London Bridge is down

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:33, 12 กันยายน 2566 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย " '''London Bridge is down''' '''การสวรรคตของ''''''สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบ...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

London Bridge is down

การสวรรคตของ'สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง'แห่งสหราชอาณาจักร

 

ศุทธิกานต์ มีจั่น

London Bridge is Down หรือ สะพานลอนดอนพังแล้ว เป็นชื่อรหัสลับและแผนรับมือหลังจาก
ที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จสวรรคด้วยพระชนมายุ 96 พรรษา
โดยประกาศอย่างเป็นทางการจากพระราชวังบัคกิงแฮม เมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 ตามเวลาท้องถิ่น
ของอังกฤษ โดยพระองค์ทรงครองราชย์มาครบ 70 ปี ทั้งนี้ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถสิ้นพระชนม์ จะมีการดำเนินงานตามพิธีการอย่างเข้มงวดเพื่อให้มีการเตรียมการอำลาครั้งสุดท้าย เพื่อให้มีความมั่นใจได้ถึงความเรียบร้อย ความมั่นคงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ภายใต้รัชสมัยของพระนาง

ภาพสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และสะพานลอนดอน[1]

 

แผนสำหรับดำเนินการเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตแล้ว มีการวางแผนไว้
3 ช่วงเวลาหลัก ดังนี้

วันสวรรคต - เซอร์ คริสโตเฟอร์ ฌีดต์ (Sir Christopher Geidt) ซึ่งเป็นเลขานุการประจำพระองค์และสมาชิกสภาขุนนาง จะเป็นผู้ติดต่อกับนายกรัฐมนตรีเพื่อแจ้งข่าวสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถ
เอลิซาเบธที่'
2 แก่นายกรัฐมนตรี ด้วยถ้อยคำว่า “สะพานลอนดอนพังแล้ว” จากนั้นข้าราชบริพารทั้งหลาย
ก็จะแจ้งข้อความ "สะพานลอนดอนพังแล้ว" ต่อ ๆ กันไปผ่านโทรศัพท์ที่มีระบบการป้องกันอย่างแน่นหนา
เพื่อเริ่มดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่เรียกว่า ปฏิบัติการสะพานลอนดอน (
Operation London Bridge)[2] ซึ่งเป็นการเตรียมดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ตั้งแต่แถลงข่าวไปจนถึงการจัดพระราชพิธีไว้อาลัย
และฝังพระศพ  จากนั้น ศูนย์ปฏิกิริยาโลก (Global Response Centre) ในสังกัดสำนักต่างประเทศ ซึ่งมีที่ตั้งอันไม่เปิดเผยอยู่ในลอนดอน[3] ไปยังรัฐบาลอีก 15 ประเทศ ที่ควีนทรงเป็นพระประมุขตามด้วยอีก 36 ประเทศ ที่อยู่ในเครือจักรภพอังกฤษ จากนั้นจึงจะมีการแจ้งสื่อมวลชน โดยแถลงต่อสมาคมสื่อ และต่อ '
BBC
(the British Broadcasting Corporation) ทางระบบส่งผ่านการแจ้งเตือนทางวิทยุ(Radio Alert Transmission System) รวมถึงต่อสถานีวิทยุอื่น ๆ ผ่านเครือข่าย "ไฟสีฟ้า" (obit light) ซึ่งจะเป็นที่รับทราบของพิธีกรรายการวิทยุว่า ถึงเวลาเปิด "เพลงที่เหมาะสม" และเตรียมเสนอข่าวฉับพลัน จากนั้นสำนักพระราชวังจะประกาศอย่างเป็นทางการ แล้วมีการเรียกประชุมรัฐสภานัดพิเศษ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีแถลงการสวรรคตต่อสภาสามัญชน (House of Commons)

