ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดจัดการตนเอง"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''เรียบเรียงโดย''' : ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ '''ผู้ทรงค...' |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 7: | บรรทัดที่ 7: | ||
==ความเป็นมาของ “จังหวัดจัดการตนเอง”== | ==ความเป็นมาของ “จังหวัดจัดการตนเอง”== | ||
ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540]] หมวด 5 [[แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ]] มาตรา 78 กำหนดให้ “รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็น[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น]]ขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” | |||
[[รัฐธรรมนูญ]]ฉบับดังกล่าวเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่มีบทบัญญัติในลักษณะที่ให้การรองรับการพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด โดยในที่ประชุมของ[[คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ]]ได้มีกรรมาธิการคนหนึ่งอภิปรายเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบ[[การปกครองท้องถิ่น]]ขนาดใหญ่โดยยกเลิก[[การบริหารราชการส่วนภูมิภาค]] ซึ่งที่ประชุมไม่ได้ให้ความเห็นชอบในแนวความคิดดังกล่าวแต่ให้นำมาบรรจุในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ<ref> นายชำนาญ จันทร์เรือง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ โดยได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2556 ซึ่งสถานภาพของร่างกฎหมายขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่</ref> | |||
แนวความคิดเรื่อง “จังหวัดปกครองตนเอง” จึงมิใช่แนวความคิดใหม่แต่เป็นแนวความคิดที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันยังคงยืนยันหลักการดังกล่าวในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ | แนวความคิดเรื่อง “จังหวัดปกครองตนเอง” จึงมิใช่แนวความคิดใหม่แต่เป็นแนวความคิดที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันยังคงยืนยันหลักการดังกล่าวในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน<ref> รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันจันทร์ที่ 8 เดือนกันยายน พ.ศ. 2540. ในส่วนคำอภิปรายของนายถวิล ไพรสณฑ์ สมาชิกรัฐสภา. หน้า 10 -16. ศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.</ref> ดังต่อไปนี้ | ||
“กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” | “กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น” | ||
หากสืบค้นในมิติทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวคือในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้ตั้ง “คณะกรรมการสอดส่องภาวการณ์ใน 4 จังหวัดภาคใต้” เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 เพื่อลงไปรับฟังคำร้องเรียนและปัญหาของชาวมุสลิมมลายูภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นหน่ออ่อนแนวคิดจัดการตนเองของประชาชนในพื้นที่ แต่เนื่องด้วยความผันผวนทางการเมืองในยุคสมัยนั้น จึงทำให้ประเด็นนี้ไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในสังคมอีก | หากสืบค้นในมิติทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวคือในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้ตั้ง “คณะกรรมการสอดส่องภาวการณ์ใน 4 จังหวัดภาคใต้”<ref> ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.(2549). ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย.โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.</ref> เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 เพื่อลงไปรับฟังคำร้องเรียนและปัญหาของชาวมุสลิมมลายูภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นหน่ออ่อนแนวคิดจัดการตนเองของประชาชนในพื้นที่ แต่เนื่องด้วยความผันผวนทางการเมืองในยุคสมัยนั้น จึงทำให้ประเด็นนี้ไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในสังคมอีก | ||
==หลักการสำคัญของ “จังหวัดจัดการตนเอง”== | ==หลักการสำคัญของ “จังหวัดจัดการตนเอง”== | ||
บรรทัดที่ 21: | บรรทัดที่ 21: | ||
จังหวัดจัดการตนเอง หมายถึง การที่ประชาชนในจังหวัดมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนา การบริหารจัดการจังหวัดของตนเองในทุกด้าน ทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคมปัญญา ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสังคม ก็สามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆในท้องถิ่นได้ด้วยตนเองและเท่าทันกับสถานการณ์ | จังหวัดจัดการตนเอง หมายถึง การที่ประชาชนในจังหวัดมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนา การบริหารจัดการจังหวัดของตนเองในทุกด้าน ทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคมปัญญา ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสังคม ก็สามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆในท้องถิ่นได้ด้วยตนเองและเท่าทันกับสถานการณ์ | ||
