แนวคิดการแก้ปัญหาภาคใต้

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:31, 15 มีนาคม 2552 โดย Ekkachais (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

แนวคิดการแก้ปัญหาภาคใต้ รศ.ดร.อิศรา ศานตศาสน์

1. สถานการณ์ปัจจุบัน และสาเหตุรากเหง้าของปัญหา 2. สาเหตุและรากเหง้าของปัญหาไม่ใช่เพียงความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างทางเชื้อชาติ ภาษาและศาสนาเท่านั้น ความขัดแย้งในอดีตเป็นความขัดแย้งระหว่างสยามคือกรุงเทพฯกับปัตตานี โดยมี “นคร” ต่างๆ คือหัวเมืองทางใต้ หลายๆหัวเมืองมีส่วนร่วมด้วย มูลเหตุสำคัญอีกสองประการที่ถูกมองข้ามคือ ความขัดแย้งในอดีตเป็นการแย่งชิงผลประโยชน์ทางการค้าในอ่าวไทย โดยมีมหาอำนาจ เช่น อังกฤษคอยชักใยและเข้าข้าง (ถือหาง) ฝ่ายใดก็ตามที่ให้ประโยชน์แก่ตน

สถานการณ์ปัจจุบันเป็นความต่อเนื่องจากความขัดแย้งในอดีต โดยมีหลายปัจจัยที่ทราบกันดีเข้ามาเติมเชื้อเพลิง เช่น การดูถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ความอยุติธรรม การแบ่งแยกทางศาสนา อีกปัจจัยหนึ่งคือความล้าหลังความเจริญทางวัตถุและการแก้ปัญหาความทุกข์ยากของประชาชน เกิดจากนโยบายการจัดสรรงบประมาณที่ความเป็น “ภาคใต้” มาบดบังความต้องการและปัญหาของสามจังหวัด+สี่อำเภอในสงขลา

โครงการดีๆและงบประมาณถูกจัดสรรให้แก่สงขลาและภูเก็ตมากเป็นพิเศษ ขณะที่พื้นที่สามจังหวัด+สี่อำเภอในสงขลาไม่ได้รับเท่าที่ควร ตลอดจนปัญหากรศึกษาที่บีบเค้นเยาวชนให้เรียนหนังสือเป็นภาษาไทยในช่วง 10 ปีแรกของชีวิต (อนุบาล/ประถม) ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กกำลังพัฒนา ทำให้เกิดการ block การเรียนรู้วิชาต่างๆ ผลการทดสอบทางวิชาการต่างๆของเด็กมุสลิมในพื้นที่จึงมักต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย

3. วิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต

ผมคาดเดาอนาคตไม่ออก แต่บทเรียนปัญหาชนกลุ่มน้อยในหกประเทศ (มาเลย์/อินโด/ตุรกี และ ฟิลิปปินส์/จีน/อินเดีย) ชี้ว่าความสำเร็จในการแก้ปัญหาในประเทศเหล่านี้ ประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้ - ฝ่ายก่อการต้องมีผู้อำนาจ (องค์กร) ที่สามารถเป็นตัวแทนในการเจรจาได้ - ฝ่ายรัฐต้องรักษาสัญญาและข้อตกลง ไม่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ เช่น เมื่อรัฐเพลี่ยงพล้ำก็ยอม และปฏิเสธเมื่อได้เปรียบในสถานการณ์ - ยอมรับอัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย ยอมรับในความเท่าเทียมกัน - มีคนกลางในการเจรจา - ใช้ประโยชน์จาก connection กับโลกมุสลิมของชนกลุ่มน้อย - ไม่ระแวงและเชื่อว่าเมื่อประชาชนกินดีอยู่ดี จะไม่มีความคิดแยกดินแดนเป็นอิสระ - หลีกเลี่ยง ไม่ใช่ความรุนแรงทุกรูปแบบ เช่น การใช้กำลังทหาร การอุ้มฆ่า การข่มขืน - หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ discrimination และการแยกพวก exclusion ระหว่างพื้นที่ ระหว่างคนไทยพุทธ/มุสลิม/มลายู - รัฐต้องเข้าใจว่ามุสลิมไทยแตกต่างจากมุสลิมในประเทศอื่น ความขัดแย้งของเราแตกต่างจากความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แตกต่างจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับโลกมุสลิม หลีกเลี่ยงที่จะดึงประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้งที่ไม่ใช่ของเรา

4. กรอบคิดและทิศทาง + ข้อเสนอเชิงนโยบาย

4.1 การวางแผนพัฒนาพื้นที่

ควรดูว่าสามจังหวัด+สี่อำเภอในสงขลา มีอะไรเป็น Endowment และเริ่มจากจุดนั้น เช่น - ความเป็นเมืองท่าพาณิชย์นาวีในอดีต - ความเป็นแหล่งวิชาการศาสนาอิสลามของ Southeast Asia - ทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ การพัฒนาจากจุดที่เป็น Endowment เป็นสิ่งที่ดี ถือเป็นทุนเดิม การพัฒนาจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นจึงทำได้ง่ายกว่าต้นทุนต่ำ 4.2 แนวทางที่ควรจะเป็น - กลับมาแนวคิดเดิม ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ และทบทวนนิคมอุตสาหกรรม - ให้ปัตตานีเป็นศูนย์กลางการศึกษาของพื้นที่ รวมถึงการศึกษาทางศาสนาอิสลามด้วย เป้าหมายคือให้ผู้สนใจอิสลามใน ASEAN และเอเชียกลาง และแม้แต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน มองที่นี่เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลาม - อุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรทางทะเลเป็นวัตถุดิบ หลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมที่ก่อมลภาวะ ดึงแรงงานจากครอบครัว นั่นหมายถึงอุตสาหกรรมที่อยู่กับชุมชน - ส่งเสริมภาคบริการ การท่องเที่ยว บริการสุขภาพที่มุ่งลูกค้าจากโลกมุสลิมและตะวันออกกลาง - ให้มุสลิมในพื้นที่มีส่วนแบ่งในชิ้นเค้กมากกว่าที่จะเป็นเพียงแรงงานและล่าม ซึ่งหมายถึงการให้การฝึกอบรมเพื่อเตรียมแรงงานมีฝีมือและผู้ประกอบการในภาคเหล่านี้ (อุตสาหกรรม/การท่องเที่ยว/บริการทางการแพทย์)