โนโหวต (No Vote)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้เรียบเรียง:  รองศาสตราจารย์ ดร.กตัญญู  แก้วหานาม

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย


การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ยิ่งในฐานะพลเมืองไทยการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อีกด้วย ดังนั้นการได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือการไปโหวต (Vote) จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน และหากบุคคลใดไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือโนโหวต (No Vote) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า “นอนหลับทับสิทธิ” ก็จะทำให้บุคคลนั้นเสียสิทธิทางการเมืองตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย ดังนั้นการโนโหวต (No Vote) จึงมีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างมาก ซึ่งจะสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้

 

1. ความหมาย หรือ แนวคิด

ผู้ออกเสียงลงคะแนน (Voter) หมายถึง บุคคลผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมาย สามารถออกเสียง หรือแสดงเจตนาของตนในการเลือกตั้งหรือลงประชามติได้[1]

          การเลือกตั้ง (Election) หมายถึง กระบวนการเลือกผู้แทนโดยพลเมืองผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อไปปฏิบัติหน้าที่แทนประชาชนในองค์กรต่าง ๆ การเลือกตั้งเป็นกระบวนการของการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยทางผู้แทน เพื่อให้ผู้แทนทำหน้าที่ในองค์การฝ่ายนิติบัญญัติ องค์การฝ่ายบริหาร ในบางประเทศมีการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่ตุลาการด้วย[2]

            ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย[3] มาตรา 50 บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ ตาม (7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้นการได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือการไปโหวต (Vote) จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนซึ่งหากมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดก็มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งของตนได้ดังนี้

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561[4]
ในมาตรา 31 กำหนดว่า บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสําคัญ

(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี

(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีในวันเลือกตั้ง

(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ประกอบความในกฎหมายเดียวกันในมาตรา 32 กำหนดว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

และหากบุคคลใดที่มีสิทธิเลือกตั้งแล้วไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็จะต้องมีการลงโทษด้วยการเสียสิทธิทางการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561[5] ในมาตรา 35 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้นั้นถูกจํากัดสิทธิ ดังต่อไปนี้

(1) ยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

(3) สมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

(4) ดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา

(5) ดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจํากัดสิทธิตามวรรคหนึ่งให้มีกําหนดเวลาครั้งละสองปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกให้นับเวลาการจํากัดสิทธิครั้งหลังนี้โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ หากกําหนดเวลาการจํากัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่ เท่าใดให้กําหนดเวลาการจํากัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง

ดังนั้น การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะในฐานะประชาชนชาวไทยการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อีกด้วย ดังนั้นการได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือการไปโหวต (Vote) จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน และหากบุคคลใดไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือโนโหวต (No Vote) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า “นอนหลับทับสิทธิ” ก็จะทำให้บุคคลนั้นเสียสิทธิทางการเมืองตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย ดังนั้น การโนโหวด (No Vote) จึงมีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิทางการเมืองของประชาชนอย่างมาก

 

2. ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

          การโนโหวต (No Vote) คือการไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือเรียกเป็นภาษาทั่วไปว่า “การนอนหลับทับสิทธิ์” นั้น เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นการขัดต่อหน้าที่ของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ด้วย เพราะการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนไทยในการเลือกตั้งภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ออกแบบไว้ในระบบ “การจัดสรรปันส่วนแบบผสม” นั้น ถือว่า
ทุกคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความหมายและจะถูกนำมาคิดเป็นคะแนนเพื่อจัดสรรที่นั่ง ส.ส. ให้แก่พรรคการเมืองต่างๆ ที่ประชาชนลงคะแนนเลือกเพื่อเข้าไปทำหน้าที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

          ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความสำคัญมาก เพราะผู้ที่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งของตนเท่านั้น แต่บัตรเลือกตั้งที่กาลงไปนั้นจะเป็นคะแนนให้กับผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ผู้นั้นเลือก และคะแนนในเขตเลือกตั้งดังกล่าวจะถูกนำไปรวมเป็นคะแนนที่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นๆ จากทั้งประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะเป็นการเลือกทั้ง “คน” และ “พรรค” ในคราวเดียวกันผ่านบัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับ ด้วยเหตุนี้การรณรงค์และการบังคับให้เป็น “หน้าที่”
ของประชาชน ซึ่งควรเป็น “สิทธิ” ในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จึงเป็นสิ่งที่รัฐธรรมนูญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ให้ความสำคัญ และไม่ต้องการให้เกิดการโนโหวต หรือไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งขึ้น

          สำหรับการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศออกมามีดังนี้[6]

          จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ 51,239,638 คน

          จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง          38,268,375 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 74.69

          จำนวนผู้ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง       12,971,263 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 25.31

          จากตัวเลขดังกล่าวเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2554 ที่มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมดจำนวน 35,220,377 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 75.03 ซึ่งทำให้เห็นว่า จำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งในปี 2562 มีจำนวนสูงกว่าตัวเลขของจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งในปี 2554
แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนร้อยละแล้วจะมีจำนวนน้อยกว่า ซึ่งต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันและกระตุ้นการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนให้มีระดับที่สูงขึ้นต่อไป

 

3. หลักการสำคัญ / ความสำคัญ

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 50 บัญญัติให้บุคคลมีหน้าที่ ตาม (7) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ ดังนั้นการได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือการไปโหวต (Vote) จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนซึ่งหากมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนดก็มีหน้าที่ไปไช้สิทธิเลือกตั้งของตนได้ดังนี้

ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561[7]
ในมาตรา 31 กำหนดว่า บุคคลผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อย่างอิสระโดยคํานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสําคัญ

(1) มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี

(2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสิบแปดปีในวันเลือกตั้ง

(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง ประกอบความในกฎหมายเดียวกันในมาตรา 32 กำหนดว่า บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่

(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(4) วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

และหากบุคคลใดที่มีสิทธิเลือกตั้งแล้วไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ก็จะต้องมีการลงโทษด้วยการเสียสิทธิทางการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561[8] ในมาตรา 35 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้นั้นถูกจํากัดสิทธิ ดังต่อไปนี้

(1) ยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

(2) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา

(3) สมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

(4) ดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา

(5) ดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจํากัดสิทธิตามวรรคหนึ่งให้มีกําหนดเวลาครั้งละสองปีนับแต่วันเลือกตั้งครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปผู้นั้นไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีกให้นับเวลาการจํากัดสิทธิครั้งหลังนี้โดยนับจากวันที่มิได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งใหม่ หากกําหนดเวลาการจํากัดสิทธิครั้งก่อนยังเหลืออยู่ เท่าใดให้กําหนดเวลาการจํากัดสิทธินั้นสิ้นสุดลง

          แต่หากในวันเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เพราะมีกิจธุระจำเป็นต้องแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่สามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนได้ตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561  มาตรา 33 กำหนดไว้ ในการเลือกตั้งครั้งใด ถ้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้เนื่องจาก
มีเหตุอันสมควร ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งไว้ในแต่ละ เขตเลือกตั้งภายในเจ็ดวันก่อนวันเลือกต้ังหรือภายในเจ็ดวันนับแต่วันเลือกตั้ง แต่ถ้ามีเหตุจําเป็นไม่อาจแจ้งได้ ภายในเจ็ดวันก่อนวันเลือกตั้ง ให้ดําเนินการแจ้งตามที่คณะกรรมการกําหนด ทั้งนี้ การแจ้งเหตุดังกล่าว ไม่เป็นการตัดสิทธิที่ผู้นั้นจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

ในการแจ้งเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทําเป็นหนังสือหรือโดยวิธีการอื่นเพื่อชี้แจงเหตุ ดังกล่าว โดยอาจมอบหมายให้บุคคลใดไปยื่นต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งแทน หรือจัดส่งหนังสือ
ชี้แจงเหตุนั้นทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ในกรณีที่บุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งพิจารณาแล้วเห็นว่า เหตุที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแจ้งนั้นมิใช่เหตุ
อันสมควร ให้แจ้งให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ได้รับแจ้งตามวรรคสาม มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจํา
จังหวัดภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง

