ยุคสุโขทัย

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:32, 3 เมษายน 2552 โดย Ekkachais (คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าใหม่: ยุคสุโขทัย ราวศตวรรษที่ ๑๘ จากหลักศิลาจารึกของขอมสมัย...)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ยุคสุโขทัย

ราวศตวรรษที่ ๑๘ จากหลักศิลาจารึกของขอมสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ กล่าวว่า ชาวไทยอพยพปะปนกับชาวเขมร พ.ศ. ๑๗๖๓ ขุนศรีท้าวนำถม ผู้ก่อสร้างกรุงสุโขทัยและศรีสัชนาลัย โดยเรียกชื่อเมืองว่า “ศรีสัชนาลัยสุโขทัย” ในสมัยนั้นไทยอยู่ภายใต้อำนาจของขอมโดยมี “โขลญ” ตำแหน่งทหารของขอมมาปกครอง พ.ศ. ๑๗๖๓ อำนาจของขอมเริ่มเสื่อมลง โดยเริ่มถอนทหารที่ส่งไปปกครองอาณาจักรจามปาทางตะวันออกเพื่อมาควบคุมทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ย่อมเป็นหลักฐานว่าเขมรเริ่มหวั่นเกรงอำนาจไทย และใน พ.ศ. ๑๘๐๐ พ่อขุนผาเมือง โอรสของขุนศรีท้าวนำถมเจ้าเมืองราดได้คบคิดกับพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง ได้รวมกำลังกันเข้าตีเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย และสถาปนาขึ้นเป็นอาณาจักรสุโขทัย นักวิชาการหลายฝ่ายมีความเห็นแตกต่างกันไป บ้างก็ว่าอพยพมาจากตอนใต้ของจีน บ้างก็ว่าคนไทยอยู่ที่นี่มานานแล้ว แต่อาณาจักรสุโขทัยเป็นอาณาจักรแห่งแรกของคนไทย ซึ่งปกครองโดยคนไทย ปัญหาการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย งานวิจัย บางคนเห็นว่า สุพรรณบุรี ลพบุรี เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ก็มีความเจริญรุ่งเรืองไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ประเภทที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนคงต้องให้เป็นธุระของนักวิจัย หรือผู้เชี่ยวชาญต่อไป การกล่าวถึงอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ นั้น เป็นการศึกษาพัฒนาการทางสังคมไทยที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของการพัฒนาจากยุคต้น ๆ จนถึงปัจจุบัน