ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง :''' ดร.โดม ไกรปกรณ์ '''ผู้ทรงคุณวุฒ...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ดร.โดม ไกรปกรณ์ | |||
'''ผู้เรียบเรียง :''' ดร.โดม ไกรปกรณ์ | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' | |||
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ :''' รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต | |||
---- | ---- | ||
| |||
== ความหมายและความเป็นมา == | == ความหมายและความเป็นมา == | ||
ในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1902 ได้กล่าวถึงพิธี “ถือน้ำพระพัท” หรือ “ถือน้ำพระพิพัท” | ในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1902 ได้กล่าวถึงพิธี “ถือน้ำพระพัท” หรือ “ถือน้ำพระพิพัท” โดย[[จิตร_ภูมิศักดิ์|จิตร ภูมิศักดิ์]] ปัญญาชนผู้เชี่ยวชาญด้านนิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ได้ชี้ว่าพิธีนี้เป็นพิธีกระทำสัตย์สาบานของขุนนางว่าจะจงรักภักดีต่อ[[พระมหากษัตริย์]] โดยพิธีนี้เป็นคติพราหมณ์ที่ราชสำนักอยุธยารับแบบอย่างมาจากราชสำนักเขมรสมัยนครหลวง (พ.ศ. 1445-1975) ดังนั้นคำเรียกชื่อพิธีที่ใกล้เคียงความหมายเดิมของราชสำนักเขมรคือ “ถือน้ำพระพัท” ซึ่งแปลมาจากคำภาษาสันสกฤตที่ราชสำนักเขมรใช้ว่า “พระพัทธประติชญา” (คำสาบาลผูกมัด)<ref>จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2547, หน้า 4-6.</ref> | ||
นักวิชาการบางท่านได้อธิบายว่าการประกอบพิธีถือน้ำสาบาลต่อพระมหากษัตริย์ของขุนนางเป็นพิธีที่มีมาก่อนหน้าสมัยอยุธยาแล้ว | นักวิชาการบางท่านได้อธิบายว่าการประกอบพิธีถือน้ำสาบาลต่อพระมหากษัตริย์ของขุนนางเป็นพิธีที่มีมาก่อนหน้าสมัยอยุธยาแล้ว แต่มีหลักฐานชัดเจนในสมัย[[สมเด็จพระรามาธิบดีที่_1]] (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. 1893-1912) ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาว่า มีการแต่ง[[ลิลิตโองการแช่งน้ำ]] วรรณคดีที่ใช้เป็นบทสวดในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา<ref>จิตร ภูมิศักดิ์ วิเคราะห์ว่าในสมัยต้นอยุธยาเรียกชื่อพิธีถือน้ำสาบาลของขุนนางว่า “น้ำพระพัทธ์” ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “น้ำพิพัทธ์” และ “พิพัทธสัตยา”</ref> เพื่อทำให้พิธีดูศักดิ์สิทธิ์<ref>สุเนตร ชุตินธรานนท์, “ลิลิตโองการแช่งน้ำและพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,” วารสารธรรมศาสตร์ (ปีที่ 9 ฉบับ 1 กรกฎาคม-กันยายน 2522), หน้า 32. </ref> เช่นเดียวกับมีชื่อพิธีนี้ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว | ||
== พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาในสมัยอยุธยา == | == พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาในสมัยอยุธยา == | ||
กฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้นเมื่อพ.ศ. 1902 ระบุว่าพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยากระทำในเดือน 10<ref>กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537, หน้า 140. </ref> | กฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้นเมื่อพ.ศ. 1902 ระบุว่าพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยากระทำในเดือน 10<ref>กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537, หน้า 140. </ref> สำหรับรายละเอียดของพระราชพิธีนี้ในพระราชกำหนดเก่า กฎหมายที่ใช้ในสมัยอยุธยาได้กล่าวว่า พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ข้าราชการถือน้ำพระพิพัทธสัตยาปีละ 2 ครั้ง คือในพิธีตรุษ (พิธีเฉลิมฉลองสิ้นปี)ครั้งหนึ่ง และในพิธีสารท (พิธีเฉลิมฉลองกลางปี) อีกครั้ง โดยทำพิธี ณ วัดพระศรีสรรเพช ยกเว้นข้าราชการนายส่วยอากรปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ ([[หัวเมืองฝ่ายเหนือ]]และ[[หัวเมืองปักษ์ใต้]]) ให้ถือน้ำ ณ วัดอารามที่เคยทำพิธี โดยผู้ขาดพิธีถือน้ำมีโทษเท่ากับกบฏ<ref>กฎหมายตราสามดวง เล่ม 5, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537, หน้า 180-182. </ref> | ||
