ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แสวง เสนาณรงค์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 32: บรรทัดที่ 32:
        พลเอกแสวง เสนาณรงค์ ออกมานอกวงการเมืองต่อมาอีก 4 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2520
        พลเอกแสวง เสนาณรงค์ ออกมานอกวงการเมืองต่อมาอีก 4 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2520


[[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง]]
[[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง|ส]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:09, 16 พฤศจิกายน 2561

ผู้เขียน : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


แสวง เสนาณรงค์ : นายทหารการเมือง


        คำเรียกว่า “นายทหารการเมือง” นี้นักการเมืองระดับรัฐมนตรีชื่อสวัสดิ์_คำประกอบ เป็นคนเขียนเรียกนายทหารที่มีบทบาทมากแต่ไม่ออกนอกหน้าในสมัยรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร ซึ่งนับเป็นเวลาที่นานจากปี 2506 ถึงปี 2514 นายทหารท่านนี้คือพลเอก แสวง เสนาณรงค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีคู่ใจนายกฯจอมพล ถนอม พลเอก แสวง นั้นเป็นนายทหารฝ่าย "บุ๋น" มากกว่าฝ่ายบู้ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงร่างของรัฐบาลทหารให้เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยอาศัยพรรคการเมือง ดังที่จะได้นำท่านไปรู้จักกับชีวิตของท่านต่อไป

        แสวง เสนาณรงค์ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขทหาร บิดาของท่านคือพลเอก หลวงเสนาณรงค์ นายทหารที่มีชื่อเสียงมากในอดีต ในช่วงเวลาปี 2494 ท่านยังเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ส่วนมารดานั้นได้แก่ นางเยี่ยมจิตต์ ดีปานวงศ์ นายทหารผู้นี้เป็นคนกรุงเทพฯนี่เอง แต่ตอนที่เกิดนั้นเกิดที่บ้านคุณยายที่ฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี 2459 การศึกษาของท่านนั้นได้เรียนโรงเรียนดังในสมัยนั้นคือโรงเรียนสวนกุหลาบ แล้วจึงได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ด้วยว่าอยากเป็นทหารเหมือนบิดา เมื่อปี 2477 ท่านเป็นคนเรียนเก่งจึงได้เลือกเรียน “นายร้อยเทคนิค” ที่สวัสดิ์ คำประกอบ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่สนใจจะเข้าเรียนหลักสูตรที่ว่านี้ด้วยบอกว่า

        “...หลักสูตร 5 ปี เป็นหลักสูตรที่หนักและยากและมากด้วย โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ คำนวณ และภาษา”

        แต่แสวง เสนาณรงค์ เรียนจบแค่ปี 3 ก็ถูกกระทรวงคัดเลือกให้ไปเรียนวิชาทหารต่อที่ยุโรป เพราะเป็นคนเรียนเก่งสอบได้ในลำดับที่ 1-6 ของชั้น โดยแสวงเลือกไปเรียนที่ประเทศเบลเยียม เมื่อปี 2480 เรียนไปได้ 3 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปทำพิษ เยอรมันบุกเบลเยียมในปี 2483 ทางการไทยจึงให้แสวงกับเพื่อนนักเรียนไทยย้ายไปเรียนที่อิตาลี เพื่อนคนไทยบอกว่าแสวงเรียนเก่งมากจนทางโรงเรียนทหารชมเชย ต่อมาสงครามก็ตามมาถึงอิตาลีอีก คราวนี้ฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯได้ยกทัพบุกอิตาลีทางตอนใต้ของประเทศ รัฐบาลไทยจึงให้แสวงกับเพื่อนไทยคือ สนั่น พูนพัฒน์ เดินทางขึ้นไปอยู่ที่สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง ที่สวิตเซอร์แลนด์ ท่านได้เรียน “วิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง” จึงมีส่วนทำให้ท่านเป็นทหารการเมืองมาก ได้ศึกษาทั้งเรื่องทหารและการเมืองอย่างลึกซึ้ง ครั้นสงครามโลกสิ้นสุดลง แสวงก็ได้เดินทางกลับไทยในปี 2489 รวมเวลาศึกษาอยู่ในยุโรปถึง 9 ปี กลับ มาก็ไปเป็นทหารปืนใหญ่ที่ลพบุรี

