การยุติความขัดแย้ง
ดับความขัดแย้งด้วยจิตวิวัฒน์และทางสายกลาง
โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 3 พฤษภาคม 2551
ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๑ เนื่องในโอกาสวันศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม โดยสำนักงานระงับข้อพิพาท ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จัดให้มีการสัมมนาทางวิชาการว่าด้วยการระงับข้อพิพาททางเลือก ด้วยหลักการและเหตุผลที่ว่า “การระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสำนักงานศาลยุติธรรมได้ให้ความสำคัญ และกำหนดเป็นนโยบายหลักในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน เนื่องจากเป็นการยุติข้อพิพาทที่คู่ความได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม อันจะส่งผลให้เกิดความสมานฉันท์และสันติสุขในสังคม” [1]
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง
เรารู้จักการไกล่เกลี่ยตั้งแต่จำความได้ เมื่อพี่น้องทะเลาะกันไม่ว่าจะแย่งของเล่นหรือแย่งขนมหรืออะไรก็แล้วแต่ เราก็จะมีพ่อหรืแม่ หรือผู้ปกครอง หรือครู เข้ามาทำหน้าที่แก้ปัญหา อาจจะโดยการพิพากษาตัดสินไปเลย หรือโดยมาดูเหตุผลว่าใครถูกใครผิด ฉะนั้น เราจึงรู้จักบทบาทของคนกลางมาตลอด แต่มักจะเป็นคนกลางที่มีอำนาจในการตัดสิน เราไม่ค่อยรู้จักคนกลางที่มีอำนาจในการกำกับกระบวนการ คนกลางที่ช่วยให้คู่เจรจาสามารถหาข้อยุติกันเอง
ในประเทศไทยเราเองกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยนอกศาลก็ได้มีการพยามนำเข้ามาใช้โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอธิการบดีสมัยนั้น (ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์) ได้รับแนวคิดของเรื่องของความขัดแย้งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญที่จะต้องเรียนรู้ และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา ถ้าสถาบันการศึกษาไม่สนใจที่จะจับเรื่องนี้มาศึกษาวิจัยแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแล้วนำไป เผยแพร่ ปฏิบัติ ก็จะไม่มีองค์กรอื่นใดสนใจและคนไทยครึ่งค่อนประเทศก็จะหันหน้ามาฆ่ากัน
จากการจุดประกายแนวคิดดังกล่าวโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี อธิการบดีจึงได้ติดต่อทางองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา(CIDA)ได้มีการส่งคณาจารณืหลายทานไปเข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย รัฐบริสทิสโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา และได้มีการจัดสัมมนาครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2538 เรื่อง “ความขัดแย้งในสังคมไทย : แนวทางแก้ไขอย่างสันติ” ซึ่งได้มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มาเป็นผู้นำอภิปรายร่วมกับวิทยากรต่างประเทศ เช่น Rt. Honorable Stevens Owen ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีของแคนาดา (พ.ศ.2547) อดีต Ombudsman ของบริสทิสโคลัมเบีย อดีตผู้อำนวยการสถาบัน IDR (Institute for Dispute Resolution) ของมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย, อาจารย์ Catherine Morris และอาจารย์ Alex Grzybowski นักเจรจาไกล่เกลี่ยและนักฝึกอบรมที่มีความสามารถของบริสทิสโคลัมเบีย เป็นต้น
ต่อมาได้จัดการสัมมนา เรื่อง “ยุทธศาสตร์การประสานของการจัดการความขัดแย้ง” ในเดือนเมษายน 2539 และได้มีการจัดตั้งสถาบันสันติศึกษา โดยอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2538 โดยมี ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการคนแรกของสถาบัน และรศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงษ์ เป็นรองผู้อำนวยการ (ผู้อำนวยการปัจจุบัน พ.ศ.2547) และได้ทำการจัดอบรมและเผยแพร่แนวทางของการเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง (Mediation) กระบวนการมีส่วนร่วม (Public Participation Process) การเอื้อให้เกิดการดำเนินการกระบวนการ (Facilitation) ให้องค์กรหน่วยงานของรัฐ ทั้งได้มีประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางในกรณีความขัดแย้งการวางท่อก๊าซจากประเทศพม่ามาไทย (YadanaGas Pipe line) ระหว่างองค์การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และผู้มีส่วนได้เสียในปี พ.ศ.2540 โดยการประสานงานและเชิญโดยสมาชิกวุฒิสภา นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งอยู่ในกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาที่มีนายพารณ อิสรเสนา เป็นประธาน
ต่อมา ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้รับเชิญจากอดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ให้มาพัฒนาหลักสูตรการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล มีบทบาทด้านการฝึกอบรม ศึกษา วิจัย และเผยแพร่แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ และได้ขยยบทบาทไปช่วยพัฒนาจนเกิดสำนักการมีส่วนร่วมของประชาชนและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและศูนย์สันติวิธีที่กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบลได้ร่วมกับหลายหน่วยงานในการผลักดันแนวคิดดังกล่าวเช่น ได้ประสานความร่วมมือกับศาลยุติธรรมโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้เข้าพบอดีตประธานศาลฎีกา ฯพณฯ สันติ ทักราล ร่วมกับท่านผู้พิพากษานพพร โพธิรังสิยากร เมื่อปี พ.ศ.2544 ซึ่งทางศาลยุติธรรมเองก็ได้มีกระบวนการฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยที่ไม่ใช้ผู้พิพากษาแบ่งเบาภาระของศาลไปได้มาก นอกจากนั้นได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตในการช่วยฝึกอบรมนักเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีตัวประกันหรือในภาวะวิกฤคตและยังช่วยฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา สภาทนายความ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ สำนักงานอัยการสูงสุด กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง (Mediation)
