ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติสมุหมนตรี รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙"
สร้างหน้าใหม่: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ... |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
บรรทัดที่ 1: | บรรทัดที่ 1: | ||
<center>สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา</center> | |||
<center>พระราชบัญญัติสมุหมนตรี</center> | |||
<center>รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙</center> | |||
มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ ว่า ข้าราชการผู้ที่ได้เคยทรงพระกรุณาใช้สอยเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้นั้น ข้างฝ่ายทหารก็ได้ทรงเลือกสรรให้เข้ารับราชการ ในตำแหน่งราชองครักษ์พิเศษบ้าง ประจำการบ้าง ซึ่งเป็นตำแหน่งรับราชการในที่ใกล้ชิดพระองค์ มีเครื่องหมายราชองครักษ์เป็นสำคัญ ดังแจ้งอยู่ในพระราชบัญญัติราชองครักษ์รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗ นั้นแล้ว แต่ข้างฝ่ายพลเรือนยังหามีเครื่องหมายไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ดังนี้ | |||
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้มีนามว่า พระราชบัญญัติสมุหมนตรีรัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙ | |||
มาตรา ๒ เมื่อจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งผู้ใดเป็นสมุหมนตรี จะได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งเฉพาะอธิบดีกรมพระอาลักษณ์ หรือเฉพาะเสนาบดีเจ้ากระทรวง ซึ่งผู้นั้นรับราชการอยู่ในกระทรวงนั้น ๆ ถ้ามีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งเสนาบดีเจ้ากระทรวง ๆ ต้องมีหมายมายังกรมพระอาลักษณ์ เพื่อจะได้ส่งเครื่องหมายตำแหน่งไปยังผู้นั้น และลงแจ้งความตั้งสมุหมนตรีในหนังสือราชกิจจานุเบกษา | |||
มาตรา ๓ เครื่องหมายตำแหน่งสมุหมนตรีนี้ เป็นเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ มีรัศมี และมีมงกุฎเหนืออักษร ให้เรียกว่าเข็มสมุหมนตรี สำหรับติดอกเสื้อเบื้องขวา | |||
มาตรา ๔ ถ้าผู้ใดได้รับพระราชทานเข็มสมุหมนตรี และได้ลงแจ้งความตั้งในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงควรนับว่าผู้นั้นเป็นสมุหมนตรี | |||
มาตรา ๕ ให้ผู้ที่เป็นสมุหมนตรี มีเกียรติยศเสมอราชองครักษ์พิเศษ | |||
มาตรา ๖ ให้เป็นที่เข้าใจว่า ตามพระราชบัญญัติสมุหมนตรีนี้เป็นแต่มีพระราชประสงค์ จะพระราชทานเครื่องหมายแก่ผู้ที่ไว้วางพระราชหฤทัยเท่านั้น เพราะฉะนั้นการที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งผู้ใด ๆ เป็นสมุหมนตรีนั้น ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหรือยศบรรดาศักดิ์อย่างใด ๆ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งได้ทุกชั้นบุคคลตามพระราชอัธยาศัย | |||
มาตรา ๗ ผู้ที่เป็นสมุหมนตรีนี้ จะได้ดำรงเกียรติยศอยู่ตลอดเวลาที่พอพระราชหฤทัย จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ออกจากสมุหมนตรีเมื่อใด ๆ ก็ได้ ด้วยลงแจ้งความในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นสำคัญ | |||
มาตรา ๘ ให้อธิบดีกรมพระอาลักษณ์เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเข็มสมุหมนตรีและรักษาพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามสมควร | |||
ประกาศมา ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙๑ | ประกาศมา ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙๑ |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:44, 11 มีนาคม 2553
มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ ว่า ข้าราชการผู้ที่ได้เคยทรงพระกรุณาใช้สอยเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยได้นั้น ข้างฝ่ายทหารก็ได้ทรงเลือกสรรให้เข้ารับราชการ ในตำแหน่งราชองครักษ์พิเศษบ้าง ประจำการบ้าง ซึ่งเป็นตำแหน่งรับราชการในที่ใกล้ชิดพระองค์ มีเครื่องหมายราชองครักษ์เป็นสำคัญ ดังแจ้งอยู่ในพระราชบัญญัติราชองครักษ์รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๗ นั้นแล้ว แต่ข้างฝ่ายพลเรือนยังหามีเครื่องหมายไม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้มีนามว่า พระราชบัญญัติสมุหมนตรีรัตนโกสินทร์ ศก ๑๒๙
มาตรา ๒ เมื่อจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งผู้ใดเป็นสมุหมนตรี จะได้มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งเฉพาะอธิบดีกรมพระอาลักษณ์ หรือเฉพาะเสนาบดีเจ้ากระทรวง ซึ่งผู้นั้นรับราชการอยู่ในกระทรวงนั้น ๆ ถ้ามีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งเสนาบดีเจ้ากระทรวง ๆ ต้องมีหมายมายังกรมพระอาลักษณ์ เพื่อจะได้ส่งเครื่องหมายตำแหน่งไปยังผู้นั้น และลงแจ้งความตั้งสมุหมนตรีในหนังสือราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓ เครื่องหมายตำแหน่งสมุหมนตรีนี้ เป็นเข็มอักษรพระบรมนามาภิไธยย่อ มีรัศมี และมีมงกุฎเหนืออักษร ให้เรียกว่าเข็มสมุหมนตรี สำหรับติดอกเสื้อเบื้องขวา
มาตรา ๔ ถ้าผู้ใดได้รับพระราชทานเข็มสมุหมนตรี และได้ลงแจ้งความตั้งในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว จึงควรนับว่าผู้นั้นเป็นสมุหมนตรี
มาตรา ๕ ให้ผู้ที่เป็นสมุหมนตรี มีเกียรติยศเสมอราชองครักษ์พิเศษ
มาตรา ๖ ให้เป็นที่เข้าใจว่า ตามพระราชบัญญัติสมุหมนตรีนี้เป็นแต่มีพระราชประสงค์ จะพระราชทานเครื่องหมายแก่ผู้ที่ไว้วางพระราชหฤทัยเท่านั้น เพราะฉะนั้นการที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งผู้ใด ๆ เป็นสมุหมนตรีนั้น ไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหรือยศบรรดาศักดิ์อย่างใด ๆ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งได้ทุกชั้นบุคคลตามพระราชอัธยาศัย
มาตรา ๗ ผู้ที่เป็นสมุหมนตรีนี้ จะได้ดำรงเกียรติยศอยู่ตลอดเวลาที่พอพระราชหฤทัย จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ออกจากสมุหมนตรีเมื่อใด ๆ ก็ได้ ด้วยลงแจ้งความในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นสำคัญ
มาตรา ๘ ให้อธิบดีกรมพระอาลักษณ์เป็นเจ้าหน้าที่รักษาเข็มสมุหมนตรีและรักษาพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นไปตามสมควร
ประกาศมา ณ วันที่ ๑๑ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙๑ ภคินี/แก้ไข ๓๑/๑/๒๕๔๕ A+B (C) ปาจรีย์/นิลวรรณ จัดทำ ๒๙ พ.ค. ๔๖