ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประสพสุข บุญเดช"

จาก ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Panu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัดที่ 33: บรรทัดที่ 33:
เมื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเลือกประธานวุฒิสภาโดยการลงคะแนนลับ ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 126 วรรคห้า บัญญัติไว้ว่า การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใด ให้กระทำเป็นการลับ เว้นแต่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 วรรคสี่ กำหนดให้มีลงคะแนนเลือกโดยการเขียนชื่อผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผลการลงมติปรากฏว่า นายประสพสุข บุญเดช เป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาประชุมตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 วรรคหก จึงถือว่า นายประสพสุข บุญเดช ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนน 78 คะแนน จากจำนวนผู้เข้าประชุม 144 เสียง อันดับสอง นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ได้ 45 คะแนน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ได้ 15 คะแนน และพลตำรวจโท มาโนช ไกรวงศ์ ได้ 6 คะแนน ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และดร.ทัศนา บุญทอง ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง<ref>รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญทั่วไป) ครั้งที่ 1/2551 14 มีนาคม 2551. หน้า 5-82 </ref>
เมื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเลือกประธานวุฒิสภาโดยการลงคะแนนลับ ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 126 วรรคห้า บัญญัติไว้ว่า การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใด ให้กระทำเป็นการลับ เว้นแต่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 วรรคสี่ กำหนดให้มีลงคะแนนเลือกโดยการเขียนชื่อผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผลการลงมติปรากฏว่า นายประสพสุข บุญเดช เป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาประชุมตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 วรรคหก จึงถือว่า นายประสพสุข บุญเดช ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนน 78 คะแนน จากจำนวนผู้เข้าประชุม 144 เสียง อันดับสอง นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ได้ 45 คะแนน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ได้ 15 คะแนน และพลตำรวจโท มาโนช ไกรวงศ์ ได้ 6 คะแนน ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และดร.ทัศนา บุญทอง ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง<ref>รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญทั่วไป) ครั้งที่ 1/2551 14 มีนาคม 2551. หน้า 5-82 </ref>


[[วุฒิสภา]]มีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ การกลั่นกรองกฎหมาย [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] การให้ความเห็นชอบ ให้คำแนะนำ หรือเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามที่[[รัฐธรรมนูญ]]กำหนด การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ประธานวุฒิสภาจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้วุฒิสภาสามารถดำเนินภารกิจตามบทบาทอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ดังนี้ คือ
[[วุฒิสภา]]มีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ การกลั่นกรองกฎหมาย [[การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน]] [[การให้ความเห็นชอบ]] ให้คำแนะนำ หรือเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามที่[[รัฐธรรมนูญ]]กำหนด การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ประธานวุฒิสภาจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้วุฒิสภาสามารถดำเนินภารกิจตามบทบาทอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ดังนี้ คือ


1. ควบคุมและดำเนินกิจการของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
1. ควบคุมและดำเนินกิจการของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:53, 18 มีนาคม 2553

ผู้เรียบเรียง รติกร เจือกโว้น

ผู้ทรงคุณวุฒิประจำบทความ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จเร พันธุ์เปรื่อง


นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภาคนที่ 14[1] อดีตเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาประธานศาลอุทธรณ์ เป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องกฎหมายครอบครัว จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายครอบครัว

ประวัติ

นายประสพสุข บุญเดช เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 อายุ 64 ปี[2] จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมปีที่ 8 จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2505 และจบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2509 ปีต่อมา สำเร็จการศึกษาเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และจบเนติบัณฑิตอังกฤษ จากสำนักลินคลอน์อินน์ (of Lincoin’s Inn, Barrister-at Law) เมื่อปี พ.ศ. 2515 สำเร็จการศึกษาหลักสูตรฝ่ายอำนวยการ กรมประมวลข่าวกลาง เมื่อปี พ.ศ.2520 หลักสูตรฝ่ายอำนวยการ โรงเรียนสงครามจิตวิทยา เมื่อปี พ.ศ.2521 และหลักสูตรพัฒนาบริหาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2522 หลังจากนั้น สำเร็จหลักสูตร General Jurisdiction จากสถาบันอบรมผู้พิพากษาศาลสหรัฐอเมริกา (The National Judicial College) เมื่อปี พ.ศ.2525 หลักสูตรนักบริหารระดับสูง หลักสูตรที่ 2 รุ่นที่ 12 จากสำนักงาน ก.พ. เมื่อปี พ.ศ. 2532 และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรไทย รุ่นที่ 41 จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เมื่อปี พ.ศ. 2541