24 ชั่วโมงหลังการสวรรคต -เจ้าชายชาลส์ พระโอรสของสมเด็จพระราชินีผู้ล่วงลับจะทรงประทาน
คำกล่าวแก่ประชาชนทางโทรทัศน์ และสภาสืบราชยสมบับติ (
Accession Council) จะประชุมกัน
เพื่อประกาศให้เจ้าชายชาลส์ เป็นพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ที่พระราชวังเซนต์ เจมส์  (St. James's Palace) จากนั้นจะมีการประชุมรัฐสภาเพื่อถวายสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่
และกิจกรรมรัฐสภาทั้งหมดจะถูกระงับเป็นเวลา 10 วัน

งานพระศพ -ตามแผนปฏิบัติการจะให้มีการเตรียมเคลื่อนหีบพระศพไว้หลายทาง ขึ้นอยู่กับสถานที่สวรรคต อาทิ เช่น

(1) หากสวรรคต ณ ปราสาทวินด์เซอร์ หรือตำหนักซานดริงแฮม จะเคลื่อนหีบพระศพด้วยรถยนต์
ไปยังพระราชวังบักกิงแฮมภายใน 1-2 วัน

(2) หากสวรรคตในต่างประเทศ จะให้กองบินที่ 32 ลำเลียงหีบพระศพไปยังสถานีนอร์ตโฮลต์
แล้วเคลื่อนต่อด้วยรถยนต์ไปยังพระราชวังบักกิงแฮม

'(3) หากสวรรคต ณ พระราชวังโฮลีรูดในสกอตแลนด์ จะไว้หีบพระศพ ณ อาสนวิหารนักบุญไจลส์
('
St Giles' Cathedral) แล้วจึงขนย้ายต่อด้วยรถไฟหลวงไปยังลอนดอน

' หีบพระศพจะตั้งไว้ในท้องพระโรงพระราชวังบักกิงแฮมเป็นเวลา 4 วัน แล้วจะย้ายไปตั้งสักการะ
ณ โถงเวสมินสเตอร์ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ อีก 4 วัน ส่วนงานพระศพจะจัดขึ้น ณ เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ('
Westminster Abbey) เมื่อสวรรคตแล้ว 9 วัน หลังจากนั้น จะฝังพระศพไว้ ณ โบสถ์น้อยนักบุญจอร์จ
(St George's Chapel) ในปราสาทวินด์เซอร์

ภาพแสดงการไว้อาลัยการสวรรคตของของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ของเวปไซต์ราชวงศ์อังกฤษ[4]

 

ทั้งนี้ สำหรับราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งเป็นราชวงศ์เก่าแก่ของโลก ถือว่าการคาดการณ์การเสด็จสวรรคต
ของกษัตริย์อังกฤษนั้นเป็นเรื่องปกติ
[5]และมีการเตรียมความพร้อมในกรณีที่พระมหากษัตริย์สวรรคตอย่างเป็นขั้นเป็นตอน แม้จะไม่ได้พูดถึงอย่างเปิดเผย แต่บุคคลที่เกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวัง ศาสนจักร และรัฐบาล ต้องร่วมมือกันวางแผนต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอนไว้ล่วงหน้า เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดหรือผิดธรรมเนียมที่อาจเกิดขึ้นถ้าหากมีเวลาเตรียมตัวไม่พอ[6]โดยรหัสลับLondon Bridge is Down” นี้ไม่เคยถูกใช้ รวมถึงแผนปฏิบัติการไม่เคยเปิดเผยอย่างเป็นทางการมาก่อน มีเพียงการให้ข้อมูลเบื้องต้นว่าทุกขั้นตอนมีความละเอียดอ่อน และเป็นการเจรจาที่ลับสุดยอด ซึ่งถูกวางแผนครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 และมีการแก้ไขหลายครั้งหลายหน โดยประกอบด้วยรายละเอียดของการแจ้งข่าว การรับมือกับฝูงชนที่มุ่งหน้าสู่ลอนดอน ตลอดจนรายละเอียดในพิธี เพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างจะออกมาอย่างสง่างาม โดยมีการประชุมกันเรื่องนี้ปีละสอง
หรือสามครั้ง ส่วนใหญ่เป็นรายละเอียดต่างๆ ในเชิงพิธีกรรม เช่นหารือกันเรื่องการเคลื่อนพระศพจากประตูของพระราชวังเซนต์เจมส์ไปถึงทางเข้าของเวสต์มินสเตอร์ฮอลที่ต้องใช้เวลานาน 28 นาที เป็นต้น เพื่อให้งานทั้งหมดเป็นไปอย่างราบรื่นและสมบูรณ์แบบที่สุด โดยแผนนี้ได้รับการดูแลปรับปรุงให้ละเอียดขึ้นหลังเปลี่ยนศตวรรษเป็นต้นมา
[7]อีกทั้งแผนการดังกล่าวยังเพื่อเป็นการเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนรัชกาลของประมุขแห่ง
สหราชอาณาจักรจะดำเนินต่อไปอย่างไม่สะดุด โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 มีส่วนร่วมในการวางแผนด้วยพระองค์เอง
[8]

ภาพพระราชพิธีพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2[9]

 

'กล่าวได้ว่า การเตรียมตัวรับการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ได้เคยได้รับความสนใจจาก สำนักข่าว 'Business Insider ได้นำเสนอเรื่องนี้ไว้ในปี ค.ศ. 2015 และเมื่อปลายปี ค.ศ. 2016 เมื่อสมเด็กพระราชินีไม่ได้ทรงไปร่วมพิธีมิสซาฉลองคริสต์มาสอย่างที่เคยเพราะประชวร ประกอบกับพระชนมายุที่มากแล้ว นอกจากนี้สำนักข่าวสำคัญของโลกอื่นๆ อย่าง CNN ได้มีการเตรียมข่าวนี้ไว้แล้วเป็นชุด เพื่อจะได้นำออกฉายได้ทันท่วงที ในขณะที่ The Guardian มีรายงานการเตรียมพร้อมเอาไว้แล้วเช่นกัน เช่นเดียวกับ นิตยสาร Times ที่ได้มีการเตรียมข้อมูลไว้มากมายที่สามารถนำเสนอได้ติดกันนาน 11 วัน รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ เช่น Sky ได้มีการซ้อมทำข่าวนี้ไว้ โดยใช้รหัสลับว่าเป็นข่าวของ ‘Mrs Robinson’ ซึ่งเป็น
คำเรียกแทนสมเด็จพระราชินีนาถ ทั้งยังได้มีการทำข้อตกลงไว้กับเหล่าผู้เชี่ยวชาญเรื่องราชวงศ์อังกฤษเพื่อให้สามารถสัมภาษณ์สดได้ทันท่วงที
[10]

อย่างไรก็ดี การใช้รหัสลับสำหรับบอกข่าวการสวรรคตของบุคคลสำคัญในราชวงศ์นั้น เริ่มขึ้นเมื่อสมัยการสวรรคตของพระเจ้าจอร์จที่ 6 (George VI)  ในปี ค.ศ. 1952 โดยใช้ข้อความแจ้งข่าวว่า “มุมสวนไฮด์” (Hyde Park Corner) แก่เชื้อพระวงศ์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสื่อถึงว่าพระเจ้าแผ่นดินสิ้นแล้ว
โดยเลขานุการในพระองค์ ได้โทรศัพท์บอกผู้ช่วยถึงเหตุการณ์นี้ว่า “Hyde Park Corner. Go and tell
Mr Churchill and Queen Mary.
” และนายวินสตัน เชอร์ชิล (Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีอังกฤษในขณะนั้นก็สื่อสารต่อโดยใช้รหัสลับนี้ด้วย[11] ซึ่งแต่ละพระองค์จะมีชื่อปฏิบัติการรับมือในกรณีสวรรคต
เฉพาะพระองค์ ทั้งนี้ ภายหลังปลายศตวรรษที่ 20 ส่วนใหญ่มักตั้งตามชื่อตามสะพานสำคัญที่มักมีประวัติเกี่ยวข้องกับเชื้อพระวงศ์นั้น ๆ อาทิ เช่น "ปฏิบัติการสะพานเทย์" (Operation Tay Bridge) สำหรับสมเด็จพระราชชนนี เอลิซาเบธ (Queen Elizabeth The Queen Mother) ที่มีเตรียมงานพระศพล่วงหน้าถึง 22 ปีก่อนถึงการสวรรคตในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งแนวทางที่เตรียมไว้ได้ถูกนำมาใช้ก่อนหน้าในการจัดการการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุของเจ้าหญิงไดอาน่า (Princess Diana) ในปี ค.ศ. 1997, "ปฏิบัติการสะพานฟอร์ท" (Operation Forth Bridge) ใช้สำหรับเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ซึ่งเป็นชื่อสะพานที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของใจกลางเมืองเอดินบะระ ที่ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 2021  นอกจากนี้ได้มีการใช้ชื่อ "ปฏิบัติการสะพานเมนาย" (Operation Menai Bridge) สำหรับเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์[12]  พระยศในขณะก่อนได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (Charles III) แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งได้มีพระราชพิธีราชาภิเษกจัดขึ้นในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 โดยเป็นการตั้งชื่อตามสะพานแขวนเมนายในเวลส์
ที่เชื่อมต่อแผ่นดินใหญ่กับเกาะแองเกิลซีย์ (Anglesey)

