ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคกรุงสยามปฏิรูป"
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
'''ผู้เรียบเรียง''' นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | '''ผู้เรียบเรียง''' รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ | ||
---- | ---- | ||
บรรทัดที่ 8: | บรรทัดที่ 8: | ||
== พรรคกรุงสยามปฏิรูป == | == พรรคกรุงสยามปฏิรูป == | ||
ราว 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2519 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] ได้เดินทางกลับประเทศไทยโดยบวชเป็นสามเณรและมาบวชเป็นพระและจำวัดที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ส่งผลให้นักศึกษาประท้วงใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกครั้ง จนวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ตัดสินใจลาออก แต่สภามีมติให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก [[เสนีย์ ปราโมช|ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]]จึงได้ตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2519 แต่เมื่อ ถึงวันที่ 6 ตุลาคม ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดที่ธรรมศาสตร์ และฝ่ายทหารก็ยึดอำนาจใช้ชื่อว่า[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบสภายกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ.2517 และตั้ง[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร|นายธานินทร์ กรัยวิเชียร]] เป็นนายกรัฐมนตรี ราว 3 ปีต่อมา ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 คณะทหารชุดเดิมเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ และตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ฯ ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 | ราว 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2519 [[ถนอม กิตติขจร|จอมพลถนอม กิตติขจร]] ได้เดินทางกลับประเทศไทยโดยบวชเป็นสามเณรและมาบวชเป็นพระและจำวัดที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ส่งผลให้นักศึกษาประท้วงใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกครั้ง จนวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ตัดสินใจลาออก แต่สภามีมติให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก [[เสนีย์ ปราโมช|ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช]]จึงได้ตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2519 แต่เมื่อ ถึงวันที่ 6 ตุลาคม ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดที่ธรรมศาสตร์ และฝ่ายทหารก็ยึดอำนาจใช้ชื่อว่า[[คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน]] คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบสภายกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ.2517 และตั้ง[[ธานินทร์ กรัยวิเชียร|นายธานินทร์ กรัยวิเชียร]] เป็นนายกรัฐมนตรี ราว 3 ปีต่อมา ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 คณะทหารชุดเดิมเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ และตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ฯ ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 | ||
บรรทัดที่ 19: | บรรทัดที่ 18: | ||
== ที่มา == | == ที่มา == | ||
เชาวนะ ไตรมาศ. '''ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปีประชาธิปไตยไทย'''. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542. | เชาวนะ ไตรมาศ. '''ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปีประชาธิปไตยไทย'''. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542. | ||
บรรทัดที่ 25: | บรรทัดที่ 23: | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | ||
[[หมวดหมู่:รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:40, 5 ตุลาคม 2554
ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคกรุงสยามปฏิรูป
ราว 3 ปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2519 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้เดินทางกลับประเทศไทยโดยบวชเป็นสามเณรและมาบวชเป็นพระและจำวัดที่วัดบวรนิเวศน์วิหาร ส่งผลให้นักศึกษาประท้วงใหญ่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกครั้ง จนวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2519 ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ตัดสินใจลาออก แต่สภามีมติให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไปอีก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชจึงได้ตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2519 แต่เมื่อ ถึงวันที่ 6 ตุลาคม ก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดที่ธรรมศาสตร์ และฝ่ายทหารก็ยึดอำนาจใช้ชื่อว่าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2517 ยุบสภายกเลิกกฎหมายพรรคการเมืองฉบับ พ.ศ.2517 และตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ราว 3 ปีต่อมา ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 คณะทหารชุดเดิมเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลนายธานินทร์ และตั้ง พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ฯ ได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้บัญญัติให้มีการตั้งพรรคการเมืองได้ โดยระบุว่าคุณสมบัติหนึ่งของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็คือจะต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมือง และยังกำหนดด้วยในมาตร 95 ว่าพรรคการเมืองที่มีสิทธิส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น หมายความว่าผู้ไม่สังกัดพรรคใดจะลงสมัครรับเลือกตั้งไม่ได้ และพรรคที่มีจะต้องส่งผู้สมัครไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งจำนวน ส.ส. อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่าให้มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกในวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและในช่วงเวลา 4 ปี แรกนับตั้งแต่วันตั้งวุฒิสมาชิก ยังไม่ให้ใช้ข้อบังคับที่ระบุว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะต้องสังกัดพรรคการเมือง
ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ จึงได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 301 คน และในวันเดียวกันนั้นก็มีการแต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 3 ใน 4 ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจากการที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งนี้ยังไม่จำเป็นต้องให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง (เพราะบทเฉพาะกาลระบุว่าจะใช้เมื่อ 4 ปีหลังจากมีการตั้งวุฒิสมาชิก) การเลือกตั้งครั้งนี้จึงมีผู้ลงรับสมัครที่ไม่สังกัดพรรคจำนวนถึง 615 คน (จากจำนวนนี้ได้รับเลือกตั้ง 63 คน) และยังเกิดพรรคจำนวนมากที่ไม่ได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ รวมถึงพรรคกรุงสยามปฏิรูปที่ส่งผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง 1 คน คือนายเปรม มาลากุลที่จังหวัดอุตรดิตถ์และได้รับเลือกตั้ง ต่อมานายเปรม ได้เข้าร่วมกับพรรคสยามปฏิรูปของนายประมวล กุลมาตร์ ส.ส. จังหวัดชุมพร ดำเนินนโยบายทางการเมืองว่า “กลุ่มสยามปฏิรูปมีนโยบายสนับสนุนพลเอกเกรียงศักดิ์ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น”
ที่มา
เชาวนะ ไตรมาศ. ข้อมูลพื้นฐาน 66 ปีประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542.