ประวัติการทำงาน นายประสพสุข บุญเดช เริ่มเป็นอาจารย์ประจำโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2515 หลังจากนั้น ปี พ.ศ. 2518 ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2521 หัวหน้ากองวิชาการ สำนักงานส่งเสริมตุลาการ และดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา เมื่อปี พ.ศ. 2526 ในปี พ.ศ.2534 เลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ ปี พ.ศ. 2535 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ปี พ.ศ. 2541 ผู้พิพากษาศาลฎีกา ปี พ.ศ. 2542 อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ปี พ.ศ. 2544 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ปี พ.ศ. 2546 ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 5 และ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ประธานศาลอุทธรณ์ กิจกรรมพิเศษ อาจารย์ผู้บรรยายกฎหมายครอบครัว คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และมหาวชิรมงกุฎ[3]

การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 111 บัญญัติให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 150 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด จังหวัดละ 1 คน รวมเป็นจำนวน 76 คน และมาจากการสรรหา จำนวน 74 คน โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเป็นการทั่วไปทั่วประเทศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 นายประสพสุข บุญเดช เป็นสมาชิกวุฒิสภาระบบสรรหา ภาคอื่น ซึ่งมาจากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 113 และมาตรา 114 บัญญัติให้มีคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาที่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกามอบหมายจำนวนหนึ่งคนและตุลาการในศาลปกครองสูงสุดที่ที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมอบหมายจำนวนหนึ่งคน เป็นกรรมการทำหน้าที่สรรหาสมาชิกวุฒิสภา โดยให้คณะกรรมการสรรหาบุคคลที่มีความเหมาะสมจากผู้ได้รับการเสนอชื่อจากองค์กรต่าง ๆ ในภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาชีพ และภาคอื่นที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 74 คน

ในการประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 1 (สมัยสามัญทั่วไป) เมื่อวันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีวาระการประชุมที่สำคัญ คือ การเลือกประธานและรองประธานวุฒิสภา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 124 บัญญัติให้วุฒิสภามีประธานสภา 1 คน การเสนอชื่อตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 กำหนดว่าในการเลือกประธานวุฒิสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน และให้ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อดังกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาต่อที่ประชุมวุฒิสภา ในที่ประชุมมีผู้ได้รับการเสนอชื่อจำนวน 4 คน คือ นายประสพสุข บุญเดช นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช และพลตำรวจโท มาโนช ไกรวงศ์ โดยนายมณเฑียร บุญตันเป็นผู้เสนอชื่อ นายประสพสุข บุญเดช ให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ทั้งนี้ ที่ประชุมวุฒิสภามีมติให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุมเป็นเวลาคนละ 5 นาที นายประสพสุข บุญเดช ได้แสดงวิสัยทัศน์โดยกล่าวถึงปรัชญาในการทำงานไว้ ดังนี้

“…ตำแหน่งประธานวุฒิสภาในความเห็นของกระผมนั้น เป็นตำแหน่งที่ต้องให้คำอธิบายต่อสังคมได้อย่างชัดเจนว่า มีความเป็นอิสระ และมีความเป็นกลางปราศจากอำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่เท่านั้น สิ่งที่ยังขาดไม่ได้ก็คือ จะต้องมีความเป็นตัวของตัวเองและกล้าหาญที่จะตัดสินใจ ซึ่งหากเป็นเรื่องใหญ่ ๆ แล้วมั่นใจว่าน่าจะมีการแทรกแซงจากองค์กรภายนอกได้

กระผมภูมิใจที่ได้รับการเสนอชื่อ เพื่อคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา แต่ไม่ว่ากระผมจะได้รับการไว้วางใจหรือไม่ประการใดก็ตาม กระผมขอยืนยันต่อสภาแห่งนี้ว่า ตลอดเวลาที่ทำหน้าที่จะปฏิบัติตนให้สังคมเชื่อมั่นในความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง ตรงไปตรงมา ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ หากมีข้อสงสัยในการทุจริตประพฤติมิชอบใด ๆ แล้ว กระผมจะพิจารณาตนเองโดยทันที โดยไม่ต้องให้มีกระบวนการใด ๆ ในทางกฎหมายเข้ามาตรวจสอบอีกเป็นอันขาด

