ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมนา"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง :  ดร.โดม ไกรปกรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบท..."
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:


ผู้เรียบเรียง :  ดร.โดม ไกรปกรณ์
ผู้เรียบเรียง :  ดร.โดม ไกรปกรณ์


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ <span dir="RTL">:&nbsp; </span>&nbsp;รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ <span dir="RTL">:&nbsp; </span>&nbsp;รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
บรรทัดที่ 8: บรรทัดที่ 8:
'''กรมนา'''
'''กรมนา'''


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กรมนาเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ตั้งขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยเสนาบดีกรมนาถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งสำคัญในสมัยนั้นเช่นเดียวกับเสนาบดีกรมเวียง (นครบาล, เสนาบดีกรมวัง, เสนาบดีกรมคลัง ซึ่งตำแหน่งเสนาบดี เวียง วัง คลัง นา นี้เรียกรวมกันว่า “จตุสดมภ์”[[#_ftn1|[1]]] ขุนนางตำแหน่งกรมนานี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวไว้ว่า เจ้ากรมวังมียศเป็น “พระยาพลเทพ” มีศักดินา 10000[[#_ftn2|[2]]] โดยพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนานี้มีสร้อยนามต่อท้ายว่า “เกษตราธิบดี”[[#_ftn3|[3]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; กรมนาเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ตั้งขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยเสนาบดีกรมนาถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งสำคัญในสมัยนั้นเช่นเดียวกับเสนาบดีกรมเวียง (นครบาล, [[เสนาบดีกรมวัง]]&nbsp;[[เสนาบดีกรมคลัง]] ซึ่งตำแหน่งเสนาบดี เวียง วัง คลัง นา นี้เรียกรวมกันว่า “[[จตุสดมภ์]]”[[#_ftn1|[1]]] ขุนนางตำแหน่งกรมนานี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวไว้ว่า เจ้ากรมวังมียศเป็น “พระยาพลเทพ” มี[[ศักดินา]] 10000[[#_ftn2|[2]]] โดยพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนานี้มีสร้อยนามต่อท้ายว่า “เกษตราธิบดี”[[#_ftn3|[3]]]


&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับอำนาจหน้าที่ของกรมนานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชาธิบายว่า เสนาบดีกรมนามีหน้าที่ตรวจตราการทำไร่นาและออกสิทธิที่นาให้แก่ราษฎร, เก็บรวบรวม “หางข้าว” [[#_ftn4|*]]จากราษฎร, คอยจัดซื้อข้าว อาหาร หญ้าเลี้ยงสัตว์ สัตว์พาหนะ ให้หลวงเก็บไว้ใช้, เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์ในพิธีแรกนาขวัญเพื่อชักจูงให้ราษฎรลงมือไถนา ตลอดจนมีอำนาจตั้งศาลพิจารณาคดีความที่เกี่ยวกับเรื่องที่นาและโคกระบือ[[#_ftn5|[4]]]&nbsp; นอกจากหน้าที่เหล่านี้แล้วสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงกล่าวด้วยว่า กรมนามีหน้าที่ดูแลเรื่องการรังวัดที่ดิน, ออกทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด ให้ราษฎร ตลอดจนรวมสถิติน้ำฝนและต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินเวลาทรงเสด็จออกว่าราชการและเรียกเกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม[[#_ftn6|[5]]]
&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สำหรับอำนาจหน้าที่ของกรมนานี้ [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระราชาธิบายว่า เสนาบดีกรมนามีหน้าที่ตรวจตราการทำไร่นาและออกสิทธิที่นาให้แก่ราษฎร, เก็บรวบรวม “หางข้าว” [[#_ftn4|*]]จากราษฎร, คอยจัดซื้อข้าว อาหาร หญ้าเลี้ยงสัตว์ สัตว์พาหนะ ให้หลวงเก็บไว้ใช้, เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์ในพิธีแรกนาขวัญเพื่อชักจูงให้ราษฎรลงมือไถนา ตลอดจนมีอำนาจตั้งศาลพิจารณาคดีความที่เกี่ยวกับเรื่องที่นาและโคกระบือ[[#_ftn5|[4]]]&nbsp; นอกจากหน้าที่เหล่านี้แล้วสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงกล่าวด้วยว่า กรมนามีหน้าที่ดูแลเรื่องการรังวัดที่ดิน, ออกทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด ให้ราษฎร ตลอดจนรวมสถิติน้ำฝนและต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินเวลาทรงเสด็จออกว่าราชการและเรียกเกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม[[#_ftn6|[5]]]


