เสด็จขึ้นสู่ราชสมบัติ

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:00, 11 สิงหาคม 2558 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม) (หน้าที่ถูกสร้างด้วย 'พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระรา...')
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาไว้ตั้งแต่เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีทรงพระครรภ์ แสดงพระราชประสงค์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ฯ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชาเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติต่อจากพระองค์ เว้นเสียแต่ว่าพระองค์เองจะทรงมีพระราชโอรสก็โปรดให้ทรงสำเร็จราชการแทนพระองค์ระหว่างที่พระเจ้าแผ่นดินทรงพระเยาว์

แต่เนื่องจากทรงมีพระราชธิดาคือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ที่ประชุมพระบรมราชวงศ์และเสนาบดี องคมนตรีผู้ใหญ่ได้พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เสด็จขึ้นสู่ราชสมบัติ ซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗ และพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๘ การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่จัดขึ้นตามโบราณราชประเพณี ทรงเฉลิมพระบรมนามาภิไธยเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว”

ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