ที่น่าสนใจคือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาที่ปฏิบัติกันในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการเพิ่มพิธีทางพุทธศาสนาเข้าไป เมื่อถึงสมัยอยุธยาตอนปลายปรากฏว่าพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาทำทั้งพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพิธีทางศาสนาพุทธ<ref>โดม ไกรปกรณ์, “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2542, หน้า 87. </ref> | ที่น่าสนใจคือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาที่ปฏิบัติกันในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการเพิ่มพิธีทางพุทธศาสนาเข้าไป เมื่อถึงสมัยอยุธยาตอนปลายปรากฏว่าพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาทำทั้งพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพิธีทางศาสนาพุทธ<ref>โดม ไกรปกรณ์, “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2542, หน้า 87. </ref> | ||
== พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาในสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น == | == พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาในสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น == | ||
การถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรียังคงความเข้มงวดตามแบบแผนพระราชพิธีในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีจดหมายเหตุของชาวต่างชาติระบุว่าในสมัยธนบุรี มิชชันนารีห้ามไม่ให้คนที่เข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาไปเข้าวัดและดื่มน้ำพระพิพัทธ์สัตยา เนื่องจากผิดหลักคริสต์ศาสนา จึงมีขุนนางที่เข้ารีตไม่ไปเข้าพิธีถือน้ำ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบเรื่องทรงสั่งให้จับขุนนางเหล่านั้นเข้าคุกและลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายคนละ 50 ที ส่วนสังฆราชและบาทหลวงที่ห้ามไม่ให้ขุนนางไทยไปร่วมพิธีถือน้ำนั้นทรงให้คุมตัวมาเข้าเฝ้าเพื่อให้ยอมรับผิดและขอโทษพระเจ้าแผ่นดิน แต่สังฆราชและบาทหลวงขัดขืนจึงถูกลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายคนละ 100 ทีพร้อมทั้งจองจำด้วยตรวน ทำให้ขุนนางที่เข้ารีตต้องยอมกลับใจมาถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), สรรพสาระ ประวัติศาสตร์-มนุษยศาสตร์ เล่ม 2, กรุงเทพฯ: สามลดา, 2550, หน้า137-138. </ref> | การถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรียังคงความเข้มงวดตามแบบแผนพระราชพิธีในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีจดหมายเหตุของชาวต่างชาติระบุว่าในสมัยธนบุรี มิชชันนารีห้ามไม่ให้คนที่เข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาไปเข้าวัดและดื่มน้ำพระพิพัทธ์สัตยา เนื่องจากผิดหลักคริสต์ศาสนา จึงมีขุนนางที่เข้ารีตไม่ไปเข้าพิธีถือน้ำ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบเรื่องทรงสั่งให้จับขุนนางเหล่านั้นเข้าคุกและลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายคนละ 50 ที ส่วนสังฆราชและบาทหลวงที่ห้ามไม่ให้ขุนนางไทยไปร่วมพิธีถือน้ำนั้นทรงให้คุมตัวมาเข้าเฝ้าเพื่อให้ยอมรับผิดและขอโทษพระเจ้าแผ่นดิน แต่สังฆราชและบาทหลวงขัดขืนจึงถูกลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายคนละ 100 ทีพร้อมทั้งจองจำด้วยตรวน ทำให้ขุนนางที่เข้ารีตต้องยอมกลับใจมาถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), สรรพสาระ ประวัติศาสตร์-มนุษยศาสตร์ เล่ม 2, กรุงเทพฯ: สามลดา, 2550, หน้า137-138. </ref> | ||
มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์ของกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีการถือน้ำพระพิพัทธสัตยาจากที่เคยทำกันมาในสมัยอยุธยา ดังที่[[พระราชกำหนด]]ใหม่ กฎหมายที่ประกาศใช้ในรัชสมัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทรงโปรดให้ไหว้พระรัตนตรัยก่อนพระเชษฐบิดร (รูปเคารพของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา) ส่วนกำหนดการถือน้ำยังคงทำปีละ 2 ครั้งดังเช่นในสมัยอยุธยา<ref>กฎหมายตราสามดวง เล่ม 5, หน้า 353-357. </ref> โดย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงอธิบายเพิ่มเติมเรื่องการถือน้ำพระพิพัทธสัตยาของขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ว่า [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]โปรดให้ขุนนางข้าราชการถือน้ำที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและเปลี่ยนจากการไหว้พระเชษฐบิดรมาถวายบังคมสมเด็จพระปฐมบรมมหาปัยกาธิบดี (พระบรมราชชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) แทน<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 232-233. </ref> | |||
