมจึงมักจะรู้สึกถูกตีตราและมีสถานะทางสังคมที่ต่ำ เพราะฉะนั้น รัฐจึงทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายรองรับความปลอดภัยทางสังคมเพียงเท่านั้น สมาชิกในสังคมมีเพียงรายรับที่ตนได้จากตลาดแรงงานเป็นแหล่งที่พึ่งหลัก ดังนั้นระดับของกระบวนการทำให้ไม่เป็นสินค้าจึงต่ำ เงินทุนสนับสนุนการจัดสรรอำนวยความช่วยเหลือทางสังคมมาจากเงินภาษี ภายใต้ระบบเช่นนี้แทบไม่มีการให้สิทธิประโยชน์เป็นรายบุคคลในฐานะสิทธิที่พึงได้ ด้วยเหตุที่ไม่มีการจัดสรรความช่วยเหลือผ่านเงินสมทบอื่น ๆ ระดับของการให้ความมั่นคงทางสังคมในระบบนี้จึงเหมือนกันหมด (อัตราเดียวกัน—uniform rate)

          รัฐสวัสดิการชนิดนี้ไม่คำนึงถึงความแตกต่างด้านอาชีพและระดับรายได้ที่แต่ละคนมี อย่างไรก็ดี เนื่องจากการให้ความมั่นคงทางสังคมอยู่ในระดับขั้นต่ำ และเป้าหมายหลักคือการป้องกันความยากจน ใครก็ตามที่มีกำลังทรัพย์มากพอจึงหันไปพึ่งพาผู้ช่วยเหลือภาคเอกชน (เช่น ประกันเงินบำนาญเอกชน โรงเรียนเอกชน) ผลกระทบทางอ้อมที่ตามมาคือ รัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยมมักนำไปสู่การแบ่งชนชั้นเกิดช่องว่างทางช่วงชั้นระหว่างคนรวยและคนจน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียถือเป็นตัวอย่างหลักที่สะท้อนรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม

          ลักษณะโดดเด่นหลัก ๆ ของรัฐสวัสดิการแบบเสรีนิยม

          • สิทธิประโยชน์ด้านการเงินมีอัตราเดียวและอยู่ในระดับต่ำในเชิงเปรียบเทียบ

          • แหล่งเงินทุนสนับสนุนมาจากภาษี

          • ตลาดแรงงานต้องไม่บีบให้บุคคลรับทำงานทุกประเภทโดยไม่คำนึงว่ามันจะมีค่าตอบแทนที่ต่ำเพียงใด

          • แบ่งแยกช่วงชั้นผ่านประกันและบริการภาคเอกชน

          2. รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม หรือ รัฐสวัสดิการแบบบรรษัท (corporatist welfare state) ในขณะที่แนวคิดแบบบรรษัทนิยมสืบสานวิถีปฏิบัติของฐานันดร (ทางสังคม) ที่ต่างกัน รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยมก็เช่นเดียวกัน มันแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างกลุ่มคนในแต่ละอาชีพ ในเยอรมนีกฎหมายข้าราชการพลเรือน (civil service law) ซึ่งมาพร้อมกับอภิสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ดีที่สุด หลักการดังกล่าวยังถูกนำไปใช้กับวิชาชีพอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ที่ปรึกษาด้านภาษี ทนาย พนักงานทำสัญญาจดทะเบียน สัตวแพทย์ เภสัชกรและนักบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพเหล่านี้มีสิทธิเข้าถึงแผนเงินบำนาญวิชาชีพซึ่งให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมไปถึงการประกันเงินบำนาญ ใครก็ตามที่เป็นสมาชิกสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวข้องข้างต้นจะได้สิทธิเป็นสมาชิกในโครงการประกันเงินบำนาญไปด้วย

          ด้วยเหตุนี้ มีคนบางกลุ่มที่ไม่ถูกนับรวมให้เป็นส่วนหนึ่งของประกันเงินบำนาญตามกฎหมาย อันได้แก่ คนทำงานอิสระ และสมาชิกกลุ่มวิชาชีพข้างต้นที่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ในประเทศอื่นที่เป็นรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม อาทิ อิตาลีและฝรั่งเศส มีความแตกต่างด้านสิทธิประโยชน์ตามอาชีพที่ต่างกันในแง่ของประกันการว่างงาน

          ในรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยมจึงมีการแบ่งช่วงชั้นที่ฝังรากลึกมากกว่าและทับซ้อนกับเส้นแบ่งความแตกต่างหลายเส้น อาทิ กลุ่มวิชาชีพ รายได้ และเพศสภาพ เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรีย และเบลเยี่ยมถือเป็นภาพสะท้อนของรัฐสวัสดิการรูปแบบนี้

          ลักษณะโดดเด่นหลักของรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม

          • สิทธิประโยชน์ด้านการเงินขึ้นอยู่กับรายรับก่อนหน้านี้

          • การบริการสาธารณะด้อยพัฒนา

          • แหล่งเงินทุนสนับสนุนมีเงินสมทบเป็นฐานสำคัญ

          • การแบ่งช่วงชั้นชัดเจนตามกลุ่มอาชีพ รายรับ และเพศสภาพ

          3. รัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตย สถาปัตยกรรมรัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตยนั้นเหมือนกับแบบเสรีนิยมในแง่ของแหล่งเงินสนับสนุนซึ่งมาจากการเก็บภาษีเป็นส่วนใหญ่มากกว่าเงินสมทบ ทว่าในเรื่องของการจัดสรรให้ความช่วยเหลือ มีความแตกต่าง 3 ด้าน กล่าวคือ

          ประการแรก การจัดสรรสวัสดิการในรัฐสวัสดิการสังคมประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะสูงกว่าในประเทศเสรีนิยมอื่น ๆ

          ประการที่สอง ตรงกันข้ามกับรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม ระดับการจัดสรรให้ความช่วยเหลือมีแนวโน้มที่จะเหมือนกันสำหรับผู้รับที่มีระดับรายรับต่างกัน สาเหตุที่สำคัญคือการจัดสรรช่วยเหลือทางสังคมหลายอย่าง อาทิ สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน มาจากการเก็บภาษี

          ประการที่สาม ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุด คือ การบริการภาครัฐแบบถ้วนหน้า (universal state service) (กล่าวอีกนัยหนึ่งคือทุกคนสามารถเข้าถึงการบริการต่าง ๆ ได้โดยที่ไม่ต้องมีเงื่อนไขด้านเงินสมทบหรือมีเพียงขั้นต่ำ) สิ่งนี้ถือได้ว่าเป็นเสาหลักของสถาปัตยกรรมแบบสังคมประชาธิปไตย รัฐเหล่านี้มีโครงข่ายการบริการภาครัฐหรือเทศบาลที่พัฒนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเลี้ยงดูเด็กและการดูแลอื่น ๆ

          การบริการทางสังคมที่รอบด้านและการจ่ายเงินในอัตราเดียวกันหมายความว่าระดับของการทำให้ไม่เป็นสินค้าในรัฐสวัสดิการแบบสุดท้ายนั้นสูงมากที่สุด ในขณะที่การแบ่งช่วงชั้นทางสังคมนั้นมีอย่างจำกัด ประเทศหลัก ๆ ที่นำแนวทางสถาปัตยกรรมข้างต้นไปปฏิบัติจริง ได้แก่ สวีเดน เดนมาร์ก และนอร์เวย์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ลักษณะโดดเด่นหลัก ๆ ของรัฐสวัสดิการแบบสังคมประชาธิปไตย

          • การบริการเป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายทางสังคม

          • สิทธิประโยชน์ทางการเงินมีอัตราเดียวกัน

          • แหล่งเงินสนับสนุนมาจากการเก็บภาษีในอัตราที่สูง

          • ตลาดแรงงานบีบให้บุคคลรับทำงานทุกประเภทโดยไม่คำนึงว่ามันจะมีค่าตอบแทนที่ต่ำเพียงใด

          • ความเท่าเทียมทางรายได้สูงและการแบ่งช่วงชั้นต่ำ

อุปสรรคของการไม่เกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการไทย[7]

          การเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรนั้น ช่วยสร้างความมั่นคงของมนุษย์ให้เกิดขึ้นได้ ทว่าภายใต้บริบทของสังคมไทยนั้นอุปสรรคสำคัญของการเกิดขึ้นของรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรมีปัจจัย 3 ประการด้วยกัน ดังนี้

          ประการแรก กระบวนการทำให้ยอมจำนนในวัฒนธรรมทางการเมืองและการไร้อำนาจต่อรอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความตระหนักถึงสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ที่เสมอกันในสังคมอันเป็นคุณค่าพื้นฐานของการเกิดรัฐสวัสดิการ การตระหนักถึงสิทธิแห่งความเสมอภาคนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งเริ่มต้นนับตั้งแต่การอภิวัฒน์เปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