ซึ่งการกระจายอำนาจให้ลงไปถึงประชาชนอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจบริหารจัดการจากรัฐบาลไปสู่ท้องถิ่น และกระจายอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ประชาชน ชุมชน | ซึ่งการกระจายอำนาจให้ลงไปถึงประชาชนอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจบริหารจัดการจากรัฐบาลไปสู่ท้องถิ่น และกระจายอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ประชาชน ชุมชน และ[[ภาคประชาสังคม]] ซึ่งรูปแบบโครงสร้างการกระจายอำนาจดังกล่าวจะนำไปสู่รูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” อันเป็นโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นสองระดับ ได้แก่ [[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน]] คือ จังหวัดปกครองตนเอง และ[[องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง]] คือ [[เทศบาล]]และ[[องค์การบริหารส่วนตำบล]]ที่มีเขตพื้นที่การปกครองบางส่วนของจังหวัด | ||
==เอกสารสำคัญในร่างพระราชบัญญัติ “จังหวัดจัดการตนเอง พ.ศ. …”== | ==เอกสารสำคัญในร่างพระราชบัญญัติ “จังหวัดจัดการตนเอง พ.ศ. …”== | ||
ตามที่[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550]] มาตรา 78 (3) กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับหลักการดังกล่าว อีกทั้งการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบปัจจุบันตามที่กำหนดในกฎหมายต่าง ๆ ยังไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง | |||
ดังนั้นเพื่อให้การปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง พ.ศ. …. ซึ่งมีทั้งหมด 135 มาตรา แบ่งออกเป็น 10 หมวด โดยมีสาระสำคัญคือ | ดังนั้นเพื่อให้การปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง พ.ศ. …. ซึ่งมีทั้งหมด 135 มาตรา แบ่งออกเป็น 10 หมวด<ref> หมวด 1 ว่าด้วยบททั่วไป ,หมวด 2 ว่าด้วยจังหวัดปกครองตนเอง ,หมวด 3 ว่าด้วยการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ,หมวด 4 ว่าด้วยการบริหารเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ,หมวด 5 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของจังหวัดปกครองตนเอง เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ,หมวด 6 ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับจังหวัดปกครองตนเองและจังหวัดปกครองตนเองกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ,หมวด 7 ว่าด้วยการคลังและรายได้ ,หมวด 8 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ,หมวด 9 ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ ,หมวด 10 ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง</ref> โดยมีสาระสำคัญคือ | ||
'''1.การจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง''' | '''1.การจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง''' | ||
กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” กล่าวคือเมื่อประชาชนในจังหวัดใดมีความพร้อมตามเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น มีสิทธิแสดงเจตนารมณ์เพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง โดยการจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น | กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” กล่าวคือเมื่อประชาชนในจังหวัดใดมีความพร้อมตามเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น มีสิทธิแสดงเจตนารมณ์เพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง โดยการจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น ให้ตราเป็น[[พระราชกฤษฎีกา]]จัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองตาม[[พระราชบัญญัติ]]นี้ การแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนเพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น ให้กระทำโดยการออกเสียงประชามติตาม[[กฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ]] ซึ่งกระบวนการเสนอให้มี[[การออกเสียงประชามติ]]สามารถกระทำได้โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายในจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าห้าพันคน เข้าชื่อเสนอต่อ[[นายกรัฐมนตรี]]เพื่อให้มีการจัดทำ[[ประชามติ]]จัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง ในขั้นตอนการออกเสียงประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงในจังหวัดนั้น และต้องมีผลคะแนนออกเสียงประชามติจำนวนสามในห้าของผู้มาออกเสียงเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง และเมื่อประชาชนในจังหวัดใดลงประชามติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองแล้ว ให้มีการดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้ประกาศผลการออกเสียงประชามติ | ||
โดยสรุป | โดยสรุป หากร่างพระราชบัญญัตินี้ได้รับการพิจารณาจาก[[รัฐสภา]]และประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ก็หาได้มีผลโดยทั่วไปให้ทุกจังหวัดต้องเปลี่ยนแปลงฐานะมาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดตามรูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” โดยทันทีไม่ กล่าวคือหากจังหวัดใดจะเปลี่ยนแปลงฐานะมาเป็น “จังหวัดปกครองตนเอง” จะต้องเกิดจากเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น และมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น มีการจัดทำประชามติ และมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองเสียก่อน | ||
'''2.การกำหนดให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดที่ได้จัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง''' | '''2.การกำหนดให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดที่ได้จัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง''' | ||
