ผลต่างระหว่างรุ่นของ "“เจรจา เจรจา เจรจา” ทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยจริงหรือไม่"
ล หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ---- ความขั...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ | ||
---- | |||
'''วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2553 เล่มที่ 1''' | |||
---- | ---- | ||
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ | ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:35, 7 กุมภาพันธ์ 2555
ผู้เรียบเรียง ศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์
วารสารสถาบันพระปกเกล้า ปี 2553 เล่มที่ 1
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของคน “เสื้อแดง” กับรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 ต่อเนื่องมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะหาทางออกกันได้อย่างไร ความขัดแย้งนี้ได้สร้างความแตกแยกให้กับคนในสังคมไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน สิ่งที่น่าเป็นห่วงและกังวลมากขึ้นคือ ความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงและมีการพัฒนายกระดับของความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน และความมั่นคงทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันหลักของชาติ
แม้ว่าคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยจะส่งเสียงเรียกร้องให้ทั้งรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงหันหน้ามาพูดคุยกันเพื่อยุติความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่เสียงที่พูดออกมาว่าอย่างเช่น “อยากเห็นการเจรจา” “หันหน้ามาคุยกัน” โดยมุ่งหวังว่าทุกฝ่ายจะนำปัญหาที่แท้จริงมาสู่โต๊ะเจรจาในรอบที่ 3 และรอบต่อๆ ไป ก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะเกิดขึ้นภายในเร็ววัน หรือเป็นเพราะว่าการเจรจา 2 ครั้งที่ผ่านมาไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาในขณะนี้ หรือเป็นเพราะการพบกัน 2 ครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 28 และ 29 มีนาคม 2553 ไม่ได้เรียกว่าการเจรจาแต่เป็นการต่อรองเพื่อตอบสนองจุดยืนของตัวเองเท่านั้น หรือเป็นเพราะความรุนแรงและความเสียหายยังไม่มากพอที่ทุกฝ่ายจะหันหน้ามาเจรจาพูดคุยกัน และ หรือเป็นเพราะว่าเราเป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งที่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจึงไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง คำถามเหล่านี้ต้องการคำตอบ โดยเฉพาะคำตอบต่อคำถามที่ว่า “การเจรจาจะเป็นทางออกของความขัดแย้งในประเทศไทยได้จริงหรือไม่?”
คำถามและคำตอบเหล่านี้เป็นสิ่งท้าท้ายกับคนในสังคมไทยทุกคนที่ต่างจับจ้องและเฝ้ามองดูสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงกันอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะนักสันติวิธีที่พยายามเรียกร้องและต้องการพิสูจน์ว่าการพูดคุยกันเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืนกว่าการใช้ความรุนแรง ซึ่งแนวคิดและวิธีการนั้นตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น เราในฐานะพลเมืองไทยคนหนึ่งคงต้องหันมาช่วยกันหาคำตอบเหล่านี้ และหากเห็นว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยเป็นหนทางหนึ่งที่ดี พลเมืองคนไทยจะมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดการพูดคุยกันอย่างไรได้บ้าง ทั้งนี้เพื่อนำความสันติสุขสถาพรให้กลับคืนสู่สังคมไทยต่อไป ที่มาของการหวนคืน เสียงปืนลั่น ระเบิดดัง มนต์ขลังของเดือนเมษายน
กลุ่ม “แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ” (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่สนับสนุนอดีตนายก พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร และต่อต้านระบอบเผด็จการเริ่มขึ้นอย่างจริงจังหลังจากมีการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา กลุ่มคนเสื้อแดงได้รวมตัวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อขับไล่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) แต่เมื่อมีการเลือกตั้งใหม่โดยใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 และพรรคพลังประชาชนได้รับเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล จึงทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงแยกย้ายกันไประยะหนึ่ง ซึ่งในขณะนั้นมีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลในการบริหารประเทศ
