ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาติประชาชน (พ.ศ. 2534)"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
''' | |||
'''ผู้เรียบเรียง '''รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | ---- | ||
'''พรรคชาติประชาชน (2534)''' | |||
พรรคชาติประชาชน หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า THE NATION AND PEOPLE PARTY ได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ตามทะเบียนเลขที่ 28/2534 ภายใต้[[พระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2524|พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524]] โดยสำนักงานใหญ่ของพรรคมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 98/75 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 767.</ref> | |||
พรรคชาติประชาชนใช้เครื่องหมายพรรคเป็นรูปวงกลม ภายในมีตัวอักษร “พรรคชาติประชาชน” และ “THE NATION AND PEOPLE PARTY” ธงชาติไทย รวงข้าว และรูปประชาชนปรากฏอยู่ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 767.</ref> | |||
'''นโยบายของพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534''' <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 769-800.</ref> | |||
พรรคชาติประชาชนมีนโยบายและความแน่วแน่ตั้งมั่นในการประสานความสามัคคี การร่วมมือร่วมใจในการเข้าร่วมดำเนินงานบริหารพัฒนาประเทศอันเป็นที่พึ่งของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นำพาไปสู่ประเทศความรุ่งเรือง พลเมืองเป็นสุขทั่วกัน โดยยึดมั่นการปกครอง[[ระบอบประชาธิปไตย|ระบอบประชาธิปไตย]] อันมีองค์[[พระมหากษัตริย์|พระมหากษัตริย์]]ทรงเป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พรรคชาติประชาชนจักรักษาชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ และ[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]]ด้วยชีวิต | |||
พรรคชาติประชาชนมีความตั้งใจและเชื่อมั่นว่าสังคมของไทยเป็นสังคมที่เก่าแก่ ปฏิบัติกันมาเป็นจารีตประเพณีในการเคารพระบบอาวุโส มีการปกครองดุจญาติพี่น้อง การดำเนินงานสิ่งใดอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนย่อมเป็นความประสงค์ที่พรรคชาติประชาชนต้องการอย่างยิ่ง ในด้านเศรษฐกิจของชาติเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรทุกองค์กรมีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ โดยจักช่วยเหลือองค์กรที่ด้อยกำลังแต่ไม่ด้อยความสามารถ สนับสนุนด้านทุนจากการจัดตั้งกองทุนให้เจริญเติบโตเข้าสู่ตลาดโลกได้ ส่วนองค์กรที่ช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ก็ส่งเสริมให้เป็นกำลังทางเศรษฐกิจอันเข้มแข็งต่อไปในตลาดโลกด้วยเช่นกัน ในด้านผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมจะมีการจัดสรรให้อยู่ในภาวการณ์ภายในประเทศและต่างประเทศที่เป็นระบบอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและของประชาชนเป็นสำคัญ | |||
พรรคชาติประชาชนเคารพใน[[สิทธิมนุษยชน|สิทธิมนุษยชน]]เป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าทุกผู้ทุกชนที่เกิดในผืนแผ่นดินไทยมี[[ความเท่าเทียม|ความเท่าเทียม]]กันภายใต้[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]] ผู้ด้อยโอกาสต่าง ๆ จะไม่มีการทอดทิ้ง ตรงกันข้าม พรรคชาติประชาชนกลับสนับสนุนส่งเสริมให้เป็น[[พลเมือง|พลเมือง]]ที่มีความสุขตามความมุ่งหมายของการประกันสังคมที่ดี ทั้งนำพาให้ทุกชีวิตมีความมั่นคงปลอดภัยในทรัพย์สินตามปัจจัยที่สำคัญของประชาชน | |||
พรรคชาติประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสเข้าเป็นส่วนร่วมในการบริหารประเทศชาติตามวิถีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยการมอบการบริหารในรูปของส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค และส่วนกลาง ไปจนถึงระดับชาติ ถ้าเห็นว่าประชาชนมีความสามารถที่อยู่ในเกณฑ์ของ[[รัฐธรรมนูญ|รัฐธรรมนูญ]] นอกจากนี้ยังคำนึงถึงว่าชาตินั้นมาจากประชาชนรวมตัวกันเป็นพลังอันยิ่งใหญ่มหาศาล ฉะนั้น การดำเนินการสิ่งใดย่อมต้องฟังความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขของประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน | |||