เป็นการที่คู่กรณีพยายามที่จะแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างกันโดยความช่วยเหลือของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สามที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
บทบาทหน้าที่ของคนกลาง จะมีหน้าที่ช่วยให้คู่กรณีหรือคู่เจรจาหาทางออกร่วมกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย อันจะนำไปสู่ทางออกของความขัดแย้งระหว่างกัน โดยพยายามไม่ให้กระบวนการเปลี่ยนไปในทางที่จะเอาชนะกันจนเกิดว่าฝ่ายหนึ่งแพ้ ฝ่ายหนึ่งชนะ คนกลางไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ทั้งสิ้น โดยสรุปคนกลางจึงมีบทบาท
1.ทำหน้าที่สนับสนุนกระบวนการให้ดำเนินไปโดยส่งเสริมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของคู่เจรจา 2.มีความรู้สึกร่วมกับคู่เจรจาทั้งหลาย 3.ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง 4.แสดงให้เห็นแง่มุมทั้งบวกและลบของแต่ละฝ่าย 5.ช่วยให้คู่เจรจาเข้าใจธรรมชาติของข้อพิพาทและเหตุผลที่ซ่อนอยู่ 6.ส่งเสริมให้คู่เจรจาพิจารณาทางเลือก 7.ถามวิถีทางเลือกอื่นที่คิดว่าดีที่สุดที่จะทำ หากไม่มาเจรจาหาข้อตกลง (BATNA : Best Alternative To a Negotiated Agreement หรือ ทดตก : ทางเลือกอื่นที่ดีที่สุดแทนการหาข้อตกลงจากการเจรจาไกล่เกลี่ย) 8.ช่วยให้คู่เจรจาหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการทุกฝ่าย 9.ช่วยคู่เจรจาร่างข้อตกลงที่เป็นไปได้จากทางออกต่างๆ 10.ปกป้องความน่าเชื่อถือของกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย
คนกลาง จะเป็นคนเดียว สองคน หรือมากกว่าก็ได้ แล้วแต่กรณี แต่คนกลางจะต้องเป็นที่ยอมรับของ คู่กรณีหรือคู่เจรจารู้จักและเข้าใจกระบวนการดำเนินไปของความขัดแย้งและสามารถกำกับกระบวนการให้ดำเนินไปกับทั้งต้องไม่มีผลประโยชน์ซับซ้อน (Conflict of Interest)
คุณลักษณะของคนกลาง
1.ชำนาญการสื่อสาร ทั้งการพูดและการฟัง การถามเป็น 2.มนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นกลาง เชื่อมั่น 3.มีความยุติธรรมสามารถที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้โดยง่าย 4.มีจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในกระบวนการ
ประโยชน์ของการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง
1.ก่อให้เกิดความพึงพอใจร่วมกัน 2.ช่วยให้มีทางเลือกที่หลากหลาย 3.ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
สานเสวนา (DIALOGUE)
คนเราเกิดมาต่างกัน ภาษา ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม เพศ วัย ความคิด ความเชื่อ รสนิยม... ไม่มีใครในโลกที่เหมือนกันหมดทุกอย่าง แต่ละคน มีวิถีชีวิตที่แตกต่าง ดูแล และกำหนดแนวทางชีวิตของตนเองได้
ความต่าง...ทำให้โลกมีเสน่ห์น่าค้นหา แต่บางที ความต่าง...ก็ทำให้ไม่เข้าใจกัน
การแบ่งเขาแบ่งเรา อคติ ความขัดแย้งเรื่องวิถีชีวิตและการให้คุณค่าที่ต่างกัน จึงกลายเป็นอุปสรรคของการอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกัน ที่เกิดขึ้นได้เสมอ
จริงๆ แล้ว เราก็ไม่ได้ต่างกันหมดทุกเรื่อง ถ้าพิจารณาให้ดี จะพบความเหมือนอยู่บ้าง แสดงว่าเรามีทั้ง ความต่าง และความเหมือน กับผู้อื่นอยู่ในตัว เช่น ชาวไทยพุทธเคารพพระพุทธเจ้า พี่น้องชาวไทยมุสลิมอ่อนน้อมต่อพระอัลลอฮ์ แต่เราทั้งสองต่างเป็น มนุษย์ ที่ปรารถนาความสุข พยายามหลีกหนีจากความทุกข์เช่นเดียวกัน
การสื่อสารที่ทันสมัยทำให้โลกกว้างดูแคบลง
หากเราต้องติดต่อสัมพันธ์กับคนจำนวนมาก ต้องพบเจอ ทำงาน หรืออยู่ร่วมกับคนที่ต่างจากเรา
ทำอย่างไรเราจึงจะอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกันได้ อย่างมีความสุข
เป็นธรรมดาที่เรามักจะคิด ทำ พูด ตามความเชื่อของตัวเอง ซึ่งเราเห็นว่า ดีที่สุด ถูกที่สุด
ความเชื่อเช่นนี้ บางครั้งนำไปสู่ความไม่เข้าใจกัน และความขัดแย้ง ไม่ใช่เฉพาะระหว่างคนต่างชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเท่านั้น แม้แต่ในครอบครัว กลุ่มเพื่อนฝูง ที่ทำงาน หรือในชุมชนของเราเองก็เกิดขึ้นได้
ทำอย่างไร เราจึงจะอยู่ด้วยกัน มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีความสุข
การสร้างความสัมพันธ์กับใครก็ตาม ก่อนอื่นต้องไม่ลืมว่า เขาก็เป็นเขา จะให้ คิด ทำ พูด เหมือนเราทั้งหมด คงไม่ได้ เขาก็มีดีในแบบของเขา และมีความสุขได้ในแบบที่เขาเป็น นี่คือวิธีคิดแบบยอมรับ ความหลากหลาย กติกาง่าย ๆ สำหรับการอยู่ร่วมกัน คือ “เอาใจเขา มาใส่ใจเรา” เราอยากให้คนอื่นทำกับเราอย่างไร เราก็ทำกับเขาอย่างนั้น เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเราอย่างไร เราก็ไม่ควรทำกับเขาอย่างนั้น
พร้อมกับปรารถนาว่า....ทุกชีวิตมีคุณค่า... การเห็นคุณค่าของผู้อื่น เหมือนกับที่เห็นคุณค่าของตนเอง จะนำมาซึ่งความปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก
การปฏิบัติต่อกันด้วยความซื่อสัตย์ เคารพ เมตตา พูด และทำแต่สิ่งที่เป็นจริง ทำให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
