ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นายทะเบียนท้องถิ่น"
สร้างหน้าด้วย " เรียบเรียงโดย เจตน์ ดิษฐอุดม ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบ..." |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 10: | บรรทัดที่ 10: | ||
''นายทะเบียน''[[#_ftn1|[1]]] หมายความว่า พนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียน | ''นายทะเบียน''[[#_ftn1|[1]]] หมายความว่า พนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียน | ||
จากนิยามดังกล่าว โดยทั่วไปนายทะเบียนจะเป็นผู้ที่จัดทำและรักษาทะเบียนต่างๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจและหน้าที่เอาไว้แตกต่างกันไปตามแต่ละบท อาทิ นายทะเบียนสมาคมและนายทะเบียนมูลนิธิ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง, นายทะเบียนอาวุธปืน มีหน้าที่อนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว | จากนิยามดังกล่าว โดยทั่วไปนายทะเบียนจะเป็นผู้ที่จัดทำและรักษาทะเบียนต่างๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจและหน้าที่เอาไว้แตกต่างกันไปตามแต่ละบท อาทิ นายทะเบียนสมาคมและนายทะเบียนมูลนิธิ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง, นายทะเบียนอาวุธปืน มีหน้าที่อนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรส หรือนายทะเบียนสหกรณ์มีหน้าที่รับจดทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฯลฯ เป็นต้น | ||
| สำหรับนายทะเบียนท้องถิ่นมีปรากฏคำอธิบายอย่างชัดเจนอยู่ใน[[พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร_พ.ศ._2534|พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534]] และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยได้แต่งตั้งและอธิบายถึงนายทะเบียนท้องถิ่น ดังนี้ | ||
''นายทะเบียนท้องถิ่น''[[#_ftn2|[2]]] ได้แก่ ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการเขต ปลัดเมืองพัทยา หรือหัวหน้าผู้บริหารของหน่วยการปกครองท้องถิ่นแล้วแต่กรณี เป็นนายทะเบียนท้องถิ่น และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น | ''นายทะเบียนท้องถิ่น''[[#_ftn2|[2]]] ได้แก่ ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการเขต ปลัดเมืองพัทยา หรือหัวหน้าผู้บริหารของหน่วยการปกครองท้องถิ่นแล้วแต่กรณี เป็นนายทะเบียนท้องถิ่น และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น | ||
แม้ว่ากรุงเทพมหานครจะถูกระบุเป็น | แม้ว่ากรุงเทพมหานครจะถูกระบุเป็น “[[ท้องถิ่น|ท้องถิ่น]]” ตาม[[พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร_พ.ศ._2534|พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534]] และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ไม่ถือว่าเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นตามความหมายข้างต้น เนื่องจาก[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]]จะมีนายทะเบียนกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยนายทะเบียนกรุงเทพมหานคร เป็นนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนกรุงเทพมหานครเฉพาะเองต่างหากจากท้องถิ่นประเภทอื่นๆ ที่มีนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนท้องถิ่น | ||
| | ||
บรรทัดที่ 22: | บรรทัดที่ 22: | ||
'''2. หน้าที่ของนายทะเบียนท้องถิ่น''' | '''2. หน้าที่ของนายทะเบียนท้องถิ่น''' | ||
นายทะเบียนท้องถิ่นมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบและควบคุมการปฏิบัติงาน การทะเบียนราษฎรในเขตปกครองท้องถิ่นนั้นๆ[[#_ftn3|[3]]] ซึ่งนายทะเบียนท้องถิ่นอาจมอบอำนาจให้ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น รองปลัดเทศบาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต | นายทะเบียนท้องถิ่นมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบและควบคุมการปฏิบัติงาน การทะเบียนราษฎรในเขตปกครองท้องถิ่นนั้นๆ[[#_ftn3|[3]]] ซึ่งนายทะเบียนท้องถิ่นอาจมอบอำนาจให้ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น รองปลัดเทศบาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต รองปลัด[[เมืองพัทยา|เมืองพัทยา]] หรือรองหรือผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหารของหน่วยปกครองท้องถิ่นนั้นแล้วแต่กรณี ปฏิบัติราชการแทนนายทะเบียนท้องถิ่นก็ได้ โดยมีหน้าที่ต่างๆ ของนายทะเบียนผู้รับแจ้ง[[#_ftn4|[4]]] ดังนี้ | ||
