ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนัด คอมันตร์"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
บรรทัดที่ 6: บรรทัดที่ 6:
----
----


'''ถนัด คอมันตร์ ''''''''':''' รัฐมนตรีต่างประเทศนานที่สุด'''
'''ถนัด คอมันตร์ ''':'''รัฐมนตรีต่างประเทศนานที่สุด'''


         วันนี้ใครไม่คุยเรื่องประชาคมอาเซียน ก็อาจดูว่าไม่ค่อยจะทันสมัย แต่อาจมีคนน้อยคนที่ทราบว่านักการเมืองไทยที่มีส่วนเป็นตัวจักรสำคัญในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้เรืองนามของนายกรัฐมนตรี สองจอมพล คือทั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเวลากันแล้วนับว่านานที่สุด
         วันนี้ใครไม่คุยเรื่องประชาคมอาเซียน ก็อาจดูว่าไม่ค่อยจะทันสมัย แต่อาจมีคนน้อยคนที่ทราบว่านักการเมืองไทยที่มีส่วนเป็นตัวจักรสำคัญในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้เรืองนามของนายกรัฐมนตรี สองจอมพล คือทั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเวลากันแล้วนับว่านานที่สุด
บรรทัดที่ 12: บรรทัดที่ 12:
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้ท่านจะเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองแบบสมัครเล่น ด้วยว่าไม่ได้เข้าพรรคการเมืองหรือลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งก็ตาม แต่เส้นทางทางการเมืองของ ดร. ถนัด คอมันตร์ ก็ไม่ธรรมดา เมื่อเห็นนามสกุลของท่านอาจมีคนอยากรู้ที่มาว่าเป็นมาอย่างไร<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดร.ถนัด คอมันตร์ เป็นบุตรของ พระยาพิพากษาสัตยาธิปไตย (โป๋) กับคุณหญิงถนอม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2457 ส่วนนามสกุลของท่านนั้นในหนังสื่อชื่อ "แด่พ่อที่รักลูก" ที่พิมพ์ออกมาในโอกาส 100 ปี ของ ดร.ถนัดนั้นมีคำอธิบายเรื่องนี้เอาไว้ยาว ขอยกมาให้ดูเพียงส่วนเดียวว่า
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แม้ท่านจะเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองแบบสมัครเล่น ด้วยว่าไม่ได้เข้าพรรคการเมืองหรือลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งก็ตาม แต่เส้นทางทางการเมืองของ ดร. ถนัด คอมันตร์ ก็ไม่ธรรมดา เมื่อเห็นนามสกุลของท่านอาจมีคนอยากรู้ที่มาว่าเป็นมาอย่างไร<br/> &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดร.ถนัด คอมันตร์ เป็นบุตรของ พระยาพิพากษาสัตยาธิปไตย (โป๋) กับคุณหญิงถนอม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2457 ส่วนนามสกุลของท่านนั้นในหนังสื่อชื่อ "แด่พ่อที่รักลูก" ที่พิมพ์ออกมาในโอกาส 100 ปี ของ ดร.ถนัดนั้นมีคำอธิบายเรื่องนี้เอาไว้ยาว ขอยกมาให้ดูเพียงส่วนเดียวว่า


'''''"3.'คอ' มาจาก 'โค้ว' เนื่องจากบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแซ่โค้วซึ่งเดินทางมากับเรือสำเภาจากประเทศจีน มาทำการค้าขายในประเทศสยามตอนต้นยุครัตนโกสินทร์ แต่งงานกับสาวชาวไทย มีลูกหลานไทย และบิดาของนายโป๋ มีนามว่า 'มัน'จึงพ้องกับคำว่า 'มันตร์' หมายถึง มันตรา หรือการสวดภาวนา 'คอมันตร์' จึงหมายถึง 'การสวดภาวนาเพื่อสิริมงคลแด่ต้นตระกูล' "'''''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''3.'คอ' มาจาก 'โค้ว' เนื่องจากบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแซ่โค้วซึ่งเดินทางมากับเรือสำเภาจากประเทศจีน มาทำการค้าขายในประเทศสยามตอนต้นยุครัตนโกสินทร์ แต่งงานกับสาวชาวไทย มีลูกหลานไทย และบิดาของนายโป๋ มีนามว่า 'มัน'จึงพ้องกับคำว่า 'มันตร์' หมายถึง มันตรา หรือการสวดภาวนา 'คอมันตร์' จึงหมายถึง 'การสวดภาวนาเพื่อสิริมงคลแด่ต้นตระกูล''''