หากเมื่อใดที่ความต่าง ทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน อย่าปล่อยให้กลายเป็นความบาดหมาง ลองหันหน้ามา “สานเสวนา” กัน เพื่อรู้จัก ตนเอง และ ผู้อื่น มากขึ้น
สานเสวนา คือ กระบวนการสื่อความหมาย และเรียนรู้... เพื่อเข้าใจตนเอง และผู้อื่น
สานเสวนา เป็นการเปิดใจ พูดคุย และ ฟังกันและกัน อย่างลึกซึ้ง ด้วยเมตตา ไม่ใช่การโต้เถียง หักล้า หรือเอาชนะ
ขอได้วางใจ ผ่อนคลาย จากความเครียด ความอึดอัด ความวิตกกังวล ให้เวลา ผู้อื่น ได้ พูด สิ่งที่อยู่ในใจ ให้เวลา ตนเอง ได้ ฟัง ผู้อื่นอย่างตั้งใจ
ฟัง...คำพูดของผู้อื่น ว่าเขาคิดอะไร รู้สึกอย่างไร มีเหตุผลอะไร ฟัง...หัวใจตนเอง ว่าคิดอะไร รู้สึกอย่างไร เข้าใจสิ่งที่ได้ฟังจากผู้อื่นว่าอย่างไร แล้วลองสังเกตผลที่ได้ จากการเปิดใจ ฟัง ผู้อื่น และตนเอง
การ ฟัง จะเอื้อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง ภายในใจของเราเอง เมื่อได้ ฟัง ผู้อื่น และ ตนเอง ไปพร้อมกัน
การฟังจะทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น และอาจมองเห็นเขาในแง่มุมใหม่ พร้อมกับที่เข้าใจตนเองมากขึ้น และอาจมองเห็นตนเองในแง่มุมที่ไม่เคยเห็นมาก่อน เมื่อนั้นกำแพงอคติจะเริ่มทลายลง จากที่เคยตัดสินความคิดของคนอื่นที่ไม่เหมือนเรา ว่า ผิด... ก็จะเปลี่ยนเป็นมองว่า ต่าง เท่านั้น ความเห็นอกเห็นใจ ความไว้ใจ และความปรารถนาดีจะเริ่มก่อตัวขึ้น
ความร่วมมือ เพื่อความสุข ในครอบครัว ชุมชน สังคม จะตามมา สานเสวนา จึงไม่ใช่การพูดคุยเพื่อโน้มน้าว กดดัน บังคับ หรือเปลี่ยนแปลงผู้ใด ถ้าจะมีความเปลี่ยนแปลงก็ต้องเกิดขึ้นในตัวคนนั้นเองตามธรรมชาติ สานเสวนา จึงนำไปสู่การลดความไม่เข้าใจ และแก้ไขความขัดแย้งด้วย สันติวิธี
จุดเริ่มต้นของ การ “สานเสวนา” 1. ไม่มีวาระซ่อนเร้น ความงดงามของสานเสวนามาจาก “เจตนาบริสุทธิ์” คือ พูดความจริงอย่างตรงไปตรงมา ไม่สวมหน้ากากเข้าหากัน...ไม่มีอะไรต้องซ่อนเร้น 2. ปฏิสัมพันธ์กันอย่างมนุษย์ ให้ความเคารพ ให้เกียรติผู้อื่น...เพราะเขาไม่ใช่วัตถุสิ่งของที่ไร้หัวใจ ปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา 3. เท่าเทียม ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ “ให้ และ รับ” เท่าๆ กัน ไม่มีใครด้อยกว่า หรือเหนือกว่าใคร ไม่มีการครอบงำทางความคิด เขากับเราเท่าเทียมกัน เขากับเรามี ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เท่าเทียมกัน 4. จุดยืนชัดเจน กล้า บอกความคิด ความเชื่อของตนเอง กล้า เปิดหู เปิดใจ ฟัง...ความเห็นที่แตกต่าง กล้ารับฟัง ว่าผู้อื่นเข้าใจ และเห็นว่าเราเป็นอย่างไร สื่อความหมายของเราให้ชัดเจน 5. ไม่ด่วนสรุปตัดสินผู้อื่น จงภูมิใจในความคิด ความเชื่อ ของเรา แต่ไม่ได้หมายความว่าเราดีกว่า หรือเหนือกว่าคนอื่น แล้ว ด่วนสรุป ในสิ่งที่เขามี หรือเป็น ไม่ตัดสินเขาบนฐานความเชื่อของเรา 6. ใจกว้าง ใจกว้างพอที่จะวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง หรือกลุ่มของตนเอง สิ่งใดที่ไม่ดี หรือไม่ถูกต้อง ก็น้อมรับความจริง อย่างไม่เข้าข้างตัวเอง กล้าหาญวิจารณ์ตน และกลุ่มของตนได้ 7. ซื่อสัตย์และจริงใจ การสื่อสารอย่างจริงใจ จำเป็นมาก สำหรับ “สานเสวนา” ความคิดเห็นใดที่เราไม่เห็นด้วย ควรแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา โดยบอกเหตุผลให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการยอมรับแบบขอไปที 8. ไว้วางใจผู้อื่น ให้เกียรติต่อความคิดของผู้อื่น ว่าเขาก็มีเหตุผลของเขา และน่าจะหาทางออกที่ดี ให้กับปัญหาตรงหน้าได้เช่นกัน ...ไว้วางใจในวิถีความเชื่อ ความสามารถ และเหตุผลของเขา 9. ไม่ปะปนหลักการกับปฏิบัติ เมื่อผู้อื่นพูดหรือถามในเรื่องใดก็พูดตอบในเรื่องนั้น... ถ้าเขาพูดเรื่อง หลักตัวบท หรือทฤษฎี ก็ตอบเรื่องหลักตัวบท หรือทฤษฎี ถ้าเขาพูดหรือถามเรื่อง การปฏิบัติ ประสบการณ์ ก็ตอบเรื่องการปฏิบัติ หรือประสบการณ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา “การพูดคนละเรื่องเดียวกัน” หลีกเลี่ยง ความเข้าใจผิด 10. ยืดหยุ่น แต่ตั้งใจจริง สานเสวนา เป็น “กระบวนการ” ที่ต้องอาศัย ความตั้งใจจริง ความต่อเนื่อง ความอดทน สานเสวนา จึงไม่ใช่ สูตรสำเร็จ หรือคำตอบสุดท้ายของปัญหาทันทีทันใด
สานเสวนา เป็นการฟัง การสื่อสาร เพื่อพัฒนาจิตภายใน เพื่อการเรียนรู้ เพื่อการเกิดเป้าหมายร่วมกัน และเพื่อสันติ เป็นธรรมดาที่อารมณ์ความรู้สึกฝ่ายลบอาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการสานเสวนา โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับเรื่องที่คิดเห็น เราอาจแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ออกมาได้ แต่ต้องมี สติ ในการแสดง ความเห็นต่าง ต่อผู้อื่น ไม่ก้าวร้าวโดยทาง กาย วาจา และใจ ท้วงติงได้อย่างสุภาพ
ให้เวลาและกำลังใจทุกคนที่เกี่ยวข้องให้พยายามเอาชนะ ความอึดอัดคับข้องใจ อคติ ความวิตกกังวล ทั้งมวล... เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศการสานเสวนาที่เปิดกว้าง เสมอภาค และเป็นมิตร
สานเสวนา ท้าทายความเป็นมนุษย์แท้ พุทธแท้ มุสลิมแท้ คริสเตียนที่ศรัทธาของทุกคน สานเสวนาจึงเป็นกระบวนการสื่อสารด้วยใจที่เมตตา เป็นการพัฒนาจา ก”ภายใน” โดยก้าวพ้นความแตกต่าง ความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง ซึ่งแสดงออก ภายนอก
สานเสวนา
เกื้อกูแล แต่ ไม่ก้าวก่าย
เข้าใจ แต่ ไม่ปะปน
หันหน้าเข้าหากัน
สานเสวนากัน
... เพื่อเข้าใจและยอมรับความต่าง...
...เพื่อตระหนักในความเหมือน...
...เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข...