กำหนดให้เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองในจังหวัดใดให้ถือว่าพระราชบัญญัตินี้มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งจังหวัดนั้น กล่าวคือ เมื่อจังหวัดใดได้จัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเองตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว โดยผลของพระราชบัญญัตินี้จะทำให้จังหวัด | กำหนดให้เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองในจังหวัดใดให้ถือว่าพระราชบัญญัตินี้มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งจังหวัดนั้น กล่าวคือ เมื่อจังหวัดใดได้จัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเองตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว โดยผลของพระราชบัญญัตินี้จะทำให้จังหวัด และอำเภอในฐานะที่เป็น[[ราชการส่วนภูมิภาค]]ตามกฎหมายว่าด้วย[[ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน]]นั้นยกเลิกไป ตัวอย่างเช่น เมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้บังคับแล้ว หากประชาชนในจังหวัดใดแสดงเจตนารมณ์ผ่านการออกเสียงประชามติต้องการให้จังหวัดนั้นเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด และเมื่อ[[คณะรัฐมนต]]รีดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนขึ้นในจังหวัดนั้นแล้ว เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวประกาศใช้บังคับแล้วก็จะเป็นเงื่อนไขให้กฎหมายว่าด้วยการตั้งจังหวัดนั้น ตลอดจนอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้นในฐานะที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคถูกยกเลิกไปโดยผลของพระราชบัญญัติฉบับนี้ | ||
นอกจากนี้เมื่อได้ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองในจังหวัดใดแล้ว ก็จะทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ก่อตั้งฐานะนิติบุคคลให้กับจังหวัดปกครองตนเองนั้น โดยถือว่าจังหวัดปกครองตนเองที่ได้ก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีอาณาเขตท้องที่ตามที่จังหวัดนั้นมีอยู่เดิม | นอกจากนี้เมื่อได้ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองในจังหวัดใดแล้ว ก็จะทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ก่อตั้งฐานะนิติบุคคลให้กับจังหวัดปกครองตนเองนั้น โดยถือว่าจังหวัดปกครองตนเองที่ได้ก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีอาณาเขตท้องที่ตามที่จังหวัดนั้นมีอยู่เดิม | ||
บรรทัดที่ 43: | บรรทัดที่ 43: | ||
'''3.การกำหนดหลักการพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่น''' | '''3.การกำหนดหลักการพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่น''' | ||
กำหนดให้จังหวัดปกครองตนเอง เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัตินี้ มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลังและงบประมาณ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในเขตพื้นที่อย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักการพื้นฐานทั่วไปของการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการแห่งการกระจายอำนาจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การรับรอง การที่รัฐส่วนกลางกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีจำเป็นที่ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระทั้งในการจัดทำบริการสาธารณะ งานบริหารงานทั่วไปตามอำนาจหน้าที่ การบริหารงบประมาณและการบริหารงานบุคคล เมื่อรัฐส่วนกลางได้กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว | กำหนดให้จังหวัดปกครองตนเอง เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัตินี้ มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลังและงบประมาณ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในเขตพื้นที่อย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักการพื้นฐานทั่วไปของการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการแห่งการกระจายอำนาจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การรับรอง การที่รัฐส่วนกลางกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีจำเป็นที่ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระทั้งในการจัดทำบริการสาธารณะ งานบริหารงานทั่วไปตามอำนาจหน้าที่ การบริหารงบประมาณและการบริหารงานบุคคล เมื่อรัฐส่วนกลางได้กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว [[รัฐส่วนกลาง]]จะคงไว้ซึ่งอำนาจ[[กำกับดูแล]] โดยการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้ | ||
'''ลักษณะโครงสร้างในการบริหารจัดการ “จังหวัดจัดการตนเอง”''' | '''ลักษณะโครงสร้างในการบริหารจัดการ “จังหวัดจัดการตนเอง”''' | ||
บรรทัดที่ 53: | บรรทัดที่ 53: | ||
'''-ด้านการคลัง''' | '''-ด้านการคลัง''' | ||
“จังหวัดจัดการตนเอง” | “จังหวัดจัดการตนเอง” จะมี[[การคลังท้องถิ่น]]รูปแบบใหม่ มีเป้าประสงค์ในการพัฒนาเพื่อท้องถิ่นไทยทำงานเข้มแข็ง ระบบการคลังและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐต้องให้การสนับสนุนในการจัดทำบริการสาธารณะและต้องให้การอุดหนุนงบประมาณแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เพียงพอต่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้หลักจากภาษีอากรและรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร นอกจากนี้ต้องจัดให้มีคณะกรรมการบริหารภาษีระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ จัดทำแผน การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | ||
