ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตการค้าเสรีอาเซียน"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
บรรทัดที่ 9: | บรรทัดที่ 9: | ||
== ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย == | == ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย == | ||
เขตการค้าเสรี (FTA) นั้น คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นจะได้เปรียบทางการค้ามากกว่าประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการและการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น ทั้งนี้อาเซียนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเช่นกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน ทั้งด้านการผลิตและอำนาจในการต่อรองในเวทีระดับประเทศ เหล่าผู้นำอาเซียนจึงได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) | เขตการค้าเสรี (FTA) นั้น คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นจะได้เปรียบทางการค้ามากกว่าประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการและการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น ทั้งนี้อาเซียนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเช่นกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน ทั้งด้านการผลิตและอำนาจในการต่อรองในเวทีระดับประเทศ เหล่าผู้นำอาเซียนจึงได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยได้ลงนามใน[[กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน]] ใน ค.ศ.1992 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน | ||
== ประวัติความเป็นมา == | == ประวัติความเป็นมา == | ||
บรรทัดที่ 15: | บรรทัดที่ 15: | ||
ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ยึดโยงกับเจ้าอาณานิคมเดิมของตนอยู่ กล่าวคือ กิจการในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติและประกอบกับตลาดภายในประเทศที่ยังคงพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีราคาแพงและส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค ประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบตกอยู่ในความยากจนที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าอาณานิคมมากกว่าพลเมือง จนเมื่อได้มีการตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนขึ้น ใน ค.ศ.1967 อาเซียนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ดี ในระยะแรกๆ อาเซียนไม่ได้ดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควรเนื่องจากความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคยังไม่มีเสถียรภาพนัก ดังนั้นในค.ศ.1967-1975 จึงไม่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจใดของอาเซียนออกมาเป็นรูปธรรม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นเพียงแค่เป้าหมายที่แสดงถึงความร่วมมือภายในภูมิภาคเท่านั้น | ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ยึดโยงกับเจ้าอาณานิคมเดิมของตนอยู่ กล่าวคือ กิจการในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติและประกอบกับตลาดภายในประเทศที่ยังคงพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีราคาแพงและส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค ประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบตกอยู่ในความยากจนที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าอาณานิคมมากกว่าพลเมือง จนเมื่อได้มีการตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนขึ้น ใน ค.ศ.1967 อาเซียนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ดี ในระยะแรกๆ อาเซียนไม่ได้ดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควรเนื่องจากความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคยังไม่มีเสถียรภาพนัก ดังนั้นในค.ศ.1967-1975 จึงไม่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจใดของอาเซียนออกมาเป็นรูปธรรม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นเพียงแค่เป้าหมายที่แสดงถึงความร่วมมือภายในภูมิภาคเท่านั้น | ||
แนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนปรากฏเป็นรูปธรรม จากการ[[ประชุมสุดยอดอาเซียน]] ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้มีการทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การให้สิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน ( The ASEAN Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี โดยการลดอากรภาษีขาเข้าให้แก่ประเทศสมาชิก นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหลังจากนั้น ก็ได้มีโครงการต่างๆมากมาย เช่น โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (AIP) โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (AIC) โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIIV) เป็นต้น จนมาถึง แนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ เมืองมะนิลา ในการประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ประเทศอินโดนีเซีย ได้คัดค้านการจัดตั้งดังกล่าวจึงทำให้ข้อเสนอนี้ตกไป แต่อย่างไรก็ดี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ.1992 ที่ประเทศสิงคโปร์ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงได้มีการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น อย่างเป็นทางการ | แนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนปรากฏเป็นรูปธรรม จากการ[[ประชุมสุดยอดอาเซียน]] ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้มีการทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การให้สิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน ( The ASEAN Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี โดยการลดอากรภาษีขาเข้าให้แก่ประเทศสมาชิก นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหลังจากนั้น ก็ได้มีโครงการต่างๆมากมาย เช่น [[โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน]] (AIP) [[โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน]] (AIC) โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIIV) เป็นต้น จนมาถึง แนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ เมืองมะนิลา ในการประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ประเทศอินโดนีเซีย ได้คัดค้านการจัดตั้งดังกล่าวจึงทำให้ข้อเสนอนี้ตกไป แต่อย่างไรก็ดี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ.1992 ที่ประเทศสิงคโปร์ [[อานันท์ ปันยารชุน|นายอานันท์ ปันยารชุน]] นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงได้มีการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น อย่างเป็นทางการ | ||
== เป้าหมายและวัตถุประสงค์ == | == เป้าหมายและวัตถุประสงค์ == | ||
บรรทัดที่ 23: | บรรทัดที่ 23: | ||
== กรอบการดำเนินงาน == | == กรอบการดำเนินงาน == | ||
อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่น การจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทข้าวของมาเลเซีย ที่จะต้องลดภาษีจากร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 20 ในค.ศ.2010 สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา) นั้น ได้มีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน ค.ศ.2010 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2015 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (SL) และสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่นเดียวกัน | อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่น การจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทข้าวของมาเลเซีย ที่จะต้องลดภาษีจากร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 20 ในค.ศ.2010 สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา) นั้น ได้มีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน ค.ศ.2010 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2015 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (SL) และสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่นเดียวกัน โดยการกำหนดมาตรการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของ[[ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน]] (AEC) ที่มุ่งเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน และเป้าหมายในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลกด้วย โดยในปัจจุบันอาเซียนได้ดำเนินการทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ นอกอาเซียนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น [[เขตการค้าเสรีอาเซียนจีน]] (ACFTA) [[เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์]] (AANZFTA) เป็นต้น | ||
== ความท้าทาย == | == ความท้าทาย == | ||
เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) | เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นับเป็นส่วนผสมที่สำคัญของ[[ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน]] (AEC) โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ทำการเปิดเสรีการขนส่งสินค้า ด้านการให้บริการ ด้านการลงทุน ด้านการเคลื่อนย้ายทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานเคลื่อนย้ายอย่างอิสระ AFTA จะทำให้ตลาดของอาเซียนนั้นใหญ่ขึ้น และศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียนก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยผลพวงดังกล่าวทำให้การค้าขายของประเทศสมาชิกมีมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ก่อนที่จะมี AFTA ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับประเทศอาเซียน โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 12 จากการส่งออกทั้งหมดเท่านั้น แต่ภายหลังจากได้มีการจัดตั้ง AFTA ขึ้น ประเทศไทยก็ได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งใน ค.ศ.2007 ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกในอาเซียนถึง ร้อยละ 21 | ||
แม้ AFTA จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกังวลอยู่ไม่น้อย เช่น ปัญหาการเป็นคู่แข่งทางการค้า โดยส่วนใหญ่สินค้าของอาเซียนนั้นจะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเปิดการค้าเสรีได้อย่างแท้จริง หรือในเรื่องปัญหาการขาดอำนาจการบังคับใช้กฎระเบียบ เช่น กรณีของอินโดนีเซีย ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ACD) เป็นต้น ซึ่งหากอาเซียนมีกลไกที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ และมีการจัดการปัญหาที่ดี AFTA จะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ เศรษฐกิจของอาเซียนนั้นเจริญเติบโตและแข็งแกร่ง ทัดเทียมกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นเลยทีเดียว | แม้ AFTA จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกังวลอยู่ไม่น้อย เช่น ปัญหาการเป็นคู่แข่งทางการค้า โดยส่วนใหญ่สินค้าของอาเซียนนั้นจะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเปิดการค้าเสรีได้อย่างแท้จริง หรือในเรื่องปัญหาการขาดอำนาจการบังคับใช้กฎระเบียบ เช่น กรณีของอินโดนีเซีย ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ACD) เป็นต้น ซึ่งหากอาเซียนมีกลไกที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ และมีการจัดการปัญหาที่ดี AFTA จะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ เศรษฐกิจของอาเซียนนั้นเจริญเติบโตและแข็งแกร่ง ทัดเทียมกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นเลยทีเดียว |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:44, 26 ธันวาคม 2557