ท่านประธานฯ ครับ มีแผนที่ปฏิบัติกันว่า การดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภานั้นจะต้องอยู่กันเป็นวาระ แต่กระผมไม่เสนอเงื่อนไขของการดำรงตำแหน่งเป็นวาระ แต่กระผมจะเปิดให้ประเมินผลการดำรงตำแหน่งเป็นรายปี หรือรายสะดวก และจะเปิดกว้างให้ท่านสมาชิกฯ ให้ท่านข้าราชการ ให้ท่านสื่อมวลชนทั้งหลายได้ประเมินด้วย ถ้าประเมินผลไม่เป็นที่พอใจแล้ว กระผมยินดีพิจารณาตนเองโดยไม่ต้องรอมีวาระอะไรทั้งสิ้น

ท่านประธานฯ และเพื่อนสมาชิกฯ ครับ กระผมขอเรียนว่า ปรัชญาในการทำงานของกระผมก็คือ จะยึดหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลในการบริหารงานอย่างเคร่งครัด ให้ความเป็นธรรมและเท่าเทียมกับบุคคลทุกคน ทุกฝ่าย เคร่งครัดในหลักความเป็นอิสระ ความเป็นกลาง เป็นธรรม กล้าหาญพอที่จะรับแรงกดดันจากกลุ่มภายนอก วุฒิสภายุคใหม่ต้องเชื่อมั่นในหลักการของการเมืองยุคใหม่ คือ การเมืองเปิด เปิดตนเองให้โปร่งใส ตรวจสอบได้จากสมาชิกฯ ข้าราชการ และสื่อมวลชนทั้งหลาย

กระผมเชื่อมั่นว่า จากประสบการณ์ด้านกฎหมายของกระผม ทั้งกฎหมายไทย กฎหมายอังกฤษที่เรียนมาจากเนติบัณฑิตอังกฤษ และกฏหมายสหรัฐอเมริกา ที่เรียนมาจากโรงเรียนผู้พิพากษาศาลสหรัฐอเมริกา จากประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นผู้พิพากษาด้านบริหาร ด้านการเมือง การยกร่างกฎหมาย และการสอนกฎหมาย จะทำให้กระผมทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาและสนับสนุนการทำงานของเพื่อนสมาชิกฯทุกท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ...”[4]

เมื่อผู้ได้รับการเสนอชื่อได้แสดงวิสัยทัศน์แล้ว ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเลือกประธานวุฒิสภาโดยการลงคะแนนลับ ดังที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 126 วรรคห้า บัญญัติไว้ว่า การออกเสียงลงคะแนนเลือกหรือให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งใด ให้กระทำเป็นการลับ เว้นแต่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ แต่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 วรรคสี่ กำหนดให้มีลงคะแนนเลือกโดยการเขียนชื่อผู้ที่ตนประสงค์จะเลือกลงบนแผ่นกระดาษใส่ซองที่เจ้าหน้าที่จัดให้ ผลการลงมติปรากฏว่า นายประสพสุข บุญเดช เป็นผู้ได้รับคะแนนสูงสุดและมีคะแนนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาที่มาประชุมตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2544 ข้อ 6 วรรคหก จึงถือว่า นายประสพสุข บุญเดช ได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา ด้วยคะแนน 78 คะแนน จากจำนวนผู้เข้าประชุม 144 เสียง อันดับสอง นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง ได้ 45 คะแนน พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช ได้ 15 คะแนน และพลตำรวจโท มาโนช ไกรวงศ์ ได้ 6 คะแนน ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา นายนิคม ไวยรัชพานิช ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง และดร.ทัศนา บุญทอง ได้รับเลือกเป็นรองประธานวุฒิสภา คนที่สอง[5]

วุฒิสภามีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ การกลั่นกรองกฎหมาย การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน การให้ความเห็นชอบ ให้คำแนะนำ หรือเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่อื่น ๆ ประธานวุฒิสภาจึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้วุฒิสภาสามารถดำเนินภารกิจตามบทบาทอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551 ดังนี้ คือ

1. ควบคุมและดำเนินกิจการของวุฒิสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

2. เป็นประธานของที่ประชุมวุฒิสภา

3. รักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมวุฒิสภาตลอดถึงบริเวณที่ประชุมวุฒิสภา

