ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี 1"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Suksan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
นับตั้งแต่หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีได้ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาในพุทธศักราช ๒๔๖๑ พระองค์ได้ทรงร่วมสุขและทุกข์กับพระราชสวามีเสมอมา ตั้งแต่นั้นจนสวรรคต   
นับตั้งแต่[[หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี]]ได้ทรงอภิเษกสมรสกับ[[สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชา]]ในพุทธศักราช ๒๔๖๑ พระองค์ได้ทรงร่วมสุขและทุกข์กับพระราชสวามีเสมอมา ตั้งแต่นั้นจนสวรรคต   


ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช ๒๔๘๔ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงมีความโทมนัสยิ่งนัก แต่โดยที่ในขณะนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การคมนาคมไม่ปลอดภัย พระองค์จึงยังไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมา
ครั้น[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่]]หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช ๒๔๘๔ [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี]]ทรงมีความโทมนัสยิ่งนัก แต่โดยที่ในขณะนั้นเป็นช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ ]] การคมนาคมไม่ปลอดภัย พระองค์จึงยังไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมา
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงดำรงพระชนม์ชีพ รักษาพระเกียรติยศเท่าที่จะทรงทำได้ในภาวะอัตคัตขัดสนยามสงคราม และเมื่อคนไทยในอังกฤษได้สมัครเข้าเป็นทหารอังกฤษในนามคณะเสรีไทย ก็ได้พระราชทานการสนับสนุน  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุหีบห่อเวชภัณฑ์ที่หน่วยกาชาดของอังกฤษที่กรุงลอนดอน
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงดำรงพระชนม์ชีพ รักษาพระเกียรติยศเท่าที่จะทรงทำได้ในภาวะอัตคัตขัดสนยามสงคราม และเมื่อคนไทยในอังกฤษได้สมัครเข้าเป็นทหารอังกฤษในนามคณะเสรีไทย ก็ได้พระราชทานการสนับสนุน  เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุหีบห่อเวชภัณฑ์ที่หน่วยกาชาดของอังกฤษที่กรุงลอนดอน


ปีหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเปล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีจึงได้เสด็จกลับพระนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล และได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับมา  เพื่อประดิษฐานในพระบรมหาราชวัง ในวันเสด็จพระราชดำเนิน รัฐบาลอังกฤษได้จัดกองทหารเกียรติยศ เพื่อส่งเสด็จพระบรมอัฐิอดีตพระมหากษัตริย์ไทย วงดุริยางค์ของกองทหารได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายเป็นพระเกียรติยศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระดำเนินในพระราชอิริยาบถที่สง่างามยิ่ง
ปีหลังจากที่[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีจึงได้เสด็จกลับพระนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล และได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับมา  เพื่อประดิษฐานในพระบรมหาราชวัง ในวันเสด็จพระราชดำเนิน รัฐบาลอังกฤษได้จัดกองทหารเกียรติยศ เพื่อส่งเสด็จพระบรมอัฐิอดีตพระมหากษัตริย์ไทย วงดุริยางค์ของกองทหารได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายเป็นพระเกียรติยศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระดำเนินในพระราชอิริยาบถที่สง่างามยิ่ง


'''ที่มา '''
'''ที่มา '''

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:51, 10 กุมภาพันธ์ 2559

นับตั้งแต่หม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณีได้ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาในพุทธศักราช ๒๔๖๑ พระองค์ได้ทรงร่วมสุขและทุกข์กับพระราชสวามีเสมอมา ตั้งแต่นั้นจนสวรรคต

ครั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต ในพุทธศักราช ๒๔๘๔ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงมีความโทมนัสยิ่งนัก แต่โดยที่ในขณะนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ การคมนาคมไม่ปลอดภัย พระองค์จึงยังไม่ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมา

สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงดำรงพระชนม์ชีพ รักษาพระเกียรติยศเท่าที่จะทรงทำได้ในภาวะอัตคัตขัดสนยามสงคราม และเมื่อคนไทยในอังกฤษได้สมัครเข้าเป็นทหารอังกฤษในนามคณะเสรีไทย ก็ได้พระราชทานการสนับสนุน เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุหีบห่อเวชภัณฑ์ที่หน่วยกาชาดของอังกฤษที่กรุงลอนดอน

๘ ปีหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีจึงได้เสด็จกลับพระนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาล และได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับมา เพื่อประดิษฐานในพระบรมหาราชวัง ในวันเสด็จพระราชดำเนิน รัฐบาลอังกฤษได้จัดกองทหารเกียรติยศ เพื่อส่งเสด็จพระบรมอัฐิอดีตพระมหากษัตริย์ไทย วงดุริยางค์ของกองทหารได้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีถวายเป็นพระเกียรติยศ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ทรงพระดำเนินในพระราชอิริยาบถที่สง่างามยิ่ง

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