ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำดับเหตุการณ์ในพระราชประวัติโดยสังเขป"
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 55: | บรรทัดที่ 55: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยฯ ธรรมราชาทรงศึกษาที่[[วิทยาลัยอีตัน]] (Eton College) โรงเรียนมัธยมชั้นเอกอุของประเทศอังกฤษ ประทับที่สำนักของนายแฮร์ (Mr. J. H.M. Hare) จนทรงสำเร็จการศึกษา | สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยฯ ธรรมราชาทรงศึกษาที่[[วิทยาลัยอีตัน|วิทยาลัยอีตัน]] (Eton College) โรงเรียนมัธยมชั้นเอกอุของประเทศอังกฤษ ประทับที่สำนักของนายแฮร์ (Mr. J. H.M. Hare) จนทรงสำเร็จการศึกษา | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 113: | บรรทัดที่ 113: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงพระฉายา “[[ปชาธิโป]]” แล้วเสด็จประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างนั้นทรงพระนิพนธ์เรียงความแก้กระทู้ธรรมรวม ๖ เรื่อง ทรงได้รับรางวัล ๓ เรื่อง ทรงลาพระผนวชแล้วทรงรับราชการทหารต่อไป | ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงพระฉายา “[[ปชาธิโป|ปชาธิโป]]” แล้วเสด็จประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างนั้นทรงพระนิพนธ์เรียงความแก้กระทู้ธรรมรวม ๖ เรื่อง ทรงได้รับรางวัล ๓ เรื่อง ทรงลาพระผนวชแล้วทรงรับราชการทหารต่อไป | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 120: | บรรทัดที่ 120: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ทรงอภิเษกสมรส กับ[[หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี_สวัสดิวัตน์]] ณ [[พระที่นั่งวโรภาษพิมาน|พระที่นั่งวโรภาษพิมาน ]][[พระราชวังบางปะอิน]]แล้วทั้งสองพระองค์ เสด็จไปประทับที่[[วังศุโขทัย]] สามเสน | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ทรงอภิเษกสมรส กับ[[หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี_สวัสดิวัตน์|หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี_สวัสดิวัตน์]] ณ [[พระที่นั่งวโรภาษพิมาน|พระที่นั่งวโรภาษพิมาน ]][[พระราชวังบางปะอิน|พระราชวังบางปะอิน]]แล้วทั้งสองพระองค์ เสด็จไปประทับที่[[วังศุโขทัย|วังศุโขทัย]] สามเสน | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 162: | บรรทัดที่ 162: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาท จึงต้องทรงศึกษาราชการแผ่นดิน และทรงปฏิบัติราชการแทนพระองค์เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ประทับอยู่นอกพระนคร ทรงสั่งหนังสือราชการแทนพระองค์และประทับเป็นประธานในที่ประชุมเสนาบดีสภาด้วย | ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาท จึงต้องทรงศึกษาราชการแผ่นดิน และทรงปฏิบัติราชการแทนพระองค์เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ประทับอยู่นอกพระนคร ทรงสั่งหนังสือราชการแทนพระองค์และประทับเป็นประธานในที่ประชุมเสนาบดีสภาด้วย | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 169: | บรรทัดที่ 169: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนกรมเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา | ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนกรมเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ [[กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา|กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา]] | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 183: | บรรทัดที่ 183: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
