ผลต่างระหว่างรุ่นของ "23 สิงหาคม พ.ศ. 2489"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:17, 9 กันยายน 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 เป็นวันที่นายกรัฐมนตรี คนที่ 8 ของประเทศ คือ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เข้ารับตำแหน่ง เมื่อนายปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ทางรัฐสภาก็ได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน เสียงข้างมากได้สนับสนุน พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตผู้ก่อการฯ ที่ตอนนั้นเป็นหัวหน้าพรรคแนวรัฐธรรมนูญ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐบาลของ พลตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ หรือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นั้นก็ถือกันว่าเป็นรัฐบาลที่เป็นฝ่ายเดียวกับรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ เพราะเสียงสนับสนุนสำคัญนอกจากมาจากพรรคแนวรัฐธรรมนูญแล้ว ยังมาจากพรรคสหชีพที่สนับสนุน นายปรีดี พนมยงค์ มาด้วย ตัวนายกรัฐมนตรีเองก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนรราษฎรจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนพรรคฝ่ายค้านสำคัญคือ พรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี นายควง อภัยวงศ์
หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศมาได้ประมาณ 9 เดือน
ทางพรรคประชาธิปัตย์ก็ขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจรัฐบาล ถือได้ว่าเป็นการอภิปรายครั้งสำคัญตอบโต้กันไปมาถึง 8 วัน 7 คืน โดยนายกรัฐมนตรีก็ไม่กลัวใคร เพราะมีฉายาว่านายกรัฐมนตรี “ลิ้นทอง” อภิปรายกันแล้วถึงตอนลงมติรัฐบาลก็ชนะด้วยเสียง 86 ต่อ 55 แต่รัฐบาลก็แสดงความกล้าลาออกในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 และได้รับความสนับสนุนเข้ามาใหม่ คือ หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490
กระนั้นแม้จะชนะในสภาและได้เข้ามาบริหารประเทศอีก แต่ก็อยู่ได้อีกประมาณ 6 เดือน คณะทหารที่เรียกตัวเองว่าคณะรัฐประหารก็ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ ล้มรัฐบาล
ล้มรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 จึงเป็นวันสิ้นสุดตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์