ต่อมาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา โดยทรงโปรดฯให้ลดความเข้มงวดของพิธีถือน้ำสำหรับขุนนางข้าราชการที่นับถือศาสนาอื่น อนุญาตให้ขุนนางเหล่านั้นประกอบพิธีตามศาสนาของตน เช่น เจ้าเมืองแขกที่เป็นประเทศราชสามารถถือน้ำตามศาสนาแขก พวกฝรั่งเข้ารีตให้มีบาทหลวงประกอบพิธีตามแบบฝรั่ง<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 261-262. </ref> ต่างจากสมัยก่อนหน้าที่ไม่อนุญาตให้ขุนนางที่นับถือศาสนาอื่นทำพิธีถือน้ำตามหลักศาสนาของตน | |||
| |||
== พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว == | == พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว == | ||
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก ดังเห็นได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของพระราชพิธีถือน้ำโดยพระองค์ทรงเสวยน้ำสาบาลในพระราชพิธีเช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 256. </ref> | การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก ดังเห็นได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของพระราชพิธีถือน้ำโดยพระองค์ทรงเสวยน้ำสาบาลในพระราชพิธีเช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 256. </ref> อันแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพระราชดำริเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางข้าราชการจากแบบธรรมเนียมเดิมที่ขุนนางข้าราชการถือน้ำดื่มน้ำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระมหากษัตริย์เพียงฝ่ายเดียว มาเป็นการที่พระมหากษัตริย์ทรงร่วมดื่มน้ำสาบานด้วยเพื่อประกาศพระองค์เป็นพวกเดียวกับขุนนางข้าราชการ | ||
ในทำนองว่าทั้งขุนนางข้าราชการและพระมหากษัตริย์ต่างจะซื่อตรงต่อกัน เป็นพวกเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการแสดงภาพลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะ “[[ธรรมราชา]]” เพื่อความชอบธรรมทางการปกครองของพระองค์<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 143. </ref> | |||
นอกจากนี้ยังทรงวางระเบียบเครื่องทรงของเจ้านายในพระราชพิธีถือน้ำโดยทรงห้ามไม่ให้เจ้านายทรงผ้าที่ไม่มีกรอบมีเชิงแล้วคาดฉลองพระองค์ครุย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าการแต่งพระองค์แบบดังกล่าวดูไม่งาม<ref>ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2528, หน้า 216. </ref> นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าพระองค์ได้ทรงริเริ่มเปลี่ยนชื่อเรียกพระราชพิธีถือน้ำสาบาลหรืออย่างน้อยที่สุดก็ทรงบัญญัติชื่อพระราชพิธีขึ้นใหม่มาใช้คู่กับชื่อที่ใช้กันอยู่เดิม ดังเห็นได้จากประกาศวันสวดมนต์พระราชพิธีถือน้ำ ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์ฯทรงอธิบายไว้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในประกาศมีการกล่าวถึง “[[ราชพิธีศรีสัจจปานกาล]]”<ref>พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์ฯ, ประกาศการพระราชพิธี เล่ม 1, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2508, หน้า ก, 2. </ref> | |||
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้มงวดน้อยลงจากยุคก่อนหน้า ดังปรากฏว่าในสมัยนี้ขุนนางข้าราชการที่ขาดถือน้ำมีโทษถูกปรับ ต่างจากยุคก่อนหน้าที่ขุนนางข้าราชการที่ขาดถือน้ำมีโทษเท่ากับ[[กบฏ]]และถูกประหารเจ็ดชั่วโคตร<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 141-142. </ref> | |||