ที่จริงยังมีคำอธิบายถึงที่มาของคำ "คอมันตร์" อีกสองทาง ที่จะหาอ่านได้จากหนังสือข้างต้น&nbsp; ดร.ถนัด เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง ไปเรียนเมืองนอกที่ฝรั่งเศสตั้งแต่วัยเด็ก เมื่ออายุเพียง 14 ปี ตอนแรกเรียนด้วยทุนพ่อ ต่อมา ในช่วงอุดมศึกษาชิงทุนหลวงได้ ท่านศึกษาจบปริญญาเอกที่เรียกว่า "ดอกเตอร์อังดรัวต์" ของรัฐ จากมหาวิทยาลัยปารีส และกลับมารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ที่ทำงานเก่ง คนในกระทรวงรู้จักดี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว อายุเพียง 40 กว่าๆก็ได้ไปเป็นทูตไทยอยู่ที่กรุงวอชิงตันแล้ว และการที่เป็นทูตไทยอยู่ที่สหรัฐอเมริกานั่นเองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านเข้ามาเป็นนักการเมืองที่หลายคนนึกว่า ''"ชั่วคราว"'' เพราะท่านได้พบปะและคงมีโอกาสได้ให้ความเห็นกับนายทหารคนสำคัญที่ช่วงนั้นไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวอเตอร์รีด ในกรุงวอชิงตัน นายทหารท่านนี้ได้แก่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อ พ.ศ.2501
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ที่จริงยังมีคำอธิบายถึงที่มาของคำ "คอมันตร์" อีกสองทาง ที่จะหาอ่านได้จากหนังสือข้างต้น&nbsp; ดร.ถนัด เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง ไปเรียนเมืองนอกที่ฝรั่งเศสตั้งแต่วัยเด็ก เมื่ออายุเพียง 14 ปี ตอนแรกเรียนด้วยทุนพ่อ ต่อมา ในช่วงอุดมศึกษาชิงทุนหลวงได้ ท่านศึกษาจบปริญญาเอกที่เรียกว่า "ดอกเตอร์อังดรัวต์" ของรัฐ จากมหาวิทยาลัยปารีส และกลับมารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ที่ทำงานเก่ง คนในกระทรวงรู้จักดี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว อายุเพียง 40 กว่าๆก็ได้ไปเป็นทูตไทยอยู่ที่กรุงวอชิงตันแล้ว และการที่เป็นทูตไทยอยู่ที่สหรัฐอเมริกานั่นเองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านเข้ามาเป็นนักการเมืองที่หลายคนนึกว่า ''"ชั่วคราว"'' เพราะท่านได้พบปะและคงมีโอกาสได้ให้ความเห็นกับนายทหารคนสำคัญที่ช่วงนั้นไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวอเตอร์รีด ในกรุงวอชิงตัน นายทหารท่านนี้ได้แก่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อ พ.ศ.2501


จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับจากรักษาตัวที่สหรัฐฯ มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ยึดอำนาจครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และตั้งรัฐบาลที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เองเป็นนายกรัฐมนตรี ในตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ2502 ครั้งนั้นผู้คนในวงการการเมืองจึงได้ยินชื่อ ดร.ถนัด คอมันตร์ มากขึ้น เพราะท่านได้เข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากอดีตทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาเป็นรัฐมนตรีดูงานเรื่องการเมืองต่างประเทศในช่วงเวลาสงครามเย็นในโลกที่แบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่ๆ ในโลก คือค่ายตะวันตกที่ไม่เป็นคอมมูนิสต์ มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับค่ายคอมมูนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ทั้งยังมีกลุ่มโลกที่สามแสดงตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทางพวกตะวันตกก็ไม่อยากเข้า ทางคอมมูนิสต์ก็ยังไม่อยากเป็น ทำตัวอยู่กลางๆ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นรัฐมนตรีสำคัญที่นายกรัฐมนตรีเลือกมาอย่างเหมาะสม
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับจากรักษาตัวที่สหรัฐฯ มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ยึดอำนาจครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และตั้งรัฐบาลที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เองเป็นนายกรัฐมนตรี ในตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ2502 ครั้งนั้นผู้คนในวงการการเมืองจึงได้ยินชื่อ ดร.ถนัด คอมันตร์ มากขึ้น เพราะท่านได้เข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากอดีตทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาเป็นรัฐมนตรีดูงานเรื่องการเมืองต่างประเทศในช่วงเวลาสงครามเย็นในโลกที่แบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่ๆ ในโลก คือค่ายตะวันตกที่ไม่เป็นคอมมูนิสต์ มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับค่ายคอมมูนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ทั้งยังมีกลุ่มโลกที่สามแสดงตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทางพวกตะวันตกก็ไม่อยากเข้า ทางคอมมูนิสต์ก็ยังไม่อยากเป็น ทำตัวอยู่กลางๆ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นรัฐมนตรีสำคัญที่นายกรัฐมนตรีเลือกมาอย่างเหมาะสม


จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นเป็นผู้นำที่รู้จักเลือกคนมาทำงานเป็นอย่างดี รัฐบาลของท่านนั้นเลือกเอานักปฏิบัติการที่มักเรียกกันว่า ''"เทคโนแครต"'' ในวงราชการให้มาทำงานการเมือง ครั้งนั้นท่านยังเอาทูตไทยอีก 2 ประเทศนอกจาก ดร.ถนัดมาเป็นรัฐมนตรี และมีขุนนางเก่าชื่อดีอย่างพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ พระบำราษนราดูรย์ พระประกาศสหกรณ์ และคนเด่นอีกบางคนมาเป็นรัฐมนตรี ดร.ถนัด คอมันตร์ นั้น ความที่เป็นผู้มีความรู้ดีและมือสะอาดจึงไม่ค่อยกลัวใคร รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านและนักข่าวหนังสือพิมพ์ ฝ่ายค้านที่สำคัญและค้านจริงในตอนนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดบางคราวท่านได้แนะนำนักข่าวที่มาถามท่านผิดๆถูกๆให้ไปหาข้อมูลเสียก่อน บางคนให้ฉายาท่านว่า ''"เทวดา"'' ก็มี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในเวลานั้นถือได้ว่าใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามาก ก่อนหน้าที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ได้มีการตั้งองค์การป้องกันร่วมกันของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าองค์การ ส.ป.อ. หรือภาษาอังกฤษว่า ''"ซีโต้"'' แต่ความเชื่อในเรื่องภัยคอมมูนิสต์ก็มีอยู่มาก จึงมีข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับอเมริกัน ที่เรียกว่าข้อตกลงถนัด-รัสค์ ที่รัฐมนตรีของสองประเทศเป็นผู้ทำ โดยสหรัฐฯให้คำมั่นจะช่วยไทยหากมีภัยรุกราน
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นเป็นผู้นำที่รู้จักเลือกคนมาทำงานเป็นอย่างดี รัฐบาลของท่านนั้นเลือกเอานักปฏิบัติการที่มักเรียกกันว่า ''"เทคโนแครต"'' ในวงราชการให้มาทำงานการเมือง ครั้งนั้นท่านยังเอาทูตไทยอีก 2 ประเทศนอกจาก ดร.ถนัดมาเป็นรัฐมนตรี และมีขุนนางเก่าชื่อดีอย่างพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ พระบำราษนราดูรย์ พระประกาศสหกรณ์ และคนเด่นอีกบางคนมาเป็นรัฐมนตรี ดร.ถนัด คอมันตร์ นั้น ความที่เป็นผู้มีความรู้ดีและมือสะอาดจึงไม่ค่อยกลัวใคร รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านและนักข่าวหนังสือพิมพ์ ฝ่ายค้านที่สำคัญและค้านจริงในตอนนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดบางคราวท่านได้แนะนำนักข่าวที่มาถามท่านผิดๆถูกๆให้ไปหาข้อมูลเสียก่อน บางคนให้ฉายาท่านว่า ''"เทวดา"'' ก็มี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในเวลานั้นถือได้ว่าใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามาก ก่อนหน้าที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ได้มีการตั้งองค์การป้องกันร่วมกันของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าองค์การ ส.ป.อ. หรือภาษาอังกฤษว่า ''"ซีโต้"'' แต่ความเชื่อในเรื่องภัยคอมมูนิสต์ก็มีอยู่มาก จึงมีข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับอเมริกัน ที่เรียกว่าข้อตกลงถนัด-รัสค์ ที่รัฐมนตรีของสองประเทศเป็นผู้ทำ โดยสหรัฐฯให้คำมั่นจะช่วยไทยหากมีภัยรุกราน


แต่ที่ ดร.ถนัดได้ชื่อว่าเป็น "มิสเตอร์อาเซียน" ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมแรกของประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยมีไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพียงสามประเทศก่อตั้งสมาคมอาสา ( ASA&nbsp;:&nbsp; Association of South east Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 สมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานี้ในบรรดาผู้ที่ร่วมก่อตั้งเหลือ ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่เพียงท่านเดียว
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; แต่ที่ ดร.ถนัดได้ชื่อว่าเป็น "มิสเตอร์อาเซียน" ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมแรกของประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยมีไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพียงสามประเทศก่อตั้งสมาคมอาสา ( ASA&nbsp;:&nbsp; Association of South east Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 สมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานี้ในบรรดาผู้ที่ร่วมก่อตั้งเหลือ ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่เพียงท่านเดียว


ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่านเหตุการณ์กรณีเขาพระวิหาร ที่ไทยแพ้คดีมาด้วยจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 หัวหน้ารัฐบาล คือจอมพล สฤษดิ์ฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ดร.ถนัด ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรัฐบาลเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในเดือนมิถุนายน และ การเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ตอนนั้นจอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคสหประชาไทย ส่งนักการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และก็ชนะได้เสียงข้างมากเข้ามาตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ยังเป็นของ ดร.ถนัด คอมันตร์ โดยไม่เปลี่ยนแปลง
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่านเหตุการณ์กรณีเขาพระวิหาร ที่ไทยแพ้คดีมาด้วยจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 หัวหน้ารัฐบาล คือจอมพล สฤษดิ์ฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ดร.ถนัด ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรัฐบาลเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในเดือนมิถุนายน และ การเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ตอนนั้นจอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคสหประชาไทย ส่งนักการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และก็ชนะได้เสียงข้างมากเข้ามาตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ยังเป็นของ ดร.ถนัด คอมันตร์ โดยไม่เปลี่ยนแปลง


ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร นี่เอง ที่รัฐมนตรี ถนัดได้ร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่กรุงเทพ เมืองหลวงของประเทศไทย ออกปฏิญญากรุงเทพ ตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ดังนั้นเรื่องความเป็นมาของประชาคมอาเซียน ผู้ที่รู้ดีตั้งแต่ต้นคือ ดร. ถนัด คอมันตร์ การเป็นรัฐมนตรีที่ไม่กลัวสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นที่รู้กันพอสมควร ดังที่มีเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ประท้วงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2514 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 คนได้โกนหัวประท้วงรัฐมนตรีถนัด ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าหน้ารัฐสภา อ้างว่าท่านไม่ปฏิบัติตามมติของสภา ความเป็นมาของเรื่องก็คือมี ส.ส.ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และนายกฯมอบหมายให้รัฐมนตรีถนัดมาตอบแทนท่าน ตอนที่ตอบท่านรัฐมนตรีได้บอกว่าถ้อยคำในกระทู้บางส่วนนั้นมีลักษณะเป็นการใส่ร้าย ท่านจึงยกข้อบังคับสภาและตั้งข้อสังเกตว่าประธานไม่ควรอนุญาตให้เป็นกระทู้ จึงมีการประท้วงกันในสภาจนมาถึงขั้นโกนหัวกันที่หน้าสภาด้วย แต่ท่านก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คือวันที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ยึดอำนาจล้มรัฐบาลตัวเองและล้มรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรีถนัดจึงเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกันมานานประมาณ 13. ปี นับว่าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร นี่เอง ที่รัฐมนตรี ถนัดได้ร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่กรุงเทพ เมืองหลวงของประเทศไทย ออกปฏิญญากรุงเทพ ตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ดังนั้นเรื่องความเป็นมาของประชาคมอาเซียน ผู้ที่รู้ดีตั้งแต่ต้นคือ ดร. ถนัด คอมันตร์ การเป็นรัฐมนตรีที่ไม่กลัวสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นที่รู้กันพอสมควร ดังที่มีเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ประท้วงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2514 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 คนได้โกนหัวประท้วงรัฐมนตรีถนัด ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าหน้ารัฐสภา อ้างว่าท่านไม่ปฏิบัติตามมติของสภา ความเป็นมาของเรื่องก็คือมี ส.ส.ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และนายกฯมอบหมายให้รัฐมนตรีถนัดมาตอบแทนท่าน ตอนที่ตอบท่านรัฐมนตรีได้บอกว่าถ้อยคำในกระทู้บางส่วนนั้นมีลักษณะเป็นการใส่ร้าย ท่านจึงยกข้อบังคับสภาและตั้งข้อสังเกตว่าประธานไม่ควรอนุญาตให้เป็นกระทู้ จึงมีการประท้วงกันในสภาจนมาถึงขั้นโกนหัวกันที่หน้าสภาด้วย แต่ท่านก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คือวันที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ยึดอำนาจล้มรัฐบาลตัวเองและล้มรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรีถนัดจึงเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกันมานานประมาณ 13. ปี นับว่าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด


ต่อมาเมื่อจอมพลถนอมตั้งรัฐบาลตอนปลายปี พ.ศ.2515 &nbsp;ดร.ถนัด ก็ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล มีคนเล่ากันว่าเพราะปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอมชุดก่อนได้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐมนตรีถนัดกับอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ออกไปเป็นทูตประจำสหรัฐฯ แต่ ดร.ถนัดก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นด้วย
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ต่อมาเมื่อจอมพลถนอมตั้งรัฐบาลตอนปลายปี พ.ศ.2515 &nbsp;ดร.ถนัด ก็ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล มีคนเล่ากันว่าเพราะปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอมชุดก่อนได้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐมนตรีถนัดกับอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ออกไปเป็นทูตประจำสหรัฐฯ แต่ ดร.ถนัดก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นด้วย


ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ ''"''''14 ตุลาคม 2516"'''''<b>ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ดร.ถนัด จึงไม่ได้อยู่ในคณะรัฐบาล และในช่วงที่บรรยากาศประชาธิปไตยบานเต็มเวียง จนมาถึงวันสลดใจเพราะคนไทยฆ่ากันเองตอนปลายปี 2519 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปลายปี 2521 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2521 และเตรียมที่จะมีการเลือกตั้งในปีถัดมา เวลานั้นอาจมีคนคิดว่าดร.ถนัด คอมันตร์ คงจะยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ดร.ถนัด กลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีกครั้ง โดยลงสมัครเข้าแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพ ที่ทำให้คนแปลกใจคือท่านอยู่ในกลุ่มประชาธิปัตย์หรือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองจึงยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ พรรคประชาธิปัตย์นี้เคยเป็นพรรคที่มีความขัดแย้งกับท่านมาก่อนตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนั้นกลุ่มประชาธิปัตย์แพ้เรียบในกรุงเทพ มี ดร.ถนัดคนเดียวเท่านั้นที่ชนะได้ในกรุงเทพ</b>
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ ''"''''14 ตุลาคม 2516"'''''<b>ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ดร.ถนัด จึงไม่ได้อยู่ในคณะรัฐบาล และในช่วงที่บรรยากาศประชาธิปไตยบานเต็มเวียง จนมาถึงวันสลดใจเพราะคนไทยฆ่ากันเองตอนปลายปี 2519 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปลายปี 2521 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2521 และเตรียมที่จะมีการเลือกตั้งในปีถัดมา เวลานั้นอาจมีคนคิดว่าดร.ถนัด คอมันตร์ คงจะยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ดร.ถนัด กลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีกครั้ง โดยลงสมัครเข้าแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพ ที่ทำให้คนแปลกใจคือท่านอยู่ในกลุ่มประชาธิปัตย์หรือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองจึงยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ พรรคประชาธิปัตย์นี้เคยเป็นพรรคที่มีความขัดแย้งกับท่านมาก่อนตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนั้นกลุ่มประชาธิปัตย์แพ้เรียบในกรุงเทพ มี ดร.ถนัดคนเดียวเท่านั้นที่ชนะได้ในกรุงเทพ</b>


วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ดร.ถนัดก็ทำให้คนที่สนใจการเมืองได้ทึ่งอีก เพราะพรรคประชาธิปัตย์เลือกท่านเป็นหัวหน้าพรรค ชนะคนที่เข้าพรรคมาก่อนท่านหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ท่านจึงได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจึงถือได้ว่าท่านเล่นการเมืองโดยแท้ ลงเลือกตั้งเดินหาเสียงกับชาวกรุงและสังกัดพรรคการเมืองจริงจัง ดร.ถนัด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลต่อมา ครั้นถึง พ.ศ.2525 เมื่อพ้นภาระจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ท่านก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล แต่ก็ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อมาจนมีการยุบสภาในปี 2526&nbsp; ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ตามมา ท่านก็มิได้สมัครเข้าแข่งขัน และก็มิได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใด จึงเป็นการเลิกเล่นการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2526 ตอนนั้นท่านอายุ 69 ปี
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ดร.ถนัดก็ทำให้คนที่สนใจการเมืองได้ทึ่งอีก เพราะพรรคประชาธิปัตย์เลือกท่านเป็นหัวหน้าพรรค ชนะคนที่เข้าพรรคมาก่อนท่านหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ท่านจึงได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจึงถือได้ว่าท่านเล่นการเมืองโดยแท้ ลงเลือกตั้งเดินหาเสียงกับชาวกรุงและสังกัดพรรคการเมืองจริงจัง ดร.ถนัด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลต่อมา ครั้นถึง พ.ศ.2525 เมื่อพ้นภาระจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ท่านก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล แต่ก็ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อมาจนมีการยุบสภาในปี 2526&nbsp; ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ตามมา ท่านก็มิได้สมัครเข้าแข่งขัน และก็มิได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใด จึงเป็นการเลิกเล่นการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2526 ตอนนั้นท่านอายุ 69 ปี


ท่านอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้นี้ แม้จะไม่ได้เรียนมาทางทหารและไม่เคยเป็นนายทหารมาก่อน แต่ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ท่านได้รับยศทางทหารเป็น ''"พันเอก(พิเศษ)"'' เป็นการได้ยศครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เรื่องการได้ยศทหารนี้มีเรื่องเล่าขอเก็บมาเล่าต่อว่า
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ท่านอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้นี้ แม้จะไม่ได้เรียนมาทางทหารและไม่เคยเป็นนายทหารมาก่อน แต่ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ท่านได้รับยศทางทหารเป็น ''"พันเอก(พิเศษ)"'' เป็นการได้ยศครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เรื่องการได้ยศทหารนี้มีเรื่องเล่าขอเก็บมาเล่าต่อว่า


'''''"เมื่อครั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรีและดร.ถนัด คอมันตร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บางครั้งมีความเห็นไม่ตรงกันและ ดร.ถนัด คอมันตร์ ก็จะยืนกรานไม่ยอมเปลี่ยนความเห็น จอมพล สฤษดิ์ จึงแก้เคล็ดโดยการขอพระราชทานยศทหารให้เพื่อว่าเมื่อมียศทหารแล้ว ก็จะต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา.."'''''
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; '''"เมื่อครั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรีและดร.ถนัด คอมันตร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บางครั้งมีความเห็นไม่ตรงกันและ ดร.ถนัด คอมันตร์ ก็จะยืนกรานไม่ยอมเปลี่ยนความเห็น จอมพล สฤษดิ์ จึงแก้เคล็ดโดยการขอพระราชทานยศทหารให้เพื่อว่าเมื่อมียศทหารแล้ว ก็จะต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา.."'''


