กษัตริย์อินเดียสมัยพุทธกาล

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:57, 23 สิงหาคม 2553 โดย Teeraphan (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

กษัตริย์อินเดียสมัยพุทธกาล

อินเดียก่อนพุทธกาลเป็นดินแดนที่ศาสนาพราหมณ์มีอิทธิพลมาก่อนที่กษัตริย์จะมีอำนาจ ดังนั้น เมื่อกษัตริย์ถือกำเนิดมาก็ต้องยอมตนอยู่ใต้ศาสนาพราหมณ์ ความเกี่ยวพันระหว่างกษัตริย์กับศาสนาพราหมณ์แยกออกจากันได้ยากต่อมามีการผสมกลมกลืนกันดดยถือว่ากษัตริย์เป็นเทพเจ้า

ครั้นถึงสมัยพุทธกาล สังคมอินเดียแบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆ หลายแคว้น เช่น แคว้นมคธ แคว้นวันโกศล แคว้นกาสี แคว้นวัชชี เป็นต้น รวมประมาณ ๑๖ แคว้น เมื่อถึงรัชกาลพระเจ้าอโศกมหาราชทรงแผ่พระราชอำนาจครอบครองไว้เกือบทั้งหมด รวมเข้าเหลือแคว้นใหญ่ คือ แคว้นมคธ กินอาณาเขตทิศตะวันตกไปจนถึงอัฟกานิสถาน ลงถึงปากีสถาน นั่นคืออำนาจพระเจ้าอโศกมหาราช ประวัติศาสตร์อินเดียจารึกว่าเป็นมหาราชพระองค์แรกของอินเดีย และเป็นหนึ่งในไม่กี่พระองค์

พระเจ้าอโศกมีชีวิตอยู่เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วประมาณสองร้อยปีเศษ ท่านนับถือศาสนาพราหมณ์ ท่านก็นึกว่าท่านเป็นเทวดาลงมาเกิด ท่านรบทัพจับศึกไปทั่วร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ำ รวมแคว้นมหาประเทศมหาชนบททั้งหมดเป็นประเทศเดียวยิ่งใหญ่ไพศาลมาก จนวันหนึ่งท่านยกทัพไปรบทางใต้ที่แคว้นกาลิงคะ ผู้คนทั้งสองฝ่ายล้มตายกันเป็นแสน พระเจ้าอโศกทรงสลดสังเวชพระทัยอย่างยิ่ง จึงเสด็จไปหาพราหมณ์เพื่อแก้บาป บรรดาพราหมณ์ทั้งหมายทูลว่าที่ทรงทำเช่นนั้นถูกแล้วเพราะนั่นคือการรับใช้พระผู้เป็นเจ้า คำสอนเช่นนี้ไม่ทำให้พระเจ้าอโศกสบายพระทัย มีแต่ทวีความสลดสังเวชพระทัย ในที่สุดก็เสด็จไปวัดในพุทธศาสนา ได้สดับคำสั่งสอนเทศนาในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งมาเป็นพุทธศาสนิกชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง ทรงกลับมาเป็นผู้ที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างยิ่งใหญ่