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยายังคงปฏิบัติมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรให้ยกเลิกการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล เช่นเดียวกับพระราชพิธีอื่นๆ เนื่องจากคณะราษฎรเห็นว่าเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาคกันของคนในสังคม<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 148</ref> | แบบแผนการประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มนี้จะได้ปฏิบัติสืบต่อมาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เพิ่มเติมประเภทการถือน้ำของทหารและที่ปรึกษาราชการโดยทหารต้องถือน้ำทุกเดือน ส่วนที่ปรึกษาราชการต้องถือน้ำพิเศษเมื่อเข้ารับตำแหน่งครั้งแรก<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, หน้า 228. </ref> นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีการเปลี่ยนชื่อเรียก “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา” เป็น “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา” หรือ “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา” ดังที่จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ชี้ว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังเรียกชื่อพิธีอย่างห้วนๆว่า “พิธีถือน้ำพระพัฒ”<ref>จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, หน้า 6. </ref> ขณะที่พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “พระราชพิธีสิบสองเดือน” มีการกล่าวถึง “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา”<ref>พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, หน้า 223. </ref> โดยเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อพระราชพิธีนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายว่าการเปลี่ยนชื่อเรียก พระราชพิธีจาก “ถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา” เป็น “ถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา” นี้เป็นไปได้ว่าชนชั้นปกครองอยากจะซ่อนเร้นความหมายของคำว่า “พัทธ” ซึ่งหมายถึงการผูกมัด จึงใช้คำว่า “น้ำพระพิพัฒน์สัจจา” ซึ่งหมายถึงน้ำแห่งความสัตย์อันเจริญรุ่งเรือง<ref>จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, หน้า 6-7. </ref> ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนวันประกอบพระราชพิธีถือน้ำจากเดิมที่กระทำพิธีกันในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 มาเป็นวันที่ 3 เมษายนของทุกๆปี รวมทั้งยกเลิกการพระราชพิธีสารทและการถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาที่กระทำในช่วงกลางปี ดังนั้นจึงเหลือพระราชพิธีถือน้ำประจำปีเพียงปีละ 1 ครั้ง ตลอดจนมีการเพิ่มเติมพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของกองเสือป่า หน่วยมหาดเล็กติดอาวุธซึ่งขึ้นตรงต่อพระองค์ แต่ไม่ได้ทำเป็นการประจำ<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 148. </ref> | ||
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยายังคงปฏิบัติมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรให้ยกเลิกการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล เช่นเดียวกับพระราชพิธีอื่นๆ เนื่องจากคณะราษฎรเห็นว่าเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาคกันของคนในสังคม<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 148</ref> | |||
== พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช == | == พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช == | ||
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล | พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] โดยในปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แต่เรียกว่า “พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี” เนื่องจากผนวกรวมพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเข้ากับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยผู้ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในพิธีครั้งนี้มีเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเท่านั้น<ref>หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล, พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พุทธศักราช 2512, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลโทอ่อง โพธิกนิษฐ ม.ว.ม. ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 7 ตุลาคม 2512, หน้า 1. </ref> | ||
หลังจากการพระราชพิธีเมื่อปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาผนวกกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีขึ้นอีก 8 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2516 | หลังจากการพระราชพิธีเมื่อปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาผนวกกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีขึ้นอีก 8 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2520 พ.ศ.2522 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2533 และพ.ศ. 2549<ref>ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 150. </ref> | ||
