การเลือกตั้ง

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผู้เรียบเรียง มาลินี คงรื่น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


การปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดในปัจจุบัน เพราะเป็นระบอบการปกครองที่ยอมรับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างทั่วถึง และมีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการผูกขาดอำนาจทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คือ ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง แต่ในทางปฏิบัติประชาชนทุกคนไม่สามารถเข้าไปร่วมปกครองประเทศได้ทั้งหมด จึงต้องใช้วิธีเลือกตัวแทนเข้าไปดำเนินการแทน สำหรับประเทศไทยการเลือกตั้งผู้แทนประชาชนในระดับชาติ ได้แก่ การเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการเลือกสมาชิกวุฒิสภาเพื่อทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัตินั้นคือการออกกฎหมายต่าง ๆ ในการปกครองประเทศ และเลือกสรรบุคคลจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็นผู้นำคณะรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจึงเป็นวิธีการที่ทำให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างเสมอภาค

ด้วยเหตุนี้เมื่อรัฐสภาผ่านกฎหมายใด ๆ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ประชาชนจะปฏิเสธว่าตนไม่เห็นชอบด้วยไม่ได้ เพราะผู้ออกกฎหมาย ก็คือตัวแทนของประชาชนนั่นเอง นอกจากนี้การเลือกตั้งยังทำให้คณะผู้บริหารหรือคณะรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศด้วยความชอบธรรมเพราะเป็นตัวแทนของประชาชนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในรัฐสภา การเลือกตั้งจึงเป็นกระบวนการทางประชาธิปไตยที่มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นการแสดงเจตนารมณ์ ของประชาชนเจ้าของประเทศที่มอบความไว้วางใจให้ตัวแทนของประชาชนไปทำหน้าที่ปกครองประเทศ รวมทั้งแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในอดีต

การเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 โดยมีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2476 วิธีการเลือกตั้งเป็นแบบทางอ้อม ซึ่งได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 78 คน เป็นสมาชิกประเภทที่ 1 สมาชิกประเภทที่ 1 หมายถึงผู้ที่ราษฎรเลือกตั้ง โดยราษฎรเลือกผู้แทนตำบลก่อน จากนั้นผู้แทนตำบลจึงไปเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นลำดับต่อไป สำหรับสถิติการเลือกตั้งที่น่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทยคือ มีประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 4,278,231 คน และประชาชนมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งจำนวน 1,773,532 คน จังหวัดที่มีผู้ใช้สิทธิ์มากที่สุดคือจังหวัดเพชรบุรี หลังจากนั้นประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 22 ครั้ง

สถิติการเลือกตั้งทั่วไปของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[1]

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ได้กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 480 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน 400 คน และจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน (กลุ่มจังหวัด) จำนวน 80 คน[2] ดังนี้

1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิลงคะแนนเลือกผู้สมัครได้เท่ากับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น มีวิธีการคือนำจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน ไปหารจำนวนประชากรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งเพื่อให้ได้ค่าเฉลี่ยประชากรต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 คน แล้วนำไปคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี โดยจังหวัดที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ให้ถือเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งและจังหวัดที่มี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มากกว่า 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งโดยแต่ละเขตจะมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ไม่เกิน 3 คน ในกรณีที่แบ่งเขตเลือกตั้งในจังหวัดหนึ่งให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครบ 3 คนทุกเขตไม่ได้ ให้แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็นเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตละ 3 คนเสียก่อน และเขตเลือกตั้งที่เหลือต้องมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่า 2 คน

2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเลือกบัญชีรายชื่อผู้สมัครที่พรรคการเมืองจัดทำได้เพียงหนึ่งบัญชีรายชื่อเท่านั้น และการกำหนดเขตเลือกตั้งแบบสัดส่วน จะแบ่งพื้นที่ประเทศไทยเป็น 8 กลุ่มจังหวัด โดยในแต่ละกลุ่มจังหวัดถือเป็นหนึ่งเขตเลือกตั้งโดยจะมี ส.ส. แบบสัดส่วนได้กลุ่มจังหวัดละ 10 คน โดย ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) มีสัญชาติไทย กรณีบุคคลแปลงสัญชาติจะต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี

(2) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และ

(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่นอกเขตเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาน้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้งหรือมีถิ่นที่อยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา

ส่วนบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 บัญญัติเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของบุคคลไว้ด้วยว่า บุคคลดังต่อไปนี้ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

(1) ภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช

(2) อยู่ในระหว่างเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฎว่ามีผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีจำนวนทั้งสิ้น 44,002,593 คน มีผู้มาใช้สิทธิ 32,759,009 คน คิดเป็น 74.45 % ถือเป็นการใช้สิทธิมากสุดเป็นประวัติการณ์ สถิติที่น่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งปัจจุบันพบว่าจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดลำพูน คิดเป็น 88.90 % ส่วนจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิน้อยที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร คิดเป็น 66.73 %

