ประชามติ(รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:18, 30 พฤษภาคม 2555 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล ---- '''ผู้ทรงคุ...')
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้เรียบเรียง รศ.ดร.ปธาน สุวรรณมงคล


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร


ประชามติ (Referendum) หมายถึง การที่รัฐบาลขอฟังความคิดเห็นจากประชาชนในประเด็นที่รัฐบาลเห็นว่า กระทบต่อสาธารณะ การออกเสียงประชามติเป็นพฤติกรรมทางการเมืองอย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยที่รัฐธรรมนูญในฐานะกฎหมายสูงสุดของประเทศได้บัญญัติไว้ เป็นการให้สิทธิเสรีภาพในการออกเสียงรับรองหรือคัดค้านในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ประชาชนในฐานะเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นผู้ตัดสินว่า ต้องการดำเนินการอย่างไรในประเด็นทางการเมืองนั้น เช่น การจะขอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ให้การรับรองการออกเสียงประชามติว่าเป็นสิ่งชอบด้วยกฎหมาย มีการเปิดโอกาสให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ดังที่บัญญัติไว้ว่า “มาตรา 214 ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของปะเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้ ...” หลักของการทำประชามติมีอยู่ 4 ประการ คือ

1. การออกเสียงประชามติเป็นการขอความเห็นจากประชาชนทั่วไป

2. การออกเสียงประชามติอาจมีลักษณะเป็นการขอคำปรึกษาจากประชาชน แต่จะต้องไม่ใช่เรื่องที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญและเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลใดหรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง

3. ประเด็นปัญหาที่เสนอขอความเห็นจากประชาชนในการออกเสียงประชามตินั้น ต้องเป็นประเด็นปัญหาที่แท้จริง

4. การออกเสียงประชามติที่เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบหรือการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้น ต้องมีกฎหมายหรือร่างกฎหมายที่ต้องการแก้ไขเพิ่มเติมเสนอต่อประชาชนด้วย