พรรคชาติประชาชนมีนโยบายแน่วแน่กับมิตรประเทศทุกประเทศในโลกที่แสดงการเป็นมิตรกับประเทศไทย ในการเจริญสัมพันธไมตรีกันทุก ๆ ประเทศทั่วโลกนั้น พรรคชาติประชาชนยึดถือวัฒนธรรมและการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก ดังภาษิตว่า ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว โดยส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา[[กองทัพไทย|กองทัพไทย]]ให้มีการพร้อมรบเพื่อป้องกันประเทศชาติด้วยอาวุธที่ทันสมัย มี[[แสนยานุภาพ|แสนยานุภาพ]]อันเกรียงไกร ให้ทหารเป็นที่รักของประชาชนทั้งในยามปกติและยามวิกฤต โดยให้ทหารมีประโยชน์ต่อการรักษาประเทศมากที่สุด พร้อมที่จะพิทักษ์รักษาป้องกันประเทศ โดยไม่นิยมรุกรานประเทศใด | |||
พรรคชาติประชาชนมีความตั้งใจและปฏิญาณอย่างมั่นคงแน่วแน่ในการทุ่มเทแรงกายและแรงใจนำพาประชาชนไปสู่การกินดีอยู่ดี ดังคำขวัญของพรรคชาติประชาชนว่า “ประเทศชาติรุ่งเรือง พลเมืองเป็นสุข นำพาสู่อุดมการณ์ที่แน่แท้ต่อไป” | |||
พรรคชาติประชาชนมี[[คณะกรรมการบริหารพรรค|คณะกรรมการบริหารพรรค]]เมื่อแรกจดทะเบียนก่อตั้งทั้งสิ้น 21 คน โดยตำแหน่งสำคัญ ๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 767-768.</ref> | |||
1. นายธนะภูมิ แสงเงิน หัวหน้าพรรค | |||
2. นายประกาย พูลทรัพย์ รองหัวหน้าพรรค | |||
3. นายสุวัฒน์ พรหมกุลพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค | |||
4. นายถวัลย์ ฟักทิม รองหัวหน้าพรรค | |||
5. นายฐกัด เอี่ยมสำอาง รองหัวหน้าพรรค | |||
6. นายจาตุรนต์ พันธ์ชัย เลขาธิการพรรค | |||
7. นายวีระ แทนเกษม รองเลขาธิการพรรค | |||
หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งเป็น[[พรรคการเมือง|พรรคการเมือง]]ได้ราว 7 เดือน พรรคชาติประชาชนได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ [[22_มีนาคม_พ.ศ._2535|22 มีนาคม พ.ศ. 2535]] โดยส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร|สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] จำนวน 8 คน แต่ก็เป็นจำนวนที่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ[[ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง_พ.ศ._2524|ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524]] มาตรา 46 (3) ที่ระบุให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 120 คน จึงเป็นเหตุให้[[ศาลฎีกา|ศาลฎีกา]]มีคำสั่งที่ 3671/2535 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ให้[[ยุบเลิก|ยุบเลิก]]พรรคชาติประชาชนไป <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 39 ง, วันที่ 17 พฤษภาคม 2537, หน้า 31-32.</ref> | |||
== อ้างอิง == | |||
<references /> | |||
[[Category:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | |||
[[ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:08, 2 ธันวาคม 2562
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคชาติประชาชน (2534)
พรรคชาติประชาชน หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า THE NATION AND PEOPLE PARTY ได้ยื่นขอจดทะเบียนเป็นพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534 ตามทะเบียนเลขที่ 28/2534 ภายใต้พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 โดยสำนักงานใหญ่ของพรรคมีที่ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 98/75 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร [1]
พรรคชาติประชาชนใช้เครื่องหมายพรรคเป็นรูปวงกลม ภายในมีตัวอักษร “พรรคชาติประชาชน” และ “THE NATION AND PEOPLE PARTY” ธงชาติไทย รวงข้าว และรูปประชาชนปรากฏอยู่ [2]
นโยบายของพรรคชาติประชาชน พ.ศ. 2534 [3]
พรรคชาติประชาชนมีนโยบายและความแน่วแน่ตั้งมั่นในการประสานความสามัคคี การร่วมมือร่วมใจในการเข้าร่วมดำเนินงานบริหารพัฒนาประเทศอันเป็นที่พึ่งของประชาชน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง นำพาไปสู่ประเทศความรุ่งเรือง พลเมืองเป็นสุขทั่วกัน โดยยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พรรคชาติประชาชนจักรักษาชาติ ศาสนา ราชบัลลังก์ และรัฐธรรมนูญด้วยชีวิต