ไม่ว่ารัฐบาลพรรคไหนจะเข้ามาบริหารประเทศ ปรากฎการณ์ที่เห็นกันบ่อยครั้งในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมาคือการชุมนุมประท้วงเพื่อแสดงออกทางการเมือง ซึ่งมักจะเห็นกลุ่มคนเสื้อสีต่างๆ ออกมาคัดค้าน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง เช่นเดียวกับรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ได้มีการรวมตัวกันของกลุ่มคนเสื้อเหลืองออกมาต่อต้านรัฐบาลอนายสมัครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้าดำรงตำแหน่ง โดยเฉพาะประเด็นที่รัฐบาลของนายสมัครและพรรคร่วมรัฐบาลต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 การชุมนุมของคนเสื้อเหลืองเมื่อปี 2551 เพื่อขอให้นายกสมัครลาออกในขณะนั้น ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลง แต่ท้ายที่สุดนายสมัคร สุนทรเวช ได้ถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกระทำกิจการเพื่อประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นในลักษณะที่เป็นหุ้นส่วน จึงเป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง (1)
ต่อมามีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยมีนายสมชาย วงสวัสดิ์ ซึ่งมาจากพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกันมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานก็ถูกศาลรัฐธรรนูญพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนเนื่องจากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เป็นเหตุให้นายสมชาย วงสวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเช่นเดียวกับนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองใหม่ นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ ปรึกษาหารือกันกับพรรคการเมืองอื่นๆ และลงมติให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
ด้วยเหตุดังกล่าว คนเสื้อแดงซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนพรรคพลังประชาชนและอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร จึงเกิดความไม่พอใจและรู้สึกว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย อ้างว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลสองมาตรฐานไม่มีความชอบธรรมในการบริหารประเทศและขอให้ยุบสภาหรือลาออก จึงได้รวมตัวกันชุมชนประท้วงต่อต้านมาตั้งแต่ปี 2552 จนกระทั่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ได้เกิดเหตุการณ์สงกรานต์เลือด จนทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และดำเนินการกับผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งดูเหมือนว่าทุกอย่างจะสงบแล้ว
แม้เหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552 จะผ่านไปไม่ถึง 1 ปี ความขัดแย้งทางการเมืองก็ยังไม่สิ้นสุดแต่กลับครุกรุ่นหวนคืนกับมาอีกครั้งพร้อมกับเสียงปืนและระเบิดที่รุนแรงมากกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 10 และ 28เมษายน 2553 ได้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารที่ต้องการขอพื้นที่การชุมนุมคืนกับกลุ่มคนเสื้อแดงในเขตกรุงเทพมหานคร ทำให้มีคนได้บาดเจ็บ 966 คน เสียชีวิต 27 คน ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่า ขณะที่ได้มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและคนเสื้อแดง ได้มีหลักฐานสำคัญทั้งภาพถ่ายและเทปบันทึกจากช่างภาพชาวไทยและต่างประเทศว่ามีกลุ่มกองกำลังติดอาวุธปืนสงครามกำลังยิงต่อสู้ ขว้างระเบิดใส่เข้ากลุ่มทหารและยิงทำร้ายประชาชน ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นข้อถกเถียงกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงว่าคนชุดดำที่ติดอาวุธเป็นฝ่ายไหน ซึ่งก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้โดยต่างฝ่ายต่างอ้างว่าไม่ใช่พวกของตัวเอง ประเด็นที่สำคัญขณะนี้คงไม่ใช่มาเถียงกันว่าใครเป็นคนยิงทหารและประชาชน แต่สิ่งที่น่าคิดคือความขัดแย้งได้กลายเป็นความรุนแรงอย่างสิ้นเชิงแล้ว และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะลงเอยกันอย่างไร ความเสียหายที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศไทยก็ว่าได้ เมื่อเปรียบเทียบกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ทางการเมืองตั้งแต่ปี 2516 ดังตารางต่อไปนี้