ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลักประกันว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560"
สร้างหน้าด้วย "<div> ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมา..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 40: | บรรทัดที่ 40: | ||
''' 1 เสรีภาพในการนับถือศาสนา'''และการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของแต่ละคน<br/> (มาตรา 31) | ''' 1 เสรีภาพในการนับถือศาสนา'''และการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของแต่ละคน<br/> (มาตรา 31) | ||
''' 2 เสรีภาพในเคหสถาน ''''''หรือที่อยู่อาศัย''' โดยการค้นเคหสถานหรือที่รโหฐานต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 33) | ''' ''''''2 เสรีภาพในเคหสถาน ''''''หรือที่อยู่อาศัย''' โดยการค้นเคหสถานหรือที่รโหฐานต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 33) | ||
''' 3 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น''' | ''' 3 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น''' | ||
'' ''3.1 การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติข้อจำกัดการใช้เสรีภาพของบุคคลบางประการ คือ กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ การคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้ ยังคุ้มครองเสรีภาพในวิชาการต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น (มาตรา 34) | |||
3.2 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เพิ่มความเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อกลางของอาชีพสื่อมวลชนนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ จึงต้องเป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน (มาตรา 35) | |||
3.3 เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ (มาตรา 36) | |||
''' 4 เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่''' (มาตรา 38) | ''' 4 เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่''' (มาตรา 38) | ||
บรรทัดที่ 54: | บรรทัดที่ 54: | ||
'''5 เสรีภาพในการประกอบอาชีพ''' บทบัญญัติในวรรคสองเป็นการกำหนดข้อยกเว้นในการจำกัดเสรีภาพการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งกำหนดกรอบว่าจะทำได้ในกรณีใดบ้างจำเป็นต้องพิจารณามาตรา 26 และมาตรา 77<br/> ของรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษา<br/> ของสถาบันการศึกษา (มาตรา 40) | '''5 เสรีภาพในการประกอบอาชีพ''' บทบัญญัติในวรรคสองเป็นการกำหนดข้อยกเว้นในการจำกัดเสรีภาพการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งกำหนดกรอบว่าจะทำได้ในกรณีใดบ้างจำเป็นต้องพิจารณามาตรา 26 และมาตรา 77<br/> ของรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษา<br/> ของสถาบันการศึกษา (มาตรา 40) | ||
'''6 ''''''เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นชุมชน''' เช่น สมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน (มาตรา 42) | '''6 ''''''เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นชุมชน''' เช่น สมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน (มาตรา 42) | ||
'''7 เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง'''ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 45) | '''7 เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมือง'''ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 45) | ||
บรรทัดที่ 66: | บรรทัดที่ 66: | ||
= '''หนังสืออ่านเพิ่มเติม''' = | = '''หนังสืออ่านเพิ่มเติม''' = | ||
</div> | </div> | ||
พงษ์พิลัย วรรณราช. '''“สิทธิ”'''''' และ “เสรีภาพ” แท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร.''' ออนไลน์ http://web.krisdika.go.th/data/activity/act83.htm#_ftn1. | พงษ์พิลัย วรรณราช. '''“สิทธิ”'''''' และ “เสรีภาพ” แท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร.''' ออนไลน์ [http://web.krisdika.go.th/data/activity/act83.htm#_ftn1 http://web.krisdika.go.th/data/activity/act83.htm#_ftn1]. | ||
สมคิด เลิศไพฑูรย์ และกล้า สมุทวณิช, '''รายงานวิจัยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ''', (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546) | สมคิด เลิศไพฑูรย์ และกล้า สมุทวณิช, '''รายงานวิจัยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ''', (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546) |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:20, 29 มีนาคม 2563
ผู้เรียบเรียง: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : นายภัทระ คำพิทักษ์
หลักประกันว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
1. หลักประกันว่าด้วยสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้รับรองสิทธิและเสรีภาพที่สำคัญไว้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1 สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การจับและการคุมขัง การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือเสรีภาพในชีวิตหรือร่างกายจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ และยังห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม (มาตรา 28)
