ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิมนุษยชน"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 1: บรรทัดที่ 1:
'''ผู้เรียบเรียง''' ดร.ถวิลวดี บุรีกุล
'''ผู้เรียบเรียง''' ดร.ถวิลวดี บุรีกุล
----
'''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รศ. นรนิติ เศรษฐบุตร


----
----
บรรทัดที่ 10: บรรทัดที่ 13:


ในส่วนของประเทศไทยนั้น  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้วางข้อบทต่าง ๆ อันสะท้อนการยอมรับและเคารพต่อหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนไว้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “[[ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์]] [[สิทธิ]] และ[[เสรีภาพ]]ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”  นอกจากนี้ยังมีระบุอีกว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" และ "บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรี ภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน"  เป็นต้น  โดยกำหนดให้มี “[[คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ]]” เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่หลักคือ ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเสนอ มาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ
ในส่วนของประเทศไทยนั้น  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้วางข้อบทต่าง ๆ อันสะท้อนการยอมรับและเคารพต่อหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนไว้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “[[ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์]] [[สิทธิ]] และ[[เสรีภาพ]]ของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”  นอกจากนี้ยังมีระบุอีกว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" และ "บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรี ภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน"  เป็นต้น  โดยกำหนดให้มี “[[คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ]]” เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่หลักคือ ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเสนอ มาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ
[[หมวดหมู่:สารานุกรมการเมืองไทย]]

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:46, 30 พฤษภาคม 2555

ผู้เรียบเรียง ดร.ถวิลวดี บุรีกุล


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รศ. นรนิติ เศรษฐบุตร


สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกันเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีไมตรีจิต และมีความเมตตาต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย สุขภาพ หรือความคิดเห็นทางการเมืองหรือทางอื่น เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิดหรือสถานะอื่นๆ และ ทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวตน

ปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นมาตรฐานระดับสากลร่วมกันที่ว่า เอกชนทุกคนและองค์การของสังคมทุกองค์การ จะส่งเสริมเคารพสิทธิและอิสรภาพเหล่านี้

ในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้วางข้อบทต่าง ๆ อันสะท้อนการยอมรับและเคารพต่อหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนไว้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง” นอกจากนี้ยังมีระบุอีกว่า "การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้" และ "บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรี ภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน" เป็นต้น โดยกำหนดให้มี “คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ” เป็นองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ ทำหน้าที่หลักคือ ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และเสนอ มาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