ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 3 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2481"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้เรียบเรียง''' ชาย ไชยชิต '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 21: | บรรทัดที่ 21: | ||
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, '''อนุสารการเมือง''', มีนาคม 2522 | ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, '''อนุสารการเมือง''', มีนาคม 2522 | ||
[[หมวดหมู่: | [[หมวดหมู่:การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:05, 19 กรกฎาคม 2553
ผู้เรียบเรียง ชาย ไชยชิต
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 3 วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481
การเลือกตั้งครั้งที่สามนี้เป็นการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต โดยประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในเขตของตนเองโดยตรง มีเกณฑ์การคำนวณสัดส่วนผู้แทนราษฎรในแต่ละเขตคือ ราษฎรจำนวนสองแสนคนต่อผู้แทนราษฎรหนึ่งคน ซึ่งทำให้มีจำนวนผู้แทนราษฎรทั้งหมด 91 คน การเลือกตั้งในครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องจากมีพระราชบัญญัติยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งภายใน 90 วัน โดยมีการประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481 ซึ่งเป็นการยุบสภาครั้งแรกนับแต่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปทำหน้าที่ในสภา
ผลการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 6,310,172 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน2,210,332 คน คิดเป็นร้อยละ 32.52ของจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด สาเหตุที่จำนวนผู้ใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งนี้มีสัดส่วนลดลงกว่าที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเป็นเพราะช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังเริ่มต้นและเป็นเหตุให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก สำหรับจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิมากที่สุดคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็นร้อยละ 67.67 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดตรัง คิดเป็นร้อยละ 16.28 การจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีระบบสภาเดียว และพรรคการเมืองที่มีบทบาทในการเลือกตั้งยังคงมีเพียงพรรคเดียวคือ พรรคคณะราษฎร
ที่มา
บุญทัน ดอกไธสง, การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารและการเมืองไทย, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2520
ฝ่ายพัฒนาการเมืองและการปกครอง สำนักนโยบายและแผนมหาดไทย, อนุสารการเมือง, มีนาคม 2522