ผู้เรียบเรียงพัชร์ นิยมศิลป
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศาสตราจารย์ ดร. ไชยวัฒน์ ค้ำชู
ข้อมูลพื้นฐานและความหมาย
เขตการค้าเสรี (FTA) นั้น คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นจะได้เปรียบทางการค้ามากกว่าประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการและการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น ทั้งนี้อาเซียนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเช่นกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน ทั้งด้านการผลิตและอำนาจในการต่อรองในเวทีระดับประเทศ เหล่าผู้นำอาเซียนจึงได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน ใน ค.ศ.1992 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา
ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ยึดโยงกับเจ้าอาณานิคมเดิมของตนอยู่ กล่าวคือ กิจการในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติและประกอบกับตลาดภายในประเทศที่ยังคงพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีราคาแพงและส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค ประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบตกอยู่ในความยากจนที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าอาณานิคมมากกว่าพลเมือง จนเมื่อได้มีการตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนขึ้น ใน ค.ศ.1967 อาเซียนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ดี ในระยะแรกๆ อาเซียนไม่ได้ดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควรเนื่องจากความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคยังไม่มีเสถียรภาพนัก ดังนั้นในค.ศ.1967-1975 จึงไม่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจใดของอาเซียนออกมาเป็นรูปธรรม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นเพียงแค่เป้าหมายที่แสดงถึงความร่วมมือภายในภูมิภาคเท่านั้น
แนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนปรากฏเป็นรูปธรรม จากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้มีการทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การให้สิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน ( The ASEAN Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี โดยการลดอากรภาษีขาเข้าให้แก่ประเทศสมาชิก นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหลังจากนั้น ก็ได้มีโครงการต่างๆมากมาย เช่น โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (AIP) โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (AIC) โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIIV) เป็นต้น จนมาถึง แนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ เมืองมะนิลา ในการประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ประเทศอินโดนีเซีย ได้คัดค้านการจัดตั้งดังกล่าวจึงทำให้ข้อเสนอนี้ตกไป แต่อย่างไรก็ดี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ.1992 ที่ประเทศสิงคโปร์ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงได้มีการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น อย่างเป็นทางการ
เป้าหมายและวัตถุประสงค์
เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เกิดจากความต้องการร่วมมือทางการค้าจากประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก พร้อมกันนี้อาเซียนยังมีความต้องการที่จะดึงดูดประเทศต่างๆให้เข้ามาลงทุน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดย AFTA นั้น จะทำให้การค้าขายสินค้าในอาเซียนเป็นไปอย่างเสรี มีการคิดอัตราภาษีระหว่างกันในระดับที่ต่ำ และปราศจากข้อกำหนดทางการค้า อันจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกจะมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ลดลง อีกทั้งเป็นการเพิ่มปริมาณทางด้านการค้าในภูมิภาคให้มีมากขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมั่นคง
กรอบการดำเนินงาน
อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่น การจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทข้าวของมาเลเซีย ที่จะต้องลดภาษีจากร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 20 ในค.ศ.2010 สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา) นั้น ได้มีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน ค.ศ.2010 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2015 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (SL) และสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่นเดียวกัน โดยการกำหนดมาตรการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มุ่งเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน และเป้าหมายในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลกด้วย โดยในปัจจุบันอาเซียนได้ดำเนินการทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ นอกอาเซียนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เขตการค้าเสรีอาเซียนจีน (ACFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) เป็นต้น
