ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สร้างสรรค์ไทย (พ.ศ. 2545)"
สร้างหน้าใหม่: '''ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ''' รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 6: | บรรทัดที่ 6: | ||
'''พรรคสร้างสรรค์ไทย''' | '''พรรคสร้างสรรค์ไทย''' | ||
พรรคสร้างสรรค์ไทย ใช้อักษรย่อเป็นภาษาไทยว่า “สสท.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI CREATION PARTY” ใช้อักษรย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “TCAP.” | พรรคสร้างสรรค์ไทย ใช้อักษรย่อเป็นภาษาไทยว่า “สสท.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI CREATION PARTY” ใช้อักษรย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “TCAP.” ขึ้นทะเบียนเป็น[[พรรคการเมือง]]เลขที่ 7/2545 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 177, 185.</ref> | ||
โดยมีเครื่องหมายของพรรคสร้างสรรค์ไทยประกอบด้วย<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 186.</ref> | โดยมีเครื่องหมายของพรรคสร้างสรรค์ไทยประกอบด้วย<ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 186.</ref> | ||
บรรทัดที่ 32: | บรรทัดที่ 32: | ||
“รักไทยต้องสร้างสรรค์ประเทศไทย ทั้งกายใจชีวิตและทรัพย์สิน | “รักไทยต้องสร้างสรรค์ประเทศไทย ทั้งกายใจชีวิตและทรัพย์สิน | ||
รวมพลังสร้างชาติและแผ่นดิน | รวมพลังสร้างชาติและแผ่นดิน ลูกหลานกินอยู่ดีตลอดกาล” | ||
'''นโยบาย''' | '''นโยบาย''' | ||
บรรทัดที่ 38: | บรรทัดที่ 38: | ||
1. นโยบายด้านการเมืองการปกครอง | 1. นโยบายด้านการเมืองการปกครอง | ||
1) | 1) นโยบายเกี่ยวกับ[[สถาบันพระมหากษัตริย์]] พรรคจะยกย่องให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะสูงสุด เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชนในชาติ | ||
2) | 2) นโยบายเกี่ยวกับ[[สิทธิ เสรีภาพ]] และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พรรคจะสร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของทุกคน | ||
3) นโยบายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน จะปรับปรุงระบบบริหารให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น | 3) นโยบายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน จะปรับปรุงระบบบริหารให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น | ||
บรรทัดที่ 59: | บรรทัดที่ 59: | ||
6. นโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ | 6. นโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ | ||
สร้างความสมดุลระหว่าง[[ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ]] ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้เพื่อให้ผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ที่ประชาชนอย่างแท้จริง และปรับปรุงและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต | |||
พรรคสร้างสรรค์ไทยไม่เคยมีส่วนร่วมทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้ง แต่เคยได้รับเงินบริจาคจำนวน 15,000 บาท<ref> เว็บไซต์ข่าวสด, 16 พฤศจิกายน 2545.</ref> เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง | พรรคสร้างสรรค์ไทยไม่เคยมีส่วนร่วมทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้ง แต่เคยได้รับเงินบริจาคจำนวน 15,000 บาท<ref> เว็บไซต์ข่าวสด, 16 พฤศจิกายน 2545.</ref> เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง | ||
จนกระทั่ง[[ศาลรัฐธรรมนูญ]]มีคำสั่งที่ 11/2545 ลงวันที่ 19 กันยายน 2545 ให้[[ยุบพรรค]]สร้างสรรค์ไทยตาม[[พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541]] มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากพรรคสร้างสรรค์ไทยมีมติยุบพรรคตามข้อบังคับพรรคสร้างสรรค์ไทย พ.ศ. 2545 ข้อ 107 ที่กำหนดว่าให้หัวหน้าพรรคมีอำนาจเรียกกรรมการบริหารพรรคที่มาประชุมเพื่อ[[ลงมติ]] การลงมติให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการบริหารพรรคที่มาประชุม ซึ่งในวันดังกล่าวที่ประชุม[[คณะกรรมการบริหารพรรค]]มีมติเป็น[[เอกฉันท์]]ให้ยุบพรรคสร้างสรรค์ไทย เนื่องจากคณะกรรมการบริหารพรรคและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคมีภารกิจงานส่วนตัวที่จะต้องดำเนินการจำนวนมาก ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเสียสละในการดำเนินกิจการทางการเมืองต่อไปได้ จึงประสงค์จะขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคสร้างสรรค์ไทย และกรรมการบริหารบางคนประสงค์จะไปประกอบกิจการในต่างประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนาน ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องของหัวหน้าพรรคสร้างสรรค์ไทยซึ่งไม่โต้แย้งหรือคัดค้านคำร้องของ[[นายทะเบียนพรรคการเมือง]] จึงมีมติให้ยุบพรรคสร้างสรรค์ไทย <ref>ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 108 ง, 2 พฤศจิกายน 2545, หน้า 9. และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 70 ก, 21 กรกฎาคม 2546, หน้า 1-3.</ref> | |||
==อ้างอิง== | ==อ้างอิง== | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 22:31, 11 กรกฎาคม 2553
ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร และ รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต
พรรคสร้างสรรค์ไทย
พรรคสร้างสรรค์ไทย ใช้อักษรย่อเป็นภาษาไทยว่า “สสท.” เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “THAI CREATION PARTY” ใช้อักษรย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “TCAP.” ขึ้นทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเลขที่ 7/2545 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545[1]
โดยมีเครื่องหมายของพรรคสร้างสรรค์ไทยประกอบด้วย[2]
1. แผนที่ประเทศไทยสีแดง หมายถึง ชาติไทย
2. ขอบสีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ซึ่งผดุงชาติไทยให้ดำรงอยู่ได้จนทุกวันนี้
3. พื้นสีขาว หมายถึง ศาสนายึดเหนี่ยวจิตใจของชนชาวไทย
4. ภาพประสานมือ หมายถึง ความร่วมมือของชนชาติไทยทุกหมู่เหล่าร่วมกันสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศ ตรายางพรรคสร้างสรรค์ไทยใช้ภาพเครื่องหมายในลักษณะเดียวกัน หากแต่ใช้สีเดียว [3]
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคสร้างสรรค์ไทย ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 130/9 ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130[4]
นโยบายพรรคสร้างสรรค์ไทย พ.ศ. 2545[5]
อุดมการณ์
“พรรคสร้างสรรค์ไทย” ยึดมั่นในอุดมการณ์ของพรรค คือ “รักไทยร่วมสร้างสรรค์ไทย” พรรคจะร่วมกับพี่น้องประชาชน พรรคการเมือง กลุ่มการเมืองและองค์กรต่างๆดำเนินการทั้งปวง เพื่อไปสู่อุดมการณ์ให้สำเร็จ
ปณิธาน
“รักไทยต้องสร้างสรรค์ประเทศไทย ทั้งกายใจชีวิตและทรัพย์สิน
รวมพลังสร้างชาติและแผ่นดิน ลูกหลานกินอยู่ดีตลอดกาล”
นโยบาย
1. นโยบายด้านการเมืองการปกครอง
1) นโยบายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ พรรคจะยกย่องให้สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นที่เคารพสักการะสูงสุด เป็นเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์รวมความสามัคคีของชนในชาติ
2) นโยบายเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พรรคจะสร้างระบบการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนปกป้องผลประโยชน์ของทุกคน
3) นโยบายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน จะปรับปรุงระบบบริหารให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และรับใช้ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
4) นโยบายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ส่งเสริมให้มีการมอบอำนาจจากส่วนกลางสู่ภูมิภาคในการตัดสินใจในการบริหารงบประมาณและกิจการอื่นๆ
2. นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มุ่งสร้างสันติภาพและพยายามแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธี และจะกระชับความสัมพันธ์กับนานาประเทศเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน บนหลักการของความเสมอภาค
3. นโยบายด้านสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม มุ่งคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จะขจัดปัญหายาเสพย์ติดอย่างจริงจัง ส่งเสริมให้มีการนำหลักศีลธรรมคำสอนของศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิต และบำรุงศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ
4. นโยบายด้านการพัฒนา มุ่งมั่นพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีระเบียบวินัย และจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และมุ่งปรับปรุงระบบการศึกษาทุกระดับทุกสาขา
5. นโยบายด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งเสริมการวิจัย การพัฒนา และถ่ายทอดด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาการทั้งปวงที่จะนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ จะพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนในชนบทให้ก้าวหน้าทัดเทียมส่วนกลาง และจะนำประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรมที่ทันสมัย
6. นโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความสมดุลระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในการกระจายรายได้เพื่อให้ผลพวงของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ที่ประชาชนอย่างแท้จริง และปรับปรุงและรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต
พรรคสร้างสรรค์ไทยไม่เคยมีส่วนร่วมทางการเมืองเรื่องการเลือกตั้ง แต่เคยได้รับเงินบริจาคจำนวน 15,000 บาท[6] เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง
จนกระทั่งศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งที่ 11/2545 ลงวันที่ 19 กันยายน 2545 ให้ยุบพรรคสร้างสรรค์ไทยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 65 วรรคสอง เนื่องจากพรรคสร้างสรรค์ไทยมีมติยุบพรรคตามข้อบังคับพรรคสร้างสรรค์ไทย พ.ศ. 2545 ข้อ 107 ที่กำหนดว่าให้หัวหน้าพรรคมีอำนาจเรียกกรรมการบริหารพรรคที่มาประชุมเพื่อลงมติ การลงมติให้ถือเสียงข้างมากของกรรมการบริหารพรรคที่มาประชุม ซึ่งในวันดังกล่าวที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ยุบพรรคสร้างสรรค์ไทย เนื่องจากคณะกรรมการบริหารพรรคและผู้ร่วมก่อตั้งพรรคมีภารกิจงานส่วนตัวที่จะต้องดำเนินการจำนวนมาก ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะเสียสละในการดำเนินกิจการทางการเมืองต่อไปได้ จึงประสงค์จะขอลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคสร้างสรรค์ไทย และกรรมการบริหารบางคนประสงค์จะไปประกอบกิจการในต่างประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนาน ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องของหัวหน้าพรรคสร้างสรรค์ไทยซึ่งไม่โต้แย้งหรือคัดค้านคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมือง จึงมีมติให้ยุบพรรคสร้างสรรค์ไทย [7]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 177, 185.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 186.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 186.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 186.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนพิเศษ 49 ง, วันที่ 5 มิถุนายน 2545, หน้า 177-184.
- ↑ เว็บไซต์ข่าวสด, 16 พฤศจิกายน 2545.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 108 ง, 2 พฤศจิกายน 2545, หน้า 9. และราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 70 ก, 21 กรกฎาคม 2546, หน้า 1-3.