| |||
== อ้างอิง == | |||
<references /> | |||
<references/> | |||
== บรรณานุกรม == | == บรรณานุกรม == | ||
บรรทัดที่ 65: | บรรทัดที่ 68: | ||
โดม ไกรปกรณ์. “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542. | โดม ไกรปกรณ์. “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542. | ||
ธัญญ์พิชา โรจนะ. | ธัญญ์พิชา โรจนะ. “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475.” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), สรรพสาระ ประวัติศาสตร์-มนุษยศาสตร์ เล่ม 2, หน้า 109-155.กรุงเทพฯ: สามลดา, 2550. | ||
ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. | ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2528. | ||
ปีย์ มาลากุล, หม่อมหลวง. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พุทธศักราช 2512. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลโทอ่อง โพธิกนิษฐ ม.ว.ม. ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 7 ตุลาคม 2512. | ปีย์ มาลากุล, หม่อมหลวง. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พุทธศักราช 2512. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลโทอ่อง โพธิกนิษฐ ม.ว.ม. ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 7 ตุลาคม 2512. | ||
บรรทัดที่ 74: | บรรทัดที่ 77: | ||
สุเนตร ชุตินธรานนท์. “ลิลิตโองการแช่งน้ำและพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,” วารสารธรรมศาสตร์ (ปีที่ 9 ฉบับ 1 (กรกฎาคม-กันยายน 2522): 32-52. | สุเนตร ชุตินธรานนท์. “ลิลิตโองการแช่งน้ำและพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,” วารสารธรรมศาสตร์ (ปีที่ 9 ฉบับ 1 (กรกฎาคม-กันยายน 2522): 32-52. | ||
[[Category:พระราชพิธี]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:10, 19 ธันวาคม 2560
ผู้เรียบเรียง : ดร.โดม ไกรปกรณ์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต
ความหมายและความเป็นมา
ในกฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1902 ได้กล่าวถึงพิธี “ถือน้ำพระพัท” หรือ “ถือน้ำพระพิพัท” โดยจิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนผู้เชี่ยวชาญด้านนิรุกติศาสตร์ ประวัติศาสตร์และวรรณคดีไทย ได้ชี้ว่าพิธีนี้เป็นพิธีกระทำสัตย์สาบานของขุนนางว่าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ โดยพิธีนี้เป็นคติพราหมณ์ที่ราชสำนักอยุธยารับแบบอย่างมาจากราชสำนักเขมรสมัยนครหลวง (พ.ศ. 1445-1975) ดังนั้นคำเรียกชื่อพิธีที่ใกล้เคียงความหมายเดิมของราชสำนักเขมรคือ “ถือน้ำพระพัท” ซึ่งแปลมาจากคำภาษาสันสกฤตที่ราชสำนักเขมรใช้ว่า “พระพัทธประติชญา” (คำสาบาลผูกมัด)[1]
นักวิชาการบางท่านได้อธิบายว่าการประกอบพิธีถือน้ำสาบาลต่อพระมหากษัตริย์ของขุนนางเป็นพิธีที่มีมาก่อนหน้าสมัยอยุธยาแล้ว แต่มีหลักฐานชัดเจนในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่_1 (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. 1893-1912) ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาว่า มีการแต่งลิลิตโองการแช่งน้ำ วรรณคดีที่ใช้เป็นบทสวดในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา[2] เพื่อทำให้พิธีดูศักดิ์สิทธิ์[3] เช่นเดียวกับมีชื่อพิธีนี้ปรากฏในกฎมณเฑียรบาลดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาในสมัยอยุธยา
กฎมณเฑียรบาลซึ่งตราขึ้นเมื่อพ.ศ. 1902 ระบุว่าพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยากระทำในเดือน 10[4] สำหรับรายละเอียดของพระราชพิธีนี้ในพระราชกำหนดเก่า กฎหมายที่ใช้ในสมัยอยุธยาได้กล่าวว่า พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนาง ข้าราชการถือน้ำพระพิพัทธสัตยาปีละ 2 ครั้ง คือในพิธีตรุษ (พิธีเฉลิมฉลองสิ้นปี)ครั้งหนึ่ง และในพิธีสารท (พิธีเฉลิมฉลองกลางปี) อีกครั้ง โดยทำพิธี ณ วัดพระศรีสรรเพช ยกเว้นข้าราชการนายส่วยอากรปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือ (หัวเมืองฝ่ายเหนือและหัวเมืองปักษ์ใต้) ให้ถือน้ำ ณ วัดอารามที่เคยทำพิธี โดยผู้ขาดพิธีถือน้ำมีโทษเท่ากับกบฏ[5]