2 สิทธิและเสรีภาพของบุคคลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี ในคดีอาญา จะบังคับให้บุคคลให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองมิได้ (มาตรา 29)
3 สิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลมิให้ถูกละเมิดตลอดทั้งเพื่อกำกับและควบคุมรัฐในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลของปัจเจกบุคคลต่อสาธารณะ (มาตรา 32)
4 สิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย (มาตรา 37)
5 สิทธิของประชาชนคนไทยในการไม่ถูกเนรเทศ หรือ ห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ ถูกถอนสัญชาติ ถือเป็นสิทธิเด็ดขาดไม่มีข้อยกเว้น (มาตรา 39)
6 สิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ พร้อมทั้งสิทธิในการร้องทุกข์และฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดจากการกระทำหรือละเว้นกระทำการของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ (มาตรา 41)
7 สิทธิชุมชนในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูด้านศิลปะ วัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม และเข้าชื่อเสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของชุมชน รวมถึงจัดระบบสวัสดิการของชุมชน (มาตรา 43)
8 สิทธิของผู้บริโภค ที่จะได้รับความคุ้มครองมิให้ต้องถูกละเมิด และยังให้ประชาชนมีสิทธิรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคขึ้นเพื่อคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของตนเอง โดยองค์กรผู้บริโภคดังกล่าว (มาตรา 46)
9 สิทธิได้รับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลยากไร้ รวมทั้งได้รับสิทธิในการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตรายจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (มาตรา 47) ออกจากบทบัญญัติในมาตรานี้แล้ว บทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองและการอนุเคราะห์บุคคลในเรื่องสุขภาพอนามัย ยังมีบัญญัติไว้ในมาตราอื่นอีก คือ มาตรา 48 มาตรา 55 มาตรา 71 มาตรา 258 ช. (4)
10 สิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตรย่อมได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือ (มาตรา 48 วรรคแรก)
11 สิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุเกินหกสิบปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ (มาตรา 48 วรรคสอง)
2. หลักประกันว่าด้วย “'เสรีภาพ” 'ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560
1 เสรีภาพในการนับถือศาสนาและการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของแต่ละคน
(มาตรา 31)
'2 เสรีภาพในเคหสถาน 'หรือที่อยู่อาศัย โดยการค้นเคหสถานหรือที่รโหฐานต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 33)
3 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
3.1 การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้บัญญัติข้อจำกัดการใช้เสรีภาพของบุคคลบางประการ คือ กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของรัฐ การคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้ ยังคุ้มครองเสรีภาพในวิชาการต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น (มาตรา 34)
3.2 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้เพิ่มความเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเสรีภาพในการทำหน้าที่สื่อกลางของอาชีพสื่อมวลชนนั้นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการเสนอข่าวสารหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ จึงต้องเป็นไปตามจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน (มาตรา 35)
3.3 เสรีภาพในการติดต่อสื่อสารถึงกันไม่ว่าในทางใด ๆ (มาตรา 36)
4 เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ (มาตรา 38)
5 เสรีภาพในการประกอบอาชีพ บทบัญญัติในวรรคสองเป็นการกำหนดข้อยกเว้นในการจำกัดเสรีภาพการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งกำหนดกรอบว่าจะทำได้ในกรณีใดบ้างจำเป็นต้องพิจารณามาตรา 26 และมาตรา 77
ของรัฐธรรมนูญประกอบด้วย ทั้งนี้ ต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษา
ของสถาบันการศึกษา (มาตรา 40)
6 'เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นชุมชน' เช่น สมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน (มาตรา 42)
7 เสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (มาตรา 45)
บรรณานุกรม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134
ตอนที่ 40 ก.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. พฤษภาคม 2562.
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
พงษ์พิลัย วรรณราช. “สิทธิ”' และ “เสรีภาพ” แท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร.' ออนไลน์ http://web.krisdika.go.th/data/activity/act83.htm#_ftn1.
สมคิด เลิศไพฑูรย์ และกล้า สมุทวณิช, รายงานวิจัยการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยศาลรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546)
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. สาระน่ารู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ชุด “สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของปวงชนชาวไทย”. พฤศจิกายน 2560.