ในแง่โครงสร้างองค์กรของกรมนานั้นกรมนาประกอบด้วยกรมย่อยได้แก่ กรมฉางหลวง ซึ่งทำหน้าที่ซื้อข้าว อาหาร สัตว์พาหนะ หญ้าเลี้ยงสัตว์ และของป่า (งาช้างและหนังสัตว์) จากราษฎรเพื่อเก็บไว้ในยุ้งฉางหลวงสำหรับใช้ในยามศึก รวมทั้งเพื่อแจกจ่ายข้าวและหญ้าไปตามความต้องการของกรมต่างๆในเขตการปกครองส่วนกลาง[[#_ftn7|[6]]] นอกเหนือจากงานของกรมฉางหลวงแล้วขุนนางในกรมนายังทำหน้าที่เก็บภาษีที่นาด้วย ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี&nbsp; ทรงกล่าวไว้ตรงกันว่า ในกรมนามีขุนนางที่ทำหน้าที่เป็น “ข้าหลวงเสนา” ออกเก็บเงินค่านาจากราษฎร[[#_ftn8|[7]]]
ในแง่โครงสร้างองค์กรของกรมนานั้นกรมนาประกอบด้วยกรมย่อยได้แก่ กรมฉางหลวง ซึ่งทำหน้าที่ซื้อข้าว อาหาร สัตว์พาหนะ หญ้าเลี้ยงสัตว์ และของป่า (งาช้างและหนังสัตว์) จากราษฎรเพื่อเก็บไว้ในยุ้งฉางหลวงสำหรับใช้ในยามศึก รวมทั้งเพื่อแจกจ่ายข้าวและหญ้าไปตามความต้องการของกรมต่างๆในเขตการปกครองส่วนกลาง[[#_ftn7|[6]]] นอกเหนือจากงานของกรมฉางหลวงแล้วขุนนางในกรมนายังทำหน้าที่เก็บภาษีที่นาด้วย ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี&nbsp; ทรงกล่าวไว้ตรงกันว่า ในกรมนามีขุนนางที่ทำหน้าที่เป็น “ข้าหลวงเสนา” ออกเก็บเงินค่านาจากราษฎร[[#_ftn8|[7]]]
บรรทัดที่ 18: บรรทัดที่ 18:
'''กรมนาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์'''
'''กรมนาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์'''


&nbsp;แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะล่มสลายไปในสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 แต่การปกครองระบบขุนนางของกรุงศรีอยุธยาได้รับการรื้อฟื้นโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ ดังนั้นจึงมีการตั้งเสนาบดีกรมนาขึ้นอีกครั้ง&nbsp; โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการแต่งตั้งเสนาบดีกรมนา ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ (ปิ่น)&nbsp; และเจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา)[[#_ftn9|[8]]]&nbsp; ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งเสนาบดีกรมนา 2 ท่านตามลำดับ ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ (สาหรือสาคร) และเจ้าพระยาพลเทพ (ทองอิน) ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงโปรดแต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมนา โดยให้พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) บังคับบัญชางานในกรมนาเป็นการชั่วคราว เมื่อพระยาศรีสหเทพถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นเสนาบดีกรมนา โดยทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเดชาดิศร ทรงบังคับงานในกรมนาไปก่อน[[#_ftn10|[9]]]
&nbsp;แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะล่มสลายไปในสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 แต่การปกครองระบบขุนนางของกรุงศรีอยุธยาได้รับการรื้อฟื้นโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ ดังนั้นจึงมีการตั้งเสนาบดีกรมนาขึ้นอีกครั้ง&nbsp; โดยในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]ได้มีการแต่งตั้งเสนาบดีกรมนา ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ (ปิ่น)&nbsp; และเจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา)[[#_ftn9|[8]]]&nbsp; ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] ได้มีการแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งเสนาบดีกรมนา 2 ท่านตามลำดับ ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ (สาหรือสาคร) และเจ้าพระยาพลเทพ (ทองอิน) ต่อมาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ไม่ทรงโปรดแต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมนา โดยให้พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) บังคับบัญชางานในกรมนาเป็นการชั่วคราว เมื่อพระยาศรีสหเทพถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นเสนาบดีกรมนา โดยทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเดชาดิศร ทรงบังคับงานในกรมนาไปก่อน[[#_ftn10|[9]]]