ด้านการจัดเก็บภาษีที่ใช้ฐานร่วมกันระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาษีอื่นที่ไม่ใช่ภาษีท้องถิ่น เมื่อจังหวัดปกครองตนเองจัดเก็บให้เก็บไว้เป็นรายได้ของตนร้อยละ 70 และส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดินร้อยละ 30 ส่วนภาษีท้องถิ่น | ด้านการจัดเก็บภาษีที่ใช้ฐานร่วมกันระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาษีอื่นที่ไม่ใช่ภาษีท้องถิ่น เมื่อจังหวัดปกครองตนเองจัดเก็บให้เก็บไว้เป็นรายได้ของตนร้อยละ 70 และส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดินร้อยละ 30 ส่วนภาษีท้องถิ่น ให้จัดเก็บเป็น[[รายได้ของท้องถิ่น]]ทั้งหมด ซึ่งลักษณะการจัดเก็บภาษีเช่นนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ การบริหารงานท้องถิ่นของประเทศจีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่ง ประเทศจีนเป็นตัวอย่างประเทศที่รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจการคลังและงบประมาณสูง คือ รายจ่ายโดยรัฐบาลท้องถิ่นนั้นมีขนาดใหญ่กว่ารัฐบาลกลาง สัดส่วนโดยประมาณคือ 70:30 นั่นหมายถึงรัฐบาลท้องถิ่นใช้จ่ายเงิน (จัดบริการสาธารณะ) ร้อยละ 70 ในขณะที่รัฐบาลกลางใช้จ่ายเงินส่วนที่เหลือคือร้อยละ 30 เท่านั้น <ref> จรัส สุวรรณมาลา. (2554).ก้าวข้ามกับดัก Hamilton Paradox : สู่จังหวัดจัดการตนเอง.</ref> | ||
มีผู้เสนอให้ศึกษาโครงสร้างการคลังในจีนและญี่ปุ่นเพื่อเป็นตัวอย่างหรือนำมาปรับใช้ในร่างกฎหมายจังหวัดจัดการตนเอง | มีผู้เสนอให้ศึกษาโครงสร้างการคลังในจีนและญี่ปุ่นเพื่อเป็นตัวอย่างหรือนำมาปรับใช้ในร่างกฎหมายจังหวัดจัดการตนเอง หลักคิดคือต้องการให้จังหวัดจัดการตนเองและ[[เทศบาล]]ของไทยในอนาคต ไม่ต้องพึ่ง[[เงินอุดหนุน]]จากรัฐบาลมากเกินไป<ref> ปัจจุบันเงินอุดหนุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40-50 ของรายได้ท้องถิ่น มีข้อเสนอว่าถ้าปฏิรูปการคลังโดยท้องถิ่นไม่ต้องพึ่งพิงเงินอุดหนุนก็จะดี หรือพึ่งพิงแต่น้อย ร้อยละ 10-20 การบริหารท้องถิ่นจะมีอิสระกว่าปัจจุบัน</ref> โดยการขยายฐานภาษีและแหล่งรายได้ของท้องถิ่น เช่น จัดเก็บภาษีเสริมจากเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล<ref> ตัวอย่างของประเทศจีน tax rebate = 40% คือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่งคืนรัฐบาลท้องถิ่น 40%) หรือ ภาษีทรัพย์สิน (นครเซี่ยงไฮ้ได้ผลักดันภาษีทรัพย์สินจัดเก็บในอัตรา .5% ถึง 1.2% อีกเมืองหนึ่งที่จะจัดเก็บคือนครชองกิง</ref> รวมถึงมีข้อเสนอให้ควรต้องปรับโครงสร้างภาษีแบ่งให้เหมาะสม เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ปัจจุบันแบ่งให้ท้องถิ่นร้อยละ 10 คนท้องถิ่นเห็นว่าไม่ยุติธรรม และไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเสนอสัดส่วนร้อยละ 50-50 คือรัฐบาลควรจะได้ครึ่งหนึ่ง ท้องถิ่นได้ครึ่งหนึ่ง ในด้านการจัดเก็บภาษี หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ หรือว่าองค์กรท้องถิ่นเป็นหน่วยจัดเก็บ หรือว่าจ้างให้เอกชนจัดเก็บแทน | ||
'''-ด้านงานบุคคล''' | '''-ด้านงานบุคคล''' | ||
“จังหวัดจัดการตนเอง” จะมีภายโครงสร้างงานบุคคลที่เจ้าพนักงานจะสังกัดกับรัฐบาลท้องถิ่น จังหวัด โดยมีระบบบุคลากรที่เป็นอิสระของตนเองภายใต้กฎหมายของจังหวัดจัดการตัวเอง ในระบบบริหารงานบุคคลใหม่นี้จังหวัดจะสามารถจัดให้มีระบบบุคลากรกลาง(Pool-down) | “จังหวัดจัดการตนเอง” จะมีภายโครงสร้างงานบุคคลที่เจ้าพนักงานจะสังกัดกับรัฐบาลท้องถิ่น จังหวัด โดยมีระบบบุคลากรที่เป็นอิสระของตนเองภายใต้กฎหมายของจังหวัดจัดการตัวเอง ในระบบบริหารงานบุคคลใหม่นี้จังหวัดจะสามารถจัดให้มีระบบบุคลากรกลาง(Pool-down) <ref> จรัส สุวรรณมาลา. (2554). จังหวัดจัดการตัวเอง (Self-governing province).ใน ประเด็นท้าทายการกระจายอํานาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref> ที่เอื้ออำนวยให้จังหวัดและ อปท. ในเขตพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์บุคลากรที่ขาดแคลนร่วมกันได้ และจะมีบุคลากรของจังหวัดมีที่มาจากข้าราชการของ อบจ. และข้าราชการส่วนภูมิภาค ที่รับโอนมาปฏิบัติหน้าที่หลังจากยุบรวมหน่วยงานเดิมเข้าด้วยกัน | ||
โดยสามารถดูตัวอย่างจาก กรณีศึกษาของประเทศจีนที่มีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 40 ล้านคน โดยเปรียบเทียบกับเจ้าพนักงานที่สังกัดรัฐบาลกลางของจีนเพียง 4 ล้านคน ในบางมณฑลของจีนมีสำนักงานลงทุนที่สังกัดรัฐบาลมณฑล ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เจรจาต่อรองกับหน่วยธุรกิจที่ประสงค์จะไปลงทุนในจีน รวมทั้งการเจรจาต่อรองสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ในประเทศญี่ปุ่นก็คล้ายๆ กับจีน รัฐบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินประมาณร้อยละ 55 ในขณะที่รัฐบาลกลางใช้จ่ายเงินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 | โดยสามารถดูตัวอย่างจาก กรณีศึกษาของประเทศจีนที่มีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 40 ล้านคน โดยเปรียบเทียบกับเจ้าพนักงานที่สังกัดรัฐบาลกลางของจีนเพียง 4 ล้านคน ในบางมณฑลของจีนมีสำนักงานลงทุนที่สังกัดรัฐบาลมณฑล ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เจรจาต่อรองกับหน่วยธุรกิจที่ประสงค์จะไปลงทุนในจีน รวมทั้งการเจรจาต่อรองสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ในประเทศญี่ปุ่นก็คล้ายๆ กับจีน รัฐบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินประมาณร้อยละ 55 ในขณะที่รัฐบาลกลางใช้จ่ายเงินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 <ref> ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์.(2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สนสธ.)</ref> | ||