สานเสวนา (dialogue) บุคคลย่อมมี อัตลักษณ์ (identity) ของตนเอง ซึ่งแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม ชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม อันเป็นบ้าหลอมบุคลิกภาพ ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อ วิธีการดำเนินชีวิตของบุคคลนั้น จริงอยู่ที่ความต่างทำให้โลกเรามีสีสันงดงาม หลากหลาย และน่าสนใจ แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ความแตกต่างนี้ทำให้เกิดความคิดแบ่งเขาแบ่งเรา อคติ หรือความไม่เข้าใจกัน ซึ่งกลายเป็นอุปสรรคในการสื่อสารและทำงานร่วมกัน ตั้งแต่ในครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคม ทั้งระดับชาติและระดับโลก ในหลายกรณี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (ศพส.) มหาวิทยาลัยมหิดล มีภารกิจในการ “ศึกษา” และ “พัฒนา” แนวทาง “สันติวิธี” เพื่อเป็นเครื่องมือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยทั่วไป และโดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ซึ่งสถานการณ์รุนแรงกลายเป็นบ่อเกิดของความหวาดระแวง และความไม่ไว้วางใจกัน ระหว่างประชาชนต่างศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม กระทั่งเกรงว่า “ความแตกต่าง” กำลังจะทำให้เกิด “ความแตกแยก” เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ศพส. จึงดำเนินโครงการต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความเข้าใจกัน ทั้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ด้วยกันเอง และระหว่างประชาชนในพื้นที่กับภาคส่วนอื่นของประเทศ เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ ในพื้นที่ สู่การพัฒนาชุมชนตนเอง รวมทั้งเพื่อให้ประชาชนนอกพื้นที่มีความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของคนในพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การยอมรับความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ศาสนา ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม เพื่อความปรองดองของคนในชาติ
หนึ่งในเครื่องมือที่ ศพส. นำไปใช้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างฝ่ายต่างๆ คือ การสานเสวนา (dialogue) ซึ่งเป็นการเปิดใจพูดคุย และฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง เราได้เรียนรู้ว่า สานเสวนา เป็นเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพในการลดความไม่เข้าใจ และส่งเสริมสร้างความปรารถนาดีต่อกัน อันเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่ความร่วมมือ ร่วมใจ แก้ปัญหาของชุมชนและสังคม จึงปรารถนาจะนำประสบการณ์นี้ มาถ่ายทอดให้คนไทยทั่วไป ได้เข้าใจแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการสานเสวนา อันเป็นการส่งเสริมวิธีคิดแบบยอมรับใน “พหุลักษณ์” หรือความแตกต่างหลากหลาย เพื่อการอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันในครอบครัว องค์กร ชุมชน และสังคมได้อย่างมีสันติสุข
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง
ความเป็นมา เรารู้จักการไกล่เกลี่ยตั้งแต่จำความได้ เมื่อพี่น้องทะเลาะกันไม่ว่าจะแย่งของเล่นหรือแย่งขนมหรืออะไรก็แล้วแต่ เราก็จะมีพ่อหรืแม่ หรือผู้ปกครอง หรือครู เข้ามาทำหน้าที่แก้ปัญหา อาจจะโดยการพิพากษาตัดสินไปเลย หรือโดยมาดูเหตุผลว่าใครถูกใครผิด ฉะนั้น เราจึงรู้จักบทบาทของคนกลางมาตลอด แต่มักจะเป็นคนกลางที่มีอำนาจในการตัดสิน เราไม่ค่อยรู้จักคนกลางที่มีอำนาจในการกำกับกระบวนการ คนกลางที่ช่วยให้คู่เจรจาสามารถหาข้อยุติกันเอง
ในประเทศไทยเราเองกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ยนอกศาลก็ได้มีการพยามนำเข้ามาใช้โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยอธิการบดีสมัยนั้น (ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์) ได้รับแนวคิดของเรื่องของความขัดแย้งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญที่จะต้องเรียนรู้ และศึกษาแนวทางการแก้ปัญหา ถ้าสถาบันการศึกษาไม่สนใจที่จะจับเรื่องนี้มาศึกษาวิจัยแนวทางการแก้ไขความขัดแย้งแล้วนำไป เผยแพร่ ปฏิบัติ ก็จะไม่มีองค์กรอื่นใดสนใจและคนไทยครึ่งค่อนประเทศก็จะหันหน้ามาฆ่ากัน
จากการจุดประกายแนวคิดดังกล่าวโดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี อธิการบดีจึงได้ติดต่อทางองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านพัฒนาแห่งประเทศแคนาดา (CIDA) ได้มีการส่งคณาจารณืหลายทานไปเข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้นที่มหาวิทยาลัยวิคตอเรีย รัฐบริสทิสโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา และได้มีการจัดสัมมนาครั้งแรกในเดือนมิถุนายน 2538 เรื่อง “ความขัดแย้งในสังคมไทย : แนวทางแก้ไขอย่างสันติ” ซึ่งได้มี ศ.นพ.ประเวศ วะสี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มาเป็นผู้นำอภิปรายร่วมกับวิทยากรต่างประเทศ เช่น Rt. Honorable Stevens Owen ปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีของแคนาดา (พ.ศ.2547) อดีต Ombudsman ของบริสทิสโคลัมเบีย อดีตผู้อำนวยการสถาบัน IDR (Institute for Dispute Resolution) ของมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย, อาจารย์ Catherine Morris และอาจารย์ Alex Grzybowski นักเจรจาไกล่เกลี่ยและนักฝึกอบรมที่มีความสามารถของบริสทิสโคลัมเบีย เป็นต้น และต่อมาได้จัดการสัมมนา เรื่อง “ยุทธศาสตร์การประสานของการจัดการความขัดแย้ง” ในเดือนเมษายน 2539 และได้มีการจัดตั้งสถาบันสันติศึกษา โดยอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเดือนมิถุนายน 2538 โดยมี ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการคนแรกของสถาบัน และรศ.ดร.สุวิทย์ เลาหศิริวงษ์ เป็นรองผู้อำนวยการ (ผู้อำนวยการปัจจุบัน พ.ศ.2547) และได้ทำการจัดอบรมและเผยแพร่แนวทางของการเจรจาไกล่เกลี่ย (Negotiation) การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง (Mediation) กระบวนการมีส่วนร่วม (Public Participation Process) การเอื้อให้เกิดการดำเนินการกระบวนการ (Facilitation) ให้องค์กรหน่วยงานของรัฐ ทั้งได้มีประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลางในกรณีความขัดแย้งการวางท่อก๊าซจากประเทศพม่ามาไทย (YadanaGas Pipe line) ระหว่างองค์การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และผู้มีส่วนได้เสียในปี พ.ศ.2540 โดยการประสานงานและเชิญโดยสมาชิกวุฒิสภา นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งอยู่ในกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาที่มีนายพารณ อิสรเสนา เป็นประธาน