        แสวงได้ย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ หลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน ปี 2490 จอมพล ป.พิบูลสงครามได้กลับมาเป็นนายกฯอีกครั้งและอยู่ยาวนานถึง 9 ปี ตอนที่คณะรัฐประหารคิดตั้งพรรคเสรีมนังคศิลานั้น แสวงคงถูกผู้นำดึงมาช่วยงาน เพราะมีความรู้ทางด้านการเมืองการปกครองดี ดังที่สวัสดิ์ คำประกอบ เล่าว่า  

        “ในที่สุดข้าพเจ้าก็รู้จักกับท่านจนได้เมื่อปี '2500 เมื่อเราได้ร่วมและเกี่ยวเนื่องในวงการรัฐบาลด้วยกันสมัยท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม ตอนนั้นแสวงมียศเป็นนายพันแล้ว อายุได้ 41 ปี ครั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองปี 2501 และมีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ”

        แสวงก็ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญด้วย แต่ท่านมามีบทบาทมากขึ้นเมื่อจอมพล ถนอม เป็นนายกรัฐมนตรี และท่านก็เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ที่กล่าวกันว่านายกฯวางใจมาก แต่อาจมีคนลืมไปว่าท่านเป็นกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติที่มีบทบาทมาก เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาแผนพัฒนาการเมือง ซึ่งงานนี้ทำให้แสวงได้ติดต่อทำงานประสานกับอาจารย์มหาวิทยาลัย พลเอก แสวง ได้รับการยอมรับและได้แลกเปลี่ยนความคิดทางการเมืองกับนักวิชาการได้พอสมควร ส่งเสริมให้มีการวิจัยเกี่ยวกับการเมืองไทยได้บ้าง นักวิชาการที่เป็นตัวเชื่อมในสมัยนั้นคือ อาจารย์เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ ทั้งนี้ แสวง ยังเป็นผู้บรรยายพิเศษ วิชาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย ดำรงค์ ลัทธิพิพัฒน์ นักวิชาการที่ต่อมาเล่นการเมืองสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเคยเป็นรัฐมนตรีได้เขียนถึงแสวงเอาไว้ว่า

        “เราในคณะอนุกรรมการเชื่อว่าท่านพลเอก แสวง เสนาณรงค์ เป็นผู้รักประชาธิปไตยโดยสุจริตใจ”

        บทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่พลเอก แสวงเขียนชิ้นหนึ่งคือ “พัฒนาการเมืองเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ”

        แต่ที่รู้กันทั่วไปคือบทบาทสำคัญของท่านในการตั้งพรรคสหประชาไทย หลังมีรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 โดยท่านเป็นรองเลขาธิการ พรรคนี้เป็นพรรคการเมืองที่จอมพล ถนอมตั้งขึ้นมารวบรวมนักการเมืองส่งลงแข่งขันเลือกตั้ง ปี 2512 มีบทบาทสำคัญคุมเสียงข้างมากในสภาฯระหว่างปี 2512 ถึงปี 2514 อดีตผู้แทนราษฎรในพรรคสหประชาไทยหลายคนจึงชื่นชมพลเอก แสวง ดังที่นักการเมืองระดับรัฐมนตรี อุดร ตันติสุนทร ได้เขียนว่า

        “ตลอดระยะเวลาที่พรรคสหประชาไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่พลเอก แสวง เสนาณรงค์ ได้ร่วมก่อตั้งขึ้นและมีอายุอยู่นั้น  พลเอก แสวง เสนาณรงค์ ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะสร้างพรรคการเมืองนี้ให้เข้ารูปแบบของพรรคการเมืองที่มีคุณธรรม…”

        เมื่อจอมพล ถนอม กิตติขจร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี และเล่นการเมืองแบบมีพรรคการเมือง แต่การเมืองที่มีพรรคการเมืองก็ย่อมมีการขัดแย้ง  และรัฐบาลทนไม่ได้ ดังนั้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน ปี 2514 จอมพล ถนอมกับคณะจึงเข้ายึดอำนาจล้มรัฐธรรมนูญ มีคนอ้างว่าเพราะมีความขัดแย้งในพรรคสหประชาไทย มีบางคนเห็นว่าพลเอก แสวงไม่เห็นด้วยกับทางเลือกอันนี้ของนายกฯ แต่ท่านก็กลับมาและอยู่ร่วมรัฐบาลใหม่จนถึงวันเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

        พลเอกแสวง เสนาณรงค์ ออกมานอกวงการเมืองต่อมาอีก 4 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2520