 

อ้างอิง

[1] “'Operation Unicorn' kicks in after Queen Elizabeth's death in Scotland...”, Retrieved from URL https://www. onmanorama.com/news/world/2022/09/08/queen-elizabeth-operation-london-bridge.html (20 June 2023).

[2] “London Bridge is falling down บทเพลงผ่านยุคสมัยแฝงปรัชญาการเกิด-ดับของชีวิต”, สืบค้นจาก https://www.springnews. co.th/lifestyle/inspiration/829620 (20 มิถุนายน 2566).

[3] “'London Bridge is down': the secret plan for the days after the Queen’s death”, สืบค้นจาก https://www.theguardian. com/uk-news/2017/mar/16/what-happens-when-queen-elizabeth-dies-london-bridge (20 June 2023).

[4] “The London Bridge is down, the farewell to Elizabeth and the proclamation of the new king”, Retrieved from URL https://en.italiani.it/the-london-bridge-is-down-the-farewell-to-elizabeth-and-the-proclamation-of-the-new-king/ (20 June 2023).

[5] “The Day THE QUEEN dies”, สืบค้นจาก https://thematter.co/thinkers/the-day-the-queen-dies/20852 (20 มิถุนายน 2566).

[6] “THE ATTENTION: รู้จัก ‘ปฏิบัติการสะพานลอนดอน’ เมื่อควีนอังกฤษสวรรคตแล้วต้องทำอย่างไร?”, สืบค้นจาก https://www. instagram.com/p/CiZEhcePJFD/ (20 มิถุนายน 2566).

[7] “The Day THE QUEEN dies”, สืบค้นจาก https://thematter.co/thinkers/the-day-the-queen-dies/20852 (20 มิถุนายน 2566).

[8] “BRIEF 912 ‘London Bridge is down’ รู้จักรหัสลับที่ถูกใช้ครั้งแรก ในวันที่ควีนเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคต”, สืบค้นจาก https://the matter.co/brief/185155/185155(20 มิถุนายน 2566).

[9] “All the Photos of Queen Elizabeth's State Funeral”, Retrieved from URL https://www.townand countrymag.com/ society/tradition/g41229305/queen-elizabeth-state-funeral-photos/(20 June 2023).

[10] “What will happen now the Queen has died - 27 step plan for the nation rolled out over 10 days”, Retrieved from URL https://www.mylondon.news/news/uk-world-news/what-operation-london-bridge-27-15982422(20 June 2023).

[11] “The Day THE QUEEN dies”, สืบค้นจาก https://thematter.co/thinkers/the-day-the-queen-dies/20852(20 มิถุนายน 2023).

[12] “London Bridge is falling down บทเพลงผ่านยุคสมัยแฝงปรัชญาการเกิด-ดับของชีวิต”, สืบค้นจาก https://www. springnews.co.th/lifestyle/inspiration/829620 (20 มิถุนายน 2566).