ที่น่าสนใจคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เปลี่ยนวิธีการเก็บอากรค่านาจากราษฎรที่เคยเรียกเก็บเป็น “หางข้าว” มาเรียกเก็บเป็นตัวเงินแทนเพื่อไม่ให้ราษฎรลำบากในการขนข้าวเปลือกมาส่งฉางหลวง[[#_ftn11|[10]]]
ที่น่าสนใจคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เปลี่ยนวิธีการเก็บอากรค่านาจากราษฎรที่เคยเรียกเก็บเป็น “หางข้าว” มาเรียกเก็บเป็นตัวเงินแทนเพื่อไม่ให้ราษฎรลำบากในการขนข้าวเปลือกมาส่งฉางหลวง[[#_ftn11|[10]]]
บรรทัดที่ 28: บรรทัดที่ 28:
'''กรมนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'''
'''กรมนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว'''


ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและยกเลิกระบบราชการแบบที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2435 พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งพระยาเทพประชุน (พุ่ม) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนา ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2429-2438 ต่อมาในปี 2438 ทรงโปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม) เลื่อนยศขึ้นเป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาท่านนี้เป็นสมุหพระกลาโหมคนสุดท้ายของสยาม เพราะต่อมาทรงโปรดให้ยุบเลิกตำแหน่งสมุหพระกลาโหม[[#_ftn13|[12]]]
ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและยกเลิก[[ระบบราชการ]]แบบที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2435 พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งพระยาเทพประชุน (พุ่ม) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนา ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2429-2438 ต่อมาในปี 2438 ทรงโปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม) เลื่อนยศขึ้นเป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาท่านนี้เป็นสมุหพระกลาโหมคนสุดท้ายของสยาม เพราะต่อมาทรงโปรดให้ยุบเลิกตำแหน่งสมุหพระกลาโหม[[#_ftn13|[12]]]


ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองประเทศได้ทรงตั้งกระทรวงต่างๆขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินด้านต่างๆ ในการนี้ได้มีการตั้งกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการเพาะปลูก การค้าขาย การป่าไม้ และการเหมืองแร่[[#_ftn14|[13]]] ในแง่นี้กรมนาจึงถูกรวมเข้าไปในกระทรวงเกษตราธิการ โดยผู้ที่ทำหน้าที่บริหารราชการในกระทรวงเกษตราธิการ ได้แก่ เสนาบดีกระทรวง[[#_ftn15|[14]]] ดังนั้นขุนนางตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพ ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกรมนา จึงไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่บังคับบัญชางานด้านการเพาะปลูกดังที่เคยเป็นมาในระบบราชการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรง[[ปฏิรูปการปกครองประเทศ]]ได้ทรงตั้งกระทรวงต่างๆขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่[[การบริหารราชการแผ่นดิน|บริหารราชการแผ่นดิน]]ด้านต่างๆ ในการนี้ได้มีการตั้งกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการเพาะปลูก การค้าขาย การป่าไม้ และการเหมืองแร่[[#_ftn14|[13]]] ในแง่นี้กรมนาจึงถูกรวมเข้าไปในกระทรวงเกษตราธิการ โดยผู้ที่ทำหน้าที่บริหารราชการใน[[กระทรวงเกษตราธิการ]] ได้แก่ เสนาบดีกระทรวง[[#_ftn15|[14]]] ดังนั้นขุนนางตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพ ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกรมนา จึงไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่บังคับบัญชางานด้านการเพาะปลูกดังที่เคยเป็นมาในระบบราชการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา


มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขุนนางตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพจึงเริ่มกลับมามีบทบาทในการบริหารราชการส่วนของกระทรวงเกษตราธิการ ดังปรากฏว่า พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ได้เป็นรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2464 และในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาไชยยศสมบัติ ได้เลื่อนยศเป็น เจ้าพระยาพลเทพ โดยเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) นับเป็นเจ้าพระยาพลเทพคนสุดท้าย เนื่องจากหลังจากท่านออกจากราชการในปี 2473 ก็ไม่มีการใช้ยศบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาพลเทพ” อีก[[#_ftn16|[15]]]
มาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ขุนนางตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพจึงเริ่มกลับมามีบทบาทในการบริหารราชการส่วนของกระทรวงเกษตราธิการ ดังปรากฏว่า พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ได้เป็นรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2464 และในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาไชยยศสมบัติ ได้เลื่อนยศเป็น เจ้าพระยาพลเทพ โดยเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) นับเป็นเจ้าพระยาพลเทพคนสุดท้าย เนื่องจากหลังจากท่านออกจากราชการในปี 2473 ก็ไม่มีการใช้ยศบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาพลเทพ” อีก[[#_ftn16|[15]]]


&nbsp;
&nbsp;
บรรทัดที่ 44: บรรทัดที่ 44:
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. <u>บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์.</u> พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. <u>บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์.</u> พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.


ปิยนาถ บุนนาค. “การเมืองระหว่างองค์การของรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างกระทรวงต่างๆในสมัยปฏิรูป (พ.ศ. 2435-2453)”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.
ปิยนาถ บุนนาค. “การเมืองระหว่างองค์การของรัฐ&nbsp;: ศึกษาเฉพาะกรณีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างกระทรวงต่างๆในสมัยปฏิรูป (พ.ศ. 2435-2453)”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.


ปิยนาถ บุนนาค. <u>ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516)</u>.&nbsp; กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
ปิยนาถ บุนนาค. <u>ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516)</u>.&nbsp; กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
บรรทัดที่ 82: บรรทัดที่ 82:
[[#_ftnref14|[13]]] ปิยนาถ บุนนาค, <u>ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516)</u>, กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 71.
[[#_ftnref14|[13]]] ปิยนาถ บุนนาค, <u>ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516)</u>, กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 71.
</div> <div id="ftn15">
</div> <div id="ftn15">
[[#_ftnref15|[14]]] ดูรายละเอียดใน ปิยนาถ บุนนาค, “การเมืองระหว่างองค์การของรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างกระทรวงต่างๆในสมัยปฏิรูป (พ.ศ. 2435-2453)”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533, หน้า 134-136.
[[#_ftnref15|[14]]] ดูรายละเอียดใน ปิยนาถ บุนนาค, “การเมืองระหว่างองค์การของรัฐ&nbsp;: ศึกษาเฉพาะกรณีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างกระทรวงต่างๆในสมัยปฏิรูป (พ.ศ. 2435-2453)”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533, หน้า 134-136.
</div> <div id="ftn16">
</div> <div id="ftn16">
[[#_ftnref16|[15]]] ส. พลายน้อย, <u>ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน</u>, หน้า 132-133.
[[#_ftnref16|[15]]] ส. พลายน้อย, <u>ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน</u>, หน้า 132-133.

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:21, 19 ธันวาคม 2560

ผู้เรียบเรียง :  ดร.โดม ไกรปกรณ์

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ  รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต


กรมนา

          กรมนาเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่ตั้งขึ้นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยเสนาบดีกรมนาถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งสำคัญในสมัยนั้นเช่นเดียวกับเสนาบดีกรมเวียง (นครบาล, เสนาบดีกรมวัง เสนาบดีกรมคลัง ซึ่งตำแหน่งเสนาบดี เวียง วัง คลัง นา นี้เรียกรวมกันว่า “จตุสดมภ์[1] ขุนนางตำแหน่งกรมนานี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล่าวไว้ว่า เจ้ากรมวังมียศเป็น “พระยาพลเทพ” มีศักดินา 10000[2] โดยพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนานี้มีสร้อยนามต่อท้ายว่า “เกษตราธิบดี”[3]