โปรดเกล้าฯ | โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[[อภิรัฐมนตรีสภา|อภิรัฐมนตรีสภา]]เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 192: | บรรทัดที่ 192: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระชายาเป็น | พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระชายาเป็น [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี_พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี_พระบรมราชินี]] เสด็จไปประทับที่[[พระที่นั่งอัมพรสถาน|พระที่นั่งอัมพรสถาน]] [[พระราชวังดุสิต|พระราชวังดุสิต]] | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 208: | บรรทัดที่ 208: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
พระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) ทูลเกล้าฯ ถวายตอบพระราชบันทึกเรื่อง “Problems of Siam” (ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑) | [[พระยากัลยาณไมตรี|พระยากัลยาณไมตรี]] (Dr. Francis B. Sayre) ทูลเกล้าฯ ถวายตอบพระราชบันทึกเรื่อง “Problems of Siam” (ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑) | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 215: | บรรทัดที่ 215: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
ทรงพระราชดำริเรื่อง[[เทศบาล|เทศบาล]] (Municipality) เพื่อส่งเสริมการ[[ปกครองตนเอง|ปกครองตนเอง]]ในระดับท้องถิ่น และได้โปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาเรื่องนี้ต่อเนื่องมาจนสำเร็จเป็นร่าง[[พระราชบัญญัติเทศบาล|พระราชบัญญัติเทศบาล]] ส่งให้กรมร่างกฎหมาย เมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ แต่ได้ค้างอยู่ที่นั่นเรื่อยมาจนกระทั่งหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] เมื่อ [[24_มิถุนายน_พ.ศ._2475|๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕]] จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๖ | |||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 229: | บรรทัดที่ 229: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
ตรา[[พระราชบัญญัติองคมนตรี|พระราชบัญญัติองคมนตรี]] พุทธศักราช ๒๔๗๐ จัดตั้ง[[สภากรรมการองคมนตรีฝึกหัดการนิติบัญญัติ|สภากรรมการองคมนตรีฝึกหัดการนิติบัญญัติ]] | |||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 250: | บรรทัดที่ 250: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
ตรา[[พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน_พุทธศักราช_๒๔๗๑|พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน_พุทธศักราช_๒๔๗๑]] | |||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 257: | บรรทัดที่ 257: | ||
|- | |- | ||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้น[[พระตำหนักเปี่ยมสุข_สวนไกลกังวล_หัวหิน|พระตำหนักเปี่ยมสุข_สวนไกลกังวล_หัวหิน]] | |||
| style="width:308px;" | | | style="width:308px;" | | ||
บรรทัดที่ 473: | บรรทัดที่ 473: | ||
ตัดทอนและปรับปรุงแก้ไขจาก ลำดับเหตุการณ์ในพระชนมชีพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗. ใน''ประชาธิปก-รำไพพรรณีรชสดุดี (เอกสารประกอบสื่อโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗)''. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประสานงานกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๔๙. หน้า ๔๓-๕๗ ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้จัดทำขึ้นในโอกาสนั้นในฐาน''ะ''รองประธานกรรมการฯ | ตัดทอนและปรับปรุงแก้ไขจาก ลำดับเหตุการณ์ในพระชนมชีพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗. ใน''ประชาธิปก-รำไพพรรณีรชสดุดี (เอกสารประกอบสื่อโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗)''. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประสานงานกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๔๙. หน้า ๔๓-๕๗ ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้จัดทำขึ้นในโอกาสนั้นในฐาน''ะ''รองประธานกรรมการฯ | ||