พรรคชาติประชาชนมีความตั้งใจและเชื่อมั่นว่าสังคมของไทยเป็นสังคมที่เก่าแก่ ปฏิบัติกันมาเป็นจารีตประเพณีในการเคารพระบบอาวุโส มีการปกครองดุจญาติพี่น้อง การดำเนินงานสิ่งใดอันเป็นประโยชน์แก่ประชาชนย่อมเป็นความประสงค์ที่พรรคชาติประชาชนต้องการอย่างยิ่ง ในด้านเศรษฐกิจของชาติเน้นการส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรทุกองค์กรมีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ โดยจักช่วยเหลือองค์กรที่ด้อยกำลังแต่ไม่ด้อยความสามารถ สนับสนุนด้านทุนจากการจัดตั้งกองทุนให้เจริญเติบโตเข้าสู่ตลาดโลกได้ ส่วนองค์กรที่ช่วยเหลือตนเองได้แล้ว ก็ส่งเสริมให้เป็นกำลังทางเศรษฐกิจอันเข้มแข็งต่อไปในตลาดโลกด้วยเช่นกัน ในด้านผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมจะมีการจัดสรรให้อยู่ในภาวการณ์ภายในประเทศและต่างประเทศที่เป็นระบบอย่างเป็นธรรม ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติและของประชาชนเป็นสำคัญ
พรรคชาติประชาชนเคารพในสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าทุกผู้ทุกชนที่เกิดในผืนแผ่นดินไทยมีความเท่าเทียมกันภายใต้รัฐธรรมนูญ ผู้ด้อยโอกาสต่าง ๆ จะไม่มีการทอดทิ้ง ตรงกันข้าม พรรคชาติประชาชนกลับสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นพลเมืองที่มีความสุขตามความมุ่งหมายของการประกันสังคมที่ดี ทั้งนำพาให้ทุกชีวิตมีความมั่นคงปลอดภัยในทรัพย์สินตามปัจจัยที่สำคัญของประชาชน
พรรคชาติประชาชนส่งเสริมให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสเข้าเป็นส่วนร่วมในการบริหารประเทศชาติตามวิถีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยการมอบการบริหารในรูปของส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค และส่วนกลาง ไปจนถึงระดับชาติ ถ้าเห็นว่าประชาชนมีความสามารถที่อยู่ในเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ยังคำนึงถึงว่าชาตินั้นมาจากประชาชนรวมตัวกันเป็นพลังอันยิ่งใหญ่มหาศาล ฉะนั้น การดำเนินการสิ่งใดย่อมต้องฟังความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขของประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญด้วยเช่นกัน
พรรคชาติประชาชนมีนโยบายแน่วแน่กับมิตรประเทศทุกประเทศในโลกที่แสดงการเป็นมิตรกับประเทศไทย ในการเจริญสัมพันธไมตรีกันทุก ๆ ประเทศทั่วโลกนั้น พรรคชาติประชาชนยึดถือวัฒนธรรมและการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก ดังภาษิตว่า ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว โดยส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนากองทัพไทยให้มีการพร้อมรบเพื่อป้องกันประเทศชาติด้วยอาวุธที่ทันสมัย มีแสนยานุภาพอันเกรียงไกร ให้ทหารเป็นที่รักของประชาชนทั้งในยามปกติและยามวิกฤต โดยให้ทหารมีประโยชน์ต่อการรักษาประเทศมากที่สุด พร้อมที่จะพิทักษ์รักษาป้องกันประเทศ โดยไม่นิยมรุกรานประเทศใด
พรรคชาติประชาชนมีความตั้งใจและปฏิญาณอย่างมั่นคงแน่วแน่ในการทุ่มเทแรงกายและแรงใจนำพาประชาชนไปสู่การกินดีอยู่ดี ดังคำขวัญของพรรคชาติประชาชนว่า “ประเทศชาติรุ่งเรือง พลเมืองเป็นสุข นำพาสู่อุดมการณ์ที่แน่แท้ต่อไป”
พรรคชาติประชาชนมีคณะกรรมการบริหารพรรคเมื่อแรกจดทะเบียนก่อตั้งทั้งสิ้น 21 คน โดยตำแหน่งสำคัญ ๆ มีรายชื่อดังต่อไปนี้ [4]
1. นายธนะภูมิ แสงเงิน หัวหน้าพรรค
2. นายประกาย พูลทรัพย์ รองหัวหน้าพรรค
3. นายสุวัฒน์ พรหมกุลพัฒน์ รองหัวหน้าพรรค
4. นายถวัลย์ ฟักทิม รองหัวหน้าพรรค
5. นายฐกัด เอี่ยมสำอาง รองหัวหน้าพรรค
6. นายจาตุรนต์ พันธ์ชัย เลขาธิการพรรค
7. นายวีระ แทนเกษม รองเลขาธิการพรรค
หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองได้ราว 7 เดือน พรรคชาติประชาชนได้เข้าร่วมในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 8 คน แต่ก็เป็นจำนวนที่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 มาตรา 46 (3) ที่ระบุให้พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 120 คน จึงเป็นเหตุให้ศาลฎีกามีคำสั่งที่ 3671/2535 ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 ให้ยุบเลิกพรรคชาติประชาชนไป [5]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 767.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 767.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 769-800.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 163, วันที่ 17 กันยายน 2534, หน้า 767-768.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 39 ง, วันที่ 17 พฤษภาคม 2537, หน้า 31-32.