ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่: {{รอผู้ทรง}} '''ผู้เรียบเรียง''' วัชรา ไชยสาร ---- '''ผู้ทรงคุณวุ...
 
Apirom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัดที่ 9: บรรทัดที่ 9:
----
----


การก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Conseil Economique et Social : CES)
 
'''การก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Conseil Economique et Social : CES)'''


== แนวคิดในการก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ==
== แนวคิดในการก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:14, 9 กันยายน 2553

บทความนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อยโดยผู้ืทรงคุณวุฒิ

ผู้เรียบเรียง วัชรา ไชยสาร


ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ พรรณราย ขันธกิจ



การก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Conseil Economique et Social : CES)

แนวคิดในการก่อตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม

แนวความคิดในการมีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส มีมาตั้งแต่สมัยที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาทางด้านการค้า (Conseil du commerce) ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากภาคเอกชน สภาที่ปรึกษาฯ จัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกตามคำเรียกร้องของสหภาพแรงงาน (Syndicats ouvriers) ใน ค.ศ. 1925

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกประสบปัญหาความยากจน แต่ละประเทศจึงพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจ แนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศฝรั่งเศส เป็นที่สนใจของ นักวางแผนโดยทั่วไป ในช่วงดังกล่าวฝรั่งเศสเป็นประเทศเดียวในยุโรปตะวันตกที่เน้นการวางแผนอย่างมีระบบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ประกอบกับสหพันธ์ลูกจ้างในขณะนั้นมีความเข้มแข็งมาก ประธานาธิบดีเดอโกล ผู้นำประเทศขณะนั้นมีความเห็นว่า ผู้ประกอบการและกลุ่มอาชีพควรมีตัวแทน ซึ่งเป็นอำนาจในการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยองค์กรสำคัญองค์กรหนึ่งที่มีส่วนช่วยพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศ คือ สภาเศรษฐกิจ และได้บัญญัติสภานี้ไว้ในรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 4 (ค.ศ. 1946) มาตรา 25 โดยกล่าวถึงให้มีการจัดตั้งสภาเศรษฐกิจขึ้น มีหน้าที่ในการให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย (กฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ) และให้คำแนะนำในขอบเขตอำนาจของสภาเศรษฐกิจ รวมทั้งกฎหมายบางฉบับต้องเสนอให้สภาเศรษฐกิจพิจารณาให้ความเห็นก่อนที่รัฐสภาจะทำการพิจารณา[1] นอกจากนั้น ในการถกเถียงกันเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว มีข้อเสนอว่าวุฒิสภาควรเป็นสภาวิชาชีพหรือสภาการเมือง

ในที่สุดสภาร่างรัฐธรรมนูญเห็นว่าควรเป็นสภาการเมือง แต่แนวความคิดเรื่อง สภาวิชาชีพก็ยังไม่ตกไปเสียเลยทีเดียว ความคิดเรื่องนี้มีมานานแล้ว เช่น ในปี ค.ศ.1925 สาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ตั้ง “สภาสังคม-วิชาชีพ” (Socio-professional) ขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น “สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ” ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1946 มาตรา 25 และปี ค.ศ. 1958 ได้เปลี่ยนเป็น “สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งกำหนดโดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมขึ้น ทำหน้าที่ในการให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมาย (กฎหมายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ) และให้คำแนะนำในขอบเขตอำนาจของสภาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งกฎหมายบางฉบับต้องเสนอให้สภาเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาให้ความเห็นก่อนที่รัฐสภาจะทำการพิจารณา รวมทั้งให้สภาเศรษฐกิจมีหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการจ้างงานเต็มที่และการใช้ทรัพยากรทางวัตถุอย่างมีเหตุมีผล ต้องผ่านการให้ความคิดเห็นจากสภาเศรษฐกิจเสียก่อน

บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส

นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว สภาเศรษฐกิจยังมีหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญในการให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการจ้างงานเต็มที่และการใช้ทรัพยากรทางวัตถุอย่างมีเหตุมีผล ต้องผ่านการให้ความคิดเห็นจากสภาเศรษฐกิจเสียก่อน

ปัจจุบันประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสยังคงรักษาบทบัญญัติว่าด้วยสภาเศรษฐกิจไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐที่ 5 (ค.ศ.1958) แต่เพิ่มขอบเขตอำนาจของสภาเศรษฐกิจเป็นสภาเศรษฐกิจและสังคม (Conseil Economique et Social : CES) และใช้บังคับมาถึงปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของสภาอันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อรัฐบาลและต่อสภา รวมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายเศรษฐกิจมีลักษณะที่ปรับตัวได้และเคร่งครัดน้อยกว่ากฎหมายเอกชน จึงทำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยรัฐธรรมนูญ หมวด 11 มาตรา 69 - 71 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสภาเศรษฐกิจและสังคมไว้ ดังนี้[2]

มาตรา 69 บัญญัติว่า “ในกรณีที่รัฐบาลร้องขอ สภาเศรษฐกิจและสังคม ต้องให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างบัญญัติ ร่างรัฐกำหนด หรือร่างรัฐกฤษฎีกา รวมทั้งร่างกฎหมายของสมาชิกรัฐสภาที่ได้เสนอต่อสภาเศรษฐกิจและสังคม

สมาชิกสภาเศรษฐกิจและสังคมคนหนึ่งคนใดอาจได้รับการมอบหมายจากสภาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อไปชี้แจงต่อที่ประชุมของสภาใดสภาหนึ่งต่อความเห็นของสภาเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อร่างรัฐบัญญัติหรือร่างกฎหมายที่ได้เสนอต่อสภาเศรษฐกิจและสังคม”

มาตรา 70 บัญญัติว่า “รัฐบาลอาจของความเห็นจากสภาเศรษฐกิจและสังคมในปัญหาที่มีลักษณะในทางเศรษฐกิจและสังคมได้ แผนงานทุกแผนงาน หรือร่างกฎหมายทุกฉบับที่มีลักษณะเกี่ยวกับการวางแผนทางเศรษฐกิจหรือสังคมจะต้องนำเสนอต่อสภาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขอ ความเห็น”

มาตรา 71 บัญญัติว่า “องค์ประกอบของสภาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งหลักเกณฑ์ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ”

จากบทบัญญัติข้างต้น องค์ประกอบ และแนวทางการดำเนินงานของสภาเศรษฐกิจและสังคมของฝรั่งเศสต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติดังกล่าว ได้แก่ รัฐกำหนดประกอบรัฐธรรมนูญที่ 58 -1360 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 1958 ซึ่งได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง โดยรัฐกำหนดประกอบ รัฐธรรมนูญที่ 62 - 918 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 1962 รัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ 84 - 449 ลงวันที่ 27 มิถุนายน 1984 รัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ 90 - 1001 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 1990 และรัฐบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ 92 - 730 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 1992 ซึ่งกฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญดังกล่าว มีเนื้อหาสาระที่สำคัญ คือ มาตรา 1 - 6 บัญญัติถึงอำนาจมาตรา 7 - 14 บัญญัติถึงโครงสร้าง และมาตรา 15 - 25 บัญญัติถึงการดำเนินงานของสภาเศรษฐกิจและสังคม

บรรณานุกรม

พรรณราย ขันธกิจ. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2548.

วัชรา ไชยสาร. สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสมาคมที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม และสถาบันในลักษณะเดียวกัน (AICESIS) พร้อมด้วยองค์กรสภาที่ปรึกษาในประเทศเบลเยี่ยม. วารสารสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2549.

สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. รายงานการเดินทางไปปฏิบัติภารกิจด้านวิเทศสัมพันธ์และศึกษาดูงาน ณ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 11-20 พฤษภาคม 2549.

ดูเพิ่มเติม

http://www.nesac.go.th/document/show11.php?did=07080001

http://www.conseil-economique-et-social.fr/

http://www.eesc.europa.eu/

อ้างอิง

  1. พรรณราย ขันธกิจ. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า, 2548.
  2. ทิวา เงินยวง. รูปแบบองค์กรที่ปรึกษาและให้คำแนะนำทางเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2538.