ประชามติ (พ.ศ. 2550)

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:34, 24 มิถุนายน 2553 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐ...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต



พรรคประชามติ

พรรคประชามติจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมีนายประมวล รุจนเสรี ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคและนายวิฑูรย์ แนวพานิช ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 นายวิฑูรย์ แนวพานิช ได้ลาออกจาการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค

การดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างเป็นทางการของพรรคประชามตินั้น เมื่อการเลือกตั้งในปี 2550 พรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน และแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 283 คน ซึ่งทั้งหมดมิได้ถูกรับเลือกแต่อย่างใด

รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ


ด้านการเมืองการบริหาร

1.แก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย

2.สร้างนิเวศวิทยา (Green Politic) ทางการเมืองใหม่

3.ออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนผู้ยากไร้ตามแนวทางเศรษฐกิจการเมืองเพื่อสังคมหรือธัมมสังคมนิยม

4.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

5.ป้องกันปราบปรามการเลือกตั้งที่ทุจริต ซื้อสิทธิ-ขายเสียง

6.ให้ราชการส่วนกลางรับผิดชอบเฉพาะเรื่องระดับชาติ ส่วนเรื่องท้องถิ่นให้เป็นหน้าที่ของประชาชนกับท้องถิ่นโดยภูมิภาคทำหน้าที่กำกับ ตรวจสอบ แนะนำท้องถิ่น

7.ลดขนาดจำนวนข้าราชการและภารกิจของส่วนกลาง–ส่วนภูมิภาคลงมาและนำไปเพิ่มให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

8.เรียนฟรี รักษาฟรี น้ำประปาไฟฟ้าฟรีสำหรับครอบครัวผู้มีรายได้น้อย

9.ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นทุกกรณี

10.ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในสามจังหวัด

11.แก้ปัญหาภาคใต้ด้วยการเอาชนะใจประชาชน


ด้านเศรษฐกิจ

1.สร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจและการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามแนวราบ

2.ประเมินทรัพยากรของชาติให้เป็นมูลค่าเพื่อนำทุนไปพัฒนาประเทศแต่ไม่นำมูลค่ามาแปลงเป็นทุน

3.ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน

4.เร่งให้มีภาษีมรดกและภาษีส่วนเกินทุน

5.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อป้องกันการผูกขาดของทุนใหญ่

6.ไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค สาธารณูปการ

7.สร้างธนาคารเพื่อคนยากจน

8.ให้ความสำคัญกับสหกรณ์

9.นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้

10.กระจายปัจจัยการผลิตเพื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ

11.สร้างความสัมพันธ์เชิงเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศใหม่

12.ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวชายแดน


ด้านการต่างประเทศ

1.ดำเนินนโยบายเป็นกลางและพัฒนาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน

2.ร่วมมือกับกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและประเทศในโลกที่สามเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง

ด้านความมั่นคง

1.ให้ความสำคัญกับมั่นคงของมนุษย์

2.ปรับโครงสร้างกองทัพให้มีลักษณะบูรณาการ ลดความซ้ำซ้อนและปรับกำลังให้เล็กลง

3.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาระบบอุตสาหกรรมสำรองสงครามและอุตสาหกรรมทหาร

4.ดำเนินนโยบายมิให้กองทัพและการเมืองก้าวก่ายงานซึ่งกันและกัน

5.ป้องกันมิให้เกิดระบบพวกพ้องในกองทัพ

6.ปรับปรุงระบบกำลังสำรองให้สามารถปฏิบัติงานได้จริง


ด้านการศึกษา

1.เรียนฟรีถึงปริญญาตรี

2.พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้ใกล้เคียงกันทุกที่

3.มีระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตครู

4.ปลดภาระหนี้สินครูด้วยระบบสหกรณ์

5.เพิ่มศักยภาพของสถาบันวิชาชีพ/อาชีวศึกษา

6.ตั้งสภาวิชาชีพระดับอาชีวศึกษา

7.ยกเลิกการนำมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบ

8.สนับสนุนทุนเพื่อการวิจัย

9.ปรับปรุงค่าเล่าเรียนให้เหมาะสม

10.สร้างมหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล


ด้านแรงงาน

1.ให้เงินผู้สูงอายุที่ยากไร้เดือนละ 1,500-2,000 บาท

2.ให้มีระบบการตัดสินใจแบบไตรภาคีเพื่อกระจายผลประโยชน์ในบริษัทมหาชนและรัฐวิสาหกิจ

3.พัฒนาฝีมือแรงงานและให้การศึกษาแก่ผู้ใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง

4.จัดระเบียบแรงงานต่างด้าว

5.จัดเงินเดือนค่าจ้างให้สมดุลกับค่าจ้างขั้นต่ำ


ด้านคมนาคมและการขนส่ง

1.พัฒนาระบบขนส่งทางน้ำเพื่อลดการใช้พลังงานน้ำมัน ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ

2.พัฒนาระบบจัดเก็บและขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพ

3.ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก

4.สร้างเครือข่ายการขนส่งทางทะเล

5.ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค


ด้านสาธารณสุข

1.ผสมผสานการแพทย์สมัยใหม่และแผนไทย

2.จัดการเรียนรู้ทางการแพทย์และสาธารณสุขในระบบเปิดที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกระดับ

3.เน้นการแพทย์เชิงป้องกันมากกว่าการรักษา

4.มีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์

5.เร่งผลิตยาในประเทศพร้อมป้องกันการเอาเปรียบจากบริษัทยาข้ามชาติ


ด้านเกษตร

1.จัดให้มีการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร

2.ปฏิรูประบบการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร

3.สนับสนุนการผลิตพืชที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น

4.สนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรชีวภาพ

5.ส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาเกษตรกรรม

6.พัฒนาการทำสวนยางพาราอย่างครบวงจร


ด้านสหกรณ์

1.ให้สหกรณ์เป็นศูนย์กลางพัฒนาชุมชน

2.ให้สหกรณ์เป็นองค์กรธุรกิจทุกระดับ

3.ยกร่าง พ.ร.บ.สหกรณ์ใหม่โดยให้อิสระ กำกับดูแลกันเอง

4.จัดให้มีกองทุนพัฒนาสหกรณ์

5.จัดตั้งธนาคารสหกรณ์ระดับชาติ

6.จัดตั้งตลาดสหกรณ์ระหว่างประเทศกับสหกรณ์ทั่วโลก


ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.สร้างเครือข่ายระบบสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เชื่อมต่อกันทั่วโลก

3.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลแห่งชาติและจัดให้มีเมืองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.ส่งเสริมการปลูกไม้สัก

2.ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมกำหนดเขตป่าไม้ให้ชัดเจน

3.ปิดและอนุรักษ์พื้นที่ป่าที่เป็นมรดกโลก

4.ป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะโดยยึดหลักผู้ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นผู้จ่าย

5.ออกกฎหมายควบคุมการนำเข้ากากสารพิษและขยะอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ


ด้านศาสนาและวัฒนธรรม

1.สร้างเอกลักษณ์ของคนไทยด้วยความมีน้ำใจ

2.ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของทุกศาสนา

3.ใช้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้และประชาคม

4.ยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อสะท้อนลักษณะพหุสังคมที่เป็นจุดเด่นของชาติไทย


ด้านสารสนเทศและสื่อสารมวลชน

1.กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นสมบัติสาธารณะ

2.สนับสนุนให้เกิดทีวีสาธารณะและจัดการแก้ปัญหาวิทยุชุมชน

3.ป้องกันมิให้มีการผูกขาดการผลิตสื่อต่างๆ การนำเสนอเนื้อหาเพียงด้านเดียวและเน้นแต่ความบันเทิงจนเป็นการทำลายสังคม


ด้านพลังงานของประเทศ

1.แก้ไขปัญหาการผูกขาดและการเอารัดเอาเปรียบในกิจการพลังงาน

2.ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็กโดยใช้เชื้อเพลิงชีวภาพหรือพลังงานทดแทน

3.สร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายก๊าซธรรมชาติให้ทั่วถึง

4.ตราพระราชบัญญัติมาตรฐานการประหยัดพลังงานในยานยนต์ เครื่องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอาคารที่อยู่อาศัย

5.ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานของภูมิภาค (Energy Hub)

6.เชื่อมโยงระบบไฟฟ้าของอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียวโดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าส่งไฟฟ้า


ด้านการท่องเที่ยว

1.ส่งเสริมวัฒนธรรมการต้อนรับนักท่องเที่ยว

2.ป้องกันมิให้กิจการการท่องเที่ยวส่งผลกระทบวิถีชีวิตของชุมชน

3.ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว


ด้านสังคม

1.เสริมสร้างสถาบันครอบครัว

2.คุ้มครองเด็กและเยาวชนจากความรุนแรง

3.ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย

4.สนับสนุนบทบาทของผู้หญิงในทางการเมือง

5.ออกกฎหมายการให้บริการแก่ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส


ด้านกีฬา

1.ลดภาษีอุปกรณ์กีฬาทุกประเภท

2.ขจัดปัญหาการผูกขาดของสมาคมกีฬาทุกประเภท



อ้างอิง