          สำหรับอำนาจหน้าที่ของกรมนานี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชาธิบายว่า เสนาบดีกรมนามีหน้าที่ตรวจตราการทำไร่นาและออกสิทธิที่นาให้แก่ราษฎร, เก็บรวบรวม “หางข้าว” *จากราษฎร, คอยจัดซื้อข้าว อาหาร หญ้าเลี้ยงสัตว์ สัตว์พาหนะ ให้หลวงเก็บไว้ใช้, เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์ในพิธีแรกนาขวัญเพื่อชักจูงให้ราษฎรลงมือไถนา ตลอดจนมีอำนาจตั้งศาลพิจารณาคดีความที่เกี่ยวกับเรื่องที่นาและโคกระบือ[4]  นอกจากหน้าที่เหล่านี้แล้วสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังทรงกล่าวด้วยว่า กรมนามีหน้าที่ดูแลเรื่องการรังวัดที่ดิน, ออกทะเบียนที่ดิน ใบเหยียบย่ำ ตราจอง โฉนด ให้ราษฎร ตลอดจนรวมสถิติน้ำฝนและต้นข้าวไว้กราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดินเวลาทรงเสด็จออกว่าราชการและเรียกเกณฑ์สัตว์พาหนะจากราษฎรในยามที่บ้านเมืองมีศึกสงคราม[5]

ในแง่โครงสร้างองค์กรของกรมนานั้นกรมนาประกอบด้วยกรมย่อยได้แก่ กรมฉางหลวง ซึ่งทำหน้าที่ซื้อข้าว อาหาร สัตว์พาหนะ หญ้าเลี้ยงสัตว์ และของป่า (งาช้างและหนังสัตว์) จากราษฎรเพื่อเก็บไว้ในยุ้งฉางหลวงสำหรับใช้ในยามศึก รวมทั้งเพื่อแจกจ่ายข้าวและหญ้าไปตามความต้องการของกรมต่างๆในเขตการปกครองส่วนกลาง[6] นอกเหนือจากงานของกรมฉางหลวงแล้วขุนนางในกรมนายังทำหน้าที่เก็บภาษีที่นาด้วย ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงกล่าวไว้ตรงกันว่า ในกรมนามีขุนนางที่ทำหน้าที่เป็น “ข้าหลวงเสนา” ออกเก็บเงินค่านาจากราษฎร[7]

 

กรมนาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์

 แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะล่มสลายไปในสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2310 แต่การปกครองระบบขุนนางของกรุงศรีอยุธยาได้รับการรื้อฟื้นโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ ดังนั้นจึงมีการตั้งเสนาบดีกรมนาขึ้นอีกครั้ง  โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้มีการแต่งตั้งเสนาบดีกรมนา ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ (ปิ่น)  และเจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค บ้านแม่ลา)[8]  ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแต่งตั้งขุนนางตำแหน่งเสนาบดีกรมนา 2 ท่านตามลำดับ ได้แก่ เจ้าพระยาพลเทพ (สาหรือสาคร) และเจ้าพระยาพลเทพ (ทองอิน) ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ทรงโปรดแต่งตั้งผู้ใดดำรงตำแหน่งเสนาบดีกรมนา โดยให้พระยาศรีสหเทพ (เพ็ง) บังคับบัญชางานในกรมนาเป็นการชั่วคราว เมื่อพระยาศรีสหเทพถึงแก่อนิจกรรม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดเป็นเสนาบดีกรมนา โดยทรงโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเดชาดิศร ทรงบังคับงานในกรมนาไปก่อน[9]

ที่น่าสนใจคือ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้เปลี่ยนวิธีการเก็บอากรค่านาจากราษฎรที่เคยเรียกเก็บเป็น “หางข้าว” มาเรียกเก็บเป็นตัวเงินแทนเพื่อไม่ให้ราษฎรลำบากในการขนข้าวเปลือกมาส่งฉางหลวง[10]

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ช่วงต้นรัชกาลทรงโปรดให้จมื่นศรีสรรักษ์ หัวหมื่นมหาดเล็ก ทำหน้าที่บังคับบัญชาการงานกรมนา แต่ยังไม่ทันได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนา จมื่นศรีสรรักษ์ก็ถึงอสัญกรรมเสียก่อน หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้พระยาพิชัยบุรินทรา(หลง) เป็นเจ้าพระยาพลเทพ (หลง)[11]

 

กรมนาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินและยกเลิกระบบราชการแบบที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2435 พระองค์ทรงโปรดให้ตั้งพระยาเทพประชุน (พุ่ม) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาพลเทพ เสนาบดีกรมนา ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2429-2438 ต่อมาในปี 2438 ทรงโปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม) เลื่อนยศขึ้นเป็น เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ สมุหพระกลาโหม เจ้าพระยาท่านนี้เป็นสมุหพระกลาโหมคนสุดท้ายของสยาม เพราะต่อมาทรงโปรดให้ยุบเลิกตำแหน่งสมุหพระกลาโหม[12]