ที่น่าสนใจคือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาที่ปฏิบัติกันในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีการเพิ่มพิธีทางพุทธศาสนาเข้าไป เมื่อถึงสมัยอยุธยาตอนปลายปรากฏว่าพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาทำทั้งพิธีทางศาสนาพราหมณ์และพิธีทางศาสนาพุทธ[6]
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยาในสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรียังคงความเข้มงวดตามแบบแผนพระราชพิธีในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีจดหมายเหตุของชาวต่างชาติระบุว่าในสมัยธนบุรี มิชชันนารีห้ามไม่ให้คนที่เข้ารีตนับถือคริสต์ศาสนาไปเข้าวัดและดื่มน้ำพระพิพัทธ์สัตยา เนื่องจากผิดหลักคริสต์ศาสนา จึงมีขุนนางที่เข้ารีตไม่ไปเข้าพิธีถือน้ำ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบเรื่องทรงสั่งให้จับขุนนางเหล่านั้นเข้าคุกและลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายคนละ 50 ที ส่วนสังฆราชและบาทหลวงที่ห้ามไม่ให้ขุนนางไทยไปร่วมพิธีถือน้ำนั้นทรงให้คุมตัวมาเข้าเฝ้าเพื่อให้ยอมรับผิดและขอโทษพระเจ้าแผ่นดิน แต่สังฆราชและบาทหลวงขัดขืนจึงถูกลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายคนละ 100 ทีพร้อมทั้งจองจำด้วยตรวน ทำให้ขุนนางที่เข้ารีตต้องยอมกลับใจมาถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา[7]
มาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์ของกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีการถือน้ำพระพิพัทธสัตยาจากที่เคยทำกันมาในสมัยอยุธยา ดังที่พระราชกำหนดใหม่ กฎหมายที่ประกาศใช้ในรัชสมัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทรงโปรดให้ไหว้พระรัตนตรัยก่อนพระเชษฐบิดร (รูปเคารพของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา) ส่วนกำหนดการถือน้ำยังคงทำปีละ 2 ครั้งดังเช่นในสมัยอยุธยา[8] โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอธิบายเพิ่มเติมเรื่องการถือน้ำพระพิพัทธสัตยาของขุนนางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ขุนนางข้าราชการถือน้ำที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามและเปลี่ยนจากการไหว้พระเชษฐบิดรมาถวายบังคมสมเด็จพระปฐมบรมมหาปัยกาธิบดี (พระบรมราชชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) แทน[9]
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา โดยทรงโปรดฯให้ลดความเข้มงวดของพิธีถือน้ำสำหรับขุนนางข้าราชการที่นับถือศาสนาอื่น อนุญาตให้ขุนนางเหล่านั้นประกอบพิธีตามศาสนาของตน เช่น เจ้าเมืองแขกที่เป็นประเทศราชสามารถถือน้ำตามศาสนาแขก พวกฝรั่งเข้ารีตให้มีบาทหลวงประกอบพิธีตามแบบฝรั่ง[10] ต่างจากสมัยก่อนหน้าที่ไม่อนุญาตให้ขุนนางที่นับถือศาสนาอื่นทำพิธีถือน้ำตามหลักศาสนาของตน
พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลหรือพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธสัตยา เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยแบบตะวันตก ดังเห็นได้จากการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงขั้นตอนของพระราชพิธีถือน้ำโดยพระองค์ทรงเสวยน้ำสาบาลในพระราชพิธีเช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางข้าราชการ[11] อันแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพระราชดำริเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับขุนนางข้าราชการจากแบบธรรมเนียมเดิมที่ขุนนางข้าราชการถือน้ำดื่มน้ำถวายสัตย์ปฏิญาณต่อองค์พระมหากษัตริย์เพียงฝ่ายเดียว มาเป็นการที่พระมหากษัตริย์ทรงร่วมดื่มน้ำสาบานด้วยเพื่อประกาศพระองค์เป็นพวกเดียวกับขุนนางข้าราชการ
ในทำนองว่าทั้งขุนนางข้าราชการและพระมหากษัตริย์ต่างจะซื่อตรงต่อกัน เป็นพวกเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการแสดงภาพลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะ “ธรรมราชา” เพื่อความชอบธรรมทางการปกครองของพระองค์[12]
