กฎหมายเกี่ยวกับบุคลากรในพระราชสำนัก

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:57, 7 กรกฎาคม 2553 โดย Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)

กฎหมายเกี่ยวกับบุคลากรในพระราชสำนัก

พระราชบัญญัติสมุหมนตรี รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙

พระราชบัญญัติสมุหมนตรีนี้ ได้มีบัญญัติขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๓ (ร.ศ.๑๒๙) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ สืบเนื่องจากการที่ได้ทรงมีพระราชดำริว่า ข้าราชการพลเรือนผู้ที่ได้เคยใช้สอยเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้นั้น ยังไม่มีเครื่องหมายประดับดังเช่นข้าราชการฝ่ายทหารตำแหน่งราชองครักษ์ที่ทำหน้าที่ใกล้ชิดพระองค์ ซึ่งมีเครื่องหมายราชองครักษ์เป็นสำคัญ จึงมีพระราชพระสงค์ที่จะแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายพลเรือนผู้ที่ไว้วางพระราชหฤทัย และให้มีเครื่องหมายตำแหน่งสมุหมนตรีประดับ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสมุหมนตรี รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙ ขึ้นไว้


สาระสำคัญของกฎหมายสมุหมนตรีที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน

กฎหมายฉบับนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๗ หน้า ๔๐ วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๓ มีสาระสำคัญคือ สมุหมนตรีนั้น จะแต่งตั้งจากข้าราชการฝ่ายพลเรือน โดยจะทรงมีพระบรมราชโองการสั่งอธิบดีกรมพระอาลักษณ์หรือเสนาบดีเจ้ากระทรวงซึ่งผู้นั้นรับราชการอยู่ ถ้ามีพระบรมราชโองการสั่งเสนาบดีเจ้ากระทรวง เสนาบดีเจ้ากระทรวงต้องแจ้งมายังกรมพระอาลักษณ์เพื่อจะได้ส่งเครื่องหมายตำแหน่งสมุหมนตรีซึ่งมีลักษณะเป็นเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อไปยังผู้นั้น แล้วให้ประกาศแจ้งความตั้งสมุหมนตรีในหนังสือราชกิจจานุเบกษา โดยให้มีผลเมื่อผู้นั้นได้รับพระราชทานเข็มสมุหมนตรีและได้ลงประกาศตั้งในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว และผู้ที่เป็นสมุหมนตรีนี้มีเกียรติยศเมอราชองครักษ์พิเศษ ซึ่งจะพ้นจากการเป็นสมุหมนตรีเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออก โดยประกาศแจ้งในหนังสือราชกิจจานุเบกษา


หน้าหลัก | กฎหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์