พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2529

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ



ผู้เรียบเรียง กัญญาภัค อยู่เมือง และ รศ.ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์



แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชกำหนดนี้เรียกว่า “พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙” พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป [รก.๒๕๒๙/๘๓/๑พ/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๙]


สาระสำคัญ

โดยสาระสำคัญของพระราชกำหนดฯ ฉบับนี้มีดังต่อไปนี้


- ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px มาตรา ๖ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกินสามคนให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และจังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินสามคน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้งโดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละสามคน ในกรณีที่จะแบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดหนึ่งให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบสามคนทุกเขตไม่ได้ ให้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละสามคนเสียก่อน แต่เขตที่เหลือต้องไม่น้อยกว่าเขตละสองคน

ในกรณีที่จังหวัดใดมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้สี่คน ให้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นสองเขต เขตหนึ่งให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสองคนจังหวัดใดมีการแบ่งเขตเลือกตั้งกว่าหนึ่งเขต ต้องแบ่งพื้นที่ของเขตเลือกตั้งแต่ละเขตให้ติดต่อกัน และต้องจัดอัตราส่วนของจำนวนราษฎรกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตให้ใกล้เคียงกัน เมื่อได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ถ้าการเลือกตั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้กระทรวงมหาดไทยกำหนดจำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัดและจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้งรวมทั้งท้องที่ที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งของแต่ละเขตเลือกตั้งการกำหนดดังกล่าวนี้ให้กระทำโดยไม่ชักช้าและประกาศในราชกิจจานุเบกษา

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


- ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px มาตรา ๒๓ การสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๒๒ ผู้สมัครจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นคณะเท่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตเลือกตั้ง และให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทำการออกเสียง ลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


- ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px มาตรา ๗๓ บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย คือ

(๑) บัตรปลอม (๒) บัตรที่ทำเครื่องหมายเลือกตั้งเกินจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้ง (๓) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายเลย (๔) บัตรที่ปรากฏว่าได้พับซ้อนกันมากกว่าหนึ่งบัตร (๕) บัตรที่มีเครื่องสังเกต หรือข้อความอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (๖) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครของพรรคการเมืองคนใด เว้นแต่เป็นบัตรเลือกตั้งตามวรรคสี่

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


- ให้ยกเลิกความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน


  1. if:
{{#if:|
border: 1px solid #AAAAAA;

}}" class="cquote"

width="20" valign="top" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px มาตรา ๗๗ ในเขตเลือกตั้งซึ่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้หนึ่งคน ผู้สมัครของพรรคการเมืองใดได้คะแนนมากที่สุด ให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ในกรณีที่คะแนนมากที่สุดเท่ากันให้ผู้สมัครของพรรคการเมืองซึ่งได้คะแนนเท่ากันจับสลากกันว่าผู้ใดเป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง

ในเขตเลือกตั้งซึ่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่าหนึ่งคน ให้ผู้สมัครของพรรคการเมือง ซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาตามจำนวนที่จะพึงมีการเลือกตั้งได้ เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง ในกรณีที่มีผู้สมัครของพรรคการเมืองหลายคนได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งได้ตามวรรคสอง ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น จับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนตามที่เขตเลือกตั้งนั้นจะพึงมีการเลือกตั้งได้ การจับสลากตามความในมาตรานี้ ให้กระทำต่อหน้าผู้ว่าราชการจังหวัดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

width="20" valign="bottom" style="color:#B2B7F2;font-size:{{#switch: 10px=20px 30px=60px 40px=80px 50px=100px 60px=120px
{{#if:|

—{{{4}}}{{#if:|, {{{5}}}}}

}}

}}


เหตุผลในการประกาศใช้

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกำหนดฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๒๘ ได้แก้ไขเขตเลือกตั้ง โดยแบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง และจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละสามคน สมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี จำนวนเขตเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะทำการเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง วิธีออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องบัตรเสีย การได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวและโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้


ดูเพิ่มเติม