          ทว่าในบริบทของสังคมไทยนั้นกระบวนการดังกล่าวถูกทำลายโดยชนชั้นนำของไทยในเวลาต่อมา แม้ว่าระบอบการปกครองจะมีลักษณะเสมือนประชาธิปไตย กล่าวคือมีการเลือกตั้งและมีตัวแทน แต่ประชาชนถูกทำให้ไม่ตระหนักถึงอำนาจของตนหรือสิทธิในการต่อรอง ซึ่งถูกปลูกฝังผ่านข้าราชการในระดับท้องถิ่น ระบบการศึกษา และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบรวมศูนย์ สถานะของประชาชนจึงเป็นเพียงแต่ “วัตถุ” ที่ถูกควบคุมภายใต้ผู้มีอำนาจ การสร้างรัฐสวัสดิการจึงมีลักษณะแบบบนลงล่างขึ้นกับผู้มีอำนาจจะดำเนินการให้ จึงเกิดระบบสวัสดิการแบบสังคมสงเคราะห์ การพิสูจน์ความจน หรือสวัสดิการแก่กลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม เช่น ข้าราชการ

          ประการที่สอง การไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความไม่เท่าเทียมของชนชั้นนำ อันเป็นผลมาจากการครอบงำโดยชนชั้นนำที่นิยมกลไกตลาดแบบสุดโต่ง เพื่อประโยชน์ในการผูกขาดทรัพยากรแล้ว การไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความไม่เท่าเทียมยังปรากฏในรูปแบบของการไม่เติบโตทางเศรษฐกิจอีกด้วย

          เนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคมมีมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าราคาของการจัดการความไม่เท่าเทียมมีราคาที่สูง เช่น การปราบปรามความขัดแย้งจากความเหลื่อมล้ำ การสูญเสียทรัพยากรมนุษย์จากการถูกวางเงื่อนไขให้ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้ ชนชั้นนำตระหนักว่าการผูกขาดการใช้อำนาจสร้างความเหลื่อมล้ำเป็นหนทางที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการรักษาสถานะ การที่ชนชั้นนำไทยไม่ตระหนักถึงผลกระทบของราคาของความเหลื่อมล้ำทำให้หนทางในการรักษาสถานะของพวกเขาวนเวียนอยู่กับวิธีการแบบเดิม คือ การผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจ

          ประการที่สาม การขาดจิตสำนึกรวมหมู่ในชีวิตประจำวัน เนื่องมาจากเงื่อนไขข้างต้นทั้งสองประการทำให้สภาพการใช้ชีวิตประจำวันของคนไทยโดยทั่วไป คือ การพยายามเอาตัวรอดจากความเปราะบาง การพยายามก่อกำแพงให้ตนเองปลอดภัย ทั้งในระดับประชาชนทั่วไปและชนชั้นนำ ต้นทุนในการต่อสู้เรียกร้องมีความเสี่ยงสูง ทั้งจากการถูกปราบปรามโดยอำนาจรัฐที่ผูกขาดโดยชนชั้นนำ และต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของอำนาจรัฐและทุน

          กระแสเสรีนิยมใหม่ทำให้ต้นทุนในการใช้ชีวิตสูงขึ้น การแสวงหากำไรในธุรกิจที่ไม่เคยเป็นสินค้าอย่างเข้มข้น เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม และการพักผ่อน เป็นต้น ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นสินค้าที่มีราคา เงื่อนไขข้างต้นนี้ทำให้ปัจเจกบุคคลอยู่ในสภาพปลอดการเมืองโดยปริยาย การรวมกลุ่มในลักษณะต่าง ๆ จึงมีต้นทุนที่สูงทำได้ยาก ทางออกคือการต่อสู้ในลักษณะของปัจเจกบุคคล ซึ่งโดยรวมขาดพลังและไม่ก่อให้เกิดนโยบายการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้าง

ข้อเสนอแนะต่อรัฐไทยในการสร้างความมั่นคงของมนุษย์[8]

          นโยบายรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร ไม่ใช่นโยบายทางเศรษฐกิจเพียงลำพัง หากวางอยู่บนความเป็นประชาธิปไตยทางการเมืองและปรัชญามนุษย์นิยม การพัฒนานโยบายนี้ในประเทศไทยจึงไม่ใช่ข้อจำกัดทางเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยเครื่องมือเท่านั้น เงื่อนไขสำคัญโดยสรุปในการวางรากฐานให้เกิดนโยบายรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรประกอบไปด้วยเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

