ผลต่างระหว่างรุ่นของ "1 เมษายน พ.ศ. 2476"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศ.นรนิต เศรษฐบุตร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' | '''ผู้เรียบเรียง''' ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร | ||
---- | ---- |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:40, 6 กันยายน 2556
ผู้เรียบเรียง ศาสตราจารย์พิเศษ นรนิติ เศรษฐบุตร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นวันที่รัฐบาลที่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้บทบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งขัดกับพระราชกฤษฎีกาที่ออกประกาศมานี้ สาระสำคัญของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีเนื้อความสำคัญ อยู่ 5 ประการ
“1. ให้ปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรนี้เสีย และห้ามไม่ให้เรียกประชุมจนกว่าจะได้มีสภาผู้แทนราษฎรขึ้นใหม่ เมื่อได้มีการเลือกตั้งผู้แทนตามความในรัฐธรรมนูญนั้นแล้ว
2. ให้ยุบคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันนี้เสีย และให้ตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ กอปรด้วยนายกรัฐมนตรี 1 นาย และรัฐมนตรีอื่นๆ ไม่เกิน 20 นาย และให้นายกรัฐมนตรีซึ่งถูกยุบเป็นนายกของคณะรัฐมนตรีใหม่ กับให้คณะรัฐมนตรีซึ่งว่าการกระทรวงต่างๆ อยู่ในเวลานี้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรีโดยตำแหน่ง ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีต่อไป
3. ตราบใดยังไม่มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรและยังไม่ได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรใหม่นั้น และยังไม่ได้ตั้งรัฐมนตรีตามความในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เป็นผู้ใช้อำนาจต่าง ๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ให้ไว้แก่คณะรัฐมนตรี
4. ตราบใดที่ยังมิได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร และยังไม่ได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรใหม่นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติ ตามคำแนะนำและยินยอมของคณะรัฐมนตรี
5. ตราบใดที่ยังไม่ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร และยังไม่ได้เรียกประชุมสภาผู้แทนราษฎรใหม่นั้น และยังไม่ได้ตั้งคณะรัฐมนตรีตามความในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้รอการใช้บทบัญญัติต่าง ๆ ในรัฐธรรมนูญซึ่งขัดกับพระราชกฤษฎีกานี้เสีย ส่วนบทบัญญัติอื่น ๆ นั้นให้เป็นอันคงใช้อยู่ต่อไป”
แต่ในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 รัฐบาลพระยามโนฯ ซึ่งเชื่อกันว่าได้รับการหนุนจากนายพันเอกพระยาทรงสุรเดชก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะผู้ยึดอำนาจปกครองประเทศที่มีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้า และมีนายพันโทหลวงพิบูลสงคราม กับนายนาวาโทหลวงศุภชลาศัยเป็นผู้ร่วมงาน พระยามโนปกรณ์ฯ ยอมลาออก และ พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เป็นนายกรัฐมนตรี มีการกลับไปเปิดสภาและยกเลิกการงดใช้รัฐธรรมนูญ