[[Category:พระปกเกล้าศึกษา]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:32, 19 กรกฎาคม 2560
เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ ม.ร.ว. พฤทธิสาณ ชุมพล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รองศาสตราจารย์ ดร.สนธิ เตชานันท์
เหตุการณ์ |
ปี พ.ศ. เมษายน = ต้นปี (นับ ๑ เมษายนเป็นต้นปี พ.ศ.) |
---|---|
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชสมภพ เป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ |
วันพุธที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๔๓๖ ปีมะเส็ง (ร.ศ. ๑๑๒) |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ เข้าพระราชพิธีโสกันต์ เฉลิมพระนามเป็น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชา |
๔ มีนาคม ๒๔๔๙ (พระชันษา ๑๒ ปี) |
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยธรรมราชาเสด็จออกไปทรงศึกษาต่อ ณ ทวีปยุโรป |
๑๘ กรกฎาคม ๒๔๔๙ |
เสด็จถึงกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ประทับทรงศึกษาอยู่ ๔ เดือน |
๑๗ สิงหาคม ๒๔๔๙ |
เสด็จถึงประเทศอังกฤษ ประทับศึกษาอยู่กับครอบครัวชาวอังกฤษของนาย เบล (Mr. C.W. Bell) ใกล้เมืองเลดเบอรี่ (Ledbury) มีนายโคลแมน (Mr. Coleman) เป็นพระอาจารย์ |
๗ มกราคม ๒๔๔๙
|
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนศุโขไทยฯ ธรรมราชาทรงศึกษาที่วิทยาลัยอีตัน (Eton College) โรงเรียนมัธยมชั้นเอกอุของประเทศอังกฤษ ประทับที่สำนักของนายแฮร์ (Mr. J. H.M. Hare) จนทรงสำเร็จการศึกษา |
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๓ |
เสด็จกลับมาทรงร่วมในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
มีนาคม ๒๔๕๓ |
เสด็จกลับไปประเทศอังกฤษ ทางประเทศญี่ปุ่นและรถไฟสายทรานส์ไซบีเรีย |
กันยายน ๒๔๕๓ |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ ทรงศึกษา ณ โรงเรียนนายร้อยทหารเมืองวูลลิช (Royal Military Academy, Woolwich) จนทรงสำเร็ขการศึกษา |
พ.ศ. ๒๔๕๔ ถึง ธันวาคม ๒๔๕๖ (พระชันษา ๒๐ปี) |
เสด็จเข้าประจำการ เป็นนายร้อยตรีกิติมศักดิ์ในกองทหารปืนใหญ่ม้าของอังกฤษที่เมืองออลเดอร์ชอต (Aldershot) |
กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖ ถึง กันยายน ๒๔๕๗ |
สงครามโลกครั้งที่ ๑ อุบัติขึ้น ต้องพระราชประสงค์ที่จะเสด็จไปร่วมรบเยี่ยงทหารอังกฤษ แต่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ ๕ (King George V) ไม่อาจสนองพระประสงค์ได้ เพราะทรงเป็นพลเมืองของประเทศที่เป็นกลางในสงครามอยู่ในขณะนั้น |
พ.ศ. ๒๔๕๗
|
เสด็จไปทูลลาสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ ๕ ที่พระราชวังบัคคิงแฮม เพื่อเสด็จกลับสยาม รวมประทับที่อังกฤษ ๘ ปี |
๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๗ |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ นิวัติถึงพระนครจากอังกฤษ ทรงเข้ารับราชการทหารบก พระยศร้อยโท นายทหารคนสนิทของ จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ องค์เสนาธิการทหารบก ต่อมาทรงเป็นผู้บังคับการกองร้อยทหารปืนใหญ่รักษาพระองค์ พระยศนายร้อยเอก แล้วทรงเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ กรมบัญชาการ กองทัพน้อยที่ ๒ พระยศนายพันตรีและผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ในช่วงนี้ประทับที่วังท่าเตียนของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ |
๒๐ เมษายน ๒๔๕๘ ถึง มิถุนายน ๒๔๖๐ |
ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงพระฉายา “ปชาธิโป” แล้วเสด็จประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ระหว่างนั้นทรงพระนิพนธ์เรียงความแก้กระทู้ธรรมรวม ๖ เรื่อง ทรงได้รับรางวัล ๓ เรื่อง ทรงลาพระผนวชแล้วทรงรับราชการทหารต่อไป |
๒๗ มิถุนายน ๒๔๖๐ ถึง ตุลาคม ๒๔๖๐ |
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนศุโขไทยธรรมราชา ทรงอภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี_สวัสดิวัตน์ ณ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน พระราชวังบางปะอินแล้วทั้งสองพระองค์ เสด็จไปประทับที่วังศุโขทัย สามเสน |
๒๖ สิงหาคม ๒๔๖๑ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ พระชันษา ๒๕ ปี หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระชันษา ๑๔ ปี |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ เสด็จไปประเทศฝรั่งเศสพร้อมด้วยหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี พระชายา ไปทรงรับการรักษาพระองค์ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี และกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสผ่านประเทศอียิปต์ |
๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓ เสด็จถึงยุโรป พฤษภาคม ๒๔๖๔ ประทับรักษาอาการพระประชวรพระโรคไข้ส่า (Dengue fever) และโรคบิด ประมาณ ๖ สัปดาห์ |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ ทรงศึกษาวิชาการทหารเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส โดยได้เสด็จไปประจำกองพันน้อยที่ ๒๐ (20 Corps d’ Armie) ณ เมืองนังซี (Nancy) กรมทหารราบที่ ๒๖ กองพันทหารปืนใหญ่ กองพันทหารม้า และทอดพระเนตรกองทหารอื่นๆ จนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๖๕ จึงเสด็จทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก (Ecole de Guerre) ที่กรุงปารีส โดยประทับอยู่ที่ตำบลแซงต์ คลูด์ (St. Cloud) นอกกรุงปารีสรวมทั้งเสด็จทรงซ้อมรบ ที่แคว้นนอร์มังดี (Normandy) ด้วย ทรงสำเร็จการศึกษาเป็นทหารชั้นนายพัน ในการนี้พระชายาได้ตามเสด็จไปโดยตลอด ซึ่งบางครั้งที่ประทับอยู่ในถิ่นทุรกันดาร |
๓ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ ถึง ๑๖ กันยายน ๒๔๖๗ |
ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ กลับสยามประเทศผ่านสหรัฐอเมริกา เช่น นิวยอร์ค และซานฟรานซิสโก และญี่ปุ่น |
๒๒ พฤศจิกายน ๒๔๖๗ (สหรัฐอเมริกา) ๒๒ พฤศจิกายน-๖ ธันวาคม ๒๔๖๗ |
ทั้งสองพระองค์เสด็จถึงพระนคร ประทับที่วังศุโขทัยตามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าฯ ทรงรับราชการในตำแหน่งปลัดกรมเสนาธิการทหารบก พระยศนายพันเอก |
ธันวาคม ๒๔๖๗ |
ทรงรับตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลทหารที่ ๒ และผู้บังคับการพิเศษ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๒ |
๒๔๖๘ |
ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาท จึงต้องทรงศึกษาราชการแผ่นดิน และทรงปฏิบัติราชการแทนพระองค์เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับอยู่นอกพระนคร ทรงสั่งหนังสือราชการแทนพระองค์และประทับเป็นประธานในที่ประชุมเสนาบดีสภาด้วย |
ต้น ๒๔๖๘ ถึง พฤศจิกายน ๒๔๖๘ |
ทรงได้รับสถาปนาเลื่อนกรมเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา |
๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ |
สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๘ (พระชนมพรรษา ๓๒ พรรษา) |
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอภิรัฐมนตรีสภาเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ |
๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
|
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาพระชายาเป็น สมเด็จพระนางเจ้ารำไพรรณี_พระบรมราชินี เสด็จไปประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต |
๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๘ (ร.๗ พระชนมพรรษา ๓๒ พรรษา. สมเด็จฯ พระชนมายุ ๒๑ พรรษา) |
เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ |
๖ มกราคม – ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๙
|
พระยากัลยาณไมตรี (Dr. Francis B. Sayre) ทูลเกล้าฯ ถวายตอบพระราชบันทึกเรื่อง “Problems of Siam” (ทูลเกล้าฯ ถวายร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๑) |
๒๗ กรกฎาคม ๒๔๖๙ |
ทรงพระราชดำริเรื่องเทศบาล (Municipality) เพื่อส่งเสริมการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น และได้โปรดเกล้าฯ ให้ศึกษาเรื่องนี้ต่อเนื่องมาจนสำเร็จเป็นร่างพระราชบัญญัติเทศบาล ส่งให้กรมร่างกฎหมาย เมื่อ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๓ แต่ได้ค้างอยู่ที่นั่นเรื่อยมาจนกระทั่งหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. ๒๔๗๖ |
๑๒ สิงหาคม ๒๔๖๙ |
เสด็จพระราชดำเนินหัวเมืองชายฝั่งตะวันออก |
๑๖ เมษายน – ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๐ |
ตราพระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ จัดตั้งสภากรรมการองคมนตรีฝึกหัดการนิติบัญญัติ |
๒ กันยายน ๒๔๗๐ |
เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี ครั้งที่ ๑ |
๑๔ เมษายน – ๑ พฤษภาคม ๒๔๗๑ |
เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลภูเก็ต |
๒๔ มกราคม – ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑ |
๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๑ (บังคับใช้ ๑ เมษายน ๒๔๗๒) | |
พระราชพิธีราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักเปี่ยมสุข_สวนไกลกังวล_หัวหิน |
๑๐-๑๒ เมษายน ๒๔๗๒ |
เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลปัตตานี ครั้งที่ ๒ (ทอดพระเนตรสุริยคราส) |
๕-๑๓ พฤษภาคม ๒๔๗๒ |
เสด็จพระราชดำเนินเยือนสิงคโปร์ ชวา บาหลี |
๓๑ กรกฎาคม – ๑๑ ตุลาคม ๒๔๗๒ |
เสด็จพระราชดำเนินเยือนอินโดจีนของฝรั่งเศส (เวียดนามและกัมพูชา) |
๖ เมษายน – ๘ พฤษภาคม ๒๔๗๓ |
ในคราวเสด็จฯ ไปเยือนสหรัฐอเมริกา เสด็จฯ เยือนญี่ปุ่น ฮ่องกง และเซี่ยงไฮ้ในระหว่างทาง |
๖-๙ เมษายน ๒๔๗๔ |
เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา และแคนาดา |
๒๘ เมษายน-๑๒ กันยายน ๒๔๗๔ |
มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ |
๓๐ เมษายน ๒๔๗๔ |
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงเข้ารับการผ่าตัดพระเนตรซ้ายครั้งแรกที่ Ophir Hall, White Plains มลรัฐนิวยอร์ค |
๑๐ พฤษภาคม ๒๔๗๔ |
Raymond B. Stevens และพระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ทูลเกล้าฯ ถวาย “ร่างรัฐธรรมนูญ” (ฉบับที่ ๒) |
๙ มีนาคม ๒๔๗๔ |
เสด็จฯ กลับผ่านญี่ปุ่น |
๒๖-๒๘ กันยายน ๒๔๗๔ |
พระราชพิธีเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี เปิดพระปฐมบรมราชานุสรณ์ และสะพานพุทธยอดฟ้า |
๖ เมษายน ๒๔๗๕ |
คณะราษฎรยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ขณะประทับอยู่ที่สวนไกลกังวล หัวหิน |
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๕ |
เสด็จฯ กลับถึงพระนคร ทรงตราพระราชบัญญัติกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ |
๒๖ มิถุนายน ๒๔๗๕ |
ตราพระราชบัญญัติการปกครองแผ่นดินสยาม ชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ |
๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ |
พระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญ (ฉบับถาวร) ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม |
๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ |
พิธีเปิดโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง |
๒ กรกฎาคม ๒๔๗๖ |
“กบฏบวรเดช” (ทหารหัวเมือง กับทหารกรุงเทพฯ สู้รบกัน) |
๑๑-๒๔ ตุลาคม ๒๔๗๖ |
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จฯ เสด็จฯ จากสวนไกลกังวลด้วยเรือเล็ก “ศรวรุณ”กลางทะเลลึกไปทางใต้สู่สงขลาเป็นเวลา ๒ วันครึ่ง เพื่อทรงหลีกเลี่ยงการที่พระมหากษัตริย์ จะทรงตกเป็น “องค์ประกัน” |
๑๔ ตุลาคม ๒๔๗๖ ๑๗ ตุลาคม ๒๔๗๖ |
เสด็จฯ จากสงขลาคืนสู่พระนคร |
๙ ธันวาคม ๒๔๗๖ |
เสด็จฯ รัฐพิธีเปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้งทางอ้อมและการแต่งตั้ง เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป คือฝรั่งเศส อิตาลี นครรัฐวาติกัน อังกฤษ ทรงรับการผ่าตัดพระเนตรซ้ายขั้นที่สองที่ลอนดอนคลินิก แล้วเสด็จฯ เดนมาร์ก เยอรมนี เบลเยี่ยม เชโกสโลวาเกีย ฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ เสด็จฯ จากปารีสไปยังอังกฤษอีกครั้งเมื่อปลายเดือนกันยายน ๒๔๗๗ ทรงเปิดฉากเจรจากับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ ถึงเงื่อนไขหากรัฐบาลไม่ต้องการให้ทรงสละราชสมบัติ |
๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๖ ๑๒ มกราคม ๒๔๗๖ |
ทรงสละราชสมบัติขณะประทับ ณ พระตำหนักโนล (Knowle) ตำบลแครนลีย์ (Cranleigh) จังหวัดเซอเร่ย์ (Surrey) ประเทศอังกฤษ |
๒ มีนาคม ๒๔๗๗ (ร.๗ พระชนมพรรษา ๔๑ พรรษา; สมเด็จฯ พระชนมายุ ๓๐ พรรษา) |
ทั้งสองพระองค์ประทับอยู่ต่อไปที่ พระตำหนัก Knowle, Cranleigh, Surrey |
๒๔๗๗ (ทรงเช่า) |
ทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนัก Glen Pammant, Virginia Water (ทรงเช่าห้องชุดที่ Eaton House ไว้ประทับแรมเป็นครั้งคราวในกรุงลอนดอน) |
๒๔๗๘-๒๔๘๐ (ทรงซื้อ) (๒๔๘๐-๒๔๘๒) |
ทรงย้ายไปประทับที่พระตำหนัก Vane Court, Biddenden, Kent |
๒๔๘๐-๒๔๘๒ (ทรงซื้อ) |
ทรงย้ายไปประทับที่ตำหนัก Compton House, Wentworth Estate, Virginia Water, Surrey |
๒๔๘๒-๒๔๙๒ (ทรงเช่า) |
ระหว่างนั้น: มีนาคม ๒๔๘๑ สงครามโลกครั้งที่สองตั้งเค้า และทวีความรุนแรงขึ้นคือมีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบินในปี ๒๔๘๓ จึงทรงแปรที่ประทับไปยังตอนเหนือของเดวอน (Devon) ที่เมือง Bideford หรือ Appledore เข้าใจว่าพระตำหนักชื่อว่า Staddon และต่อมาที่ Lake Vyrwny Hotel, Northe Wales แล้วจึงเสด็จคืนสู่ Compton House |
๒๔๘๓-๒๔๘๔ |
เสด็จสวรรคตด้วยอาการพระหทัยวาย ที่พระตำหนัก Compton House สมเด็จฯ ประทับอยู่ที่พระตำหนักที่ทรงเช่าระยะยาวนี้ต่อไป |
๓๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ (ร.๗ พระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา; สมเด็จฯ พระชนมายุ ๓๗ พรรษา) |
ถวายพระเพลิงพระบรมศพอย่างเรียบง่ายที่ฌาปนสถาน Golders Green กรุงลอนดอน ในระหว่างสงคราม |
๓ มิถุนายน ๒๔๘๔ |
ภายหลังจากที่สงครามสงบลงทั่วโลกแล้ว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีรัชกาลที่ ๗ ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิโดยเรือเดินสมุทรจากประเทศอังกฤษ เสด็จถึงพระนคร มีกระบวนพยุหยาตราใหญ่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ หอพระบรมอัฐิ ที่ชั้นบนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง |
๒๔ พฤษภาคม ๒๔๙๒ (นับวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่) |
บรรณานุกรม
ตัดทอนและปรับปรุงแก้ไขจาก ลำดับเหตุการณ์ในพระชนมชีพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗. ในประชาธิปก-รำไพพรรณีรชสดุดี (เอกสารประกอบสื่อโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗). กรุงเทพฯ: คณะกรรมการประสานงานกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๔๙. หน้า ๔๓-๕๗ ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้จัดทำขึ้นในโอกาสนั้นในฐานะรองประธานกรรมการฯ