''' 2.1 การแจ้งเกิดและการแจ้งตาย''' | ''' 2.1 การแจ้งเกิดและการแจ้งตาย''' | ||
บรรทัดที่ 93: | บรรทัดที่ 93: | ||
</div> <div id="ftn5"> | </div> <div id="ftn5"> | ||
[5] ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบ หรือควบรวมสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 | [5] ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบ หรือควบรวมสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552 | ||
</div> </div> | </div> </div> | ||
[[Category:ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 18:32, 1 ธันวาคม 2562
เรียบเรียงโดย เจตน์ ดิษฐอุดม
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
1. ความหมายของนายทะเบียนและนายทะเบียนท้องถิ่น
นายทะเบียน[1] หมายความว่า พนักงานซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียน
จากนิยามดังกล่าว โดยทั่วไปนายทะเบียนจะเป็นผู้ที่จัดทำและรักษาทะเบียนต่างๆ ตามที่กฎหมายให้อำนาจและหน้าที่เอาไว้แตกต่างกันไปตามแต่ละบท อาทิ นายทะเบียนสมาคมและนายทะเบียนมูลนิธิ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่จัดทำและรักษาทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง, นายทะเบียนอาวุธปืน มีหน้าที่อนุญาตให้บุคคลมีและใช้อาวุธปืน ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีหน้าที่รับจดทะเบียนสมรส หรือนายทะเบียนสหกรณ์มีหน้าที่รับจดทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฯลฯ เป็นต้น
สำหรับนายทะเบียนท้องถิ่นมีปรากฏคำอธิบายอย่างชัดเจนอยู่ในพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยได้แต่งตั้งและอธิบายถึงนายทะเบียนท้องถิ่น ดังนี้
นายทะเบียนท้องถิ่น[2] ได้แก่ ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการเขต ปลัดเมืองพัทยา หรือหัวหน้าผู้บริหารของหน่วยการปกครองท้องถิ่นแล้วแต่กรณี เป็นนายทะเบียนท้องถิ่น และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น
แม้ว่ากรุงเทพมหานครจะถูกระบุเป็น “ท้องถิ่น” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่ไม่ถือว่าเป็นนายทะเบียนท้องถิ่นตามความหมายข้างต้น เนื่องจากกรุงเทพมหานครจะมีนายทะเบียนกรุงเทพมหานครและผู้ช่วยนายทะเบียนกรุงเทพมหานคร เป็นนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนกรุงเทพมหานครเฉพาะเองต่างหากจากท้องถิ่นประเภทอื่นๆ ที่มีนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนท้องถิ่น
2. หน้าที่ของนายทะเบียนท้องถิ่น
นายทะเบียนท้องถิ่นมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบและควบคุมการปฏิบัติงาน การทะเบียนราษฎรในเขตปกครองท้องถิ่นนั้นๆ[3] ซึ่งนายทะเบียนท้องถิ่นอาจมอบอำนาจให้ผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น รองปลัดเทศบาล ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต รองปลัดเมืองพัทยา หรือรองหรือผู้ช่วยหัวหน้าผู้บริหารของหน่วยปกครองท้องถิ่นนั้นแล้วแต่กรณี ปฏิบัติราชการแทนนายทะเบียนท้องถิ่นก็ได้ โดยมีหน้าที่ต่างๆ ของนายทะเบียนผู้รับแจ้ง[4] ดังนี้
2.1 การแจ้งเกิดและการแจ้งตาย
มีหน้าที่รับแจ้งเกิดและออกสูติบัตรเป็นหลักฐานแก่ผู้แจ้ง โดยมีข้อเท็จจริงเท่าที่สามารถจะทราบได้ สำหรับการแจ้งตายมีหน้าที่ออกใบมรณบัตร และนายทะเบียนท้องถิ่นต้องจัดทำทะเบียนคนเกิดและทะเบียนคนตายจากสูติบัตรและมรณบัตร
2.2 การย้ายที่อยู่
มีหน้าที่รับแจ้งจากเจ้าบ้านในการแจ้งการย้ายที่อยู่ออกจากบ้านและย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้านต่อนายทะเบียนท้องถิ่น หากนายทะเบียนท้องถิ่นเห็นว่ามีผู้ย้ายเข้าอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นคราวเดียวหรือหลายคราว และเมื่อได้ตรวจสอบสภาพบ้านแล้วเห็นว่า การย้ายเข้าอยู่ในบ้านจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุข นายทะเบียนท้องถิ่นมีอำนาจไม่รับแจ้งการย้ายเข้าอยู่บ้านได้
2.3 การสร้างบ้านใหม่
เมื่อเจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นภายหลังจากสร้างบ้านเสร็จแล้ว ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งกำหนดเลขบ้านให้แก่ผู้แจ้งซึ่งมีบ้านอยู่ในเขตสำนักทะเบียนท้องถิ่นภายใน 7 วัน จัดทำทะเบียนบ้านตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด สำหรับคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และบุตรของบุคคลดังกล่าว ให้นายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลดังกล่าวด้วย สำหรับการเพิ่ม เปลี่ยนแปลง หรือจำหน่ายรายการในทะเบียนบ้าน โดยบันทึกรายการให้ถูกต้องตรงกันกับต้นฉบับ