ความท้าทาย
เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นับเป็นส่วนผสมที่สำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ทำการเปิดเสรีการขนส่งสินค้า ด้านการให้บริการ ด้านการลงทุน ด้านการเคลื่อนย้ายทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานเคลื่อนย้ายอย่างอิสระ AFTA จะทำให้ตลาดของอาเซียนนั้นใหญ่ขึ้น และศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียนก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยผลพวงดังกล่าวทำให้การค้าขายของประเทศสมาชิกมีมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ก่อนที่จะมี AFTA ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับประเทศอาเซียน โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 12 จากการส่งออกทั้งหมดเท่านั้น แต่ภายหลังจากได้มีการจัดตั้ง AFTA ขึ้น ประเทศไทยก็ได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งใน ค.ศ.2007 ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกในอาเซียนถึง ร้อยละ 21
แม้ AFTA จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกังวลอยู่ไม่น้อย เช่น ปัญหาการเป็นคู่แข่งทางการค้า โดยส่วนใหญ่สินค้าของอาเซียนนั้นจะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเปิดการค้าเสรีได้อย่างแท้จริง หรือในเรื่องปัญหาการขาดอำนาจการบังคับใช้กฎระเบียบ เช่น กรณีของอินโดนีเซีย ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ACD) เป็นต้น ซึ่งหากอาเซียนมีกลไกที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ และมีการจัดการปัญหาที่ดี AFTA จะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ เศรษฐกิจของอาเซียนนั้นเจริญเติบโตและแข็งแกร่ง ทัดเทียมกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นเลยทีเดียว
เอกสารอ้างอิง
กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ . บันทึกการเดินทางอาเซียน. กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ., 2552.
กรมอาเซียน กระทรวงต่างประเทศ .2551. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=5&cad=rja&uact=8&ved=0CDwQFjAE&url=http%3A%2F%2Fayutthaya.go.th%2FAyuaseancenter%2FKnow%2FDOCU4000024821.pdf&ei=6H-qU7btBcm9kQXEzIGAAg&usg=AFQjCNGNScrd8jt_Rxu8GIfdi6TYpoScsw (accessed June 22 ,2014).
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. ASEAN Mini book . กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ,2556.
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ. 58 คำตอบ สู่ประชาคมอาเซียน 2558 . กรุงเทพฯ : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ., 2556.
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ .2557. ยุทธศาสตร์ : การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก. www.thaifta.com/trade/aec/aec_strategy.pdf (accessed June 17 ,2014).
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.2557.เขตการค้าเสรีหมายถึงอะไร.http://www.thaifta.com/thaifta/AboutFTA/tabid/66/Default.aspx (accessed June 24 ,2014).
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ.2557. เขตการค้าเสรีอาเซียน. http://www.thaifta.com/thaifta/Home/FTAbyCountry/tabid/53/ctl/detail/id/42/mid/480/usemastercontainer/true/Default.aspx (accessed June 23 ,2014).
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. อาเซียนศึกษา . กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล ., 2556.
ดไนยา ตั้งอุทัยสุข. 2557. “AFTA คืออะไร?”นานาสาระ หนังสือพิมพ์สวรรค์นิวส์. www.loei.go.th/TH/attachments/article/585/AFTA.pdf (accessed June 24 ,2014).
ประภัสสร์ เทพชาตรี .ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : เสมาธรรม., 2554.
ไพศาล หรูพานิชกิจ. เอเชียตะวันออก บนเส้นทางสู่การเป็นประชาคม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.2553.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. อาเซียน รู้ไว้ ได้เปรียบแน่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง., 2555.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร .การก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.,2555.
สำนักมาตรการทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ . 2557. จากเขตการค้าเสรีอาเซียนสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=7&cad=rja&uact=8&ved=0CEEQFjAG&url=http%3A%2F%2Fwww.thaifranchisecenter.com%2Fdownload_file%2Fdownloading.php%3Fid%3D3699&ei=QtOnU6aTO4y0uATUt4G4BQ&usg=AFQjCNFB2-jB-j5wW7YYhe74nI0dVf0Z_Q&bvm=bv.69411363,d.c2E (accessed June 22 ,2014).
สำนักสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค่าต่างประเทศ.2554.คู่มือการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน. http://fta.dft.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=O4ascDPbP-s%3d&tabid=63&mid=385 (accessed June 22 ,2014).
Donald E. Weatherbee . อาเซียน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นท์ติ้ง., 2556.