ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกและการขยายหลักสูตรการศึกษา"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการพัฒนามนุษย์เป็นอย่างยิ่ง แม้ในภาวะที่ขาดแคลนงบประมาณ เช่นได้ทรงสนับสนุนการปรับปรุงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาโดยสมบูรณ์แห่งแรกของประเทศ คือให้ขยายหลักสูตรการศึกษาไปจนถึงขั้นปริญญาตามแบบอย่างสากล ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ร่วมกับมูลนิธิรอคกิเฟลเลอร์ได้ทรงมีส่วนสนับสนุนนานาประการ | |||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] ได้เสด็จพระราชดำเนินยัง[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]เพื่อพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชชบัณฑิตจำนวน ๓๔ คน เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๗๓ เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา | ||
ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ตรา[[พระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๓ | ||
ในปี ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีสตรีอยู่ด้วย อีกครั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงย้ำแก่บัณฑิตมิให้หลงในคุณค่าของปริญญาบัตร.... | ในปี ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีสตรีอยู่ด้วย อีกครั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงย้ำแก่บัณฑิตมิให้หลงในคุณค่าของปริญญาบัตร.... |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:15, 22 มกราคม 2559
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการพัฒนามนุษย์เป็นอย่างยิ่ง แม้ในภาวะที่ขาดแคลนงบประมาณ เช่นได้ทรงสนับสนุนการปรับปรุงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาโดยสมบูรณ์แห่งแรกของประเทศ คือให้ขยายหลักสูตรการศึกษาไปจนถึงขั้นปริญญาตามแบบอย่างสากล ทั้งนี้สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ร่วมกับมูลนิธิรอคกิเฟลเลอร์ได้ทรงมีส่วนสนับสนุนนานาประการ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ได้เสด็จพระราชดำเนินยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อพระราชทานประกาศนียบัตรแก่เวชชบัณฑิตจำนวน ๓๔ คน เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๔๗๓ เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่เดือน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกำหนดเสื้อครุยบัณฑิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๓
ในปี ๒๔๗๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งมีสตรีอยู่ด้วย อีกครั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงย้ำแก่บัณฑิตมิให้หลงในคุณค่าของปริญญาบัตร....
“การที่เราจะเอาวิชาไปใช้ให้เป็นประโยชน์หรือไม่อยู่ที่ตัวผู้ได้ไป ถ้าเราไม่ใช้ความพยายาม ก็จะเป็นอย่างที่โบราณท่านย่อมว่าไว้ว่า “วิชาท่วมหัว เอาตัวไม่รอด” เราจำจะต้องทำความพยายามเองด้วย พยายามขยันขันแข็ง พยายามเรียนต่อศึกษาต่อไป ไม่ใช่ว่าได้ปริญญาไปแผ่นหนึ่งก็เป็นอันว่าพอแล้ว เราต้องคิดต่อไป ต้องเรียนต่อไป ต้องทำความพยายามอยู่เรื่อย ปริญญาที่ได้ไปจึงจะมีประโยชน์ อีกประการหนึ่ง ผู้ฉลาดแต่นิสัยอัธยาศัยไม่ดี เป็นผู้ไม่ควรคนอื่นจะไว้วางใจ ถึงจะฉลาดเท่าไร จะได้ปริญญาสัก ๑๐๐ อัน ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ต้องพยายามเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์สุจริต สมควรที่คนอื่นจะไว้ใจ”
ที่มา
บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