ต่อมา ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้รับเชิญจากอดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ให้มาพัฒนาหลักสูตรการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบาล มีบทบาทด้านการฝึกอบรม ศึกษา วิจัย และเผยแพร่แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างสันติ และได้ขยยบทบาทไปช่วยพัฒนาจนเกิดสำนักการมีส่วนร่วมของประชาชนและศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและศูนย์สันติวิธีที่กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น
ศูนย์สันติวิธีและธรรมาภิบลได้ร่วมกับหลายหน่วยงานในการผลักดันแนวคิดดังกล่าวเช่น ได้ประสานความร่วมมือกับศาลยุติธรรมโดย ศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ ได้เข้าพบอดีตประธานศาลฎีกา ฯพณฯ สันติ ทักราล ร่วมกับท่านผู้พิพากษานพพร โพธิรังสิยากร เมื่อปี พ.ศ.2544 ซึ่งทางศาลยุติธรรมเองก็ได้มีกระบวนการฝึกอบรมผู้ไกล่เกลี่ยที่ไม่ใช้ผู้พิพากษาแบ่งเบาภาระของศาลไปได้มาก นอกจากนั้นได้ร่วมมือกับกรมสุขภาพจิตในการช่วยฝึกอบรมนักเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีตัวประกันหรือในภาวะวิกฤคตและยังช่วยฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา สภาทนายความ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ สำนักงานอัยการสูงสุด กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
การเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง (Mediation)
เป็นการที่คู่กรณีพยายามที่จะแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างกันโดยความช่วยเหลือของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สามที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
บทบาทหน้าที่ของคนกลาง
จะมีหน้าที่ช่วยให้คู่กรณีหรือคู่เจรจาหาทางออกร่วมกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย อันจะนำไปสู่ทางออกของความขัดแย้งระหว่างกัน โดยพยายามไม่ให้กระบวนการเปลี่ยนไปในทางที่จะเอาชนะกันจนเกิดว่าฝ่ายหนึ่งแพ้ ฝ่ายหนึ่งชนะ คนกลางไม่มีอำนาจในการตัดสินใจใดๆ ทั้งสิ้น โดยสรุปคนกลางจึงมีบทบาท 1.ทำหน้าที่สนับสนุนกระบวนการให้ดำเนินไปโดยส่งเสริมการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของคู่เจรจา 2.มีความรู้สึกร่วมกับคู่เจรจาทั้งหลาย 3.ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง 4.แสดงให้เห็นแง่มุมทั้งบวกและลบของแต่ละฝ่าย 5.ช่วยให้คู่เจรจาเข้าใจธรรมชาติของข้อพิพาทและเหตุผลที่ซ่อนอยู่ 6.ส่งเสริมให้คู่เจรจาพิจารณาทางเลือก 7.ถามวิถีทางเลือกอื่นที่คิดว่าดีที่สุดที่จะทำ หากไม่มาเจรจาหาข้อตกลง (BATNA : Best Alternative To a Negotiated Agreement หรือ ทดตก : ทางเลือกอื่นที่ดีที่สุดแทนการหาข้อตกลงจากการเจรจาไกล่เกลี่ย) 8.ช่วยให้คู่เจรจาหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการทุกฝ่าย 9.ช่วยคู่เจรจาร่างข้อตกลงที่เป็นไปได้จากทางออกต่างๆ 10.ปกป้องความน่าเชื่อถือของกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย
คนกลาง
จะเป็นคนเดียว สองคน หรือมากกว่าก็ได้ แล้วแต่กรณี แต่คนกลางจะต้องเป็นที่ยอมรับของ คู่กรณีหรือคู่เจรจารู้จักและเข้าใจกระบวนการดำเนินไปของความขัดแย้งและสามารถกำกับกระบวนการให้ดำเนินไปกับทั้งต้องไม่มีผลประโยชน์ซับซ้อน (Conflict of Interest)
คุณลักษณะของคนกลาง
1.ชำนาญการสื่อสาร ทั้งการพูดและการฟัง การถามเป็น 2.มนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นกลาง เชื่อมั่น 3.มีความยุติธรรมสามารถที่จะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้โดยง่าย 4.มีจิตสำนึกของการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในกระบวนการ
ประโยชน์ของการเจรจาไกล่เกลี่ยคนกลาง
1.ก่อให้เกิดความพึงพอใจร่วมกัน 2.ช่วยให้มีทางเลือกที่หลากหลาย 3.ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
ความขัดแย้ง สันติวิธี และ การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมประชาธิปไตย มารค ตามไท
สันติวิธี กับ การเข้าใจคุณค่าของประชาธิปไตย
ทุกคนปรารถนาสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างสงบและอยู่เย็นเป็นสุข การที่จะพัฒนาสังคมไทยให้เข้าใกล้สภาพดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ จะต้องคำนึงถึงจุดที่สังคมไทยเป็นอยู่ในขณะนี้เพราะว่าเราไม่ได้กำลังเริ่มสร้างสังคมใหม่จากจุดศูนย์ คำถามที่สำคัญจึงต้องเป็นคำถามว่าจากสภาพปัจจุบันของสังคมไทย สังคมที่พึงปรารถนามีลักษณะอย่างไรได้บ้าง และควรจะดำเนินการอย่างไรเพื่อไปสู่สังคมเช่นนั้น
สมมุติว่ามีการเสนอให้สังคมไทยกลับไปสู่สังคมเกษตรกรรม ๑๐๐% ก็จะต้องถามว่าจากสภาพปัจจุบันทำเช่นนี้ได้หรือไม่โดยรักษาความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชน นอกจากการคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว การแสวงหาทิศทางการพัฒนาของสังคมไทยยังต้องยอมรับว่า คงมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้ระหว่างคนต่าง ๆ ในสังคม ความเห็นต่างกันนี้อาจจะเป็นความเห็นต่างกันเฉพาะในวิธีการไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา โดยที่ลักษณะสังคมที่พึงปรารถนาเป็นอย่างไรนั้นเห็นเหมือนกัน กรณีเช่นนี้ เหมือนกับการที่คนสองคนต้องการเดินทางไปที่เดียวกัน เพียงแต่มีความเห็นไม่ตรงกันว่าควรจะขึ้นรถเมล์สายไหน แต่อาจเกิดอีกกรณีหนึ่งขึ้นได้นั่นก็คือ การที่คนสองคนนั้น ต้องการเดินทางไปคนละที่หรือการที่กลุ่มคนในสังคมมีความเห็นต่างกันว่าสังคมไทย ที่พึงปรารถนาเป็นอย่างไร ในเมื่ออาจเกิดความเห็นต่างทั้งสองแบบนี้ขึ้นได้ ประชาชนทั้งหลายต้องมีคุณค่าร่วมกันเกี่ยวกับวิธีจัดการกับความเห็นต่างเช่นนี้ ถ้ายังต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสงบ และอยู่เย็นเป็นสุข