4. เป็นผู้แทนวุฒิสภาในกิจการภายนอก

5. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของวุฒิสภา

6. อำนาจและหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้[6]

นายประสพสุข บุญเดช ได้เคยให้สัมภาษณ์ในวารสาร “สารวุฒิสภา” ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 เรื่องบทบาทของประธานวุฒิสภาในทรรศนะของท่านไว้ ดังนี้

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีความมุ่งหวังให้วุฒิสภา เป็นกลไกที่ทำให้ระบบการเมืองของระบอบประชาธิปไตยอันมีประมหากษัตริย์เป็นประมุขเดินหน้าต่อไปอย่างราบรื่น เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพ บทบาทของประธานวุฒิสภาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้วุฒิสภาดำเนินภารกิจข้างต้นเป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อำนาจหน้าที่ของประธานวุฒิสภา มีสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ อำนาจหน้าที่ในวุฒิสภา และอำนาจหน้าที่นอกวุฒิสภา ซึ่งก็คือ การเป็นผู้แทนวุฒิสภาในกิจการภายนอก

บทบาทของประธานวุฒิสภาภายในวุฒิสภา เช่น การทำหน้าที่ในฐานะประธานวุฒิสภาเป็นหน้าที่หลักในการดำเนินกิจการตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ส่วนการทำหน้าที่ในฐานะรองประธานรัฐสภาเป็นการทำหน้าที่ในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อช่วยประธานรัฐสภาทำหน้าที่ควบคุมและดำเนินการการประชุมร่วมกันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

บทบาทประธานวุฒิสภาภายนอกวุฒิสภา คือ การเป็นผู้แทนวุฒิสภาในกิจการภายนอก เช่น ด้านรัฐพิธี พิธีการซึ่งมีทั้งภารกิจประจำและภารกิจพิเศษ และเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และด้านการต่างประเทศ เป็นต้น

ด้วยบทบาทอำนาจหน้าที่สำคัญดังกล่าว รัฐธรรมนูญจึงมีบทบัญญัติสำหรับประธานวุฒิสภาเป็นการเฉพาะ เช่น ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ต้องดำรงตำแหน่งจนถึงวันก่อนวันเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่...”[7]

ปัจจุบัน

ปัจจุบันนายประสพสุข บุญเดช เป็นข้าราชการตุลาการบำนาญและดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาคนที่ 14 มาตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2551 จนถึงปัจจุบัน

จากประวัติการทำงานของนายประสพสุข บุญเดชตลอดเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ท่านเป็นข้าราชการที่มีคุณภาพ ยึดหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาลในการทำงานอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ท่านได้ให้ความสำคัญในเรื่องการทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้เป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากการแสดงวิสัยทัศน์ของท่านในหลาย ๆ ครั้ง ท่านจึงอาจเป็นความหวังหนึ่งของประชาชนชาวไทย ในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง

  1. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2552). 77 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, หน้า 46.
  2. ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. ประสพสุข บุญเดช. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://politicalbase.in.th/index.php เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550.
  3. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2552). แนวคิด และมุมมองของ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, ไม่มีเลขหน้า.
  4. อ้างแล้ว, หน้า 3–4.
  5. รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญทั่วไป) ครั้งที่ 1/2551 14 มีนาคม 2551. หน้า 5-82
  6. ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนพิเศษ 76 ง, 25 เมษายน 2551, หน้า 43.
  7. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. “บทสัมภาษณ์พิเศษ : แนวทางการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินงานของวุฒิสภา”. สารวุฒิสภา. 16 (4) เมษายน, 2552, หน้า 2-4.

หนังสือแนะนำให้อ่านต่อ

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2552). สรุปผลงานวุฒิสภา ประจำปี 2551. กรุงเทพฯ : ไทภูมิ.

บรรณานุกรม

ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 125 ตอนพิเศษ 76 ง, 25 เมษายน 2551.

รายงานการประชุมวุฒิสภา (สมัยสามัญทั่วไป) ครั้งที่ 1 /2551 14 มีนาคม 2551.

ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย. ประสพสุข บุญเดช. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http://politicalbase.in.th/index.php เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. “บทสัมภาษณ์พิเศษ : แนวทางการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินงานของวุฒิสภา”. สารวุฒิสภา. 16 (4) เมษายน, 2552.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2552). 77 ปี รัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ดูเพิ่มเติม