ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกษตรก้าวหน้า (พ.ศ. 2543)"
สร้างหน้าใหม่: '''พรรคเกษตรก้าวหน้า''' พรรคเกษตรก้าวหน้าได้รับการจดทะเบ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 78: | บรรทัดที่ 78: | ||
<references/> | <references/> | ||
[[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย]] | [[หมวดหมู่:รายชื่อพรรคการเมืองไทย|กเกษตรก้าวหน้า]] |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:05, 7 มิถุนายน 2553
พรรคเกษตรก้าวหน้า
พรรคเกษตรก้าวหน้าได้รับการจดทะเบียนพรรคการเมืองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 [1] โดยมีนางนุจรินทร์ โคตรธรรม เป็นหัวหน้าพรรคต่อมานางนุจรินทร์ โคตรธรรม ได้ลาออกจาการเป็นหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2547 เป็นผลให้คณะกรรมการบริหารพรรคพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ [2] สุดท้ายเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ยุบพรรคเกษตรก้าวหน้าตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2541 เนื่องจากพรรคเกษตรก้าวหน้าจัดทำรายการการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปี พ.ศ. 2545 ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง [3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 พรรคเกษตรก้าวหน้ามิได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อแม้แต่ผู้เดียว ในส่วนของแบบแบ่งเขตนั้นได้มีผู้ลงสมัครในนามของพรรคจำนวนหนึ่งคน แต่ต่อมาได้ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสิทธิเนื่องจากเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติ [4]
นโยบายและการดำเนินการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้คือ [5]
ด้านการบริหารจัดการ
1.ปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมโดยประชาชนเป็นผู้กำหนด
2.ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองโดยลดอำนาจของส่วนกลางแล้วขยายอำนาจนั้นไปสู่ท้องถิ่น
3.ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มองค์กรต่างๆเช่น กลุ่มอาชีพ องค์กรคนเมือง องค์กรชุมชนแออัด
4.ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
5.ปรับปรุงระบบงานราชการให้เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนให้มากที่สุด
6.ตัดทอนกระทรวงที่มีอำนาจมากและเลื่อนฐานะกรมให้เป็นกระทรวง
7.ส่งเสริมการผลิต ค้นคว้า วิจัยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอาวุธยุทโธปกรณ์ในประเทศ
ด้านเศรษฐกิจ
1.ปรับปรุง ยกเลิก แก้ไขกิจการที่ล้าหลังของรัฐวิสาหกิจและของเอกชน
2.ปรับปรุงทัศนคติของเอกชนให้มีการผลิตเพื่อรับใช้ประชาชนและดำเนินการแปรรูปโครงสร้างกิจการให้เป็นบริษัทมหาชนเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการถือหุ้นและตรวจสอบการดำเนินกิจการ
3.ตั้งกองทุนส่งเสริมการผลิตโดยปลอดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลาห้าปี
4.ปลดเปลื้องหนี้สินและจัดหาที่ดินทำกินให้เกษตรกร
5.ให้ความสำคัญกับการผลิตและส่งออกเป็นหลักขณะเดียวกันก็เน้นการผลิตเพื่อยังชีพเป็นหลักด้วยเช่นกัน
6.ส่งเสริมธนาคารหมู่บ้าน
7.ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์การตลาด สหกรณ์การค้าในทุกหมู่บ้าน
8.จัดหาผู้เชี่ยวชาญในทุกด้านที่เกี่ยวของกับการเกษตรให้แก่เกษตรกร
9.ห้ามนำเข้าสินค้าทางด้านการเกษตรจากต่างประเทศเป็นระยะเวลาห้าปียกเว้นที่ในประเทศไม่มี
ด้านสังคม
1.ยกเลิกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและกฎระเบียบที่ลิดรอนเสรีภาพของประชาชน
2.ปฏิเสธวัฒนธรรมต่างชาติที่บ่อนทำลายประเพณี วัฒนธรรม การดำรงชีวิตของชาวไทย
3.มุ่งให้ประชาชนทุกคนมีงานทำ มีรายได้อย่างต่อเนื่อง มีเวลาพักผ่อน มีเครื่องนุ่งห่ม ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ได้รับอาหารอย่างเพียงพอ
4.ประชาชนมีสิทธิในการจัดตั้งหน่วยป้องกันคุ้มครองตัวเอง
5.ไม่มีข้อจำกัดในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อทุกประเภท
6.ให้ความสำคัญกับผู้ต้องหาทั้งขณะอยู่ระหว่างการสอบสวนไปจนถึงเมื่อถูกดำเนินคดี
ด้านการต่างประเทศ
1.สร้างมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก
2.ช่วยเหลือประเทศที่ล้าหลัง
3.สร้างการรวมกลุ่มประเทศเกษตรกรรมขึ้นทั่วโลก
4.จัดตั้งทูตเกษตรกร ทูตการศึกษา ทูตแรงงาน
5.จัดตั้งกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 25ง หน้า 15
- ↑ พ้นจากตำแหน่งตามข้อบังคับพรรคเกษตรก้าวหน้า พ.ศ. 2543 ข้อ29 (9)
- ↑ คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2547 เรื่องให้ยุบพรรคเกษตรก้าวหน้า วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
- ↑ สยามจดหมายเหตุ ปีที่ 25 ฉบับที่ 49 หน้า 1361
- ↑ สรุปความจากราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 25ง หน้า 15-60