คุณค่าร่วมกันนี้มีชื่อเรียกกันต่าง ๆ นานา ชื่อหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ ประชาธิปไตย เมื่อคนในสังคมมีความเห็นต่างกันและไม่สามารถหาจุดร่วมได้หลังจากพูดคุยเจรจากันพอสมควร ก็ดูเหมือนว่าเดินไปพบกำแพงและไม่รู้ว่าจะเดินต่ออย่างไร วิธีหนึ่งที่อาจใช้ก็คือเดินชนกำแพงไปเลย ฆ่าฟันกัน ฝ่ายใดมีกำลังมากกว่าก็ชนะ แต่วิธีนี้ (ซึ่งใช้กันมาในทุกสังคมเป็นเวลานาน) เป็นวิธีที่ให้ผลในระยะสั้นเท่านั้น และเป็นอุปสรรคต่อการแสวงหาสิ่งอื่น ๆ ที่มนุษย์ปรารถนา ดังนั้นก็จึงเกิดคุณค่าใหม่ซึ่งไม่ใช่คุณค่าของโลกตะวันตกหรือโลกตะวันออก คุณค่านั้นคือ "การอยากอยู่ร่วมกัน โดยไม่ฆ่ากันตายเมื่อมีความเห็นต่าง" คุณค่านี้คือ คุณค่าใหม่ของโลก แต่บังเอิญประเทศต่าง ๆ ในโลกเริ่มต้นส่งเสริมและพัฒนาคุณค่านี้ในเวลาที่ต่างกัน และด้วยความเร็วที่ต่างกัน บางคนชอบกล่าวว่าแนวความคิดประชาธิปไตยซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานคุณค่านี้เป็นความคิดแบบตะวันตก แต่แท้จริงแล้วแนวความคิดประชาธิปไตยเป็นของแปลกสำหรับทั้งคนตะวันตกและตะวันออกเท่า ๆ กัน เพราะเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะใช้สติปัญญาเอาตัวออกจากเงื่อนไขที่เคยถูกธรรมชาติบังคับไว้เหมือนกับสัตว์อื่น ๆ ถ้าศึกษาประวัติศาสตร์จะเห็นว่า ทุกครั้งที่สังคมหนึ่งจะเริ่มพัฒนาคุณค่านี้ก็จะมีคนบางคนเยาะเย้ยว่าเป็นไปไม่ได้ ผิดธรรมชาติ แต่แนวความคิดประชาธิปไตยสะท้อนความฝันของมนุษย์ทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์ชาวตะวันตกหรือตะวันออก เป็นความฝันของมนุษย์ที่ต้องการอยู่ร่วมกันโดยวิธีอื่น นอกจากการใช้กำลังฆ่าฟันกัน
ความฝันนี้ คือความฝันที่พยายามพัฒนาให้เกิดเป็นจริงอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้อาจไม่มีวันที่จะถึงจุดนั้นในแต่และสังคม เช่น ในสหรัฐอเมริกา หรือ ยุโรป ปัจจุบันก็ไม่มีประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ในทุกส่วนของสังคมแต่ก็เป็นความฝันว่าจะไปให้ถึงสักวัน ถึงแม้ว่าทุกสังคมเข้าสู่ประชาธิปไตยด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน ปัญหาของสังคมไทยก็คือว่าไม่มีโอกาสเหมือนสังคมตะวันตกบางแห่งที่สามารถใช้เวลา ๑๐๐–๒๐๐ ปีในการปรับตัว สังคมไทยต้องเร่งการปรับตัวเพราะถ้าปรับช้าก็จะเผชิญกับปัญหาอื่นที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจและทางสังคม ขณะเดียวกันถ้าปรับตัวเร็วเกินไปก็จะไม่ยั่งยืน เพราะจะเป็นการปรับตัวอย่างผิวเผิน โดยแค่ทำให้เร็วเพื่อหลอกให้ได้เงินมาลงทุนโดยที่ฐานรองรับข้างใต้ยังไม่มีอะไร อาจสามารถสร้างภาพที่ดีโดยการมีองค์การต่าง ๆ มีรัฐธรรมนูญใหม่ แต่แนวความคิดของประชาชนยังไม่เปลี่ยน แนวคิดแบบประชาธิปไตยยังไม่เข้าไปอยู่ในใจ ซึ่งสิ่งหลังนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้เวลา ดังนั้นสังคมไทยจึงต้องรวมสติปัญญาช่วยกันให้เกิดวิธีคิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันแบบนี้ แทนที่จะรอให้เกิดขึ้นเองตามเวลาการวิวัฒนาการของสังคม
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ความคิดเรื่องประชาธิปไตยฝังรากลึกเข้าไปในใจของคนในสังคมก็คือการพูดคุยกันเกี่ยวกับข้อสงสัยต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวความคิดนี้ที่มีการยกขึ้นมาถกเถียงกัน วิธีนี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนกว่าวิธียัดเยียดคุณค่านี้ให้สังคมโดยสังคมไม่เข้าใจและเพียงพูดว่ายอมรับเพราะกลัวถูกกล่าวหาว่าเชยหรือล้าสมัย ข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวความคิดแบบประชาธิปไตย ที่จะยกมาพิจารณาในที่นี้มีสองข้อ
1. ข้อสงสัยว่าทำไมสังคมไทยต้องไปในแนวทางนี้ ในเมื่อเรามีพื้นฐานทางพุทธศาสนาอยู่แล้วทำไมยังต้องมีความใฝ่ฝันอีกแบบหนึ่ง ซึ่งโยงกับทั้งกระบวนการและองค์กรที่ดูแปลก ทำไมไม่ใช้แบบเดิม ในแง่วิชาการคำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญ และขอเสนอแนวความคิดในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมมี ๒ วิธี
วิธีแรก คืออยู่กันได้เพราะยอมรับคุณค่าของกระบวนการบางอย่างร่วมกัน
[[วิธีที่สอง (ซึ่งตรงกับแนวความคิดของพุทธศาสนาค่อนข้างมาก) คือ ไม่จำเป็นต้องอาศัยระบบ หรือกระบวนการใด ๆ แต่เน้นที่การเปลี่ยนคน ]]ถ้าทุกคนในสังคมมีความเมตตากรุณากัน ก็จะไม่เกิดปัญหาใด ๆ ขึ้น ถ้าสามารถเปลี่ยนใจคนส่วนใหญ่ในสังคมได้ แนวความคิดนี้ ก็เป็นสิ่งที่ถูก แต่มีคำว่า “ถ้า” อยู่ข้างหน้าซึ่งเป็น “ถ้า” ที่ค่อนข้างสำคัญ เมื่อคนดี มีใจเมตตาก็ไม่ต้องพัฒนาประชาธิปไตย
ฉะนั้นจึงคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นการที่ต้องเลือกระหว่างสองทาง เพราะในช่วงที่คนทั้งหลาย ยังไม่ได้มีการพัฒนาจิตใจถึงขั้นดังกล่าวก็ยังจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน ในเมื่อคนยังไม่ได้เปลี่ยน ถ้าเราไม่มีอีกวิธีที่จะอยู่ร่วมกันได้ก็จะไม่มีคนเหลือให้มาเปลี่ยน ฉะนั้น จึงมองว่าสองวิธีนี้มิได้ขัดกันเท่าใด วิธีหนึ่งเป็นเรื่องระยะยาวถาวรในประวัติของมนุษยชาติ ต้องค่อย ๆ สอนและตักเตือนกันไป ซึ่งจะใช้เวลานานเท่าใดไม่ทราบ ขณะเดียวกันก็ต้องหารูปแบบอีกแบบหนึ่งไปด้วยเพื่อใช้กันไปก่อน ซึ่งรูปแบบนี้ก็คือแนวทางประชาธิปไตย