'''สถานะปัจจุบันของ “จังหวัดจัดการตนเอง”''' | '''สถานะปัจจุบันของ “จังหวัดจัดการตนเอง”''' |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:29, 18 กรกฎาคม 2559
เรียบเรียงโดย : ศรัณย์ จิระพงษ์สุวรรณ
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ : รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล
ความเป็นมาของ “จังหวัดจัดการตนเอง”
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 กำหนดให้ “รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น”
รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่มีบทบัญญัติในลักษณะที่ให้การรองรับการพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด โดยในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีกรรมาธิการคนหนึ่งอภิปรายเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมไม่ได้ให้ความเห็นชอบในแนวความคิดดังกล่าวแต่ให้นำมาบรรจุในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ[1]
แนวความคิดเรื่อง “จังหวัดปกครองตนเอง” จึงมิใช่แนวความคิดใหม่แต่เป็นแนวความคิดที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบันยังคงยืนยันหลักการดังกล่าวในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 78 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน[2] ดังต่อไปนี้
“กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น”
หากสืบค้นในมิติทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวคือในสมัยรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้ตั้ง “คณะกรรมการสอดส่องภาวการณ์ใน 4 จังหวัดภาคใต้”[3] เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2490 เพื่อลงไปรับฟังคำร้องเรียนและปัญหาของชาวมุสลิมมลายูภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นหน่ออ่อนแนวคิดจัดการตนเองของประชาชนในพื้นที่ แต่เนื่องด้วยความผันผวนทางการเมืองในยุคสมัยนั้น จึงทำให้ประเด็นนี้ไม่ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในสังคมอีก
หลักการสำคัญของ “จังหวัดจัดการตนเอง”
จังหวัดจัดการตนเอง หมายถึง การที่ประชาชนในจังหวัดมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนา การบริหารจัดการจังหวัดของตนเองในทุกด้าน ทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ สังคมปัญญา ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชน เมื่อเกิดปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสังคม ก็สามารถจัดการแก้ไขปัญหาต่างๆในท้องถิ่นได้ด้วยตนเองและเท่าทันกับสถานการณ์
ซึ่งการกระจายอำนาจให้ลงไปถึงประชาชนอย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจโดยการกระจายอำนาจบริหารจัดการจากรัฐบาลไปสู่ท้องถิ่น และกระจายอำนาจขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคม ซึ่งรูปแบบโครงสร้างการกระจายอำนาจดังกล่าวจะนำไปสู่รูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” อันเป็นโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นสองระดับ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับบน คือ จังหวัดปกครองตนเอง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง คือ เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีเขตพื้นที่การปกครองบางส่วนของจังหวัด
เอกสารสำคัญในร่างพระราชบัญญัติ “จังหวัดจัดการตนเอง พ.ศ. …”
ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 78 (3) กำหนดให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น แต่เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายรองรับหลักการดังกล่าว อีกทั้งการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบปัจจุบันตามที่กำหนดในกฎหมายต่าง ๆ ยังไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง
ดังนั้นเพื่อให้การปกครองส่วนท้องถิ่นบรรลุเจตนารมณ์ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง พ.ศ. …. ซึ่งมีทั้งหมด 135 มาตรา แบ่งออกเป็น 10 หมวด[4] โดยมีสาระสำคัญคือ
1.การจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง
กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้มีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” กล่าวคือเมื่อประชาชนในจังหวัดใดมีความพร้อมตามเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น มีสิทธิแสดงเจตนารมณ์เพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง โดยการจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองตามพระราชบัญญัตินี้ การแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนเพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น ให้กระทำโดยการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งกระบวนการเสนอให้มีการออกเสียงประชามติสามารถกระทำได้โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายในจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าห้าพันคน เข้าชื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดทำประชามติจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง ในขั้นตอนการออกเสียงประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงในจังหวัดนั้น และต้องมีผลคะแนนออกเสียงประชามติจำนวนสามในห้าของผู้มาออกเสียงเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง และเมื่อประชาชนในจังหวัดใดลงประชามติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองแล้ว ให้มีการดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้ประกาศผลการออกเสียงประชามติ
โดยสรุป หากร่างพระราชบัญญัตินี้ได้รับการพิจารณาจากรัฐสภาและประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว ก็หาได้มีผลโดยทั่วไปให้ทุกจังหวัดต้องเปลี่ยนแปลงฐานะมาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัดตามรูปแบบ “จังหวัดปกครองตนเอง” โดยทันทีไม่ กล่าวคือหากจังหวัดใดจะเปลี่ยนแปลงฐานะมาเป็น “จังหวัดปกครองตนเอง” จะต้องเกิดจากเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น และมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น มีการจัดทำประชามติ และมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองเสียก่อน
2.การกำหนดให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดที่ได้จัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเอง
กำหนดให้เมื่อมีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองในจังหวัดใดให้ถือว่าพระราชบัญญัตินี้มีผลยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งจังหวัดนั้น กล่าวคือ เมื่อจังหวัดใดได้จัดตั้งเป็นจังหวัดปกครองตนเองตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว โดยผลของพระราชบัญญัตินี้จะทำให้จังหวัด และอำเภอในฐานะที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินนั้นยกเลิกไป ตัวอย่างเช่น เมื่อกฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้บังคับแล้ว หากประชาชนในจังหวัดใดแสดงเจตนารมณ์ผ่านการออกเสียงประชามติต้องการให้จังหวัดนั้นเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด และเมื่อคณะรัฐมนตรีดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนขึ้นในจังหวัดนั้นแล้ว เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวประกาศใช้บังคับแล้วก็จะเป็นเงื่อนไขให้กฎหมายว่าด้วยการตั้งจังหวัดนั้น ตลอดจนอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้นในฐานะที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคถูกยกเลิกไปโดยผลของพระราชบัญญัติฉบับนี้
นอกจากนี้เมื่อได้ประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองในจังหวัดใดแล้ว ก็จะทำให้พระราชบัญญัติฉบับนี้ก่อตั้งฐานะนิติบุคคลให้กับจังหวัดปกครองตนเองนั้น โดยถือว่าจังหวัดปกครองตนเองที่ได้ก่อตั้งขึ้นนั้น เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีอาณาเขตท้องที่ตามที่จังหวัดนั้นมีอยู่เดิม
3.การกำหนดหลักการพื้นฐานของการปกครองส่วนท้องถิ่น
กำหนดให้จังหวัดปกครองตนเอง เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัตินี้ มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลังและงบประมาณ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพที่อยู่ในเขตพื้นที่อย่างสมดุลและยั่งยืน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นหลักการพื้นฐานทั่วไปของการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการแห่งการกระจายอำนาจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้การรับรอง การที่รัฐส่วนกลางกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีจำเป็นที่ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเป็นอิสระทั้งในการจัดทำบริการสาธารณะ งานบริหารงานทั่วไปตามอำนาจหน้าที่ การบริหารงบประมาณและการบริหารงานบุคคล เมื่อรัฐส่วนกลางได้กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว รัฐส่วนกลางจะคงไว้ซึ่งอำนาจกำกับดูแล โดยการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยต้องเป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม และจะกระทบถึงสาระสำคัญแห่งหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น หรือนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้มิได้
ลักษณะโครงสร้างในการบริหารจัดการ “จังหวัดจัดการตนเอง”
-ด้านโครงสร้างการปกครอง
“จังหวัดจัดการตนเอง” จะมีโครงสร้างองค์กรปกครองท้องถิ่นสองชั้น ระนาบบนคือ จังหวัดจัดการตนเอง ระนาบล่างคือ เทศบาล หรือ อบต. เช่น "จังหวัด" (prefecture) ของญี่ปุ่น ระดับจังหวัดอาจจะเรียกว่า "องค์กรพี่" ส่วนเทศบาล อบต. ถือว่าเป็น "องค์กรน้อง" ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน คือ องค์กรพี่อาจจะให้ความช่วยเหลือหรือเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรน้องที่ขาดแคลน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด
-ด้านการคลัง