วันนี้ ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตนักการทูต และนักการเมืองเรืองนาม ผู้ครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยนานที่สุด ท่านมีอายุ 101 ปีแล้ว และเป็นผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียนเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; วันนี้ ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตนักการทูต และนักการเมืองเรืองนาม ผู้ครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยนานที่สุด ท่านมีอายุ 101 ปีแล้ว และเป็นผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียนเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
 
&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; ถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.49 น. ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้&nbsp;101 ปี
 
[[Category:บุคคลสำคัญทางการเมือง]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:57, 6 ธันวาคม 2560

ผู้แต่ง : ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


ถนัด คอมันตร์ :รัฐมนตรีต่างประเทศนานที่สุด

         วันนี้ใครไม่คุยเรื่องประชาคมอาเซียน ก็อาจดูว่าไม่ค่อยจะทันสมัย แต่อาจมีคนน้อยคนที่ทราบว่านักการเมืองไทยที่มีส่วนเป็นตัวจักรสำคัญในการก่อตั้งประชาคมอาเซียนมาเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษนั้นยังมีชีวิตอยู่ พ.อ.(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้เรืองนามของนายกรัฐมนตรี สองจอมพล คือทั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพล ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีถนัด คอมันตร์ ผู้นี้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ร่วมเวลากันแล้วนับว่านานที่สุด

          แม้ท่านจะเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองแบบสมัครเล่น ด้วยว่าไม่ได้เข้าพรรคการเมืองหรือลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งก็ตาม แต่เส้นทางทางการเมืองของ ดร. ถนัด คอมันตร์ ก็ไม่ธรรมดา เมื่อเห็นนามสกุลของท่านอาจมีคนอยากรู้ที่มาว่าเป็นมาอย่างไร
          ดร.ถนัด คอมันตร์ เป็นบุตรของ พระยาพิพากษาสัตยาธิปไตย (โป๋) กับคุณหญิงถนอม ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2457 ส่วนนามสกุลของท่านนั้นในหนังสื่อชื่อ "แด่พ่อที่รักลูก" ที่พิมพ์ออกมาในโอกาส 100 ปี ของ ดร.ถนัดนั้นมีคำอธิบายเรื่องนี้เอาไว้ยาว ขอยกมาให้ดูเพียงส่วนเดียวว่า

          3.'คอ' มาจาก 'โค้ว' เนื่องจากบรรพบุรุษเป็นชาวจีนแซ่โค้วซึ่งเดินทางมากับเรือสำเภาจากประเทศจีน มาทำการค้าขายในประเทศสยามตอนต้นยุครัตนโกสินทร์ แต่งงานกับสาวชาวไทย มีลูกหลานไทย และบิดาของนายโป๋ มีนามว่า 'มัน'จึงพ้องกับคำว่า 'มันตร์' หมายถึง มันตรา หรือการสวดภาวนา 'คอมันตร์' จึงหมายถึง 'การสวดภาวนาเพื่อสิริมงคลแด่ต้นตระกูล'

          ที่จริงยังมีคำอธิบายถึงที่มาของคำ "คอมันตร์" อีกสองทาง ที่จะหาอ่านได้จากหนังสือข้างต้น  ดร.ถนัด เป็นคนเรียนหนังสือเก่ง ไปเรียนเมืองนอกที่ฝรั่งเศสตั้งแต่วัยเด็ก เมื่ออายุเพียง 14 ปี ตอนแรกเรียนด้วยทุนพ่อ ต่อมา ในช่วงอุดมศึกษาชิงทุนหลวงได้ ท่านศึกษาจบปริญญาเอกที่เรียกว่า "ดอกเตอร์อังดรัวต์" ของรัฐ จากมหาวิทยาลัยปารีส และกลับมารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ที่ทำงานเก่ง คนในกระทรวงรู้จักดี จึงได้เลื่อนตำแหน่งเร็ว อายุเพียง 40 กว่าๆก็ได้ไปเป็นทูตไทยอยู่ที่กรุงวอชิงตันแล้ว และการที่เป็นทูตไทยอยู่ที่สหรัฐอเมริกานั่นเองจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ท่านเข้ามาเป็นนักการเมืองที่หลายคนนึกว่า "ชั่วคราว" เพราะท่านได้พบปะและคงมีโอกาสได้ให้ความเห็นกับนายทหารคนสำคัญที่ช่วงนั้นไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลวอเตอร์รีด ในกรุงวอชิงตัน นายทหารท่านนี้ได้แก่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เมื่อ พ.ศ.2501

          จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ กลับจากรักษาตัวที่สหรัฐฯ มาเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ ยึดอำนาจครั้งที่ 2 ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501 และตั้งรัฐบาลที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เองเป็นนายกรัฐมนตรี ในตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ2502 ครั้งนั้นผู้คนในวงการการเมืองจึงได้ยินชื่อ ดร.ถนัด คอมันตร์ มากขึ้น เพราะท่านได้เข้าร่วมรัฐบาลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากอดีตทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกามาเป็นรัฐมนตรีดูงานเรื่องการเมืองต่างประเทศในช่วงเวลาสงครามเย็นในโลกที่แบ่งออกเป็นสองค่ายใหญ่ๆ ในโลก คือค่ายตะวันตกที่ไม่เป็นคอมมูนิสต์ มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ กับค่ายคอมมูนิสต์ ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ทั้งยังมีกลุ่มโลกที่สามแสดงตัวไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ทางพวกตะวันตกก็ไม่อยากเข้า ทางคอมมูนิสต์ก็ยังไม่อยากเป็น ทำตัวอยู่กลางๆ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นรัฐมนตรีสำคัญที่นายกรัฐมนตรีเลือกมาอย่างเหมาะสม

          จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นั้นเป็นผู้นำที่รู้จักเลือกคนมาทำงานเป็นอย่างดี รัฐบาลของท่านนั้นเลือกเอานักปฏิบัติการที่มักเรียกกันว่า "เทคโนแครต" ในวงราชการให้มาทำงานการเมือง ครั้งนั้นท่านยังเอาทูตไทยอีก 2 ประเทศนอกจาก ดร.ถนัดมาเป็นรัฐมนตรี และมีขุนนางเก่าชื่อดีอย่างพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ พระบำราษนราดูรย์ พระประกาศสหกรณ์ และคนเด่นอีกบางคนมาเป็นรัฐมนตรี ดร.ถนัด คอมันตร์ นั้น ความที่เป็นผู้มีความรู้ดีและมือสะอาดจึงไม่ค่อยกลัวใคร รวมทั้งนักการเมืองฝ่ายค้านและนักข่าวหนังสือพิมพ์ ฝ่ายค้านที่สำคัญและค้านจริงในตอนนั้นคือพรรคประชาธิปัตย์ ถึงขนาดบางคราวท่านได้แนะนำนักข่าวที่มาถามท่านผิดๆถูกๆให้ไปหาข้อมูลเสียก่อน บางคนให้ฉายาท่านว่า "เทวดา" ก็มี การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในเวลานั้นถือได้ว่าใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามาก ก่อนหน้าที่ท่านจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ได้มีการตั้งองค์การป้องกันร่วมกันของประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศมหาอำนาจตะวันตกที่เรียกเป็นภาษาไทยว่าองค์การ ส.ป.อ. หรือภาษาอังกฤษว่า "ซีโต้" แต่ความเชื่อในเรื่องภัยคอมมูนิสต์ก็มีอยู่มาก จึงมีข้อตกลงสำคัญระหว่างไทยกับอเมริกัน ที่เรียกว่าข้อตกลงถนัด-รัสค์ ที่รัฐมนตรีของสองประเทศเป็นผู้ทำ โดยสหรัฐฯให้คำมั่นจะช่วยไทยหากมีภัยรุกราน

          แต่ที่ ดร.ถนัดได้ชื่อว่าเป็น "มิสเตอร์อาเซียน" ก็เพราะท่านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสมาคมแรกของประเทศในภูมิภาคอาเซียนนี้ โดยมีไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เพียงสามประเทศก่อตั้งสมาคมอาสา ( ASA :  Association of South east Asia) ขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 สมัยที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เวลานี้ในบรรดาผู้ที่ร่วมก่อตั้งเหลือ ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่เพียงท่านเดียว

          ดร.ถนัด คอมันตร์ อยู่ร่วมรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผ่านเหตุการณ์กรณีเขาพระวิหาร ที่ไทยแพ้คดีมาด้วยจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506 หัวหน้ารัฐบาล คือจอมพล สฤษดิ์ฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ครั้นจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา ดร.ถนัด ก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรัฐบาลเรื่อยมา จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2511 ในเดือนมิถุนายน และ การเลือกตั้งทั่วไปในปีถัดมา ตอนนั้นจอมพล ถนอม กิตติขจร ตั้งพรรคการเมืองชื่อพรรคสหประชาไทย ส่งนักการเมืองลงสมัครเข้ารับเลือกตั้งอย่างเต็มที่ และก็ชนะได้เสียงข้างมากเข้ามาตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ยังเป็นของ ดร.ถนัด คอมันตร์ โดยไม่เปลี่ยนแปลง

          ในรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร นี่เอง ที่รัฐมนตรี ถนัดได้ร่วมประชุมกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่กรุงเทพ เมืองหลวงของประเทศไทย ออกปฏิญญากรุงเทพ ตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ดังนั้นเรื่องความเป็นมาของประชาคมอาเซียน ผู้ที่รู้ดีตั้งแต่ต้นคือ ดร. ถนัด คอมันตร์ การเป็นรัฐมนตรีที่ไม่กลัวสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นเป็นที่รู้กันพอสมควร ดังที่มีเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ประท้วงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2514 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 คนได้โกนหัวประท้วงรัฐมนตรีถนัด ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าหน้ารัฐสภา อ้างว่าท่านไม่ปฏิบัติตามมติของสภา ความเป็นมาของเรื่องก็คือมี ส.ส.ตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ และนายกฯมอบหมายให้รัฐมนตรีถนัดมาตอบแทนท่าน ตอนที่ตอบท่านรัฐมนตรีได้บอกว่าถ้อยคำในกระทู้บางส่วนนั้นมีลักษณะเป็นการใส่ร้าย ท่านจึงยกข้อบังคับสภาและตั้งข้อสังเกตว่าประธานไม่ควรอนุญาตให้เป็นกระทู้ จึงมีการประท้วงกันในสภาจนมาถึงขั้นโกนหัวกันที่หน้าสภาด้วย แต่ท่านก็ยังคงเป็นรัฐมนตรีต่อมาจนถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514 คือวันที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ยึดอำนาจล้มรัฐบาลตัวเองและล้มรัฐธรรมนูญ รัฐมนตรีถนัดจึงเป็นรัฐมนตรีต่อเนื่องกันมานานประมาณ 13. ปี นับว่าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด

          ต่อมาเมื่อจอมพลถนอมตั้งรัฐบาลตอนปลายปี พ.ศ.2515  ดร.ถนัด ก็ไม่ได้เข้าร่วมรัฐบาล มีคนเล่ากันว่าเพราะปลายสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอมชุดก่อนได้มีการขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างรัฐมนตรีถนัดกับอดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลที่ออกไปเป็นทูตประจำสหรัฐฯ แต่ ดร.ถนัดก็ยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในตอนนั้นด้วย

          ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ "'14 ตุลาคม 2516"ที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนล้มรัฐบาลของจอมพลถนอม ดร.ถนัด จึงไม่ได้อยู่ในคณะรัฐบาล และในช่วงที่บรรยากาศประชาธิปไตยบานเต็มเวียง จนมาถึงวันสลดใจเพราะคนไทยฆ่ากันเองตอนปลายปี 2519 จนเวลาล่วงเลยมาถึงปลายปี 2521 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ.2521 และเตรียมที่จะมีการเลือกตั้งในปีถัดมา เวลานั้นอาจมีคนคิดว่าดร.ถนัด คอมันตร์ คงจะยุติบทบาททางการเมืองไปแล้ว แต่การณ์กลับตรงกันข้าม ดร.ถนัด กลับเข้ามาสู่วงการเมืองอีกครั้ง โดยลงสมัครเข้าแข่งขันเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพ ที่ทำให้คนแปลกใจคือท่านอยู่ในกลุ่มประชาธิปัตย์หรือพรรคประชาธิปัตย์นั่นเอง ตอนนั้นยังไม่มีกฎหมายพรรคการเมืองจึงยังไม่ยอมให้มีพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการ พรรคประชาธิปัตย์นี้เคยเป็นพรรคที่มีความขัดแย้งกับท่านมาก่อนตอนที่ท่านเป็นรัฐมนตรี การเลือกตั้งครั้งนั้นกลุ่มประชาธิปัตย์แพ้เรียบในกรุงเทพ มี ดร.ถนัดคนเดียวเท่านั้นที่ชนะได้ในกรุงเทพ

          วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ดร.ถนัดก็ทำให้คนที่สนใจการเมืองได้ทึ่งอีก เพราะพรรคประชาธิปัตย์เลือกท่านเป็นหัวหน้าพรรค ชนะคนที่เข้าพรรคมาก่อนท่านหลายคน ด้วยเหตุนี้เมื่อต่อมาพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาล ท่านจึงได้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลที่มีพลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจึงถือได้ว่าท่านเล่นการเมืองโดยแท้ ลงเลือกตั้งเดินหาเสียงกับชาวกรุงและสังกัดพรรคการเมืองจริงจัง ดร.ถนัด เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเป็นรองนายกรัฐมนตรีอยู่ในรัฐบาลต่อมา ครั้นถึง พ.ศ.2525 เมื่อพ้นภาระจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ท่านก็พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล แต่ก็ยังเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอยู่ต่อมาจนมีการยุบสภาในปี 2526  ในการเลือกตั้งทั่วไปที่ตามมา ท่านก็มิได้สมัครเข้าแข่งขัน และก็มิได้เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นใด จึงเป็นการเลิกเล่นการเมืองตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ.2526 ตอนนั้นท่านอายุ 69 ปี

          ท่านอดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศผู้นี้ แม้จะไม่ได้เรียนมาทางทหารและไม่เคยเป็นนายทหารมาก่อน แต่ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ท่านได้รับยศทางทหารเป็น "พันเอก(พิเศษ)" เป็นการได้ยศครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เรื่องการได้ยศทหารนี้มีเรื่องเล่าขอเก็บมาเล่าต่อว่า

          "เมื่อครั้งจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรีและดร.ถนัด คอมันตร์เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บางครั้งมีความเห็นไม่ตรงกันและ ดร.ถนัด คอมันตร์ ก็จะยืนกรานไม่ยอมเปลี่ยนความเห็น จอมพล สฤษดิ์ จึงแก้เคล็ดโดยการขอพระราชทานยศทหารให้เพื่อว่าเมื่อมียศทหารแล้ว ก็จะต้องทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา.."

          วันนี้ ดร.ถนัด คอมันตร์ อดีตนักการทูต และนักการเมืองเรืองนาม ผู้ครองตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยนานที่สุด ท่านมีอายุ 101 ปีแล้ว และเป็นผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียนเพียงคนเดียวที่ยังมีชีวิตอยู่

          ถึงแก่อสัญกรรมเนื่องจากหลอดเลือดสมองตีบ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.49 น. ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี สิริอายุได้ 101 ปี