นอกจากนี้ยังทรงวางระเบียบเครื่องทรงของเจ้านายในพระราชพิธีถือน้ำโดยทรงห้ามไม่ให้เจ้านายทรงผ้าที่ไม่มีกรอบมีเชิงแล้วคาดฉลองพระองค์ครุย เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่าการแต่งพระองค์แบบดังกล่าวดูไม่งาม[13] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าพระองค์ได้ทรงริเริ่มเปลี่ยนชื่อเรียกพระราชพิธีถือน้ำสาบาลหรืออย่างน้อยที่สุดก็ทรงบัญญัติชื่อพระราชพิธีขึ้นใหม่มาใช้คู่กับชื่อที่ใช้กันอยู่เดิม ดังเห็นได้จากประกาศวันสวดมนต์พระราชพิธีถือน้ำ ซึ่งพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์ฯทรงอธิบายไว้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในประกาศมีการกล่าวถึง “ราชพิธีศรีสัจจปานกาล”[14]
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้มงวดน้อยลงจากยุคก่อนหน้า ดังปรากฏว่าในสมัยนี้ขุนนางข้าราชการที่ขาดถือน้ำมีโทษถูกปรับ ต่างจากยุคก่อนหน้าที่ขุนนางข้าราชการที่ขาดถือน้ำมีโทษเท่ากับกบฏและถูกประหารเจ็ดชั่วโคตร[15]
แบบแผนการประกอบพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาลที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มนี้จะได้ปฏิบัติสืบต่อมาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้เพิ่มเติมประเภทการถือน้ำของทหารและที่ปรึกษาราชการโดยทหารต้องถือน้ำทุกเดือน ส่วนที่ปรึกษาราชการต้องถือน้ำพิเศษเมื่อเข้ารับตำแหน่งครั้งแรก[16] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีการเปลี่ยนชื่อเรียก “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา” เป็น “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา” หรือ “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา” ดังที่จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ชี้ว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังเรียกชื่อพิธีอย่างห้วนๆว่า “พิธีถือน้ำพระพัฒ”[17] ขณะที่พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง “พระราชพิธีสิบสองเดือน” มีการกล่าวถึง “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา”[18] โดยเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อพระราชพิธีนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้อธิบายว่าการเปลี่ยนชื่อเรียก พระราชพิธีจาก “ถือน้ำพระพิพัทธ์สัตยา” เป็น “ถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจา” นี้เป็นไปได้ว่าชนชั้นปกครองอยากจะซ่อนเร้นความหมายของคำว่า “พัทธ” ซึ่งหมายถึงการผูกมัด จึงใช้คำว่า “น้ำพระพิพัฒน์สัจจา” ซึ่งหมายถึงน้ำแห่งความสัตย์อันเจริญรุ่งเรือง[19] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนวันประกอบพระราชพิธีถือน้ำจากเดิมที่กระทำพิธีกันในวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 5 มาเป็นวันที่ 3 เมษายนของทุกๆปี รวมทั้งยกเลิกการพระราชพิธีสารทและการถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาที่กระทำในช่วงกลางปี ดังนั้นจึงเหลือพระราชพิธีถือน้ำประจำปีเพียงปีละ 1 ครั้ง ตลอดจนมีการเพิ่มเติมพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของกองเสือป่า หน่วยมหาดเล็กติดอาวุธซึ่งขึ้นตรงต่อพระองค์ แต่ไม่ได้ทำเป็นการประจำ[20]
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยายังคงปฏิบัติมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรให้ยกเลิกการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล เช่นเดียวกับพระราชพิธีอื่นๆ เนื่องจากคณะราษฎรเห็นว่าเป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียมไม่เสมอภาคกันของคนในสังคม[21]
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยในปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา แต่เรียกว่า “พระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี” เนื่องจากผนวกรวมพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเข้ากับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา โดยผู้ที่ถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาในพิธีครั้งนี้มีเฉพาะผู้ที่เป็นสมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีเท่านั้น[22]
หลังจากการพระราชพิธีเมื่อปี 2512 ได้มีการจัดพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาผนวกกับพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีขึ้นอีก 8 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2520 พ.ศ.2522 พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2525 พ.ศ. 2533 และพ.ศ. 2549[23]
อ้างอิง