2. มีบางคนสงสัยว่าการประสานความเห็นของสมาชิกของกลุ่มเพื่อออกมาเป็นความเห็นขององค์รวมตามแนวประชาธิปไตย อาจทำไม่ได้เสมอไป วิชาที่ศึกษาเรื่องทำนองนี้เรียกว่า SOCIAL CHOICE THEORY มีการศึกษากันอย่างละเอียดด้วยเทคนิควิธีต่าง ๆ (ตัวอย่างเช่น สมมุติว่ามีคนอยู่กลุ่มหนึ่งทั้งหมด ๒๐ คน ที่ต้องเลือกนโยบายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีนโยบายเสนอมาให้เลือก ๓ นโยบาย แต่ละคนในกลุ่มอาจจะมีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย ของแต่ละนโยบายหลังจากอภิปรายกัน และต่าง ให้เหตุผลซึ่งกันและกันแล้วก็ยังเห็นไม่ตรงกันทีเดียว ดังนั้นจะต้องหาวิธีที่เอาลำดับความพอใจของแต่ละคนในกลุ่มต่อนโยบายทั้งสามมาผสมผสานกันเพื่อให้ได้ลำดับความสำคัญของกลุ่ม) ในวิชา SOCIAL CHOICE THEORY นี้มีทฤษฏีบทบทหนึ่งชี้ให้เห็นว่า มีบางสถานการณ์ที่หาข้อสรุปของกลุ่มโดยวิธีประชาธิปไตยไม่ได้ เพราะมีความขัดแย้งในตัว ทฤษฎีบทนี้ชื่อว่า IMPOSSIBILITY THEOREM และผู้ค้นพบ คือ KENNETH ARROW ผู้ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลทางเศรษฐศาสตร์ แต่สิ่งที่ยังไม่มีการชี้ให้เห็นชัดเกี่ยวกับปัญหานี้ก็คือว่า สถานการณ์ที่แก้ไขด้วยวิธีประชาธิปไตยไม่ได้นั้น เป็นสถานการณ์ที่เราพบกันจริงในสังคมต่าง ๆ หรือไม่
ในอดีตเมื่อมีความคิดเห็นที่แตกต่างในสังคม ถ้ามีผู้นำเข้มแข็งเราก็ยินยอมทำตามผู้นำ การยินยอมอาจเป็นเพราะไม่กล้าทำขัด หรืออาจไม่มีช่องทางเลือกอื่นหรืออาจเกรงใจ แต่ในปัจจุบัน เงื่อนไขเหล่านี้กำลังค่อย ๆ หายไป คือ ประชาชนไม่กลัว ไม่เกรงใจ การขอร้องกันอาจได้รับการฟังแต่ไม่ทำตาม ศรัทธาในผู้นำมีเหลือน้อย ฉะนั้นวิธีเดิม ซึ่งในอดีตเป็นสิ่งที่ทำให้ชาติเดินหน้าได้แม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่เหลืออีกแล้ว ปัจจุบันจึงเหลืออยู่ทางเดียวคือ รูปแบบใหม่ที่ทำให้ความเห็นที่แตกต่างกันอยู่ด้วยกันได้ โดยมิใช่ทุกคนได้สิ่งที่ต้องการ แต่โดยทุกคนหาความต้องการของส่วนรวม แต่รูปแบบใหม่นี้ยังไม่ได้พัฒนา ปัญหาคือในช่วงต่อที่รูปแบบใหม่ยังไม่ลงตัว รูปแบบเดิมสลาย ในช่วงนี้ไม่มีผู้นำ ไม่มีองค์กรที่จะมาจัดการสิ่งเหล่านี้ ปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่คือไม่สามารถที่จะค่อย ๆ พัฒนาแบบใหม่ และค่อย ๆ สลายแบบเก่า เช่นที่เคยเป็นมาในสังคมตะวันตก แต่การเปลี่ยนวิธีจัดการกับความแตกต่างได้เปลี่ยนอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งในครอบครัว โรงเรียน และที่ทำงานทำให้เกิดความสับสนมากและทั้งยังมีบางคนซึ่งอย่างไรก็จะไม่เปลี่ยนจนวันตาย
ไม่มีทางเป็นไปได้ที่ความเห็นทุกอย่างจะได้รับการตอบสนองหมดเพราะโดยตรรกก็เป็นไปไม่ได้คนหนึ่งอาจอยากให้เน้นเทคโนโลยีระดับสูงจึงเห็นว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมทางนี้ต้องได้รับการสนับสนุนพิเศษจากรัฐบาล ส่วนอีกคนอาจไม่อยากให้เน้นเทคโนโลยีแบบนี้เลย สังคมจะเดินไปทั้งสองทางไม่ได้ ในอดีตเรามักจะทำอะไรก็ตามให้คนพอใจ ซึ่งเป็นการหลบปัญหา อยู่กันได้ก็อยู่กันไปอย่าเพิ่งโวยวาย จึงไม่เกิดทิศทางที่ชัดเจน ต่อไปจะจัดการเช่นนี้ไม่ได้เพราะคนจัดการไม่มีแล้ว ดังนั้นต้องยอมรับรูปแบบใหม่ คือได้ตามต้องการหรือไม่ได้ตามต้องการในช่วงหนึ่ง ส่วนฝ่ายที่ไม่ได้ก็พยายามเปลี่ยนใจสังคมโดยการสนทนาถกเถียงในช่วงถัดไป
ถ้าสังคมไทยจะอยู่กันอย่างสงบสุข ประชาชนจะต้องไม่เพียงแต่มีความรู้เกี่ยวกับกติกาที่ใช้เพื่อการอยู่ร่วมกันเท่านั้น แต่ต้องเข้าใจในคุณค่าของกติกาเหล่านั้น ด้วย ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาวิธีจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย
ความสำคัญของการศึกษาเรื่องความขัดแย้งและเรื่องสันติวิธี
ปัจจุบันสังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ รวมทั้งพฤติกรรมของคน
ในการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นธรรมดาที่จะเกิดความขัดแย้งต่าง ๆ มากกว่าปกติ เนื่องจากมีการปรับตัว ปรับทัศนคติ จากฝ่ายต่าง ๆ ทั้ง ประชาชน และหน่วยงานของรัฐในอัตราไม่เท่ากัน รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพก็ยากขึ้น ในเมื่อหลายปัญหาอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะ ดังนั้นจึงเพิ่มความซับซ้อนของปัญหามากยิ่งขึ้น
การอยู่ร่วมกันอย่างใหม่บนสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งท้าทายสังคมประชาธิปไตยในทศวรรษหน้าอย่างมาก แต่จากการทุ่มเท ช่วยกันศึกษาและพัฒนารูปแบบ ต่าง ๆ ของการจัดการกับความขัดแย้งเหล่านี้ที่เกิดขึ้น สังคมไทยก็จะสามารถผ่านพ้นช่วงการเปลี่ยนแปลงใหญ่นี้ โดยไม่บอบช้ำ หรือเกิดความเจ็บปวดแก่สังคมมากจนเกินไป อย่างเช่น ที่เคยเกิดกับสังคมอื่นที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ในอดีต หรือที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับเรา มีบางคนที่มีทัศนะว่าคงยากที่จะหลีกเลี่ยงความรุนแรง หรือเชื่อว่าต้องมีความรุนแรงจึงจะมีการเปลี่ยนแปลงจริง แต่อาจไม่ต้องเป็นเช่นนี้ก็ได้ ถ้าสังคมไทยใช้ปัญญาให้มากขึ้น
เมื่อเรามุ่งมั่นที่จะทำให้สันติวิธีเป็นยุทธศาสตร์ของชาติ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ การปรับหางเสือของสังคมไทย และนี่แหละที่จะเป็นหน้าเป็นตาของชาติ "หน้าตา"ของชาติไทย ไม่ใช่ตึกสูงงดงาม หรือเทคโนโลยีทันสมัยที่ใช้อยู่ "หน้าตา"ของชาติไทย คือ คนไทย สังคมไทย ที่เผชิญกับความขัดแย้งโดยที่คู่กรณีเริ่มต้นแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเข้าใจซึ่งกัน และกัน การที่จะปลูกฝังทัศนคติสันติวิธีให้ลงลึกนั้น สถาบันศึกษาทั้งพลเรือน ทหาร ต้องบรรจุเรื่องนี้ในหลักสูตร แล้วสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ การปรับหางเสือของสังคมไทย ดังที่กล่าวมาแล้ว
ต่อไปจะขอลงในรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาและการพัฒนารูปแบบการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย
วัฒนธรรมกับการแก้ไขความขัดแย้ง