“จังหวัดจัดการตนเอง” จะมีการคลังท้องถิ่นรูปแบบใหม่ มีเป้าประสงค์ในการพัฒนาเพื่อท้องถิ่นไทยทำงานเข้มแข็ง ระบบการคลังและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐต้องให้การสนับสนุนในการจัดทำบริการสาธารณะและต้องให้การอุดหนุนงบประมาณแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย เพื่อให้เพียงพอต่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ซึ่งทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีรายได้หลักจากภาษีอากรและรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร นอกจากนี้ต้องจัดให้มีคณะกรรมการบริหารภาษีระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิโดยมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ จัดทำแผน การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านการจัดเก็บภาษีที่ใช้ฐานร่วมกันระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาษีอื่นที่ไม่ใช่ภาษีท้องถิ่น เมื่อจังหวัดปกครองตนเองจัดเก็บให้เก็บไว้เป็นรายได้ของตนร้อยละ 70 และส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดินร้อยละ 30 ส่วนภาษีท้องถิ่น ให้จัดเก็บเป็นรายได้ของท้องถิ่นทั้งหมด ซึ่งลักษณะการจัดเก็บภาษีเช่นนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ การบริหารงานท้องถิ่นของประเทศจีน ญี่ปุ่น ฯลฯ ซึ่ง ประเทศจีนเป็นตัวอย่างประเทศที่รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจการคลังและงบประมาณสูง คือ รายจ่ายโดยรัฐบาลท้องถิ่นนั้นมีขนาดใหญ่กว่ารัฐบาลกลาง สัดส่วนโดยประมาณคือ 70:30 นั่นหมายถึงรัฐบาลท้องถิ่นใช้จ่ายเงิน (จัดบริการสาธารณะ) ร้อยละ 70 ในขณะที่รัฐบาลกลางใช้จ่ายเงินส่วนที่เหลือคือร้อยละ 30 เท่านั้น [5]
มีผู้เสนอให้ศึกษาโครงสร้างการคลังในจีนและญี่ปุ่นเพื่อเป็นตัวอย่างหรือนำมาปรับใช้ในร่างกฎหมายจังหวัดจัดการตนเอง หลักคิดคือต้องการให้จังหวัดจัดการตนเองและเทศบาลของไทยในอนาคต ไม่ต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากรัฐบาลมากเกินไป[6] โดยการขยายฐานภาษีและแหล่งรายได้ของท้องถิ่น เช่น จัดเก็บภาษีเสริมจากเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล[7] รวมถึงมีข้อเสนอให้ควรต้องปรับโครงสร้างภาษีแบ่งให้เหมาะสม เช่น ภาษีสุรา ภาษียาสูบ ปัจจุบันแบ่งให้ท้องถิ่นร้อยละ 10 คนท้องถิ่นเห็นว่าไม่ยุติธรรม และไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านเสนอสัดส่วนร้อยละ 50-50 คือรัฐบาลควรจะได้ครึ่งหนึ่ง ท้องถิ่นได้ครึ่งหนึ่ง ในด้านการจัดเก็บภาษี หน่วยงานของรัฐจัดเก็บ หรือว่าองค์กรท้องถิ่นเป็นหน่วยจัดเก็บ หรือว่าจ้างให้เอกชนจัดเก็บแทน
-ด้านงานบุคคล
“จังหวัดจัดการตนเอง” จะมีภายโครงสร้างงานบุคคลที่เจ้าพนักงานจะสังกัดกับรัฐบาลท้องถิ่น จังหวัด โดยมีระบบบุคลากรที่เป็นอิสระของตนเองภายใต้กฎหมายของจังหวัดจัดการตัวเอง ในระบบบริหารงานบุคคลใหม่นี้จังหวัดจะสามารถจัดให้มีระบบบุคลากรกลาง(Pool-down) [8] ที่เอื้ออำนวยให้จังหวัดและ อปท. ในเขตพื้นที่สามารถใช้ประโยชน์บุคลากรที่ขาดแคลนร่วมกันได้ และจะมีบุคลากรของจังหวัดมีที่มาจากข้าราชการของ อบจ. และข้าราชการส่วนภูมิภาค ที่รับโอนมาปฏิบัติหน้าที่หลังจากยุบรวมหน่วยงานเดิมเข้าด้วยกัน
โดยสามารถดูตัวอย่างจาก กรณีศึกษาของประเทศจีนที่มีจำนวนพนักงานท้องถิ่นมากกว่า 40 ล้านคน โดยเปรียบเทียบกับเจ้าพนักงานที่สังกัดรัฐบาลกลางของจีนเพียง 4 ล้านคน ในบางมณฑลของจีนมีสำนักงานลงทุนที่สังกัดรัฐบาลมณฑล ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เจรจาต่อรองกับหน่วยธุรกิจที่ประสงค์จะไปลงทุนในจีน รวมทั้งการเจรจาต่อรองสิทธิประโยชน์ด้านภาษี ในประเทศญี่ปุ่นก็คล้ายๆ กับจีน รัฐบาลท้องถิ่นของญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินประมาณร้อยละ 55 ในขณะที่รัฐบาลกลางใช้จ่ายเงินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45 [9]
สถานะปัจจุบันของ “จังหวัดจัดการตนเอง”
ปัจจุบันสาระสำคัญของพระราชบัญญัติที่ว่าด้วย “จังหวัดจัดการตนเอง” พบว่ามีลักษณะเป็นกฎหมายกลางเพื่อจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบ “จังหวัดจัดการตนเอง” กล่าวคือเมื่อประชาชนในจังหวัดใดมีความพร้อมตามเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น มีสิทธิแสดงเจตนารมณ์เพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเอง โดยการจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองตามพระราชบัญญัตินี้ การแสดงเจตนารมณ์ของประชาชนเพื่อจัดตั้งจังหวัดปกครองตนเองนั้น จะกระทำโดยการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งกระบวนการเสนอให้มีการออกเสียงประชามติสามารถกระทำได้โดยประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งภายในจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าห้าพันคน เข้าชื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดทำประชามติจัดตั้ง “จังหวัดจัดการตนเอง” ในขั้นตอนการออกเสียงประชามติต้องมีผู้มาออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงในจังหวัดนั้น และต้องมีผลคะแนนออกเสียงประชามติจำนวนสามในห้าของผู้มาออกเสียงเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดจัดการตนเอง และเมื่อประชาชนในจังหวัดใดลงประชามติเห็นชอบให้มีการจัดตั้งจังหวัดจัดการตนเองแล้ว ให้มีการดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ได้ประกาศผลการออกเสียงประชามติ