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2547, หน้า 4-6.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์ วิเคราะห์ว่าในสมัยต้นอยุธยาเรียกชื่อพิธีถือน้ำสาบาลของขุนนางว่า “น้ำพระพัทธ์” ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “น้ำพิพัทธ์” และ “พิพัทธสัตยา”
- ↑ สุเนตร ชุตินธรานนท์, “ลิลิตโองการแช่งน้ำและพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,” วารสารธรรมศาสตร์ (ปีที่ 9 ฉบับ 1 กรกฎาคม-กันยายน 2522), หน้า 32.
- ↑ กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537, หน้า 140.
- ↑ กฎหมายตราสามดวง เล่ม 5, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537, หน้า 180-182.
- ↑ โดม ไกรปกรณ์, “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453,” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2542, หน้า 87.
- ↑ ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), สรรพสาระ ประวัติศาสตร์-มนุษยศาสตร์ เล่ม 2, กรุงเทพฯ: สามลดา, 2550, หน้า137-138.
- ↑ กฎหมายตราสามดวง เล่ม 5, หน้า 353-357.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 232-233.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 261-262.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516, หน้า 256.
- ↑ ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 143.
- ↑ ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2528, หน้า 216.
- ↑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธุ์ฯ, ประกาศการพระราชพิธี เล่ม 1, กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2508, หน้า ก, 2.
- ↑ ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 141-142.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, หน้า 228.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, หน้า 6.
- ↑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระราชพิธีสิบสองเดือน, หน้า 223.
- ↑ จิตร ภูมิศักดิ์, โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, หน้า 6-7.
- ↑ ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 148.
- ↑ ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 148
- ↑ หม่อมหลวงปีย์ มาลากุล, พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พุทธศักราช 2512, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลโทอ่อง โพธิกนิษฐ ม.ว.ม. ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 7 ตุลาคม 2512, หน้า 1.
- ↑ ธัญญ์พิชา โรจนะ, “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475,” หน้า 150.
บรรณานุกรม
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537.
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2537
จิตร ภูมิศักดิ์. โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน, 2547.
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชพิธีสิบสองเดือน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร, 2516,
โดม ไกรปกรณ์. “ตำราพระราชพิธีสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2394-2453.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542.
ธัญญ์พิชา โรจนะ. “พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยากับสังคมไทยจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง พ.ศ. 2475.” ใน วินัย พงศ์ศรีเพียร (บรรณาธิการ), สรรพสาระ ประวัติศาสตร์-มนุษยศาสตร์ เล่ม 2, หน้า 109-155.กรุงเทพฯ: สามลดา, 2550.
ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2528.
ปีย์ มาลากุล, หม่อมหลวง. พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา พุทธศักราช 2512. พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพลโทอ่อง โพธิกนิษฐ ม.ว.ม. ป.ช., ท.จ.ว. ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส 7 ตุลาคม 2512.
สมมตอมรพันธุ์ฯ,พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระ. ประกาศการพระราชพิธี เล่ม 1. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2508.
สุเนตร ชุตินธรานนท์. “ลิลิตโองการแช่งน้ำและพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา,” วารสารธรรมศาสตร์ (ปีที่ 9 ฉบับ 1 (กรกฎาคม-กันยายน 2522): 32-52.