เพื่อที่จะเข้าใจคำว่า "รูปแบบการจัดการกับความขัดแย้งที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทย" ต้องมาพิจารณาถึงเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งและวัฒนธรรม" ก่อน ในลำดับแรกจะต้องพิจารณาว่าการจัดการความขัดแย้งเป็นศาสตร์หรือเป็นศิลป คำถามนี้ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน นักทฤษฎีอาจมีแนวโน้มที่มองเป็นศาสตร์ แต่นักปฏิบัติ (ผู้ที่ลงมือพยายามแก้ไขความขัดแย้งต่าง ๆ ที่ปรากฏจริงในสังคม) มักจะมองว่าต้องอาศัยศิลปะของการพูดจากัน ดูว่าเมื่อไรควรหยิบยกเรื่องไหนมาพูด เมื่อไรยังไม่เหมาะ จะมีน้ำเสียงอย่างไร เป็นต้น
การมองเป็นศาสตร์ก็จะให้ความสำคัญน้อยกับเรื่องของวัฒนธรรมในการจัดการความขัดแย้ง ถ้ามองเป็นศิลปะก็จะให้มากหน่อย เพราะการรู้จักวิธีพูดและท่าทางที่ควรใช้ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมโดยตรง
จากความเห็นที่แตกต่างกันนี้ จึงอาจแบ่งทัศนะเกี่ยวกับเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับรูปแบบการแก้ไขความขัดแย้ง" ออกได้เป็น ๓ ทัศนะ
ทัศนะที่ ๑ ทุกสังคมมีบางอย่างคล้ายกัน เนื่องจากลักษณะธรรมชาติของมนุษย์ ความขัดแย้งในสังคมต่าง ๆจึงอยู่บนรากฐานเหมือนกัน ซึ่งไปลึกกว่าวัฒนธรรม ดังนั้นเราสามารถศึกษาหารูปแบบการจัดการแก้ไขความขัดแย้งที่เป็นสากลและสามารถนำมาใช้ข้ามวัฒนธรรมอย่างได้ผล เช่น การศึกษาเทคนิค และวิธีการเรื่องการเจรจาต่อรอง การใช้คนกลางไกล่เกลี่ย จากประเทศที่พัฒนาวิธีการเหล่านี้มาแล้ว
ทัศนะที่ ๒ ความขัดแย้งในสังคมไม่ได้มาจากพื้นฐานทางชีวภาพของมนุษย์ แต่สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมโดยตรง ดังนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละสังคม และวิธีการแก้ไขต้องหาใหม่ให้เหมาะสมกับแต่ละสังคม โดยคำนึงถึงวัฒนธรรมเป็นหลัก ถ้าใช้วิธีการที่พัฒนามาในวัฒนธรรมอื่นก็จะไม่ประสบความสำเร็จหรือไม่ยั่งยืน
ทัศนะที่ ๓ เป็นทัศนะผสมผสานโดยมองว่า ความขัดแย้งในสังคม มีสาเหตุที่มาจาก ทั้งธรรมชาติมนุษย์และวัฒนธรรม ดังนั้นบางส่วนของวิธีการจัดการอาจใช้ร่วมกันได้ บางส่วนต้องปรับให้เข้ากับสังคมโดยเฉพาะ
ผลของการพยายามศึกษาและปฏิบัติในเรื่องนี้ดูเหมือนให้น้ำหนักแก่ทัศนะที่ ๓
คำถามที่สำคัญ คือ ต้องปรับส่วนไหน ไม่ต้องปรับส่วนไหน ของวิธีการที่พัฒนากันมาจากที่อื่น
สำหรับสังคมไทย ก็คือคำถามว่าเพื่อที่จะแก้ไขความขัดแย้งในสังคมเราที่เผชิญอยู่ทุกวันนี้เราจะนำความรู้ที่มีคนพัฒนามาแล้วมาเป็นประโยชน์ในขั้นตอนใดของการแก้ไขความขัดแย้ง และในกรณีที่ความรู้ที่มาจากที่อื่นยังใช้ไม่ได้เราจะพัฒนาวิธีการที่เหมาะสมอย่างไร
ความขัดแย้ง ๒ ประเภท
เพื่อที่จะตอบคำถามนี้ได้ จะต้องดูประเภทของความขัดแย้ง ๒ ประเภทที่อาจปรากฏในสังคมใด ๆ และมาดูกันว่าในสังคมไทยลักษณะของความขัดแย้งเป็นอย่างไร
ประเภทที่ ๑ มีลักษณะดังนี้
๑) เป็นความขัดแย้งระหว่างคู่กรณีที่ไม่รับกติการ่วมกันในการจัดการ
๒) ขณะเจรจากันคู่กรณีมีขอบเขตของการปฏิบัติของตัวเองที่ยืดหย่นอยู่ตลอดเวลา เช่น กรณีสมัชชาคนจนเจรจากับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีกติกาหรือเข้าใจต่างกัน กรณีบริษัทเอกชนกับแกนนำของกลุ่มประชาชนที่คัดค้านโครงการของบริษัท เมื่อเป็นเช่นนี้ การใช้เหตุผลจึงเป็นเพียงวิธีหนึ่งที่ลองใช้ ไม่ใช่กรอบของการเจรจา
๓) เมื่อไม่มีกติกา หรือรับกติกาต่างกัน แต่ละฝ่ายจะอ่อนไหวต่อท่าทีในการเจรจาและ Perception เกี่ยวกับความจริงใจของคู่กรณี
๔) อำนาจคู่กรณีต่างกัน และเมื่อไม่มีกติการ่วมที่จะมาทำให้สมดุลกันมากขึ้น แต่ละฝ่ายก็จะสร้างอำนาจให้กับฝ่ายตนเพื่อการต่อรอง
๕) ในสถานการณ์เช่นนี้ มีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่ความรุนแรง
ประเภทที่ ๒มีลักษณะดังนี้
๑) คู่กรณีรับกรอบกติการ่วมกันบางอย่างในการแก้ไข
๒) กติกาเหล่านี้ทำให้ช่องว่างทางอำนาจแคบลง
๓) กติกาเหล่านี้ทำให้พอศึกษาได้ว่า คู่กรณีคิดอย่างไร เพราะมีบางอย่างอยู่นอกขอบเขต และจะรู้กันว่าบางอย่างทำไม่ได้ คล้ายกับการเล่นเกมที่มีกติกา ก็จะรู้ว่าจะเล่นแบบใด
๔) มีลักษณะที่คู่กรณีแต่ละฝ่ายยับยั้งความรู้สึกส่วนตัวที่ลึกซึ้งในระดับหนึ่ง พูดอีกอย่างคือ เหตุผล เล่นบทบาทมากกว่าความรู้สึกชั่วขณะ
๕) ถึงแม้ว่าการเจรจาอาจจะยืดเยื้อและมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อเรื่องต่าง ๆ เช่น ทำให้โครงการล่าช้า หรือต้องพูดจากันหลายครั้งหลายหน หาข้อยุติยาก แต่มีโอกาสน้อยที่จะนำไปสู่ความรุนแรง อาจต้องถามกันอยู่เสมอว่าเราต้องการโครงการหรือเราต้องการการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ความสำคัญของรัฐธรรมนูญในการสร้างกระบวนการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ความขัดแย้งที่สามารถใช้วิธีการจัดการและแก้ไขที่พัฒนามาจากที่อื่น ในบริบทอื่น ให้เป็นประโยชน์ คือ ความขัดแย้งประเภท ๒ โดยใช้กติการ่วมกันเป็นตัวตั้ง แต่ลักษณะความขัดแย้งในสังคมไทยในหลายกรณียังเป็นความขัดแย้งประเภท ๑ อยู่มาก ดังนั้น จึงต้องพยายามหาวิธีทำสองอย่างพร้อมกันคือ พัฒนารูปแบบการจัดการในบริบทที่กติกายังไม่มีหรือยังไม่รับร่วมกัน ขณะเดียวกันก็ร่วมกันพยายามพัฒนากติกาซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันมากขึ้น
๑) ตราบใดที่ความขัดแย้งยังเป็นประเภท ๑ อยู่ ต้องหารูปแบบการจัดการที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ (ไม่ใช่แค่วัฒนธรรมไทยโดยรวม แต่อาจต้องซอยย่อยถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นและชุมชน) ในบริบทเช่นนี้รูปแบบสากลจะยังไม่เป็นประโยชน์มากนัก (เช่น กรอบ ตรรกใน game- theoretic approach)
๒) ทำให้ "ความขัดแย้งเป็นของธรรมดา" กล่าวคือ แปลงความขัดแย้งประเภท ๑ ที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงให้เป็นประเภท ๒ (ที่ต่อสู้กันภายในกรอบของกติกาที่รับร่วมกัน)
อันนี้หมายความว่า ต้องมีกติกาและกลไกที่รองรับประเภท ๒ อยู่ ที่ยอมรับและเข้าใจตรงกัน ตัวอย่างของชุดกติกาดังกล่าวคือ รัฐธรรมนูญ ดังนั้นจะเห็นว่าคุณค่าของรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เพียงเพื่อช่วยในการกำจัดความขัดแย้งในสังคมโดยตรงอย่างเดียว แต่เป็นการช่วยในการแปลงความขัดแย้งประเภท ๑ ให้มาเป็นประเภท ๒ อีกด้วย