บัตรเสียคืออะไร

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:20, 4 กุมภาพันธ์ 2564 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย " ผู้เรียบเรียง  ผศ.ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล  ผู้ทรงคุณวุ...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

ผู้เรียบเรียง  ผศ.ดร.พนารัตน์ มาศฉมาดล 

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

บัตรเสียคืออะไร

 

บทนำ

          บัตรเสีย คือ บัตรเลือกตั้งที่เข้าลักษณะ 8 ประเภทตามมาตรา 118 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ทั้งนี้ ในระหว่างการนับคะแนนเจ้าหน้าที่ต้องแยกบัตรดีและบัตรเสียออกจากกัน และไม่ให้นับบัตรเสียเป็นคะแนน

 

ประเภทของบัตรเสีย

บัตรเสีย มี 8 ประเภทต่อไปนี้[1]

(1) บัตรปลอม

(2) บัตรที่มีการทำเครื่องหมายเพื่อเป็นที่สังเกตหรือเขียนข้อความใด ๆ ลงในบัตรเลือกตั้ง นอกจากเครื่องหมายในการลงคะแนน เว้นแต่เป็นการกระทโดยชอบด้วยกฎหมายของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้ง

(3) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน

(4) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครเกินจำนวนหนึ่งคน เนื่องจากประเทศไทยใช้หลักการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงสามารถเลือกผู้แทนราษฎรได้เพียงเขตละหนึ่งคนเท่านั้น

(5) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใด เว้นแต่เป็นการลงคะแนน “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด”

(6) บัตรที่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร แล้วทำเครื่องหมายในช่องทำเครื่องหมาย “ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด” (เป็นการทำเครื่องหมายสองแห่งพร้อมกัน)

(7) บัตรที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้กหนดให้เป็นบัตรเสีย

(8) บัตรที่มีลักษณะตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดว่าเป็นบัตรเสีย ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งทั่วไปในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมามีสาเหตุที่ทำให้บัตรเสียหลายกรณี โดยกรณีที่น่าจับตามอง คือ กรณีของจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีการจ่าหน้าซองผิด เช่น[2]

(ก) การจ่าหน้าซองเป็นชื่อ จ.สุพรรณบุรี แต่บัตรเลือกตั้งในซองเป็นชื่อจังหวัดอื่น ไม่ใช่ จ.สุพรรณบุรี

(ข) การจ่าหน้าซอง ต้องใส่รหัส "เขตเลือกตั้ง" ด้วย เป็นช่องให้กรอกเลข 5 หลัก จัดแบ่งตามเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ผู้ออกเสียงลงคะแนนต้องกรอกรหัสเขตเลือกตั้งไม่ใช่รหัสไปรษณีย์ อย่างไรก็ดี หน้าซองที่ให้กรอกตัวเลขที่มีจำนวน๕ หลัก คล้ายกับการกรอกรหัสไปรษณีย์ จึงอาจทำให้ประชาชนที่ออกเสียงลงคะแนนเข้าใจผิด เป็นเหตุให้เกิดบัตรเสียดังกล่าว

(ค) การ "จ่าหน้าซอง" บุคคลใดมีหน้าที่ต้องเขียนระหว่างผู้ออกเสียงลงคะแนนหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ประจำหน่วยเลือกตั้ง 

         

บรรณานุกรม

ไทยพีบีเอส. เลือกตั้ง 2562 : ตั้งข้อสังเกต "จ่าหน้าซองผิด" สาเหตุทำ "บัตรเสีย" พุ่ง. ออนไลน์จาก https://news.thaipbs.or.th/content/278755, เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2563

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135/ตอนที่ 68ก/12 กันยายน 2561. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

อ้างอิง 

[1] มาตรา 118 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561

[2] ไทยพีบีเอส, เลือกตั้ง 2562 : ตั้งข้อสังเกต "จ่าหน้าซองผิด" สาเหตุทำ "บัตรเสีย" พุ่ง, ออนไลน์จาก https://news.thaipbs.or.th/content/278755, เข้าถึงเมื่อ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๓