ระบบงบประมาณองค์กรอิสระ

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:18, 28 กันยายน 2552 โดย Rapeephan (คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: เอื้อมพร ตสาริกา และ วิโรจน์ อาลี. (2548) '''ระบบงบประมาณองค์กร...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

เอื้อมพร ตสาริกา และ วิโรจน์ อาลี. (2548) ระบบงบประมาณองค์กรอิสระ. (ถ่ายสำเนา) : สถาบันพระปกเกล้า. (เลขหมู่หนังสือสำหรับห้องสุมดสถาบันพระปกเกล้า สป-HD3856.อ62)


บทคัดย่อ



รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นซึ่งเป็นองค์กรอิสระนอกเหนือจากองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย ได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม กำกับและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐบาลอย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภายใต้เป้าประสงค์หลักคือ “ผลประโยชน์ส่วนรวม” หรือ “ผลประโยชน์ของประชาชน” (Public Interest) อาจกล่าวได้ว่า องค์กรอิสระที่จะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีจุดประสงค์สำคัญคือ เพื่อควบคุมผู้ที่ใช้อำนาจ เพราะเนื่องจากในความเป็นจริง คงไม่อาจสามารถสรุปได้ว่า เมื่อมีการเลือกตั้งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแล้ว ผู้ที่ได้รบการเลือกตั้งและเข้ามามีอำนาจจะเป็นผู้ที่ไม่ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว (abuse of Power) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมือ่ผู้ที่เข้ามาสามารถมีและใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ (Absolute Power) ดังนั้น ภารกิจในการควบคุมผู้ที่ใช้อำนาจจึงถือว่าเป็นภารกิจที่เป็นร่มใหซ่ของการจัดตั้งองค์กรอิสระดังกล่าว บัดนี้ได้มีการดำเนินงานรวมระยะเวลาประมาณ 6 ปี ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดไว้ ซึ่งพบว่ามีทั้งที่ประสบความสำเร็จ และประสบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน งานวิจัยนี้จึงศึกษาถึงภาพรวมขององค์กรอิสระดังกล่าวและปัญหาในการบริหารงบประมาณภายในให้อย่างเป็นระบบและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังนำเอาประสบการณ์ในกรณีของต่างประเทศมาพิจารณาประกอบ