2.4 การรื้อบ้าน
เมื่อมีผู้แจ้งรื้อบ้านต่อนายทะเบียนท้องถิ่นโดยไม่ประสงค์จะปลูกบ้านใหม่ในที่ดินบริเวณนั้นอีกต่อไปหรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างบ้านที่อื่น ให้นายทะเบียนท้องถิ่นดำเนินการจำหน่ายเลขประจำบ้านและทะเบียนบ้าน
3. การจัดตั้งสำนักทะเบียนท้องถิ่น
การจัดตั้งสำนักทะเบียนท้องถิ่นจะเป็นไปตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางประกาศ โดยคำนึงถึงสภาพแห่งความพร้อมและความสะดวกในการให้บริการประชาชน รวมตลอดถึงการไม่ซ้ำซ้อนและการประหยัด และมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้[5]
3.1 ท้องถิ่นที่จะจัดตั้งสำนักทะเบียนใหม่ต้องมีราษฎรตามหลักฐานทะเบียนบ้านและทะเบียนประวัติรวมกันไม่น้อยกว่า 7,500 คน โดยราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นเดิมที่ท้องถิ่นนั้นเคยอยู่ในเขตพื้นที่ต้องมีจำนวนราษฎรตามหลักฐานทะเบียนบ้านและทะเบียนประวัติรวมกันคงเหลือไม่น้อยกว่า 7,500 คน หรือ
3.2 สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่จะจัดตั้งใหม่ต้องมีระยะทางตามถนนสายหลักอยู่ห่างจากสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีระบบปฏิบัติงานทะเบียนราษฎรด้วยคอมพิวเตอร์ออนไลน์ไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตร
3.3 ท้องถิ่นที่จะจัดตั้งสำนักทะเบียนขึ้นใหม่ต้องมีรายได้จริงไม่รวมเงินอุดหนุนตั้งแต่ 15 ล้านบาทขึ้นไป
3.4 มีอาคารสำนักงานที่มีพื้นที่ภายในอาคารเพียงพอและเหมาะสมสำหรับการปฏิบัติงานให้บริการประชาชนและมีความมั่นคงแข็งแรง โดยมีหนังสือรับรองจากวิศวกรหรือนายช่างโยธา
3.5 มีเจ้าหน้าที่หรือพนักงานประจำที่ดำรงตำแหน่งระดับ 3 หรือตำแหน่งที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นซึ่งเทียบเท่าที่พร้อมจะแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่น
3.6 เจ้าหน้าที่หรือพนักงานตามข้อ 3.5 จะต้องผ่านการอบรมและการฝึกปฏิบัติงานด้านการทะเบียนราษฎรตามหลักสูตรที่กรมการปกครองกำหนด
3.7 ต้องผ่านความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นนั้น
3.8 ต้องผ่านความเห็นชอบของราษฎรที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่ท้องถิ่นนั้นตามวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 โดยอนุโลม โดยต้องได้เสียงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของราษฎรที่มีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านในเขตพื้นที่
เมื่อครบหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3.1 หรือ 3.2 – 3.8 แล้ว ให้นายทะเบียนอำเภอของสำนักทะเบียนอำเภอที่ท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่เสนอความเห็นให้นายทะเบียนจังหวัดพิจารณา แล้วให้นายทะเบียนจังหวัดเสนอความเห็นให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางพิจารณา ทั้งนี้ หากมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการให้บริการประชาชน ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจยกเว้นหลักเกณฑ์และเงื่อนไขบางประการในการจัดตั้งสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นได้ ตามความเห็นของคณะกรรมการที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางแต่ตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและประเมินความพร้อมของอำเภอ กิ่งอำเภอ และท้องถิ่นที่ประสงค์จะขอจัดตั้งสำนักทะเบียน
บรรณานุกรม
ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบ หรือควบรวมสำนักทะเบียนอำเภอหรือ สำนักทะเบียนท้องถิ่น ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
[1] พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
[2] มาตรา 8/2 (5) แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
[3] มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
[4] มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
[5] ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบ หรือควบรวมสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552