ประเด็นที่น่าสนใจคือ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครองประเทศได้ทรงตั้งกระทรวงต่างๆขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินด้านต่างๆ ในการนี้ได้มีการตั้งกระทรวงเกษตราธิการขึ้นมาทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการเพาะปลูก การค้าขาย การป่าไม้ และการเหมืองแร่[13] ในแง่นี้กรมนาจึงถูกรวมเข้าไปในกระทรวงเกษตราธิการ โดยผู้ที่ทำหน้าที่บริหารราชการในกระทรวงเกษตราธิการ ได้แก่ เสนาบดีกระทรวง[14] ดังนั้นขุนนางตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพ ซึ่งเคยเป็นเสนาบดีกรมนา จึงไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่บังคับบัญชางานด้านการเพาะปลูกดังที่เคยเป็นมาในระบบราชการที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา

มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขุนนางตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพจึงเริ่มกลับมามีบทบาทในการบริหารราชการส่วนของกระทรวงเกษตราธิการ ดังปรากฏว่า พระยาไชยยศสมบัติ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ได้เป็นรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 หลังจากนั้นท่านได้เลื่อนขึ้นเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการในเดือนเมษายน พ.ศ. 2464 และในปีเดียวกันนั้นเอง พระยาไชยยศสมบัติ ได้เลื่อนยศเป็น เจ้าพระยาพลเทพ โดยเจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) นับเป็นเจ้าพระยาพลเทพคนสุดท้าย เนื่องจากหลังจากท่านออกจากราชการในปี 2473 ก็ไม่มีการใช้ยศบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาพลเทพ” อีก[15]

 

บรรณานุกรม

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ประชุมพระนิพนธ์สรรพความรู้. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2555.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

ปิยนาถ บุนนาค. “การเมืองระหว่างองค์การของรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างกระทรวงต่างๆในสมัยปฏิรูป (พ.ศ. 2435-2453)”. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

ปิยนาถ บุนนาค. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516).  กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

ส. พลายน้อย. ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มติชน, 2559.

อาคม พัฒิยะ และ นิธิ เอียวศรีวงศ์.  ศรีรามเทพนคร รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น.กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม, 2527.

    

อ้างอิง

[1] อาคม พัฒิยะ และ นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีรามเทพนคร รวมความเรียงว่าด้วยประวัติศาสตร์อยุธยาตอนต้น, กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม, 2527, หน้า 46.

[2] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549, หน้า 11.

[3] ควอริช เวลส์, การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ, กาญจนี ละอองศรี และยุพา ชุมจันทร์ (แปล), กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2527,  หน้า 72.

* ข้าวเปลือกที่รัฐเรียกเก็บจากนาของราษฎรมาเก็บไว้ในฉางหลวง

[4] พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557, หน้า 23.

[5] สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 12-13.

[6] สรุปจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 13; ควอริช เวลส์, การปกครองและการบริหารของไทยสมัยโบราณ, หน้า 73.

[7] สรุปจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน, หน้า 24; สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์, หน้า 12.

[8] ส. พลายน้อย, ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: มติชน, 2559, หน้า 128-130.

[9] เรื่องเดียวกัน หน้า 130.

[10] สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ประชุมพระนิพนธ์สรรพความรู้. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์, 2555, หน้า 74.

[11] ส. พลายน้อย, ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน, หน้า 130-131.

[12] เรื่องเดียวกัน, หน้า 97-99, 132.

[13] ปิยนาถ บุนนาค, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” พ.ศ. 2516), กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550, หน้า 71.

[14] ดูรายละเอียดใน ปิยนาถ บุนนาค, “การเมืองระหว่างองค์การของรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีความขัดแย้งที่สำคัญระหว่างกระทรวงต่างๆในสมัยปฏิรูป (พ.ศ. 2435-2453)”, วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533, หน้า 134-136.

[15] ส. พลายน้อย, ขุนนางสยาม ประวัติศาสตร์ “ข้าราชการ” ทหารและพลเรือน, หน้า 132-133.