การแจ้งเหตุ วิธีการแจ้งเหตุทางอิเล็กทรอนิกส์ บุคคลที่จะรับแจ้งเหตุ สถานที่รับแจ้งเหตุ
การพิจารณาการแจ้งเหตุ และการอุทธรณ์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด โดยในการกําหนดดังกล่าวให้คํานึงถึงการอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วย ในการนี้ ให้คณะกรรมการ กําหนดรายละเอียดของเหตุที่ทําให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งไว้ เพื่อเป็นแนวทางใน การพิจารณาของบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งด้วย

          ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียสิทธิทางการเมืองดังกล่าว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้สามารถอ้างเหตุผลที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ระบุเหตุที่ใช้อ้างว่าทำไม่อาจไปใช้สิทธิได้ดังต่อไปนี้[9]

          (1) มีกิจธุจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล

          (2) เจ็บป่วย พิการ สูงอายุ ไม่สามารถไปใช้สิทธิได้

          (3) เดินทางออกนอกราชอาณาจักร

          (4) อาศัยอยู่ห่างจากจุดลงคะแนนเลือกตั้ง เกินกว่า 100 กิโลเมตร

          (5) มีเหตุสุดวิสัยอื่น นอกเหนือจากที่คระกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้ใน (1) – (4) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายทะเบียนอำเภอ

 

4. สรุป

การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ยิ่งในฐานะพลเมืองไทยการเลือกตั้งถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ดังนั้น การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือการไปโหวต (Vote) จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน และหากบุคคลใดไม่ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือโนโหวต (No Vote) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เรียกว่า “นอนหลับทับสิทธิ” ก็จะทำให้บุคคลนั้นเสียสิทธิทางการเมืองตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ที่กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งและมิได้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หรือแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งแล้วแต่เหตุนั้นมิใช่เหตุอันสมควร ผู้นั้นถูกจํากัดสิทธิ ดังต่อไปนี้  (1) ยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  (2) สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา  (3) สมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่  (4) ดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง และ ข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา  และ (5) ดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหาร ท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น หรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้นการโนโหวต (No Vote) หรือการนอนหลับทับสิทธิ จึงมีส่งผลสำคัญและกระทบต่อสิทธิทางการเมืองของประชาชนตามมาอย่างมาก

 

5. บรรณานุกรม

ต้นคิด. (2561). จะเป็นอย่างไร? หากคุณไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2562. สืบค้นจาก

https://tonkit360.com/36865/, เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2563

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2530). กฎหมายเลือกตั้งเยอรมัน. วารสารนิติศาสตร์ 17 (3): 14 – 20.

บีบีซีไทย. (2562). ผลการเลือกตั้ง 2562: กกต. แถลงผลเลือกตั้ง 100% คะแนนมหาชนของพรรค พปชร. พุ่ง

เป็น 8.4 ล้านเสียง. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47730271, เข้าถึงเมื่อ 16

เมษายน 2563

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,

ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่135 ตอนที่ 68 ก วันที่ 12 กันยายน 2561, หน้า 81

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF, เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2563

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

ราชบัณฑิตยสถาน.

 

อ้างอิง

[1] ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

ราชบัณฑิตยสถาน. น.279

[2] ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

ราชบัณฑิตยสถาน. น. 105

[3] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สืบค้นจาก

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF, เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2563

[4] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,

ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่135 ตอนที่ 68 ก วันที่ 12 กันยายน 2561, หน้า 81

[5] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,

ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่135 ตอนที่ 68 ก วันที่ 12 กันยายน 2561, หน้า 81

[6] อ้างถึงในบีบีซีไทยบีบีซีไทย. (2562). ผลการเลือกตั้ง 2562: กกต. แถลงผลเลือกตั้ง 100% คะแนนมหาชนของพรรค พปชร. พุ่งเป็น 8.4 ล้านเสียง. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47730271, เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2563

[7] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,

ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่135 ตอนที่ 68 ก วันที่ 12 กันยายน 2561, หน้า 81

[8] พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561,

ราชกิจจานุเบกษา, เล่มที่135 ตอนที่ 68 ก วันที่ 12 กันยายน 2561, หน้า 81

[9]อ้างถึงในต้นคิด (2561). จะเป็นอย่างไร? หากคุณไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 2562. สืบค้นจาก

https://tonkit360.com/36865/, เข้าถึงเมื่อ 16 เมษายน 2563