ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ"
หน้าที่ถูกสร้างด้วย ''''ผู้เรียบเรียง''' วัชรา ไชยสาร ---- '''ผู้ทรงคุณวุฒิปร...' |
ลไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 18: | บรรทัดที่ 18: | ||
''' 1.2 การพิจารณาศึกษาเรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ และสังคม (รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)''' | ''' 1.2 การพิจารณาศึกษาเรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ และสังคม (รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)''' | ||
สภาที่ปรึกษาฯ อาจพิจารณาศึกษา เรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) เพื่อจัดทำรายงาน | สภาที่ปรึกษาฯ อาจพิจารณาศึกษา เรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) เพื่อจัดทำรายงาน เป็นข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีได้<ref>พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง.</ref> และในกรณีที่เห็นสมควร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอาจพิจารณาศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไปก็ได้<ref>พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง.</ref> | ||
'''1.3 การพิจารณาศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป''' | '''1.3 การพิจารณาศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป''' | ||
บรรทัดที่ 31: | บรรทัดที่ 31: | ||
== กรณีการให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด == | == กรณีการให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด == | ||
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะดำเนินการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นก่อนการประกาศใช้<ref>พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง.</ref> และเมื่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดส่งความเห็นมาให้คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ<ref>พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 14 วรรคสอง.</ref> ซึ่งใช้บังคับกับแผนอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เสนอแผนนั้นต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรขอความเห็นจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย | |||
เมื่อสภาที่ปรึกษาฯ ได้จัดส่งความเห็นมาให้คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาโดยเร็ว ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาให้ความเห็นภายในเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันก็ได้ และถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สภาที่ปรึกษาฯ | เมื่อสภาที่ปรึกษาฯ ได้จัดส่งความเห็นมาให้คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาโดยเร็ว ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาให้ความเห็นภายในเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันก็ได้ และถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สภาที่ปรึกษาฯ ยังมิได้จัดส่งความเห็นกลับคืนมายังคณะรัฐมนตรีให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไปตามที่เห็นสมควรได้<ref>พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 15.</ref> | ||
ทั้งนี้ การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวนั้น กฎหมายกำหนดให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลใด | ทั้งนี้ การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวนั้น กฎหมายกำหนดให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลใด เพื่อทำการศึกษาหรือดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ<ref>พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 11.</ref> | ||
== ดูเพิ่มเติม == | == ดูเพิ่มเติม == | ||
บรรทัดที่ 42: | บรรทัดที่ 42: | ||
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 1 ทศวรรษ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท ที.เค. พริ้นติ้ง จำกัด, 2553. | สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 1 ทศวรรษ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท ที.เค. พริ้นติ้ง จำกัด, 2553. | ||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 2 มีนาคม 2554
ผู้เรียบเรียง วัชรา ไชยสาร
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ พรรณราย ขันธกิจ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแผนอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีดังกล่าวนั้น สภาที่ปรึกษาฯ สามารถดำเนินการได้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาดำเนินการได้ดังนี้
1.1 การพิจารณาให้คำปรึกษาเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่คณะรัฐมนตรีขอคำปรึกษา
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า การกำหนดนโยบายในเรื่องใดอาจกระทบถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมเป็นส่วนรวม สมควรได้รับฟังความคิดเห็น เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายในเรื่องนั้น ให้คณะรัฐมนตรีส่งเรื่องให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาให้คำปรึกษาเพื่อเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี[1]
1.2 การพิจารณาศึกษาเรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ และสังคม (รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง)
สภาที่ปรึกษาฯ อาจพิจารณาศึกษา เรื่องที่เห็นว่าสมควรกำหนดเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ (รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง) เพื่อจัดทำรายงาน เป็นข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีได้[2] และในกรณีที่เห็นสมควร สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอาจพิจารณาศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไปก็ได้[3]
1.3 การพิจารณาศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป
ในกรณีที่เห็นสมควร สภาที่ปรึกษาฯ อาจพิจารณาศึกษาเพื่อจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไปก็ได้

กรณีการให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีจะดำเนินการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นก่อนการประกาศใช้[4] และเมื่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดส่งความเห็นมาให้คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ[5] ซึ่งใช้บังคับกับแผนอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เสนอแผนนั้นต่อสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนอื่นที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรขอความเห็นจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย
เมื่อสภาที่ปรึกษาฯ ได้จัดส่งความเห็นมาให้คณะรัฐมนตรีแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีนำความเห็นดังกล่าวประกอบการพิจารณาในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้เหมาะสมกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาโดยเร็ว ในการนี้ คณะรัฐมนตรีอาจขอให้สภาที่ปรึกษาฯ พิจารณาให้ความเห็นภายในเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันก็ได้ และถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สภาที่ปรึกษาฯ ยังมิได้จัดส่งความเห็นกลับคืนมายังคณะรัฐมนตรีให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไปตามที่เห็นสมควรได้[6]
ทั้งนี้ การดำเนินงานของสภาที่ปรึกษาฯ ทั้ง 2 กรณีดังกล่าวนั้น กฎหมายกำหนดให้สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยสมาชิกหรือบุคคลใด เพื่อทำการศึกษาหรือดำเนินกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[7]
ดูเพิ่มเติม
พรรณราย ขันธกิจ. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2548.
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 1 ทศวรรษ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท ที.เค. พริ้นติ้ง จำกัด, 2553.
อ้างอิง
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 12.
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคหนึ่ง.
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 13 วรรคสอง.
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง.
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 14 วรรคสอง.
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 15.
- ↑ พระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2543 มาตรา 11.