ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสียงประชาชน (พ.ศ. 2550)"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
'''พรรคเสียงประชาชน''' | '''พรรคเสียงประชาชน''' | ||
พรรคเสียงประชาชนจดทะเบียนจัดตั้ง[[พรรคการเมือง]]เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 151ง หน้า 42</ref> โดยมีนายกำจร เชาวน์รัตน์<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนพิเศษ 151ง หน้า 71</ref> ดำรงตำแหน่งเป็น[[หัวหน้าพรรค]] ต่อมานายกำจร เชาวน์รัตน์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 11ง หน้า 60</ref> ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง[[คณะกรรมการบริหารพรรค]]ใหม่ซึ่งผู้ที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อมาคือ นายเดชชาติ รัตนวรชาติ<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 36ง หน้า 32</ref> | |||
ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเสียงประชาชนนั้นเนื่องจากการที่พรรคก่อนตั้งขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งจนถึงปัจจุบันปรากฏว่าประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพียงครั้งเดียวคือเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งในครั้งนั้นพรรคเสียงประชาชนมิได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนแต่อย่างใด ส่วนในแบบแบ่งเขตนั้นพรรคเสียงประชาชนส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 8 คน ซึ่งก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด | ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเสียงประชาชนนั้นเนื่องจากการที่พรรคก่อนตั้งขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งจนถึงปัจจุบันปรากฏว่าประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพียงครั้งเดียวคือเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งในครั้งนั้นพรรคเสียงประชาชนมิได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนแต่อย่างใด ส่วนในแบบแบ่งเขตนั้นพรรคเสียงประชาชนส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 8 คน ซึ่งก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด | ||
บรรทัดที่ 14: | บรรทัดที่ 14: | ||
'''นโยบายด้านการเมืองการปกครอง''' | '''นโยบายด้านการเมืองการปกครอง''' | ||
1.เชิดชูและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา | 1.เชิดชูและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และ[[พระมหากษัตริย์]]และยึดมั่นปฏิบัติตาม[[รัฐธรรมนูญ]]ตามการปกครอง[[ระบอบประชาธิปไตย]] | ||
2. | 2.ดำเนินการปรับปรุงและร่าง[[กฎหมาย]]ที่ยั่งยืน | ||
3.ดำเนินการส่งเสริมให้ความรู้และอุดมการณ์ทางการเมืองที่ดีให้แก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป | 3.ดำเนินการส่งเสริมให้ความรู้และอุดมการณ์ทางการเมืองที่ดีให้แก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป | ||
บรรทัดที่ 28: | บรรทัดที่ 28: | ||
7.ดำเนินการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย โดยการให้การศึกษาแก่ประชาชน | 7.ดำเนินการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย โดยการให้การศึกษาแก่ประชาชน | ||
8. | 8.ดำเนินการสร้างการบริหารกิจการประเทศที่มีมาตรฐานและยึดหลัก[[การกระจายอำนาจ]] | ||
9.สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี | 9.สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี | ||
10.ดำเนินการปกครองตามหลักกฎหมาย | 10.ดำเนินการปกครองตามหลักกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ[[หลักนิติธรรม]]นิยม | ||
'''นโยบายด้านสังคม''' | '''นโยบายด้านสังคม''' | ||
1. | 1.มุ่งสร้าง[[สิทธิเสรีภาพ]] และ[[ศักดิ์ศรี]]ของคนไทย รวมทั้งให้มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน | ||
2. อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติไทยให้สืบสานกันไปมิให้สูญหายไปจากสังคม | 2. อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติไทยให้สืบสานกันไปมิให้สูญหายไปจากสังคม |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:45, 27 กรกฎาคม 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคเสียงประชาชน
พรรคเสียงประชาชนจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550[1] โดยมีนายกำจร เชาวน์รัตน์[2] ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรค ต่อมานายกำจร เชาวน์รัตน์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง[3] ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่ซึ่งผู้ที่ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนต่อมาคือ นายเดชชาติ รัตนวรชาติ[4]
ในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของพรรคเสียงประชาชนนั้นเนื่องจากการที่พรรคก่อนตั้งขึ้นภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งจนถึงปัจจุบันปรากฏว่าประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเพียงครั้งเดียวคือเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งในครั้งนั้นพรรคเสียงประชาชนมิได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.แบบสัดส่วนแต่อย่างใด ส่วนในแบบแบ่งเขตนั้นพรรคเสียงประชาชนส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 8 คน ซึ่งก็ไม่ได้รับการเลือกตั้งแต่อย่างใด รายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [5]
นโยบายด้านการเมืองการปกครอง
1.เชิดชูและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์และยึดมั่นปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย
2.ดำเนินการปรับปรุงและร่างกฎหมายที่ยั่งยืน
3.ดำเนินการส่งเสริมให้ความรู้และอุดมการณ์ทางการเมืองที่ดีให้แก่สมาชิกพรรคและประชาชนทั่วไป
4.สร้างความมั่นคงให้แก่รัฐ สร้างความสงบสุขให้แก่ประชาชน และร่วมกันเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง
5.เปิดโอกาสให้ผู้แทนของพรรคการเมืองแต่ละพรรคเสนอแนวความคิดและแนวนโยบายที่เป็นผลดี
6.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและองค์กรอื่นๆ มีส่วนร่วมในการตรวจสอบอำนาจของรัฐ
7.ดำเนินการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย โดยการให้การศึกษาแก่ประชาชน
8.ดำเนินการสร้างการบริหารกิจการประเทศที่มีมาตรฐานและยึดหลักการกระจายอำนาจ
9.สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
10.ดำเนินการปกครองตามหลักกฎหมาย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับหลักนิติธรรมนิยม
นโยบายด้านสังคม
1.มุ่งสร้างสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีของคนไทย รวมทั้งให้มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน
2. อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติไทยให้สืบสานกันไปมิให้สูญหายไปจากสังคม
3.ดูแลด้านสวัสดิการทางสังคมเท่าที่ควร และได้รับความคุ้มครองจากรัฐในเรื่องการรักษาพยาบาลฟรี
4.พัฒนาด้านการศึกษา ให้ประชาชนคนไทยทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาฟรี
5.ช่วยเหลือและดูแลคนสูงอายุโดยการแจกเบี้ยเลี้ยงชีพจากรัฐเดือนละ 1,000 บาท สตรีได้รับสิทธิ์การคลอดบุตรฟรี และสามารถลาคลอดบุตรกำหนด 4 เดือน โดยได้รับเงินเดือนตามปกติ
6.นำเอาองค์ความรู้ในระดับโลกมาประสานเชื่อมโยงเข้ากับปัญหาของประเทศ
7.ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน และยกย่องแนวความคิดภูมิปัญญาการคิดค้นประดิษฐ์นวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ
นโยบายด้านเศรษฐกิจ
1.ดำเนินการพัฒนาการเกษตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ
2.มุ่งพัฒนาการตลาดในระบบเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ ตลอดจนแก้ไขปัญหาช่วยเหลือปลดเปลื้องหนี้สินให้แก่เกษตร
3.ดำเนินการริเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจของชาติต้องอยู่ในมือของรัฐและประชาชนคนไทย โดยนำเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์
4.มุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน
5.มุ่งให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร และประชาชน โดยจัดหาแหล่งเงินทุนที่เป็นธรรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมจัดตั้งธนาคารประชาชนขึ้นให้ทั่วถึง
6.ดำเนินการฝึกฝีมือแรงงานและโรงงานขนาดเล็กของคนไทยให้มีคุณภาพมาตรฐาน
7.มุ่งสร้างประชาชนไทยให้มีความรู้ความสามารถในการผลิต พัฒนาเป็นธุรกิจไปสู่ตลาดโลก