โดยสรุปร่างกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นจะเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยคลี่คลายวิกฤตการณ์ทางการเมืองของสังคมไทยที่กำลังประสบอยู่ ณ ขณะนี้โดยสาเหตุหนึ่งของปัญหาต่าง ๆ ทางการเมืองที่เป็นอยู่มีสาเหตุสำคัญเกิดขึ้นจากการ “รวมศูนย์อำนาจต่าง ๆ ที่กระจุกตัวอยู่ศูนย์กลาง” ดังนั้นจึงย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่นักการเมืองหรือผู้ถืออำนาจรัฐซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับอำนาจจะแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบจากอำนาจนั้น เพราะฉะนั้นหากมีการกระจายอำนาจดังที่กล่าวมาให้ไปอยู่ในมือของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจและยอมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีอำนาจบริหารการปกครองของตนเอง ตลอดจนสามารถตัดสินใจวิถีชีวิตหรือจัดการความเป็นอยู่ตามวิถีความแตกต่างหากหลายของแต่ละท้องถิ่นภายใต้รัฐธรรมนูญ ประชาชนในท้องถิ่นย่อมจะรู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของอำนาจมากขึ้นและหวงแหนเอาใจใส่ติดตามอำนาจที่มอบให้แก่ตัวแทนของเขา และทางตรงกันข้ามผู้เขียนเชื่อว่าบรรดานักการเมืองก็จะรู้สึกว่าเขาถูกตรวจสอบและติดตามจากเจ้าของอำนาจอย่างชิดใกล้ จนไม่มีโอกาสใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบได้
นอกจากนี้หากเกิดการกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากร กระจายงบประมาณ ลงสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงด้วยความจริงใจจากรัฐส่วนกลางแล้ว การกระจุกตัวด้านทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคมก็จะคลี่คลายไปในทางที่ดีและจะเป็นคำตอบของการปฏิรูปประเทศอย่างยั่งยืนและเป็นภูมิคุ้มกันมิให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างเช่นปัจจุบันได้
อ้างอิง
- ↑ นายชำนาญ จันทร์เรือง กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอ โดยได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2556 ซึ่งสถานภาพของร่างกฎหมายขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่
- ↑ รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันจันทร์ที่ 8 เดือนกันยายน พ.ศ. 2540. ในส่วนคำอภิปรายของนายถวิล ไพรสณฑ์ สมาชิกรัฐสภา. หน้า 10 -16. ศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
- ↑ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ.(2549). ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย.โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- ↑ หมวด 1 ว่าด้วยบททั่วไป ,หมวด 2 ว่าด้วยจังหวัดปกครองตนเอง ,หมวด 3 ว่าด้วยการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง ,หมวด 4 ว่าด้วยการบริหารเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ,หมวด 5 ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของจังหวัดปกครองตนเอง เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ,หมวด 6 ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับจังหวัดปกครองตนเองและจังหวัดปกครองตนเองกับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ,หมวด 7 ว่าด้วยการคลังและรายได้ ,หมวด 8 ว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ,หมวด 9 ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ ,หมวด 10 ว่าด้วยคณะกรรมการส่งเสริมการบริหารจังหวัดปกครองตนเอง
- ↑ จรัส สุวรรณมาลา. (2554).ก้าวข้ามกับดัก Hamilton Paradox : สู่จังหวัดจัดการตนเอง.
- ↑ ปัจจุบันเงินอุดหนุนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40-50 ของรายได้ท้องถิ่น มีข้อเสนอว่าถ้าปฏิรูปการคลังโดยท้องถิ่นไม่ต้องพึ่งพิงเงินอุดหนุนก็จะดี หรือพึ่งพิงแต่น้อย ร้อยละ 10-20 การบริหารท้องถิ่นจะมีอิสระกว่าปัจจุบัน
- ↑ ตัวอย่างของประเทศจีน tax rebate = 40% คือภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ส่งคืนรัฐบาลท้องถิ่น 40%) หรือ ภาษีทรัพย์สิน (นครเซี่ยงไฮ้ได้ผลักดันภาษีทรัพย์สินจัดเก็บในอัตรา .5% ถึง 1.2% อีกเมืองหนึ่งที่จะจัดเก็บคือนครชองกิง
- ↑ จรัส สุวรรณมาลา. (2554). จังหวัดจัดการตัวเอง (Self-governing province).ใน ประเด็นท้าทายการกระจายอํานาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- ↑ ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์.(2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สนสธ.)
บรรณานุกรม
จรัส สุวรรณมาลา.(2554). ก้าวข้ามกับดักของการกระจายอำนาจสู่จังหวัดจัดการตนเอง ใน ประเด็นท้าทายการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมนวัตกรรมและธรรมาภิบาลท้องถิ่นและภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จรัส สุวรรณมาลา และ วีรศักดิ์เครือเทพ, บรรณาธิการ.(2554). จังหวัดจัดการตัวเอง (Self-governing province). ใน ประเด็นท้าทายการกระจายอํานาจและการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 4 (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันจันทร์ที่ 8 เดือนกันยายน พ.ศ. 2540. ในส่วนคำอภิปรายของนายถวิล ไพรสณฑ์ สมาชิกรัฐสภา. หน้า 10 -16. ศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์.(2554). กระจายรายได้สู่ท้องถิ่นส่วนกลางต้องทำน้อยๆ สร้าง Vertical Fiscal Balance ภารกิจกับเงินต้องสมดุล. ค้นวันที่ 9 ตุลาคม 2556 จาก http://www.thaipublica.org/ 2011/10/local-revenue-distribution.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดบริการสาธารณะที่ดี ,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ,สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สนสธ.)