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[3]

ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องมีคุณสมบัติสรุปได้ดังนี้

1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด

2. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบรูณ์ในวันเลือกตั้ง

3. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับถึงวันเลือกตั้ง

4. ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันเลือกตั้ง

(ข) เป็นบุคคลที่เกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง

(ค ) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีการศึกษา

(ง ) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียบบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

หน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหน้าที่สรุปได้ดังนี้

1. ออกกฎหมายหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน

2. เป็นผู้เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี

3. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การตั้งกระทู้ถาม

4. จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศ

5. แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนโดยนำเสนอปัญหาต่อรัฐบาลเพื่อหาทางแก้ไข เช่น การเสนอญัตติตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาต่างๆ

การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ตั้งแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของชาติ เมื่อพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา รูปแบบของรัฐสภาไทยมีทั้งแบบสภาเดี่ยวและสภาคู่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น สมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่สำคัญในการกลั่นกรองกฎหมาย จึงเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ความชำนาญในวิชาการหรืออาชีพต่างๆ ซึ่งแต่เดิมใช้วิธีแต่งตั้งทั้งหมด โดยพระมหากษัตริย์[4] แต่ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการเลือกตั้งและการสรรหา สมาชิกวุฒิสมาชิกมีหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติโดยสรุป คือ กลั่นกรองร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รวมถึงพิจารณาอนุมัติพระราชกําหนดต่างๆ และทำหน้าที่ในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามมาตรา 161 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

วุฒิสภาประกอบดวยสมาชิกจํานวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และมาจากการสรรหา ดังนั้น สรุปได้ว่าวุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกที่มีที่มาจาก 2 ทาง คือ สมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งสิ้น 76 คน และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา จํานวน 74 คน

1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในแต่ละจังหวัด

เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศกําหนดเขตเลือกตั้งและดําเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ทั้งนี้ กฎหมายและระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดให้นําบทบัญญัติในส่วนของ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาบังคับใช้โดยอนุโลม ตั้งแต่บททั่วไป เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง เจ้าพนักงานผู้ดําเนินการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกตั้ง การนับคะแนนและการประกาศผลการเลือกตั้ง การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง การดําเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม รวมทั้งการคัดค้านการเลือกตั้ง

2. การสรรหาสมาชิกวุฒิสภา

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ รวมทั้งระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการลงทะเบียนขององค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 กําหนดหลักเกณฑและกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาไว้ โดยสรุปดังนี้

(1) เมื่อมีเหตุต้องสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษากําหนดวันสรรหาภายใน 3 วันนับแต่วันที่มีเหตุให้ต้องมีการสรรหา และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดให้องค์กรภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นมาลงทะเบียนพร้อมทั้งเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภา ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันสรรหา ทั้งนี้ แต่ละองค์กรเสนอชื่อได้ 1 คน

องค์กรต่างๆ ที่มีสิทธิเสนอชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย หรือเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการรับรอง โดยกฎหมายให้จัดตั้งขึ้นในราชอาณาจักรมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และต้องมิใช่องค์กรที่แสวงหาผลกําไรหรือดําเนินกิจกรรมทางการเมือง

บุคคลที่จะไดรับการเสนอชื่อจากองคกรภาคตางๆ ตองเปนบุคคลที่เปนหรือเคยเปนสมาชิกขององคกร หรือปฏิบัติหนาที่หรือเคยปฏิบัติหนาที่ในองคกร ซึ่งมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะตองหามตามที่รัฐธรรมนูญกําหนด โดยใหผูที่ไดรับการเสนอชื่อชําระคาธรรมเนียมคนละ ๕,๐๐๐ บาท โดยใหคาธรรมเนียมตกเปนรายไดของรัฐ และบุคคลดังกลาวจะขอถอนชื่อออกจากการเสนอชื่อเขารับการสรรหามิได

(๒) คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมรายชื่อบุคคลซึ่งไดรับการเสนอชื่อเสนอตอคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา ภายใน ๕ วันนับแตวันสิ้นสุดระยะเวลาการเสนอชื่อ

ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาประกอบดวยกรรมการ ไดแก ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผูตรวจการแผนดิน ประธานกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผนดิน ผูพิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหนงไมต่ำกวาผูพิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญศาลฎีกา มอบหมายจํานวน ๑ คน และตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจํานวน ๑ คน

(๓) คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาพิจารณาสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสมที่จะดํารงตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาจากบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรวบรวมมาจากการเสนอชื่อขององคกรตางๆ จํานวนทั้งสิ้น ๗๔ คน และแจงผลการพิจารณาตอคณะกรรมการการเลือกตั้งภายใน ๓๐ วันนับแตวันที่ไดรับบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้ ใหผลการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาเปนที่สุด

ในการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาของคณะกรรมการสรรหานั้น ใหคํานึงถึง ความรู ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณที่จะเปนประโยชนในการปฏิบัติงานของวุฒิสภาเปนสําคัญ และใหคํานึงถึงองคประกอบจากบุคคลที่มีความรู ความสามารถในดานตางๆที่แตกตางกัน โอกาสและความเทาเทียมกันทางเพศ สัดสวนของบุคคลในแตละภาค รวมทั้งการใหโอกาสกับผูดอยโอกาสทางสังคมดวย

(๔) คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการสรรหาและแจงผลการสรรหาไปยังประธานรัฐสภา เพื่อทราบ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา[5]

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา สรุปได้ดังนี้ ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือได้รับการเสนอชื่อเปนสมาชิกวุฒิสภาต้องมีอายุไม่ต่ำากวา ๔๐ ปบริบูรณ และตองจบการศึกษาไมต่ำกวาปริญญาตรีหรือเทียบเทา ผูสมัครรับเลือกตั้งหรือไดรับการเสนอชื่อเปนสมาชิกวุฒิสภา ตองไมเปนบุพการี คูสมรส หรือบุตรของผูดํารงตําแหนงสมาชิกสภาผูแทนราษฎรหรือผูดํารงตําแหนงทางการเมือง ตองไมเปนสมาชิกหรือผูดํารงตําแหนงใดในพรรคการเมืองหรือเคยเปนสมาชิก หรือเคยดํารงตําแหนงและพนจากการเปนสมาชิกหรือการดํารงตําแหนงใด ๆ ในพรรคการเมืองมาแลวยังไมเกิน ๕ ป ตองไมเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรหรือเคยเปนสมาชิกสภาผูแทนราษฎรและพนจากตําแหนงมาแลวไมเกิน ๕ ปี ต้องไมเปนรัฐมนตรีหรือผูดํารงตําแหนงทางการเมืองอื่นซึ่งมิใชสมาชิกสภาทองถิ่นหรือผูบริหารทองถิ่น หรือเคยเปนแตพนจาก ตําแหนงดังกลาวมาแลวยังไมเกิน ๕ ป และสมาชิกวุฒิสภาจะเปนรัฐมนตรีผูดํารงตําแหนงทางการเมืองอื่น หรือผูดํารงตําแหนงในองคกรอิสระตามรัฐธรรมนูญมิได อีกทั้ง บุคคลผูเคยดํารงตําแหนงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแลวยังไมเกิน ๒ ป จะเปนรัฐมนตรีหรือผูดํารงตําแหนงทางการเมืองมิได

หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา[6]

อำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สรุปได้ดังนี้

๑. กลั่นกรองกฎหมาย

๒. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

๓. ให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่าง ๆ

๔. พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่ง

๕. ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง

การไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่สำคัญของปวงชนชาวไทยทุกคน พี่น้องประชาชนควรร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันออกมาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเพราะนอกจากจะได้สมาชิกรัฐสภาที่มีความรู้ความสามารถ และเป็นคนดีตามความตั้งใจแล้วยังเป็นการป้องกันการทุจริตในการซื้อสิทธิ ขายเสียง ได้อีกทางหนึ่งด้วย

อ้างอิง

  1. ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยุคปฏิรูปการเมืองใหม่ 6 มกราคม 2544. กรุงเทพฯ : หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2544.
  2. ความรู้เกี่ยวความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2550. http://www.tddf.or.th/tddf/constitution/readart.php?id=00468 สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2550.
  3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2550.
  4. ประวัติวุฒิสภา. http://www.intarat.net/senate_1.php สืบค้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2552.
  5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๐.
  6. วุฒิสภา. http://www.senate.go.th/main/senate/unit.php สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. ๑๐ ปี กกต. ก้าวต่อไปเพื่อประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ๒๕๕๑.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. ๗๕ ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๐.

บรรณานุกรม

ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี ๒๕๕๐. http://www.tddf.or.th/tddf/constitution/readart.php?id=00468 สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๒.

ปทมา สูบกําปง. วุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ .ในสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.sumc.in.th สืบค้นเมื่อ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๒.

ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยุคปฏิรูปการเมืองใหม่ ๖ มกราคม ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ : หอสมุดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๔๔.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๐.

สรรสาระรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ : คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ม.ป.ป.

อำนาจหน้าที่รัฐสภา ใน หนังสือที่ระลึกในการที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวายพระภิกษุที่จำพรรษา ณ วัดวัดศรีสุดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร วันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ๒๕๕๑.

ดูเพิ่มเติม

  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎรและการไดมาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๕๐
  • ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งวาดวยการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๐