พระราชบันทึก Democracy in Siam

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า

ผลจากการพัฒนาสยามตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อให้เกิดความตื่นตัว ทางการเมืองในกลุ่มบุคคลที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตกจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความจริงข้อนั้นทรงแสดงพระราชดำริต่อข้อถกเถียงที่ว่า .. การปกครองระบอบประชาธิปไตยเหมาะสมกับสยามหรือไม่ไว้ครั้งหนึ่งในพระราชบันทึกภาษาอังกฤษ “Democracy of Siam” ความว่า

“...ถ้าเรายอมรับกันว่าวันหนึ่งเราจะต้องถูกบังคับให้มีประชาธิปไตยบางแบบขึ้นในประเทศสยามแล้ว เราก็ต้องเตรียมตัวของเราให้พร้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เราจะต้องพยายามให้การศึกษาแก่ประชาชน ให้เขามีการรับรู้ในทางการเมือง ให้เขารู้จักผลประโยชน์อันแท้จริงของเขา ....ถ้าเราจะต้องมีรัฐสภากันแล้ว เราก็จะต้องสอนให้ประชาชนรู้จักเลือกตั้งว่าทำกันอย่างไร และรู้จักเลือกผู้แทนซึ่งเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนอยู่ในใจอย่างแท้จริง....”

กล่าวกันว่าการปรับปรุงสภาองคมนตรีในครั้งนั้น เป็นพระราชประสงค์ให้เป็นขั้นแรกแห่งความคิดการทดลองเพื่อศึกษาวิธีการอภิปรายในรัฐสภาสำหรับใช้งานจริงในวันข้างหน้า


ที่มา

บทสารคดี “ปกเกล้าธรรมราชา” สารคดีเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ในวโรกาสครบ ๑๒๐ ปี แห่งวันพระบรมราชสมภพและเป็นบุคคลสำคัญของโลก โดยองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประจำปี ๒๕๕๖