หลักเกณฑ์การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ผู้เรียบเรียง ผศ.ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
หลักเกณฑ์การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1. หลักการสำคัญ
การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นหลักการสำคัญเพื่อให้คะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชนในการเลือกผู้แทนราษฎรของตนเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมและมีความเสมอภาคในการออกเสียงลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งและหรือโดยวิธีอื่นที่ไม่ใช่ด้วยบัตรเลือกตั้งก็ได้ โดยที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ในการกำหนดวิธีการในการออกเสียงลงคะแนนเพื่อป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกกว่าการออกเสียงลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งและมีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า และวิธีการนั้นเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ[1] การออกเสียงลงคะแนนให้ใช้วิธีทำเครื่องหมายกากบาทลงในช่องหมายเลขผู้สมัครหรือช่องไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด[2] โดยเมื่อทำเครื่องหมายกากบาทเสร็จแล้วให้พับบัตรเลือกตั้งแล้วนำใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง[3] ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งใดให้ออกเสียงลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้นและให้มีสิทธิลงคะแนนได้เพียงแห่งเดียว[4] เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างทั่วถึงและเป็นไปตามเจตนาของบุคคล คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิกาหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุในการออกเสียงลงคะแนนด้วย หากบุคคลดังกล่าวไม่สามารถทำเครื่องหมายลงในบัตรเลือกตั้งได้ให้มีบุคคลชวยเหลือภายใต้ความยินยอมของบุคคลนั้น[5] เมื่อถึงกหนดเวลาปิดการออกเสียงลงคะแนนแล้ว ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งประกาศปิดการออกเสียงลงคะแนน และงดจ่ายบัตรเลือกตั้ง แล้วให้ทำเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่ให้เป็นบัตรเลือกตั้งที่ใช้ลงคะแนนไม่ได้[6] ตั้งแต่เวลาที่ได้เปิดและปิดหีบบัตรเลือกตั้งห้ามมิให้ผู้ใดเปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ หรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือนไปซึ่งหีบบัตรเลือกตั้ง หรือ บัตรเลือกตั้ง หรือเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง[7]
กรณีเกิดเหตุการณ์จลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจเป็นอย่างอื่นเกิดขึ้น[8]
(1) “ก่อนวันเลือกตั้ง” เป็นเหตุให้ไม่สามารถกระทำการออกเสียงลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งได้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งได้โดยสะดวก แต่ถ้าไม่อาจกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ได้ ให้ประกาศงดลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเร็ว
(2) “เกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง” ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งประกาศงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นแล้วรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยเร็ว
2. ข้อห้ามในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง
1) ห้ามใช้บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่มิได้มีไว้สำหรับตนเองหรือที่ปลอมแปลงขึ้นเพื่อพยายามออกเสียงลงคะแนน[9]
2) ห้ามใช้บัตรอื่นที่มิใช่บัตรเลือกตั้งเพื่อออกเสียงลงคะแนน และห้ามมิให้นำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง[10]
3) ห้ามทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกตไว้ที่บัตรเลือกตั้ง[11]
4) ห้ามใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนได้ลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว[12] รวมถึงห้ามมิให้นำบัตรเลือกตั้งที่ออกเสียลงคะแนนแล้วแสดงต่อหน้าผู้อื่นเพื่อให้ทราบว่าจนลงคะแนนหรือไม่ลงคะแนน[13]
5) ห้ามนำบัตรเลือกตั้งใส่ในหีบบัตรเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ กระทำการในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยผิดไปจากความจริง หรือ กระทำการอันเป็นเหตุให้มีบัตรเลือกตั้งเพิ่มขึ้นจากความจริง[14]
6) ห้ามมิให้กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิได้ หรือขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มิสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง หรือมิให้ไปถึง ณ ที่ดังกล่าวภายในกำหนดเวลาที่จะออกเสียงลงคะแนนได้[15]
7) ห้ามมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเพื่อลงคะแนนหรืองดเว้นไม่ลงคะแนน[16]
3. บรรณานุกรม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135/ตอนที่ 68ก/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
อ้างอิง
[1] มาตรา 84 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[2] มาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[3] มาตรา 93 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[4] มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[5] มาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[6] มาตรา 103 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[7] มาตรา 104 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[8] มาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[9] มาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[10] มาตรา 95 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[11] มาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[12] มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[13] มาตรา 99 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[14] มาตรา 98 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[15] มาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
[16] มาตรา 101 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561