         ประการแรก ปรัชญามนุษย์นิยม ซึ่งเกิดจากความยอมรับร่วมกันในสังคมว่า ความวัฒนาทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของรัฐไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากมีการละทิ้งความมั่นคงของมนุษย์ สวัสดิภาพ สวัสดิการของมนุษย์ในสังคมเศรษฐกิจของประเทศย่อมไม่สามารถเติบโตอย่างมั่นคงได้ หากประชากรส่วนใหญ่ถูกกองไว้กับความยากจน หนี้สิน และความสิ้นหวัง

          ความมั่นคงทางการเมืองย่อมไม่เกิดขึ้น หากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถคาดเดาได้ว่า พวกเขาจะมีชีวิตอย่างไร รวมถึงไม่สามารถเลือกวิถีชีวิตของตนเองได้ด้วยข้อจำกัดทางชาติกำเนิดและฐานะทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญมนุษย์สามารถเอาชนะข้อจำกัดความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ได้ด้วยการก้าวสู่สังคมที่โอบอุ้มมนุษย์ร่วมกันโดยไม่จำต้องปล่อยคนทิ้งไว้เบื้องล่าง กลไกตลาดและระบบเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์แก่ทุนเป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือเท่านั้นที่หาใช่สัจจะนิรันดร์ที่มนุษย์ต้องยึดถือเพียงตัวเลือกเดียว

          ประการที่สอง การกระจายอำนาจ ความเป็นประชาธิปไตยในทุกระดับเป็นสิ่งที่ทำให้ระบบรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรเกิดขึ้นได้ ไม่เพียงแต่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการกระจายการตัดสินใจเชิงนโยบายสู่ประชาชน หัวใจสำคัญคือการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นการเพิ่มระดับพรรคการเมืองที่ผูกติดกับการตัดสินใจในระดับมวลชนมากกว่าพรรคการเมืองของชนชั้นนำ

          ประการที่สาม การปฏิรูปเงื่อนไขเบื้องต้นทางเศรษฐกิจ แม้ว่ารัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจรจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานปรัชญามนุษย์นิยม และการเมืองเป็นระบอบประชาธิปไตยในทุกระดับ แต่การจัดลำดับนโยบายทางเศรษฐกิจก็มีความจำเป็นเร่งด่วนเป็นอันดับแรก การจะไปให้ถึงรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าครบวงจร จำเป็นจะต้องมีการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ การปฏิรูปกฎหมายแรงงานและการเกิดพรรคแรงงานที่เชื่อมรอยต่อ การต่อสู้แต่ละสถานประกอบการเข้าหากันและกัน และผลักดันนโยบายสู่วาระสาธารณะ

อ้างอิง

[1] Paul K. Edwards and Tony Elger, The global economy, national states and the regulation of labour (1999) p, 111 อ้างถึงใน วิกิพีเดีย, 2021. “รัฐสวัสดิการ.” สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2021 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐสวัสดิการ

[2] รพีพรรณ คำหอม, 2545. สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์, หน้า 46.

[3] จิราลักษณ์ จงสถิตมั่น, 2535, หน้า 9. อ้างถึงใน กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย, 2550. “แนวคิดทฤษฎีรัฐสวัสดิการเพื่อนโยบายสาธารณะ: รัฐสวัสดิการ จากขวาใหม่-ถึงซ้ายใหม่.” (เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง รัฐสวัสดิการ: เครื่องมือสร้างความเป็นธรรมในสังคม ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2550), หน้า 5.

[4] กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย, อ้างแล้ว, หน้า 3-4.

[5] เรื่องเดียวกัน, หน้า 4.

[6] อเล็กซานเดอร์ เพทริง และคณะ. กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ แปล, 2562. รัฐสวัสดิการกับสังคมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท สำนักงานประเทศไทย, หน้า 62-68.

[7] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, 2564. “อ่านความคิดษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ความมั่นคงทางเศรษฐกิจผ่านความมั่นคงของมนุษย์สู่การสร้างรัฐสวัสดิการในประเทศไทย.” เว็บไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์. สืบค้นเมื่อ 26 Sep 2021 จาก https://pridi.or.th/th/content/2021/04/681

[8] เขมภัทร ทฤษฎิคุณ, อ้างแล้ว.