10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:43, 10 กันยายน 2556 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุต...')
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต


วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นวันการเมืองที่มีเหตุการณ์ซึ่งถูกเรียกว่า “กบฏสันติภาพ” ตอนนั้นรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรี ชื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ทางรัฐบาลได้ให้ตำรวจไปจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นกบฏเป็นจำนวนมากถึง 104 คน ทั้งนี้ ทางกรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 มีความตอนหนึ่งว่า

“...มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมายด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย...ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย...”

ผู้ที่ถูกจับกุมในวันนั้นมีนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์อยู่หลายคน เช่น นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ นายอารีย์ ลีวีระ นายอุทธรณ์ พลกุล นายบุศย์ สิมะเสถียร นายสุวัฒน์วรดิลก เป็นต้น กับผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เช่น นายมารุต บุนนาค และต่อมาได้จับกุมเพิ่มเติมอีก มีทั้งท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ภริยานายปรีดี พนมยงค์ และนายปาน พนมยงค์ บุตรชายของนายปรีดี พนมยงค์ ด้วย

“ถ้าจะเข้าใจเรื่องราวว่า...นั้นต่อต้านคอมมิวนิสต์มาก ถ้าจะเข้าใจเรื่องราวว่าทำไมเรื่องเกี่ยวกับสันติภาพจึงเป็นกบฏในความเห็นของรัฐบาลในสมัยนั้น ก็อาจต้องมองออกไปที่การเมืองนอกประเทศในขณะนั้นประกอบกับการเมืองภายในประเทศด้วย”

กรณีกบฏครั้งนี้อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด 54 ราย บางรายถูกจับกุมมากถึง 20 ปี ผู้ที่ติดคุกมาได้พ้นโทษตาม พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเนื่องจากการฉลองพุทธศตวรรษที่ 25 เมื่อ พ.ศ. 2500