ผลต่างระหว่างรุ่นของ "20 มิถุนายน พ.ศ. 2476"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:16, 9 กันยายน 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นวันที่มีคณะทหารเข้ายึดอำนาจซ้ำขึ้นเป็นครั้งแรกภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยมี พ.อ. พระยาพหลพยุหเสนา เป็นหัวหน้า ที่เรียกตำแหน่งในตอนยึดอำนาจว่า “ผู้รักษาพระนคร” และมีนายทหารบกและทหารเรือคนสำคัญในคณะราษฎร อีก 2 ท่านร่วม คือ พ.ท.หลวงพิบูลสงคราม เป็นเลขานุการฝ่ายทหารบก และ น.ต. หลวงศุภชลาศัย เป็นเลขานุการฝ่ายทหารเรือ ขณะนั้นพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี
การยึดอำนาจในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นี้น่าจะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในคณะราษฎรหรือคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองระดับผู้นำสำคัญเอง เพราะโดยตัวนายกรัฐมนตรี คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเองนั้นไม่ได้มีอำนาจในตัวท่านเองมากนัก และการขัดแย้งที่ปรากฏก็เป็นเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่มอบให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมไปจัดทำมาเสนอ เมื่อจัดทำมาเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก็มีความเห็นแตกต่างกันมากอย่างเห็นได้ชัด ทำให้รัฐบาลยังไม่นำเสนอต่อสภา จนมีสมาชิกสภาซักถามและตำหนิรัฐบาล ทางเสียงข้างมากในคณะรัฐมนตรีมองว่าแนวทางในเค้าโครงเศรษฐกิจเป็นไปทางสังคมนิยมมาก ถึงขนาดกล่าวอ้างไปในทางเสียหาย
เมื่อเผชิญหน้ากับการซักถามในสภาโดยไม่เกรงใจรัฐบาลเช่นนั้น ทางนายกรัฐมนตรีและพวกซึ่งน่าจะมีฝ่ายทหารบก กลุ่มสนับสนุนจึงออกพระราชกฤษฎีกาปิดสภา และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 และมีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ ให้รัฐมนตรีที่ไม่เห็นด้วยออกไป และออกกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ฉบับแรกออกมาใช้ขณะที่ปิดสภา
แต่ความตึงเครียดทางการเมืองอันเนื่องมาจากปิดสภาก็ได้มีอยู่ประมาณ 80 วัน ถึงวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 คณะทหารที่ไม่เห็นด้วยกับการปิดสภาจึงยึดอำนาจ ขอให้นายกรัฐมนตรีลาออก และขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการเปิดสภา จากนั้นพระยาพหลพยุหเสนา หัวหน้าคณะทหารจึงเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจัดตั้งรัฐบาล ส่วนพระยามโนปกรณ์นิติธาดา อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นเมื่อลาออกจากหัวหน้ารัฐบาลแล้วก็เดินทางไปลี้ภัยอยู่ที่เมืองปีนัง ประเทศมลายู และอยู่นานต่อมาจนเสียชีวิตที่นั่น